หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 256 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


บทบาทของผู้แพร่ธรรมศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกกับงานพัฒนาในประเทศ : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Wednesday, 26 January 2011

บทบาทของผู้แพร่ธรรมศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกกับงานพัฒนาในประเทศไทย

พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์


คริสตัง คริสเตียน คาทอลิก โปรแตสตันท์ ออร์โธดอกส์

ก่อนอื่นขอแนะนำสั้นๆ เกี่ยวกับชื่อและความหมายของคำดังกล่าว คริสตังเป็นชื่อเรียกผู้ที่ศรัทธาเชื่อถือพระเยซูคริสต์ที่รวมกันเป็นสถาบัน ตามจารีตประเพณีมาแต่โบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวยิว ชาวโรมัน และกรีก มีฐานันดรศักดิ์สงฆ์เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่สังฆานุกร พระสงฆ์ (บาทหลวง) และพระสังฆราช โดยมีพระสังฆราชแห่งกรุงโรมเป็นประมุข ผู้ที่อยู่ในฐานันดรศักดิ์ต้องตัดสินใจถือโสด ถวายตัวทั้งกายใจ เพื่อทำงานแพร่ธรรมของพระเจ้า ในสังคมคริสต์แบบนี้ยังเป็นโรมันคาทอลิกและออร์โธดอกส์ โรมันคาทอลิก คือ กลุ่มที่มีจารีตประเพณีแบบชาวโรมัน ฝ่ายออร์โธดอกส์ ถือจารีตประเพณีชาวกรีก ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของกรีกและของสลาฟ คริสเตียน เป็นชื่อใช้เรียกกลุ่มชนหรือสังคมที่ศรัทธาเชื่อถือพระเยซูคริสต์ แต่แยกออกมาจากกลุ่มชาวคริสต์โรมันคาทอลิก เมื่อคริสตศตวรรษที่ 16 โดยมีนักบวชชื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ และพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 เป็นผู้นำประกาศต่อต้านประมุขของโรมันคาทอลิกจึงได้ชื่อว่าเป็นโปรแตสตันส์ อันแปลว่า ผู้คัดค้าน

อนึ่งในแวดวงคาทอลิก ยังมีคณะนักบวชต่างๆ ซึ่งตั้งขึ้นโดยพระบาทหลวง หรือนางชี หรือคริสตชนฆราวาสที่มีความศรัทธาร้อนรนเป็นพิเศษ สมัครอยู่รวมกันเป็นคณะเพื่อทำการแพร่ธรรมช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ตามจิตตารมณ์ของผู้จัดตั้ง โดยมิได้แยกออกจากศาสนาคาทอลิก เช่น คณะซาเลเซียน คณะเยสุอิต คณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ต เป็นต้น ปัจจุบัน ทุกคนเห็นความสำคัญในการติดต่อกันเพื่ออยู่ร่วมกัน จึงมีความพยายามที่จะเสวนาทำความเข้าใจกัน ร่วมมือกันเพื่อเผยแพร่พระธรรมคำสอน เสริมสร้างสังคมให้ดีขึ้น การติดต่อเสวนาระหว่างศาสนาต่างๆ นี้เราเรียกว่า ศาสนสัมพันธ์ ส่วนการเสวนาระหว่างคริสตศาสนาด้วยกัน เรียกว่า คริสตศาสนาสัมพันธ์


คริสตศาสนาคาทอลิกในประเทศไทย

ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาในประเทศไทยเป็นทางการ ในรัชกาลพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี ค.ศ.1662 เป็นสมัยที่มีการค้าขายติดต่อกันระหว่างประเทศต่างๆ ในยุโรปและในทวีปเอเชีย กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าที่มีพ่อค้าโปรตุเกส ชาวสเปน ฮอลันดา ฝรั่งเศส และอังกฤษผ่านไปมาค้าขายกับจีน ญี่ปุ่น ญวณ ชวา ในบรรดาพ่อค้าเหล่านี้ก็มีคริสตชนปะปนมาด้วย ซึ่งเมืองสยามก็ต้อนรับเป็นอย่างดี สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดให้เผยแพร่ศาสนาได้ แม้ว่าประเทศสยามเป็นประเทศที่ประชาชนส่วนมากนับถือพุทธศาสนา แต่ยังมีใจกว้างยอมรับศาสนาคาทอลิก และศาสนาอื่นให้เข้ามาเผยแพร่ได้ แม้บางเวลามีความเข้าใจผิดกันบ้างตามประสามนุษย์


คริสตศาสนากับการพัฒนามนุษย์

คริสตชนถือตามคำสอนของพระเยซูคริสต์ที่ว่า ให้รักพระเจ้าด้วยสิ้นสุดจิตใจและรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง และใครที่ช่วยเหลือผู้หิวโหย ทุกข์ยาก เจ็บไข้ได้ป่วย หรือถูกเบียดเบียน ก็เท่ากับการช่วยเหลือพระองค์เอง หลังจากที่พระเยซูเจ้าได้คัดเลือกและแต่งตั้งลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษที่เรียกว่าอัครสาวก ทรงตรัสบัญชาเรียกเขาว่า "จงประกาศว่า อาณาจักรสวรรค์ใกล้เข้ามาแล้ว จงรักษาคนเจ็บไข้ จงปลุกคนตายให้กลับคืนชีพ จงรักษาคนโรคเรื้อนให้หาย จงขับไล่ปีศาจให้ออกไป ท่านได้รับมาโดยไม่เสียค่าตอบแทน ก็จงให้เขาโดยไม่เสียค่าตอบแทนด้วย" (มธ 12 : 7-9) ทรงบัญชาให้อัครสาวกช่วยเหลือมนุษย์ให้อยู่สุขสบาย ทรงมอบอำนาจให้เขาปลุกคนตาย ให้ขับไล่ปีศาจได้โดยไม่ต้องมีค่าตอบแทน เป็นข้อเตือนสอนผู้นำชุมชนคริสตชนให้ทำหน้าที่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ โดยไม่คิดค่าตอบแทนจากเขา

คริสตศาสนา มีส่วนร่วมช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากตามคำสอนและแบบฉบับอันดีงามของพระเยซูเจ้าตลอดมา รูปแบบและวิธีการปฏิบัติความรักต่อเพื่อนมนุษย์เปลี่ยนไปตามกาลสมัย และตามความต้องการของเพื่อนมนุษย์ผู้ทุกข์ยาก ในสมัยแรกๆ มีการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้เจ็บไข้ได้ป่วยถูกเบียดเบียนจากมนุษย์ด้วยกัน หรือถูกผีสิง ต่อมาก็เป็นการช่วยเหลือผู้อพยพ ผู้เดินทางไกล จากนั้นก็เป็นการรวมกลุ่มคริสตชน สร้างเป็นชุมชนและส่งเสริมอาชีพโดยเฉพาะการเกษตรกรรม ส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย และการศึกษาค้นคว้า มาสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมก็หันมาสนใจช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน จวบจนสมัยการปฏิวัติทางการเมืองในสมัยใหม่ก็หันมาสนใจด้านสิทธิมนุษยชน


ศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พวกมิชชันนารีได้ติดตามดูแลคริสตัง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นพ่อค้าชาวต่างประเทศ ในเวลาเดียวกันยังเอาใจใส่ดูแลคริสตังชาวไทย ซึ่งส่วนมากเป็นชาวสวน ชาวไร่ ชาวนา สอนเขาในเรื่องสุขภาพอนามัย ทำอาชีพโดยสุจริต พระสังฆราชปีแอร์ ลัมแบรต์ เดอ ลาม็อต ธรรมฑูต ชาวฝรั่งเศส (ผู้ร่วมก่อตั้งคณะสงฆ์มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส M.E.P) เป็นผู้ที่สมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อแห่งกรุงโรมส่งมาปกครองมิสซังโคชิน ไชนา (ญวณใต้) เมื่อท่านได้เดินทางมาถึงอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2205 ท่านได้รับการแจ้งให้ทราบว่ามีการเบียดเบียนศาสนาในประเทศเวียดนาม แต่ที่อยุธยามีความสงบ และมีอิสระในการประกาศศาสนา พระสังฆราชลัมแบรต์จึงตัดสินใจพำนักอยู่ที่อยุธยา และเริ่มงานแพร่ธรรมทันทีหลังจากการเข้าเงียบ 40 วัน

ในเวลาต่อมา เพื่อช่วยงานแพร่ธรรมของคณะธรรมฑูตนี้ ท่านลัมแบรต์ได้ตั้งสถาบันรักกางเขนขึ้นที่ค่ายนักบุญยอแซฟ อยุธยา เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2215 สมาชิกกลุ่มแรกมีประมาณ 5 คน และในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2222 พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ทรงรับรองสถาบันรักกางเขนและหมู่คณะของรักกางเขนที่พระสังฆราชหรืออุปสังฆราชได้ตั้ง หรือที่จะตั้งขึ้นในเอเชีย ศาสนจักรมีการสอนอบรมสตรีทั้งชาวคริสต์และพุทธในเรื่องสุขภาพอนามัย และการทำงาน โดยให้การศึกษา ได้จัดตั้งโรงเรียนตามวัดคาทอลิก สอนให้รู้จักอ่านเขียน ในขณะที่สอนคำสอนศาสนาไปด้วย ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีสามเณราลัยด้วย เพื่อให้การศึกษาอบรมสามเณรให้เป็นพระสงฆ์ นับว่าเป็นการช่วยประเทศในเรื่องการศึกษาขั้นสูง นำวิชาการจากตะวันตกมาสู่คนไทยเราเพื่อการดำเนินชีวิตเป็นพลเมืองดี

ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ปรากฎว่ากลุ่มชนคาทอลิกชาวไทยได้มีส่วนช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยาจากพม่าข้าศึก และมีส่วนร่วมในการสร้างชาติบ้านเมืองต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์อีกด้วย ในรัชสมัยราชวงศ์จักรี ศาสนาคาทอลิกมีอิสระเสรีในการสอนพระธรรมคำสอน และร่วมมือกับทางราชการพัฒนาประชาชนให้ทำมาหากินโดยสุจริต ช่วยจัดหาที่ทางให้ทำอาชีพการเกษตร อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน เป็นหลักแหล่ง ให้วัดเป็นที่พึ่งทั้งกายและจิตใจ เป็นศูนย์แห่งการศึกษา ประจักษ์พยานที่เด่นชัดในการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาวิชาการให้ทันสมัย ก็คือ ความสัมพันธ์ฉันท์กัลยาณมิตรระหว่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ กับพระสังฆราชปัลเลอกัว มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ซึ่งต่างก็ทรงอักษรภาษาไทยและฝรั่งเศสให้กัน ทรงอุปถัมภ์กลุ่มคริสตชนคาทอลิกทั้งในเมืองหลวง และชนบท ท่านสังฆราชเองได้สอนชาวบ้านทำสบู่ และวิธีย้อมผ้าสีกรมท่า


บทบาทของคาทอลิกกับงานพัฒนาประเทศ

ปัจจุบันนี้ชาวคาทอลิกซึ่งมีทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ยังทำการเผยแพร่พระธรรมคำสอน โดยร่วมมือกับทางการในการพัฒนาประเทศต่อไป มนุษย์เรารวมทั้งคนไทย ได้ผ่านยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม ยุคอาณานิคม ยุคการปฏิวัติการเมืองในระบบลัทธิอุดมการณ์ต่างๆ ทางสังคมและการเมือง มาบัดนี้เราอยู่ในยุคโลกาภิวัตน์ ทุกยุคสมัยย่อมมีส่วนดีและส่วนไม่ดีปะปนอยู่ เป็นการท้าทายเราให้ใช้สติปัญญาเลือกแต่สิ่งที่ดีงามและถูกต้องมาเป็นวิถีชีวิตตามคำสั่งสอนของศาสนา อันจะเป็นพลังให้พัฒนาสังคมสืบไป บรรดาผู้นำคาทอลิกพยายามทำตามข้อนี้ด้วยความสำนึกและตระหนักถึงพันธกิจนี้เสมอมา

พระสันตะปาปาผู้นำคาทอลิกสากลทรงมีสาสน์แนะนำทฤษฎีและเสนอแนวปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนให้คริสตชนได้รู้และปฏิบัตินับตั้งแต่ปลายคริสตศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา พระสันตะปาปาทุกพระองค์ทรงมี "พระสมณสาสน์" เกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่น่าสนใจก็มี สมณสาสน์ของพระสันตะปาปาเลโอที่ 13 ว่าด้วยปัญหาสิทธิของผู้ใช้แรงงาน สมณสาสน์ฉบับนี้เป็นเอกสารสำคัญ สอนให้ คริสตชนต้องสำแดงความรักและเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ ตามความเชื่อศรัทธาในองค์พระผู้เป็นเจ้า มิใช่ด้วยการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ยากจน เจ็บไข้ ไร้ที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังต้องสนใจผู้ยากจนข้นแค้นเพราะถูกเบียดเบียน ถูกเอารัดเอาเปรียบ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอีกด้วย

ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็เช่นกัน ปัญหาของมนุษย์ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองยิ่งรุมเร้าชีวิตมนุษย์ ทำให้เกิดสงครามโลกถึงสองครั้ง ศาสนาคาทอลิกโดยผู้นำในระดับสากล พยายามสั่งสอนและกระตุ้นเตือนคริสตชนให้ช่วยกันแก้ปัญหาของประเทศของตน สงครามโลกครั้งที่ 2 มีการเข่นฆ่ากันอย่างเหี้ยมโหด โดยใช้เทคนิคสมัยใหม่อันมีผลร้ายอย่างไม่คาดคิด นั่นก็คือ สงครามปรมาณู จากประสบการณ์อันน่าเศร้าสลดหดหู่นี้ พระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ได้ทรงมีสมณสาสน์ว่าด้วยสันติภาพในโลก เทศน์สอนถึงการช่วยกันสร้างสันติภาพอันยั่งยืนในโลก นอกนั้นยังได้ทรงเรียกประชุมสังคายนาสากลวาติกันที่ 2 อันเป็นการประชุมบรรดาพระสังฆราช และผู้นำคณะนักบวชทั่วโลก เพื่อร่วมกันพิจารณาไตร่ตรองถึงเอกลักษณ์และบทบาทของคริสต์ศาสนาในโลกปัจจุบัน ศึกษาปัญหาของโลกมนุษย์สมัยปัจจุบัน และปรึกษาหาวิธีเทศน์สอนเผยแพร่คำสอนของพระคริสต์เจ้าให้ทันสมัยมีประสิทธิภาพ

การประชุมสังคายนาครั้งนี้กินเวลานาน 4 ปี (ค.ศ. 1962-1965) และมีเอกสารออกมาหลายฉบับ ฉบับที่เกี่ยวกับงานพัฒนาโลกมนุษย์มีชื่อว่า "ความยินดีและความหวัง" ซึ่งสอนและเสนอแนะหลักการปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ให้คริสตชนทุกคนพร้อมกับนักบวชและผู้นำศาสนาได้หันมาสนใจร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมความหวังของมนุษย์ เพื่อร่วมกันสร้าง "อาณาจักรสวรรค์" อันได้แก่สังคมที่มนุษย์ทุกคนสนใจกัน ห่วงใย ช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วยความรักและเคารพในศักดิ์ศรีแห่งการเป็นมนุษย์ เราถือว่าทุกคนเป็นลูกของพระเจ้าองค์เดียวกัน


งานพัฒนาสังคมขององค์กรคาทอลิกในประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มแผนพัฒนาประเทศในปี พ.ศ.2504 (ค.ศ.1961) (คิดว่าเรายังจำเพลงผู้ใหญ่ลีได้) แผนนี้มีชื่อว่า "แผนการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ" เป็นแผน 5 ปี ซึ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ต่อมาในแผน 5 ปีที่สอง ก็เปลี่ยนเป็น "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในความคิดความเข้าใจว่า การพัฒนาประเทศต้องเป็นไปให้ครบทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และจิตใจ น่าสังเกตว่า ในเวลาเดียวกันนี้เองทางฝ่ายศาสนาคาทอลิกสากล กำลังมีสังคายนาวาติกันที่ 2 ดังกล่าว สองปีหลังสังคายนา คือในปี ค.ศ.1967 พระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ก็มีสมณสาสน์ว่าด้วย "การพัฒนาประชาชาติ" สอน และเสนอความคิด แนวทาง และวิธีการพัฒนามนุษย์ "ทั้งครบ" แบบบูรณาการ ซึ่งหมายความถึงทุกด้าน และร่วมมือกันในทุกระดับ

ศาสนาคาทอลิกในประเทศไทยตอบรับคำสอนของพระสมณสาสน์นี้ทันทีโดยจัดตั้ง "คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการสงเคราะห์และพัฒนา" ขึ้นในปี ค.ศ.1968 (2511) นั่นเอง คณะกรรมการนี้ได้จัดสัมมนาศึกษาสมณสาสน์ฉบับนี้เพื่อทำความเข้าใจคำสั่งสอนในสมณสาสน์นี้ ที่สุดที่ประชุมได้ตกลงร่วมกันจัดตั้ง สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา (สคทพ.) ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น "คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนา" (คพน.) ทำหน้าที่ประสานงานและสนับสนุนเผยแพร่ความคิดทางการพัฒนา โดยมี "ศูนย์สังคมพัฒนา" ในแต่ละสังฆมณฑลทั่วประเทศ เป็นศูนย์ปฏิบัติการ ต่อมาในปี ค.ศ.1972 (2515) สภานี้ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์กร "คาริตัสสากล" (Caritas Internationalis) ซึ่งเป็นองค์กรสากลของคาทอลิกเพื่องานสงเคราะห์และพัฒนา โครงการแรกได้ตกลงทำร่วมกันคือ โครงการเผยแพร่ส่งเสริมกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่ดี และเหมาะสมกับการพัฒนาคนในสมัยปัจจุบัน

ต่อมาในปี ค.ศ.1974 เมื่อประเทศเพื่อนบ้านของเราทางทิศตะวันออก มีความไม่สงบภายในประเทศของเขา มีผู้อพยพลี้ภัยจากประเทศเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ทำให้เป็นภาระของรัฐบาลในการต้อนรับช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่ทุกข์ร้อนเหล่านี้ ฝ่ายศาสนจักรคาทอลิกจึงจัดตั้ง "สำนักงานคาทอลิกเพื่อสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและลี้ภัย" (โคเออร์) ขึ้นในปี ค.ศ.1978 (2521) เป็นสำนักงานเกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัยโดยเฉพาะ โดยร่วมมือกับรัฐบาล หน่วยงานของพระศาสนจักรเหล่านี้มีการประสานร่วมมือกันกับหน่วยงานคาทอลิกระดับสากลอีกด้วย


งานพัฒนาของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยสมัยใหม่

ปลายคริสตศตวรรษที่ 20 ถึงศตวรรษที่ 21 เป็นสมัยโลกาภิวัตน์ โลกมนุษย์เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง นำผลดีและไม่ดีต่อชีวิตมนุษย์ ศาสนาคาทอลิกในประเทศไทยสนใจความเป็นไปของสังคม ถือว่า "เป็นสัญญาณแห่งกาลเวลา" ที่พระเจ้าส่งมาให้มนุษย์ ลูกๆ ของพระองค์ได้ศึกษาพิจารณาไตร่ตรองบนฐานของศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อจะได้รับรู้ถึงพระประสงค์ของพระเจ้า จะได้ร่วมมือร่วมใจ ร่วมสติปัญญาตอบสนองพระประสงค์ ขอบพระคุณ สรรเสริญพระองค์ในผลดีที่เกิดขึ้น ทั้งสนับสนุนส่งเสริมผลดีนี้ และหาวิธีการเพื่อป้องกันและแก้ไขผลเสียของโลกาภิวัตน์สามานน์ ในระยะดังกล่าว นอกจากสภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนาและโคเออร์ดังกล่าว ยังเกิดคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อส่งเสริมชีวิตครอบครัว และคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อแรงงาน เป็นต้น

ปัจจุบัน คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาหรือคาริตัสไทยแลนด์ โดยเครือข่าย "ศูนย์สังคมพัฒนา" ในทุกสังฆมณฑล กำลังส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรอินทรีย์ สำนักงานคาทอลิกเพื่อผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) ช่วยเหลือดูแลผู้อพยพลี้ภัยจากพม่า คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติผลิตตำราที่เรียกว่า "เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา" เพื่อใช้ในโรงเรียน คณะกรรมคาทอลิกเพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ช่วยเหลือชนกลุ่มน้อยในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ


เป้าหมายงานพัฒนาขององค์กรคาทอลิกในประเทศไทย

"คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนา" มีเครื่องหมายประจำเป็น ศีรษะมนุษย์อยู่กลางวงแขนประสานกันไว้ แสดงถึง ปณิธานของเราที่จะร่วมมือกันพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ครบครันบนพื้นฐานศาสนาและวัฒนธรรม สมัยโลกาภิวัตน์นี้เราเห็นแล้วว่า ความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยี ทำให้เกิดความสะดวกสบายขึ้น ชีวิตมนุษย์น่าจะมีความสุข ทุกคนมีที่อยู่ มีข้าวกิน มีสวัสดิการที่จำเป็น สังคมน่าจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ แต่ปรากฏว่าสังคมเรายังวุ่นวาย แตกแยก แย่งชิงกันเป็นใหญ่ แย่งชิงกันร่ำรวยไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ ศีลธรรมตกต่ำ ทำให้มนุษย์เป็นดุจสุนัขป่าที่คอยกัดทำลายกัน อันเป็นปรากฏการณ์ของลัทธิทุนนิยมสามานย์ ซึ่งถือมนุษย์เป็นปัจจัยที่จะทำกำไรให้ตนฝ่ายเดียว ถือเอาเงินตรามาเป็นพระเจ้า เป็นการท้าทายศาสนาต่างๆ ให้ช่วยกันปลูกฝังศีลธรรมและคุณธรรมจรรยา ให้มนุษย์รู้จักใช้ปัญญาและสติประพฤติปฏิบัติตามครรลองของศีลธรรมคำสอนของศาสนาและวัฒนธรรมอันดีงาม

ศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ถือภาระหน้าที่ที่จะพัฒนาประเทศ ว่าเป็นพันธกิจที่ต้องทำงานด้วยความรักและเมตตา โดยอาศัยพลังแห่งพระเจ้า ซึ่งเราตักตวงได้จากพระวาจาของพระเจ้าที่มีการบันทึกไว้ในพระธรรมคัมภีร์บวกกับจารีตประเพณีอันดีงามของศาสนา ศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยได้ประกาศให้ช่วงเวลาปีค.ศ.2007-2010 เป็นช่วงเวลาแห่งปีพระวาจา เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้คริสตชนสนใจอ่านศึกษาพระธรรมคัมภีร์ เป็นการฟื้นฟูจิตใจของแต่ละคน และของแต่ละกลุ่มชุมชน จากความเชื่อความศรัทธาในคำสั่งสอนที่ได้รับจากพระวาจา เราก็นำไปเป็นพลังเพื่อดำรงชีวิตต่อไป เป็นการฟื้นฟูสังคมโดยรวมตามพระประสงค์ของพระเจ้า เราแน่ใจว่า คริสตชนทุกคน ทุกชุมชน กำลังถือตามคำประกาศนี้ โดยมีผู้นำที่เป็นนักบวชและฆราวาสสนับสนุนส่งเสริมอย่างขะมักเขม้น เพื่อพระธรรมคำสอนของศาสนาจะได้ประทับอยู่ในจิตใจอย่างแน่นแฟ้นแน่วแน่ และสำแดงพลังรักออกมาในวิถีชีวิตของแต่ละคน แต่ละกลุ่มชุมชน เพื่อประเทศชาติและสังคมโลกจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นเป็น "อาณาจักรสวรรค์ อาณาจักรพระเจ้า" ตามพระประสงค์ของพระองค์

---------------------------------------

ที่มา : วารสารสังคมพัฒนา ปีที่ 36 ฉบับที่ 3/2551 หน้า 5-12

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >