หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 44 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ศาสนจักรต้องแสดงตนในเรื่องสิทธิมนุษยชน : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Wednesday, 12 January 2011

ศาสนจักรต้องแสดงตนในเรื่องสิทธิมนุษยชน

พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์


สมณสาสน์สันติสุขในโลก (Pacem in Terris) ออกมาในปี ค.ศ.1963 เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่ตรงกับโอกาสฉลองอิสเตอร์ หรือปัสกา ซึ่งสถานการณ์ของโลกสมัยนั้น

ด้านการเมือง มีปัญหาเรื่อง "วิกฤตขีปนาวุธคิวบา" โลกถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกาศอุดมการณ์เทิดทูนกรรมาชีพ - คนจน กับประชาธิปไตย ที่เทิดทูนสิทธิ เสรีภาพ ทั้งสองฝ่ายกำลังแข่งขันกันโดยเฉพาะเรื่องการสร้างอาวุธ แต่ละฝ่ายใช้เงินมหาศาล ทุ่มเทพัฒนาการสร้างอาวุธ เพื่อแย่งตำแหน่งการเป็นที่หนึ่งในโลก จึงเกิดเรื่องที่คิวบา แต่ทราบไหม ในเวลาต่อมาสาเหตุเบื้องหลังที่ Nikita Khrushchev เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต กับประธานาธิบดี John F. Kennedy ของสหรัฐอเมริกา สามารถยุติความขัดแย้งลงได้ เพราะพระสันตะปาปาทรงมีจดหมายส่วนพระองค์ไปถึงทั้งสองฝ่าย ให้มีสติ ไตร่ตรองถึงผลร้ายของอาวุธนิวเคลียร์

ด้านเศรษฐกิจ ปี ค.ศ.1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง สหรัฐฯ พยายามทุ่มเงินไปเพื่อจะพัฒนายุโรปภายใน 5 ปี ยุโรปตั้งตัวได้ภายใน 5 ปี และเจริญขึ้นเรื่อยๆ ส่วนโลกคอมมิวนิสต์ ซึ่งรัฐบาลเป็นใหญ่ ไม่ให้อิสระกับเอกชนที่จะพัฒนา ด้านเศรษฐกิจจึงเจริญสู้โลกตะวันตกไม่ได้ คอมมิวนิสต์จึงได้พยายามพัฒนาด้านอาวุธ ฉะนั้น ถ้าพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจแล้วทางคอมมิวนิสต์แพ้โลกตะวันตก แต่ถ้าเป็นเรื่องอิทธิพลทางการทหารแล้ว โลกตะวันตกแพ้คอมมิวนิสต์ ดูตัวอย่างจากการพัฒนาโครงการทางอวกาศ รัสเซียส่งยานอวกาศ Sputnik ขึ้นไปได้ก่อนอเมริกา

ในเวลาเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายก็พยายามหาบริวาร โลกตะวันตกพยายามสร้างกองกำลังพันธมิตร NATO ต่อมาเป็น SEATO และลงไปทางนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย คอมมิวนิสต์พยายามที่จะกินยุโรปตะวันออก จีน เวียดนาม เกาหลีเหนือ (ซึ่งได้มาตั้งแต่ ค.ศ.1953) และที่น่าสังเกตคือ ใช้เงินส่วนน้อยที่มี ข้ามไปทางอาฟริกา โดยเชิญผู้นำของอาฟริกาและจีนไปรับการศึกษาที่รัสเซีย ส่วนประเทศโลกที่สามในแถบอินโดจีน ก็ได้รับอิสรภาพจากฝรั่งเศส และถูกอิทธิพลคอมมิวนิสต์ครอบงำ บางประเทศในโลกที่สามจึงตกเป็นบริวารของรัสเซีย และบางส่วน เช่นประเทศไทยก็ไปเข้ากับสหรัฐอเมริกา

กลุ่มประเทศโลกที่หนึ่ง จึงทุ่มทุนทรัพย์มาให้โลกที่สาม เพื่อไม่ให้ตกเป็นลูกน้องของรัสเซีย เห็นได้จากการที่มีองค์กรทุนเกิดขึ้น เช่น Catholic Relief Services ในพระศาสนจักรเองก็มีองค์กรทุน CEBEMO และ MISEREOR เกิดขึ้นในระหว่างปี ค.ศ.1965 เป็นต้นมา

เมื่อสงครามโลกครั้งแรกที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปสิ้นสุดลง ผู้นำทางศาสนา (กรุงโรม) ได้สนใจเฉพาะประเทศในยุโรป ศาสนจักรส่วนมากอยู่ในยุโรปจบลง แต่พอเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น ได้ขยายพื้นที่ความขัดแย้งไปสู่เอเชียด้วย พระศาสนจักรจึงต้องใส่ใจความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะยุโรปเท่านั้น และหลังจากสงครามสงบลงในปี ค.ศ.1945 ได้มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ และในปี ค.ศ.1948 องค์การสหประชาชาติได้ออกปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งรัฐวาติกันได้รับสถานภาพพิเศษเป็นสมาชิกถาวรที่แสดงความคิดเห็นได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิออกคะแนนเสียง เพราะถือว่าเป็นรัฐที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง เป็นรัฐพิเศษที่ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับศาสนา แต่เบื้องหลังของปฏิญญาสากลฯ รัฐวาติกันมีส่วนร่วมร่างทั้งหมด โดยมีพระสงฆ์คณะเยสุอิตมีส่วนในการร่างปฏิญญาสากลฯ องค์พระสันตะปาปา ก็เริ่มจะมองว่า จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้โลกนี้เกิดสงคราม และมีสันติสุข

เหตุการณ์เหล่านี้ เกิดขึ้นในยุคพระสันตะปาปา ปีโอ ที่ 12 พระองค์ไม่ได้ออกสมณสาสน์เกี่ยวข้องกับสังคมโดยตรง แต่ในโอกาสคริสตมาสของทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี 1948 เป็นต้นมา พระสันตะปาปาจะส่งสารความสุขสันติถึงมนุษยชาติ และประเทศต่างๆ ท่านจึงใช้โอกาสนี้บอกถึง "ความสุขสันติที่แท้จริงจะเกิดขึ้น เมื่อเรามนุษย์แต่ละคนให้การเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ด้วยกัน และเคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคลแต่ละคน ของแต่ละประเทศ"

ในปี ค.ศ.1958 สมณสมัยของพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23 ซึ่งประวัติส่วนตัวของพระองค์ที่น่าสนใจ คือเป็นชาวอิตาเลียนทางเหนือและเป็นลูกชาวนา เข้าไปเรียนเป็นเณร และบวชเป็นพระสงฆ์ได้เพราะพ่อแม่ไปขอความช่วยเหลือจากผู้ใจบุญสนับสนุน ฉะนั้น ท่านจึงเป็นคนติดดิน รู้และเข้าใจว่าความยากจนเป็นอย่างไร เนื่องจากท่านเป็นคนดีและเก่ง ในที่สุดท่านได้เป็นพระสังฆราช ได้ทำงานด้านการทูตของสำนักวาติกัน (สำนักวาติกันมีสถานทูตอยู่กว่า 150 ประเทศ) ก่อนขึ้นเป็นพระสันตะปาปา ท่านไปประจำที่ประเทศตุรกี ซึ่งเป็นประเทศมุสลิม ท่านได้สังเกตเรื่องการเมืองและศาสนาในประเทศนั้น ต่อมาก็ย้ายไปประจำที่ประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้น ก็ถูกเรียกให้กลับไปเป็นอัครสังฆราชทำงานด้านอภิบาลแห่งเวนิส ชีวิตของท่านมีทั้งงานการทูตและอภิบาล เดือนตุลาคม ค.ศ.1958 ท่านได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปา และในปีถัดมา ท่านได้ประกาศว่าจะให้มีสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 หรือการประชุมใหญ่ของบรรดาพระสังฆราช

สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ.1962 และสิ้นสุดในปี ค.ศ.1965 เหตุที่ต้องจัดสังคายนาครั้งนี้ เพราะพระสันตะปาปาเห็นว่า ภายในพระศาสนจักรมีแนวคิดขวาจัด ที่คิดเพื่อตนเอง ไม่ต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง ที่เป็นเช่นนี้เพราะก่อนที่จะเป็นรัฐวาติกัน รัฐวาติกันมีพื้นที่ค่อนประเทศอิตาลี ต่อมามีพวกรักชาติอิตาเลียนลุกขึ้นมาเรียกร้องเรื่องดินแดน เกิดการต่อสู้แย่งชิง ทำให้พระสังฆราชหลายคนไม่ชอบการเมือง เพราะไม่อยากมีศัตรู

เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐวาติกันไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐวาติกันเข้าไปยุ่งเกี่ยวมาก เพราะสงครามที่เกิดจากลัทธิอุดมการณ์ ได้ทำลายเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งฮิตเลอร์ (ลัทธินาซี) มุสโสลินี (ลัทธิฟาสซิสต์) และสหภาพรัสเซีย (ลัทธิคอมมิวนิสต์) ได้ทำลายสิทธิมนุษยชน ซึ่งพระสันตะปาปา ปีโอ ที่ 12 เคยเป็นทูตที่ประเทศเยอรมัน ท่านมีประสบการณ์ว่าฮิตเลอร์ได้กระทำอย่างไรเกี่ยวกับเยาวชน ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือชาวยิว และมีส่วนร่วมที่ทำให้สงครามยุติลงโดยเร็ว จากเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นการเริ่มเปิดตัวของรัฐวาติกันที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งพระศาสนจักรกระทำไปเพราะเป็นห่วงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ซึ่งพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23 มีแนว คิดเดียวกับพระสันตะปาปา ปี โอ ที่ 12 จึงให้มีสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2

ในปี ค.ศ.1961 พระสันตะปาปา ยอห์นที่ 23 ได้ออกสมณสาสน์ด้านสังคมชื่อ แม่และครู (Mater et Magistra) มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และกล่าวถึงบทบาทของพระศาสนจักรว่า จะนิ่งเงียบกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะศาสนจักรต้องถือว่าตนเป็นแม่ของมนุษยชาติ และเป็นครูที่ต้องแนะนำมนุษยชาติ และในปี ค.ศ.1962 พระองค์ได้ออกสมณสาสน์สันติสุขในโลก (Pacem in Terris) เพื่อเป็นแนวทางแก่สังคายวาติกันครั้งที่ 2 ในการออกเอกสารเกี่ยวกับศาสนจักรกับโลกปัจจุบัน ว่าควรจะมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร โดยเฉพาะต่อเรื่องความสัมพันธ์ของสิทธิมนุษยชนกับการสร้างสันติภาพ สันติภาพจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมนุษย์ยอมรับและเคารพสิทธิของกันและกัน และมนุษย์มีหน้าที่ปกป้องสิทธิของกันและกัน ต้องมีหลักแห่งเสรีภาพ และต้องมีความรักซึ่งกันและกันด้วย

สมณสาสน์สันติสุขในโลก (Pacem in Terris) เป็นเอกสารที่ออกในนามองค์กรศาสนา จึงมีการอ้างเหตุผลจากพระคัมภีร์ไบเบิล และเอกสารทางศาสนา เพื่อให้แนวทางต่อการสร้างสันติภาพ สรุปความได้ว่า หนึ่ง มนุษย์ทุกคนต้องเคารพในระเบียบที่พระเจ้าทรงประทานไว้ในธรรมชาติ นั่นคือ มนุษย์ทุกคนต้องมีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกันและกัน สอง สันติภาพอันดีเกิดจากความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐกับพลเมือง สาม เพื่อให้มีสันติภาพ ต้องมีปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐกับรัฐ อย่างไรก็ดี มีข้อน่าสังเกตในเอกสารฉบับนี้ว่า ยังขาดการกล่าวถึงปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างมนุษย์กับสิ่งสร้างหรือทรัพยากรธรรมชาติ เพราะสมัยนั้น ยังไม่มีการคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ เอกสารฉบับนี้ ยังมีเจตนาเปิดกว้างไปถึงมนุษย์ทุกคนผู้มีน้ำใจดี ทุกศาสนา ไม่ใช่เฉพาะคริสตชนเท่านั้น รวมไปถึงสมาชิกสหประชาชาติ และสหภาพโซเวียตรัสเซีย และมีภาษาเขียนที่สุภาพ และสะท้อนความคิดที่ชัดเจน จึงปรากฎว่าเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง


ปี ค.ศ.1963 - 2003

ปี ค.ศ.2003 ครบรอบ 40 ปี ของสมณสาสน์สันติสุขในโลก (Pacem in Terris) โลกมีสถานการณ์ความตึงเครียดที่คล้ายคลึงกับ 40 ปีก่อน ทั้งปัญหาระหว่างยิวกับปาเลสไตน์ เรื่องที่สหรัฐฯ ประกาศว่า ประเทศใดที่ไม่อยู่ข้างเดียวกับเขา เป็นพวกผู้ก่อการร้าย รวมทั้งปัญหาโลกาภิวัตน์ ที่มุ่งเน้นทางเศรษฐกิจล้วนๆ และเริ่มเห็นผลแล้วว่า คนรวยยิ่งรวยขึ้น คนจนยิ่งจนลง แล้วโลกจะมีสันติสุขไม่ได้ สิ่งนี้จะทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้นว่า ทำไมพวกผู้ก่อการร้ายจึงพุ่งเป้าไปที่สหรัฐอเมริกา

ส่วนเรื่องยิวกับปาเลสไตน์นั้น มีประวัติศาสตร์ยาวนานและมีรากฐานอยู่ในคัมภีร์ไบเบิ้ล ดังนั้น มันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมมาเป็นพันๆ ปี ในคัมภีร์ไบเบิ้ล พระเจ้าได้สัญญาว่า จะประทานที่ดินแห่งพระสัญญาแก่พวกชาวยิว แต่ในปัจจุบันดินแดนนี้ผู้เป็นเจ้าของคือ ปาเลสไตน์ หากพิจารณาในคัมภีร์แล้ว ทั้งสองประเทศนี้เป็นศัตรูกันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์

พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 จึงใช้คำๆ หนึ่งว่า ชำระบาดแผลแห่งอดีต (Purification of the Past Wound) เป็นคำใหม่ที่ท่านใช้ อยู่ในเอกสารรณรงค์มหาพรตปี 2544 "ความขัดแย้งและเหตุการณ์รุนแรงที่แบ่งแยกมนุษยชาติออกจากกัน ซึ่งบางครั้งเกิดจากความเข้าใจผิดทางศาสนา ได้ทิ้งร่องรอยความเกลียดชัง และความรุนแรงระหว่างชาติเอาไว้... เราจึงยังสามารถหันกลับไปสู่หนทางที่ดีได้ด้วยความไว้วางใจ และความรักของพระเจ้าแสดงออกมาอย่างสูงสุดก็เมื่อมนุษย์ที่เป็นคนบาปและอกตัญญู ได้ถูกนำกลับมาเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระองค์อีกครั้งหนึ่ง ในมุมมองนี้ "การชำระความทรงจำให้บริสุทธิ์ (Purification of the Memory) จึงมีความหมายแรกเป็นการประกาศถึงพระเมตตากรุณาของพระเจ้าอีกครั้ง..."


หนทางของศาสนิกเมื่อเกิดความขัดแย้ง

วิธีการที่ศาสนิกสามารถนำมาใช้เมื่อเกิดความขัดแย้งคือ หนึ่ง ใช้วิธีพูดจากัน ยอมรับซึ่งกันและกัน พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 บอกว่า หนทางที่จะเกิดสันติสุขคือ การสนทนา เพราะลึกๆ ในใจของมนุษย์ทุกคนต้องการสันติ ฉะนั้นต้องใช้สติปัญญา ในการแก้ปัญหา สอง การชำระความทรงจำให้บริสุทธิ์ และศาสนิกชนของทุกศาสนา จะต้องมารวมกันให้มีพลังที่เข้มแข็ง เพื่อสร้างโลกที่สันติ

 


--------

ที่มา : สัมมนาศึกษาสารวันสันติภาพสากล ปี ค.ศ.2003, คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2546 บ้านเซเวียร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพฯ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >