หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 91 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

พระศาสนจักรกับสิทธิมนุษยชน : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Sunday, 26 December 2010

พระศาสนจักรกับสิทธิมนุษยชน

พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์

การที่จะศึกษาถึง "สัจธรรม" ที่เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะเรื่องเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ใน ทัศนะของศาสนาคริสต์นั้น ก่อนอื่นควรที่จะทำความเข้าใจความหมายของคำว่า "พระศาสนจักร" และ "สิทธิมนุษยชน" ว่า "พระศาสนจักรคืออะไรและเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างไร"

"พระศาสนจักร" หมายถึงกลุ่มชนที่มีความเชื่อ ความศรัทธาในพระเจ้ารวมกันเป็นหนึ่ง เพื่อทำพันธกิจในการเป็นเกลือ เชื้อแป้งและแสงสว่างของโลก หรืออธิบายได้ว่าพระศาสนจักรเป็นกลุ่มชุมชน หรือเป็นประชาคมที่รวมกันอย่างมีเอกภาพด้วยความเชื่อ ความศรัทธา และความรักต่อองค์พระคริสตเจ้า และทำพันธกิจที่พระเจ้าได้ทรงมอบหมายไว้ให้นั่นคือ "เป็นเกลือ เชื้อแป้ง และแสงสว่างของสังคมโลก"

เกลือ หมายถึง ทำให้มีรส ทำให้ประชาคมโลกมีรสและเกลือยังมีคุณภาพที่จะรักษา

เชื้อแป้ง หมายถึง มีคุณภาพที่จะทำให้แป้งเป็นผงฟูขึ้นมาได้

แสงสว่าง หมายถึง นำความสว่างแห่งสัจธรรมมาสู่โลก นำความร้อนที่จำเป็นต่อชีวิตในโลก

จาก 3 คุณลักษณะดังกล่าว จึงทำให้โลกรสดีขึ้น ฟูขึ้นและสว่างไสวยิ่งขึ้น ซึ่งการทำให้โลกดีขึ้น ก็ถือว่าเป็นภารกิจที่พระเจ้าทรงมอบบัญชาให้ลูกศิษย์ของพระองค์ทำต่อไป

"สิทธิมนุษยชน" ตามทัศนคติของศาสนาคริสต์ถือว่าเป็นพระคุณตามธรรมชาติที่มนุษย์มีมาแต่กำเนิด พระคุณอันนี้จะถ่ายโอนให้แก่ใครมิได้ และทำให้มนุษย์เจริญชีวิตอยู่อย่างสมศักดิ์ศรีที่เป็นมนุษย์ พระคุณนี้มีลักษณะเป็นสากลคือเมื่อเกิดเป็นมนุษย์แล้ว มีพระคุณที่เรียกว่าสิทธิมนุษยชนนี้


พระศาสนจักรอธิบายความหมายของสิทธิมนุษยชนอย่างไร

ความเข้าใจพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนในมิติทางศาสนาคือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ได้รับการยืนยันจากพระธรรมคำสอน ดังพระคัมภีร์ปฐมกาล บทที่ 1 : 26 "พระเป็นเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามพระฉายาของพระองค์" ในที่นี้ "ฉายา" ตามความหมายของคริสต์ศาสนา คือ มนุษย์มีปัญญารู้ คิดเช่นเดียวกับพระเป็นเจ้า มีอิสระ มีความรัก แบบที่ออกจากตัวเอง

ฉายาของพระเจ้า ยังหมายถึง มนุษย์ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรักษาสิ่งสร้าง เพื่อจะได้เสริมสร้างสิ่งที่พระเป็นเจ้าสร้างมาให้พัฒนาดำรงอยู่ พระฉายาตามความหมายของพระศาสนจักรเป็นพระคุณที่พระผู้สร้างมอบให้กับมนุษย์ทุกคน ทุกคนเกิดมาจะได้พระคุณนี้ที่ทำให้เรามีศักดิ์ศรีเป็นลูกของพระเป็นเจ้า ส่วนในทางเทววิทยาได้อธิบายว่า มนุษย์เรามีศักดิ์ศรียิ่งใหญ่เพราะว่า พระบุตรของพระเจ้าคือองค์พระเยซูเจ้าทรงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ (ภาษาเทววิทยา เรียกว่า รับเอาธรรมชาติมนุษย์มาอยู่กับพระองค์) หรือรับเอาสภาพความเป็นมนุษย์ จากความจริงข้อนี้เราเข้าใจว่า หลังจากที่ได้ทำบาปตกต่ำไป มนุษย์ก็ถูกยกขึ้นให้สูงส่ง เพราะเราเป็นฉายาของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้การเป็นฉายานั้นไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็นลูกของพระเป็นเจ้านั่นเอง ซึ่งในทางเทววิทยาถือว่าพระบุตรของพระเป็นเจ้ามิได้มารับสภาพมนุษย์เท่านั้น แต่ได้เป็นหนึ่งเดียวกับมนุษยชาติและในองค์พระบุตร มนุษย์จึงมีศักดิ์ศรีสูงส่งเป็นลูกของพระเป็นเจ้า

ความคิดในขั้นต่อไปคือ การที่มนุษย์มีศักดิ์ศรีสูงส่งเช่นนี้ ถือว่าเป็นพระคุณที่พระผู้สร้างได้ให้ จึงควรอย่างยิ่งที่มนุษย์ทุกคน จะได้สำนึกในพระคุณ เกียรติและศักดิ์ศรีเหล่านี้ และในเวลาเดียวกันแต่ละคนก็ต้องสำนึกด้วยว่า คนอื่นที่เป็นมนุษย์เขาก็เป็นลูกของพระเจ้าเหมือนกัน เขาก็ได้รับพระคุณแห่งการมีเกียรติและศักดิ์ศรีเช่นเดียวกัน ฉะนั้นก็เรียกร้องว่า เราจะต้องเคารพและให้เกียรติแก่กันและกัน เมื่อเราประพฤติหรือกระทำอย่างเคารพและให้เกียรติแก่ผู้อื่น เขาก็จะกระทำเช่นเดียวกับเรา โดยการเคารพและให้เกียรติแก่เราเช่นเดียวกับที่พระเป็นเจ้าพระบิดาเคารพเราซึ่งเป็นลูกพระองค์ ไม่ทำลายอิสรภาพและเสรีภาพของเรา ไม่ทำลายพระคุณที่พระองค์ประทานแก่เรา นั่นคือเกียรติและศักดิ์ศรีสูงส่งที่ทำให้เราเป็นลูกของพระองค์ ฉะนั้น เราจะต้องเคารพซึ่งกันและกัน เมื่อมีสิทธิที่จะให้คนอื่นเคารพเรา เราก็มีหน้าที่ต้องเคารพและรักผู้อื่นเช่นกัน เพราะว่าในศาสนาคริสต์ เราเน้นเรื่องความรักเป็นพื้นฐานของความเข้าใจในเรื่องพระศาสนจักรกับสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชนไม่ได้มาจากการที่มนุษย์เรียกร้อง มิได้มาจากรัฐ มิได้มาจากการมีเงินซื้อสิทธิมนุษยชน แต่มาจากพระคุณของพระเป็นเจ้า เป็นของประทาน เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด จะถ่ายโอนให้ใครไม่ได้ และเป็นสิ่งสากล ซึ่งศาสนาบอกว่าเป็นพระคุณอันประเสริฐของพระผู้สร้างที่ให้แก่เรา เราจะซื้อขายกันไม่ได้ รัฐจะมาเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ดังนี้ จึงกล่าวได้ว่าในมิติของศาสนาคริสต์ เกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นพระคุณอันศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่า ซึ่งมีไว้เพื่อจะทำให้ชีวิตของมนุษย์เจริญขึ้นและพัฒนาขึ้นแบบมนุษย์ และเพื่อให้มนุษย์จะได้อยู่ด้วยกันแบบมนุษย์ในสังคมที่มีความรัก ความเคารพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน


พระศาสนจักรเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างไร

เราต้องเข้าใจว่า พระศาสนจักรเอง ก็มีวิวัฒนาการความเข้าใจต่อเรื่องสิทธิมนุษยชนมาโดยลำดับ ไม่ใช่มีความเข้าใจชัดเจนมาตั้งแต่อดีต อย่างไรก็ตาม พื้นฐานคำสอนก็ได้อธิบายอยู่แล้ว พระศาสนจักรประกอบไปด้วยมนุษย์ เพราะฉะนั้น หากเราศึกษาถึงประวัติศาสตร์ก็มีบางยุคบางสมัยที่พระศาสนจักรเมินเฉยต่อสิทธิมนุษยชนและบางครั้งก็ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย ที่น่าสนใจคือ แม้ว่าประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรจะมีจุดด่างเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน แต่โดยทั่วไปแล้วพระศาสนจักรสอนและปฏิบัติการเคารพต่อมนุษย์หรือต่อสิทธิมนุษยชน ในรูปแบบของความรักและมีกิจกรรมที่กระทำและสนับสนุนตลอดเวลา 2000 ปีมานี้ ในเรื่องความรักและความเมตตาต่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก ต่อคนป่วย ต่อคนที่ไม่มีใครดูแลเอาใจใส่ ต่อทาสและผู้ต้อยต่ำ

พระศาสนจักรหันมาสนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนแบบที่เราเข้าใจในสมัยใหม่นี้ เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 โดยมีเอกสาร "RERUM NOVARUM" ของพระสันตะปาปา เลโอ ที่ 13 ซึ่งได้สอนและยืนยันถึงสิทธิของผู้ใช้แรงงาน โดยมีสาระสำคัญที่กล่าวถึง

- มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีทรัพย์สินส่วนตัว

- สิทธิของผู้ใช้แรงงานที่จะต้องได้รับค่าจ้างที่ยุติธรรม เพื่อสามารถจะเจริญชีวิตได้สมศักดิ์ศรีที่เป็นมนุษย์ และมีสิทธิในการรวมกลุ่มกันเป็นสหพันธ์ เพื่อเป็นพลังต่อรองกับนายจ้าง

เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 เกิดมีลัทธิต่างๆ ขึ้นในสังคมโลก ที่กดขี่และริดรอนสิทธิของมนุษย์ เช่น ลัทธิคอมมิวนิสต์ ลัทธินาซี ลัทธิเผด็จการ ผู้นำศาสนจักรในสมัยนั้น ได้ออกเอกสารต่างๆ ที่แสดงความไม่เห็นด้วย คัดค้าน ประณาม และต่อต้านลัทธิที่ริดรอนสิทธิมนุษยชนเหล่านี้ ต่อมาในปี ค.ศ.1945 (หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง) มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ - โดยการสนับสนุนจากสันตะสำนัก - ซึ่งเป็นองค์การที่รวมความพยายามของชาติทั้งหลายในการช่วยมนุษย์ให้เจริญชีวิตอย่างสมเกียรติและศักดิ์ศรี และมีองค์กรย่อยๆ เกิดขึ้น เพื่อดำเนินงานที่มุ่งพัฒนาชีวิตมนุษย์ ในด้านการศึกษา อนามัย การเมือง และการค้า เป็นต้น

ในปี ค.ศ.1958 สมัยของพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23 พระศาสนจักรได้เข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยออกเอกสาร 2 ฉบับคือสมณสาสน์แม่และครู (MATER ET MAGISTRA) ปี ค.ศ.1961 เป็นสมณสาสน์ที่กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของพระศาสนจักรในเรื่องการพัฒนาสังคมโลก และสมณสาสน์สันติสุขในโลก (PACEM IN TERRIS) ปี ค.ศ.1963 ซึ่งกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของพระศาสนจักรในการสรรสร้างสันติสุขในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลุกจิตสำนึกต่อเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการเคารพในเกียรติและสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ และบทบาทของพระศาสนจักรที่จะต้องปลุกจิตสำนึกและอบรมประชาคมโลก โดยเฉพาะสมาชิกในพระศาสนจักรให้รับรู้ เข้าใจและประพฤติตนให้เหมาะสมกับคำสอนนั้น

ต่อมาในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1962 - 1965 ห้วงเวลาแห่งสังคายนาวาติกันที่ 2 เป็นโอกาสที่พระศาสนจักรได้ทบทวนและเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเองต่อโลกสมัยใหม่มากขึ้น มีเอกสารที่น่าสนใจหลายฉบับ แต่จะขอกล่าวถึง 2 ฉบับ คือ

ธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร ( LUMEN GENTIUM ปี ค.ศ.1964) กล่าวถึงธรรมชาติและลักษณะของพระศาสนจักร ซึ่งสรุปคือพระศาสนจักรเป็นประชาคม เป็นกลุ่มของผู้มีความเชื่อ เป็นประชากรของพระเจ้า ซึ่งสืบทอดพันธกิจของพระเป็นเจ้า นั่นคือ เป็นเกลือ เชื้อแป้ง และแสงสว่าง

สมณสาสน์เรื่องพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ (GAUDIUM ET SPES ปี ค.ศ.1965) หรือกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของพระศาสนจักรต่อสังคมโลกในเรื่องสิทธิมนุษยชน วัฒนธรรม ครอบครัว สังคม และการเมือง

พระศาสนจักร ในช่วงหลังสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับเรื่องความเข้าใจในบทบาทของตนเองต่อสังคมโลก และเกี่ยวกับเหตุการณ์ สถานการณ์ในสังคมโลก โดยอาศัยทฤษฎีอ่านสัญญาณแห่งกาลเวลา (Read the signs of the time) เป็นทฤษฎีเก่าที่พระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23 ได้นำมาใช้เพื่อปลุกจิตสำนึกสมาชิกของพระศาสนจักร ให้รู้และเข้าใจบทบาทของตนเองต่อสังคมโลก และปฏิบัติหน้าที่ที่ถือว่าเป็นการสนองต่อเสียงเรียกร้องของพระเป็นเจ้า เพื่อให้สังคมโลกดีขึ้น และได้รับความรอด นั่นคือมีความสุขสันติของพระผู้สร้าง ได้ช่วยเสริมสร้างสันติภาพและสนับสนุนความเข้าใจถึงศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชน และทำการปกป้องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น

ต่อมาพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ได้กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ของทุกปี (โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1968) เป็นวันสันติภาพสากล คือวันที่ศาสนิกชนต้องสวดภาวนาและศึกษาเรื่องยุติธรรมและสันติในโลก ความคิดนี้สืบเนื่องมาจากสมณสาสน์พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ (GAUDIUM ET SPES) และตั้งแต่นั้นมาถือเป็นภาระหน้าที่ว่าต้องมีสารวันสันติสากลออกมาเป็นประจำทุกปี เพื่อกระตุ้นเตือน คริสตชน ศาสนิกชน ให้รู้ว่าเหตุการณ์ที่ทำลายศักดิ์ศรีและเกียรติความเป็นมนุษย์ ที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างสันติสุขในสังคมโลกมีเหตุการณ์อะไรบ้าง และคริสตศาสนิกชนต้องทำอะไรเพื่อให้โลกมีสันติบนพื้นฐานของความยุติธรรม นั่นคือเคารพเกียรติศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชนทุกคน

ในสมณสาสน์ พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ (GAUDIUM ET SPES) ข้อ 73 บอกว่า ประชาชนสมัยใหม่ที่มีสำนึกในเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Awareness of human dignity) ได้พยายามจัดให้มีองค์กรต่างๆ เพื่อสนับสนุนและปกป้องเกียรติและสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือว่าเป็นความพยายามที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองนั่นคือประชาธิปไตย ให้ประชาชนได้ตรวจสอบอำนาจของรัฐเพื่อให้เกิดความดีของส่วนรวม (Common Good) สมณสาสน์ดังกล่าวยังเน้นว่า เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ ต้องให้ประชาชนมีความตระหนักในเรื่องเกียรติและสิทธิของมนุษย์ และร่วมมือกันมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นพระศาสนจักรต้องพยายามปลุกจิตสำนึกแห่งเมตตาธรรม และการบริการเพื่อความดีส่วนรวม ทั้งยังสนับสนุนให้เชื่อในธรรมชาติแท้จริงของชีวิตการเมือง ขอบเขตอำนาจทางการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะธรรมชาติแท้จริงของชีวิตการเมือง คือ การเมืองมีไว้เพื่อความดีส่วนรวมเพื่อระเบียบและความสงบสุขของบ้านเมือง

ในข้อ 76 กล่าวว่าศาสนาคาทอลิกยอมรับว่าศาสนาและการเมืองต่างก็มีบทบาทต่างกัน เปรียบได้เหมือนเหรียญที่มี 2 ด้านแต่ต่างทำงานเพื่อความดีและความสมบูรณ์ของมนุษย์ และสังคมมนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของเหรียญทั้ง 2 ด้านที่เรียกว่า เป็นฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม หรือเรียกว่าโลกียะและโลกุตระ มนุษย์จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกัน การเมืองมีบทบาททำให้มนุษย์อยู่ในสังคมได้อย่างมีสุข มีศักดิ์ศรี ศาสนาก็มีบทบาทที่จะฝึกฝนอบรมให้มนุษย์แต่ละคนมีมโนธรรมที่เที่ยงตรงแบบมนุษย์ เพื่อมนุษย์ได้อยู่ร่วมกันในสังคมที่เป็นมนุษย์อย่างสมศักดิ์ศรี ศาสนามีบทบาทหน้าที่ปลูกฝังและส่งเสริมจิตตารมณ์ของมนุษย์ (Human Spirit) คือมนุษย์แต่ละคนซึ่งเป็นสมาชิกของสังคม ควรจะต้องมีจิตตารมณ์สมกับเป็นมนุษย์ เป็นพลเมืองที่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ที่จะบริการและรับใช้สังคมให้เจริญก้าวหน้า ศาสนายังต้องมีบทบาทอบรมให้พลเมืองรับฟังและเคารพในทฤษฎีและความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน ทั้งนี้โดยไม่ทำให้ความดีส่วนรวมต้องเสียไป

อย่างไรก็ตาม ศาสนาและการเมือง แม้ว่ามีบทบาทต่างกัน แต่ต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน ที่ขอย้ำข้อนี้เพราะเราต้องยอมรับว่า แม้แต่ผู้นำศาสนาเองก็มีความคิดเห็นต่างกัน นั่นก็คือบอกว่าศาสนาไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ศาสนาต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งตามบทบาทหน้าที่ของศาสนานั่นคือ "อบรมให้เกิดมโนธรรมและต้องมีการสนับสนุนความยุติธรรมในสังคม นั่นคือการส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์"

ในปี ค.ศ.2000 พระศาสนจักรในเอเชียมีเอกสารที่สำคัญออกมาชื่อว่า "พระศาสนจักรในเอเชีย" (Ecclesia in Asia) ซึ่งได้กล่าวถึงจุดยืนของศาสนจักรเอเชียต่อเรื่องการเมืองและสิทธิมนุษยชนไว้ดังนี้

1. พระศาสนจักรต้องถือว่า ในปัจจุบันนี้ได้รับการท้าทายจากนานาชาติ ที่จะให้พระศาสนจักรช่วยสนับสนุน ความสมัครสมานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อผนึกกันต่อสู้กับการด้อยพัฒนาที่ไม่สมกับการเป็นมนุษย์ หรือการพัฒนามากจนเกินไป ทำให้บุคคลกลายเป็นเพียงหน่วยเศรษฐกิจหน่วยหนึ่ง ในเครือข่ายบริโภคนิยมซึ่งกดขี่มนุษย์มากขึ้น (บทที่ 6 ข้อ 32)

2. หลังจาก 50 ปีของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งประกาศเมื่อปี ค.ศ.1945 พระศาสนจักรรู้ว่าสิทธิมนุษยชนยังไม่ได้รับการยกย่องหรือได้รับการเอาใจใส่อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพราะยังมีคนที่มีอำนาจมากกว่ากดขี่คนที่มีอำนาจน้อยกว่า และการตกเป็นทาสของวัตถุนิยมของคนในยุคสมัยนี้ ดังนั้นสิ่งนี้เป็นการท้าทายพระศาสนจักรในอันที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องในการปกป้องสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมความยุติธรรมและสันติ (บทที่ 6 ข้อ 32)

พระศาสนจักรในเอเชียได้ย้ำเรื่องนี้มาก เพราะต้องการเตือนสติประชาชนในเอเชียว่ามีปัญหาที่ท้าทายเราอยู่ และปัญหาเหล่านี้ยิ่งทำให้เราเห็นว่าเกียรติและศักดิ์ศรีของมนุษย์ ถูกคุกคามอย่างหนัก "และเราควรจะทำอย่างไร"

เช่นเดียวกัน ในสารวันสันติสากล ปี ค.ศ. 2000 ได้กล่าวว่า "สันติสุขในโลกแด่ผู้ที่พระเจ้าทรงรัก" พระเจ้าทรงรักลูกของพระองค์ทุกคน มนุษย์ทุกคนเกิดมามีเกียรติ มีศักดิ์ศรีเป็นลูกของพระองค์ แต่ปรากฎว่ามนุษย์ไม่รักกันเอง ทำไมจึงไม่รักกัน เพราะมนุษย์ไม่รู้จักเคารพให้เกียรติในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำลายสิทธิซึ่งกันและกัน


หวังว่าพวกเราคงเข้าใจถึงว่าพระศาสนจักรจะต้องสนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนหรือไม่ อย่างไร เพราะฉะนั้นควรหรือไม่ที่เราจะนำเรื่องสิทธิมนุษยชนที่สืบเนื่องมาจากเรื่องเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์มาพูด มาสอนให้เยาวชนของเรา


********************************

ที่มา : บทบรรยาย จากงานสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิก เรื่อง "สิทธิมนุษยชนศึกษา"
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2543 ณ อาคารมูลนิธิเซนต์คาเบรียล ซอยทองหล่อ 25 กรุงเทพฯ

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >