หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 130 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ต้องสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Wednesday, 12 January 2011

ต้องสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง

พระสังฆราชบุญเลื่อน  หมั้นทรัพย์


ค.ศ.2000 สำหรับคริสตชน คือ ช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากศตวรรษเก่าสู่สหัสวรรษใหม่ อันเป็นโอกาสที่จะได้ทบทวนถึงกาลเวลาที่ผ่านมา เพื่อที่จะได้กำหนดการก้าวย่างต่อไปข้างหน้าได้อย่างถูกทิศทาง และสำหรับ พ.ศ.2543 ของสังคมไทย นับเป็นปีที่ 68 ของการสถาปนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ระบบซึ่งเคยหวังกันว่าจะเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคมที่ดีขึ้น เพื่อความอยู่ดีกินดีอย่างสมศักดิ์ศรีของประชาราษฎร์ทั้งผอง

เกือบศตวรรษของประชาธิปไตยไทย เราได้ประจักษ์อะไรหลายอย่าง...

จริงอยู่...ประชาธิปไตยได้เปิดประตูแห่งสิทธิเสรีภาพในสังคมไทยให้กว้างออกอย่างไม่เคยมีมาก่อน เราสามารถแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากผู้ปกครองได้ โดยไม่มีใครมาตามจับกุมหรือคอยคุกคามชีวิตเหมือนอย่างในอดีต ชนชั้นฐานันดรที่เคยเกรียงไกรมาตั้งแต่ยุคศักดินาถึงสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็คลายความสำคัญลงไป ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการคุ้มครองอย่างเสมอภาค ...แต่ก็ด้วยเสรีนิยมแห่งประชาธิปไตยเช่นกัน ที่ได้ถ่างช่องว่างระหว่างผู้ได้เปรียบและผู้ด้อยโอกาสให้ถ่างกว้างออกไปเรื่อยๆ ภายใต้การกอบโกยแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา ทรัพยากรถูกนำมาถลุงใช้กันอย่างมัวเมา คุณค่าแห่งความเป็นคนถูกลดฐานะลงเป็นเพียงผู้ผลิตและผู้บริโภค ประเพณีอันดีงาม วิถีชีวิต ภูมิปัญญาอันเป็นสายธารทางวัฒนธรรมที่สืบเนื่องเหยียดยาวมาจากบรรพชนถูกตัดทอน

ประชาธิปไตยไทยปรากฏจุดดับของตัวเอง จนหลายฝ่ายหลายคนเริ่มไม่แน่ใจว่ามันจะเป็นคำตอบของสังคมเพื่อความดีโดยส่วนรวม นักคิดชั้นนำของสังคมไทยอย่าง ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ก็เพิ่งออกมาตั้งข้อสังเกตว่าประชาธิปไตยเสรีนิยมที่เป็นอยู่เวลานี้ ‘ได้ทำให้ประชาชนไร้จิตสำนึกทางการเมือง และสิ้นเยื่อใยต่อวัฒนธรรมท้องถิ่น' บางคนเริ่มแสวงหาแนวทางใหม่กันบ้างแล้ว อย่างเจ้าสำนักธรรมรัฐ อ.ธีรยุทธ บุญมี ที่เพิ่งออกมาบอกว่า สังคมไทยในศตวรรษหน้าต้องเป็นพหุสังคมที่เป็นธรรมและก้าวหน้า...

ศาสนาเล่า...มองภาวการณ์นี้อย่างไร?

ในวาระแห่งการก้าวสู่สหัสวรรษใหม่ พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ มุขนายกคณะกรรมการยุติธรรมและสันติแห่งประเทศไทย องค์กรด้านสังคมซึ่งเป็นเสมือน "ไก่บอกทิศทางลม" ในพระศาสนจักรไทยได้ส่งสัญญาณไปยังคริสตชน และสังคมไทยว่าในสหัสวรรษที่ 3 นี้เรา "ต้องสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง"


บทบาทของศาสนา ในการสร้างความยุติธรรม และสันติในสังคม

การสร้างความยุติธรรมและสันติ ไม่ใช่พัฒนาโลกโดยการสร้างตึกรามที่ใหญ่โตคับฟ้า แต่ต้องสร้างกลุ่มที่สะท้อนให้เห็นถึงอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า

เรื่องใหญ่ที่สุด ต้องทำให้โลกรู้ว่าในอาณาจักรของพระเจ้าเป็นอาณาจักรแห่ง "ความรัก"

พระศาสนจักรต้องเป็น เครื่องหมาย และเป็นเครื่องมือ แห่งอาณาจักรของพระเป็นเจ้า

เป็นเครื่องหมาย หมายความว่า เมื่อเขามองเห็นกลุ่มคริสตชนแล้ว เขาเห็นความรัก การช่วยเหลือกัน มีความสุข มีสันติ

เป็นเครื่องมือ หมายความว่า คริสตชนต้องพยายามเสริมสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม


ความรัก ความยุติธรรม และสันติ

ความรัก เป็นการเอ่อล้นของความยุติธรรม เป็นความยุติธรรมที่เอ่อล้นออกมาเป็นความรัก ความยุติธรรมเป็นพื้นฐานของความรัก ดังนี้การให้การช่วยเหลือผู้อื่นภายใต้ความรู้สึกลบหลู่ดูหมิ่น จึงไม่ใช่ความรักแท้

ยุติธรรม คือ รู้และยอมรับความจริง

รู้ คือรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ยอมรับ คือการเปิดตัวเอง ฉัน-รู้ว่าฉันเป็นใคร ซึ่งมีทั้งแง่ดีและแง่ไม่ดีอยู่ คนอื่นก็เช่นกัน เรารู้ว่าเขามีทั้งแง่ดีแง่ไม่ดี แง่ดีก็รับได้ แง่ไม่ดีก็ต้องยอมรับได้

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะรู้ว่าเขาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง เขามีเกียรติและมีศักดิ์ศรีเหมือนมนุษย์คนอื่นๆ เพราะฉะนั้นจะต้องปฏิบัติต่อเขาแบบมนุษย์กับมนุษย์ พูดง่ายๆ ว่าให้เกียรติกันและกัน เคารพกัน ซึ่งต้องมาจากจิตสำนึกที่ว่าเราเป็นมนุษย์เหมือนกัน

สันติ คือสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

เทววิทยาให้ความหมายว่า ‘เป็นดุลยภาพของระเบียบ' หรือดุลยภาพของปฏิสัมพันธ์ แปลว่า ‘เป็นความสัมพันธ์ที่มีดุลยภาพ' ภาษาลาตินว่าเป็น ‘ความสงบแห่งระเบียบ' หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

เมื่อพูดถึงสันติ ไม่ใช่ว่าเมื่อไม่มีสงครามก็มีสันติแล้ว... ไม่ใช่ เวลานี้เราไม่มีสงครามใหญ่ แต่มีสงครามเล็กๆ ย่อยๆ อย่างในอินโดนีเซีย ไม่มีมหาอำนาจมาบอมบ์ แต่ก็ยังไม่มีสันติ นี่ก็เพราะว่ายังไม่มีดุลยภาพของปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน


ศตวรรษแห่งเสรีนิยม

ความเป็นไปได้ในอนาคตก็ต้องดูจากปัจจุบัน ต้องดูจาก...

ด้าน เศรษฐกิจ เราก็เห็นว่า ทุนนิยม (Capitalism) กำลังมาแรง มีการแข่งขันอย่างเข้มข้นในเรื่องการตลาด จนกล่าวกันว่าในอนาคตจะไม่มีสงครามเกี่ยวกับอุดมการณ์ (Ideology) ทางการเมือง (ประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์) อย่างในปลายศตวรรษที่ 20 อีกแล้ว ต่อจากนี้ไปจะเป็นสงครามเศรษฐกิจ ซึ่งสืบเนื่องมาจากการแข่งขันกันผลิตและหาตลาด

ทาง สังคม ชีวิตมนุษย์จะสะดวกสบายมากขึ้น เพราะมีเทคโนโลยีมาช่วยผ่อนแรงคน ขณะเดียวกันมันก็จะทำให้ช่องว่างระหว่างคนกับคนถ่างกว้างมากขึ้น อีกประการหนึ่ง คือ สังคมจะเป็นสังคมบริโภคมากขึ้น สังคมจะเห็นแก่ตัวมากขึ้น ทั้งที่รวมกันเป็นพวกเป็นภาค ภายนอกดูเหมือนว่าจะช่วยเหลือกัน แต่เป็นการช่วยเฉพาะพรรค เฉพาะพวกของตัวเอง อย่างพรรคการเมืองนี่เห็นชัดเจนเลย พรรคไม่ได้ถูกตั้งมาเพื่อมุ่งบริหารประเทศให้ดีขึ้น แต่เพื่อ อะไร... รู้กันดีอยู่ พวกแกตต์ (Gatt) ดับเบิ้ลยูทีโอ (WTO) ก็ทำนองเดียวกัน

วิถีชีวิต กรอบความคิดและภาคปฏิบัติอยู่ในกรอบ ‘เสรีนิยมใหม่' ซึ่งแทรกซึมอยู่ในทุกมิติของชีวิต ในด้านเศรษฐกิจก็จะเกิดตลาดเสรี การดำเนินชีวิตก็เป็นชีวิตที่เสรี ไม่ต้องมีกฎเกณฑ์อะไร วินัยเป็นของล้าสมัย ธรรมเนียม วัฒนธรรม ก็ล้าสมัย นอกจากนี้มันยังแทรกซึมเข้าไปในด้านเทคโนโลยี การค้นคว้าทดลอง ซึ่งจะทำได้อย่างเสรี โดยไม่ต้องคำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรม

ความคิดนี้แพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วและลึกซึ้ง เนื่องจากสื่อคอยล้างสมองอยู่ทุกนาที และอีกประการหนึ่งที่อันตรายมากคือเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์สามารถอยู่คนเดียวในโลกได้ แม้แต่การพักผ่อนหย่อนใจ (เช่น การเล่นเกมกับเครื่องคอมพิวเตอร์) มันเลยทำให้ชีวิตมนุษย์ยิ่งโดดเดี่ยว

และเสรีนิยมแบบใหม่มันได้ซึมซับเข้ามาในระบบการเมือง เป็นการเมืองที่เต็มไปด้วยการซื้อเสียง เพื่อให้ได้อำนาจในการจัดการบริหารประเทศ เพื่อตัวเองได้กระเป๋าตุง ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมของนักการเมืองเช่นนี้ เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือ


มายาธิปไตย

ที่ผ่านมาเราผลักมนุษย์ไปอยู่ที่ชายขอบ เอาเงินตราเป็นพระเจ้า ศักดิ์ศรีมนุษย์ไม่มีความหมาย อาจจะถูกเมินเฉยหรือเหยียบย่ำ ยิ่งกว่านั้นการมีระบบความคิดและการดำเนินชีวิตที่ใช้ อำนาจ และ เทคโนโลยี ทำลายมนุษย์ด้วยกัน

เมื่อมนุษย์ไม่ได้เป็นศูนย์กลาง เงินตราและกำไรกลายเป็นเรื่องสำคัญกว่า ความเป็นมนุษย์ไปอยู่ที่ชายขอบ เมื่อเป็นเช่นนี้ ‘ประชาธิปไตย' ก็เป็น ‘มายาธิปไตย' คือ ประชาธิปไตยแบบหลอกๆ ใช้เงินซื้ออำนาจก็ได้ เพื่อเอาอำนาจมาหาผลประโยชน์เพื่อตัวเองและพรรคพวก ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพื่อส่วนรวม

ตรรกะของมันเริ่มตั้งแต่ความนิยม กรอบความคิดที่เอามนุษย์ออกไป แต่เอาวัตถุ เงินตรา ผลประโยชน์ กำไร เข้ามาเป็นศูนย์กลาง จากนั้นก็พยายามสร้างระบบครอบงำความคิดและชีวิตให้เป็นไปตามลัทธิบูชาเงิน และวัตถุนิยม

ระบบนี้ยังแทรกซึมเข้าไปถึงการจัดการความเป็นอยู่ในสังคม นอกจากนั้นยังมีอิทธิพลต่อทรัพยากร มีการแย่งชิงและทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ถ้าขืนปล่อยให้เป็นไปอย่างนี้ มนุษย์ก็ไม่ใช่มนุษย์ต่อไป เป็นแค่เครื่องมือของคนที่มีใจไม่ใช่มนุษย์ จะนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของเขา

แม้แต่โลกทั้งโลกและทรัพยากรก็จะถูกเขานำไปใช้เพื่อตัวเอง ซึ่งเขาทำได้เพราะมีเทคโนโลยีอยู่ในมือ และคิดว่าเขาจะอยู่ได้เพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว


ข้อคิดจากสารวันสันติสากล ปี ค.ศ.2000 : สันติสุขในโลก แด่ผู้ที่พระเจ้าทรงรัก

ข้อสี่ ในสภาพการณ์ปัจจุบัน แม้จะมีสงครามในศตวรรษที่ 20 แต่เกียรติของมนุษย์ก็ยังได้รับการรักษาไว้ โดยผู้ที่พูดและทำงานในนามของสันติ
ข้อห้า ยังมีเสียงเรียกให้เป็นครอบครัวเดียวกัน คือมนุษยชาติต้องเป็นครอบครัวเดียวกัน ไม่ควรจะเป็นโลกที่ 1 โลกที่ 2 โลกที่ 3 ตามหลักศาสนาก็คือครอบครัวของพระบิดาเจ้าองค์เดียวกัน

ข้อหก ต้องมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติอย่างสิ้นเชิง กล่างคือความมุ่งหมายจะต้องไม่ใช่เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชนทางการเมือง เชื้อชาติ หรือวัฒนธรรมหนึ่งใดโดยเฉพาะ แต่ต้องเพื่อความดีของมนุษยชาติทั้งมวล

ข้อเจ็ด ปัญหาสำคัญทางเศรษฐกิจในยุคของเรามิได้เกิดขึ้นเพราะความขาดแคลน ตามหลักศาสนาว่าพระไม่ทิ้งลูกของพระองค์ พระองค์ประทานทรัพยากรธรรมชาติอย่างพอเพียงสำหรับทุกคน แต่ทำไมปัจจุบัน ปรากฏว่า ประชากร 1,400 - 1,500 ล้านคน มีอาหารไม่พอกินในทุกๆ วัน ทำไม? ตอบได้ว่า เพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ในปัจจุบันมีส่วนประกอบที่ไม่ดี ไม่สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาที่แท้จริงได้ คือ ขาดการแบ่งปันแก่กันและกัน

ทรัพยากรมีเพียงพอ แต่โครงสร้างในสังคมทำให้การแบ่งปันแจกจ่ายไปได้ไม่ทั่วถึง

ข้อสิบห้า จำเป็นต้องตรวจสอบความห่วงใยของนักเศรษฐศาสตร์และนักการคลังจำนวนมาก ในขณะที่กำลังจับประเด็นเกี่ยวกับความยากจน สันติภาพ ระบบนิเวศน์ และมนุษย์ยุคใหม่เขามีแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างไร

ข้อสิบหก โอกาสนี้ขอเชิญนักเศรษฐศาสตร์ นักการเมือง นักการคลัง รวมทั้งผู้นำทางการเมือง ให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะให้หลักประกันว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจและนโยบายทางการเมืองที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความดีของมนุษย์แต่ละคนและมนุษย์ทุกคน

ข้อสิบเจ็ด ในช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่ 21 นี้ ยังมีประชาชนมากกว่า 1,400 ล้านคน ต้องดำเนินชีวิตด้วยความยากจนข้นแค้น มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทบทวนรูปแบบที่เป็นตัวกำหนดนโยบายการพัฒนา (ว่าจะเป็นแบบไหน) ความต้องการอันชอบธรรมเพื่อประสิทธิผลของเศรษฐกิจ จะต้องปรับให้เข้ากับความต้องการที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองและความยุติธรรมทางสังคม โดยไม่ต้องหวนกลับไปหาความผิดพลาดทางอุดมการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในช่วง 50 ปีหลัง สำหรับประเทศไทยใน 30 ปีหลังนี่ผิดพลาดมามาก

นั่นก็คือต้องสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง

ประชาธิปไตยที่ไม่ซื้อเสียง เคารพในเกียรติและศักดิ์ศรี และอำนาจทางการเมืองเพื่อความอยู่ดีของส่วนรวม

ท้ายที่สุด ประชาธิปไตยที่แท้จริงก็คือประชาธิปไตยที่มุ่งเพื่อความอยู่ดีของส่วนรวม ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และเคารพในสิทธิเสรีภาพของกันและกัน


------------
ที่มา : จากวารสาร "ผู้ไถ่" ฉบับที่ 51 1/2543 หน้า 1-5

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >