หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow เมื่อเรากลายเป็น "ของมัน" : พระไพศาล วิสาโล
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 101 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

เมื่อเรากลายเป็น "ของมัน" : พระไพศาล วิสาโล พิมพ์
Wednesday, 01 September 2010

นิตยสารซีเครท : Vol.2 No.50 26 July 2010

Joyful Life & Peaceful Death เมื่อเรากลายเป็น "ของมัน"

พระไพศาล วิสาโล


เคยสังเกตไหมว่าเวลาเพื่อนทำกระเป๋าเงินหาย เราสามารถสรรหาเหตุผลมาได้มากมายเพื่อช่วยให้เธอทำใจ (ยังดีที่ไม่เสียมากกว่านี้,ถือว่าใช้กรรมก็แล้วกัน,เงินทองเป็นของนอกกาย ฯลฯ) ในทำนองเดียวกันเวลา เพื่อนอกหัก ถูกแฟนทิ้ง เราก็รู้ว่าควรจะพูดอย่างไรเพื่อให้เธอปล่อยวาง แต่เวลาเราประสบเหตุอย่างเดียวกัน กลับทำใจไม่ได้ เอาแต่เศร้าซึมจ่อมจมอยู่กับความสูญเสีย คำแนะนำดีๆ ที่ให้กับเพื่อนกลับเอามาใช้กับตัวเองไม่ได้ บ่อยครั้งก็นึกไม่ออกด้วยซ้ำว่าควรจะทำใจอย่างไร

ใช่หรือไม่ว่าสาเหตุที่เราสามารถแนะนำเพื่อนได้อย่างฉาดฉาน ก็เพราะเงินของเพื่อน ไม่ใช่เงินของฉัน แฟนของเพื่อน ไม่ใช่แฟนของฉัน เราจึงไม่รู้สึกทุกข์ร้อนเท่าใดนัก ปัญญาจึงทำงานได้เต็มที่ แต่เมื่อใดที่เหตุร้ายเกิดกับเงินของฉัน หรือกับแฟนของฉัน อารมณ์จะท่วมท้นใจจนนึกอะไรไม่ออก

ไม่มีอะไรที่จะทรงพลังเท่ากับคำว่า "ของฉัน" ไม่ว่าความวิบัติจะรุนแรงเพียงใดก็ตาม หากมันไม่เกี่ยวข้องกับ "ของฉัน" เราก็ไม่ค่อยรู้สึกรู้สาด้วย แต่ทันทีที่มีอะไรมากระทบกับ "ของฉัน" แม้เล็กน้อยเพียงใด มันกลับกลายเป็นเรื่องใหญ่ทันที

หลายคนดูข่าวแผ่นดินไหวในอิหร่านที่มีคนตายนับแสนคนด้วยความรู้สึกเฉยๆ แต่จะขุ่นเคืองไปทั้งวันเมื่อพบว่ารถของตนมีรอยขีดข่วนที่ตัวถัง

สาเหตุที่ผู้คนยอมเหนื่อยยากทำงานตัวเป็นเกลียวก็เพื่อรักษาและเพิ่มพูน "ของฉัน"ให้มากที่สุด ความยึดอยากให้ทุกอย่างเป็น "ของฉัน" ทำงานอยู่ในส่วนลึกของจิตใจตลอดเวลา แม้เก้าอี้ในโรงหนังที่เพิ่งมานั่งได้ไม่กี่นาที เราก็เรียกว่า "เก้าอี้ของฉัน"ได้อย่างเต็มปากเต็มคำ

แต่เราเคยสังเกตไหมว่า ทันทีที่ยึดอะไรก็ตามว่าเป็น "ของฉัน" เรากลายเป็น "ของมัน" ไปทันที เราจะยอมทุกข์เพื่อมัน ถ้าใครวิจารณ์เสื้อของฉัน ตำหนิรถของฉัน เราจะโกรธและจะแก้ต่างให้มัน บางครั้งถึงกับแก้แค้นแทนมันด้วยซ้ำ ถ้าเงินของฉันถูกขโมย เราจะทุกข์ข้ามวันข้ามคืนทีเดียว

คนจำนวนไม่น้อยยอมตายเพื่อรักษาสร้อยเพชรไว้ไม่ให้ใครกระชากเอาไป บางคนยอมเสี่ยงชีวิตฝ่าเปลวเพลิงที่กำลังลุกไหม้บ้านเพราะกลัวอัญมณีจะถูกทำลายวายวอด ฉะนี้แล้วควรจะเรียกว่ามันเป็น "ของฉัน" หรือฉันต่างหากที่เป็น "ของมัน"

เป็นเพราะหลงคิดว่ามันเป็น "ของฉัน" ผู้คนทั้งโลกจึงกลายเป็น "ของมัน" ไปโดยไม่รู้ตัว มีชีวิตอยู่ก็เพื่อมัน ยอมทุกข์ก็เพื่อมัน ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่ามีเวลาอยู่ในโลกนี้จำกัด แต่ก็ใช้เวลาไปอย่างไม่เสียดายก็เพื่อมัน ซ้ำร้ายกว่านั้นหลายคนยอมทำชั่ว อกตัญญูต่อผู้มีพระคุณก็เพื่อมัน

ยิ่งยึดมั่นว่าทรัพย์สมบัติเป็นของฉัน เรากลับกลายเป็นทาสของมัน จิตใจนี้อุทิศให้มันสถานเดียว เศรษฐินีเงินกู้คนหนึ่ง เป็นโรคอัลไซเมอร์ในวัยชรา จำลูกหลานไม่ได้แล้ว แต่สิ่งเดียวที่จำได้แม่นก็คือสมุดจดบันทึกทรัพย์สิน ทุกวันจะหยิบสมุดเล่มนี้มาพลิกดูไม่รู้เบื่อ แม้ลูกหลานจะชวนสวดมนต์หรือฟังเทปธรรมะ ผู้เฒ่าก็ไม่สนใจ จิตใจนั้นรับรู้ปักตรึงอยู่กับเงินทองเท่านั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเมื่อสิ้นลมผู้เฒ่าจะนึกถึงอะไรและจะไปสุคติได้หรือไม่

ไม่ว่าจะมีเงินทองมากมายเพียงใด เมื่อตายไปก็ไม่มีใครเอาไปได้แม้แต่อย่างเดียว นั่นเป็นข่าวร้ายสำหรับผู้ทุ่มเทชีวิตทั้งชีวิตเพื่อทรัพย์สมบัติ แต่ที่ร้ายกว่านั้นก็คือ หากหวงแหนติดยึดมันแม้กระทั่งในยามสิ้นลม มันก็สามารถฉุดลงอบายได้

ถ้าไม่อยากเป็น "ของมัน" ก็ควรถอนความสำคัญมั่นหมายว่ามันเป็น "ของฉัน" การให้ทานเป็นวิธีการเบื้องต้นในการฝึกจิตให้ถอนความสำคัญมั่นหมายดังกล่าว ถ้าให้ทานอย่างถูกวิธี ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์แก่ผู้รับเท่านั้น หากยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ให้ ประโยชน์ประการหลังมิได้หมายถึงความมั่งมีศรีสุขในอนาคตเท่านั้น ที่สำคัญกว่านั้นก็คือช่วยลดความยึดติดในทรัพย์ "ของฉัน" แต่อานิสงส์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเราให้โดยไม่ได้หวังอะไรกลับคืนมา หากให้เพื่อมุ่งประโยชน์แก่ผู้รับเป็นสำคัญ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นพระหรือไม่ก็ตาม และเมื่อให้ไปแล้วก็ให้ไปเลย โดยไม่คิดว่าของนั้นยังเป็นของฉันอยู่ (หรือเฝ้ามองว่าทำไมหลวงพ่อยังไม่ฉันอาหาร "ของฉัน")

การให้ทานและเอื้อเฟื้อเจือจานเป็นการสร้างภูมิต้านทานให้แก่จิตใจ ทำให้ไม่ทุกข์เมื่อประสบความสูญเสีย ในทางตรงข้ามคนที่ตระหนี่ แม้จะมีความสุขจากเงินทองที่พอกพูน แต่หารู้ไม่ว่าจิตใจนั้นพร้อมที่จะถูกกระทบกระแทกในยามเสียทรัพย์ แม้จะเป็นเรื่องที่จำเป็นก็ตาม

ชาวอินเดียผู้หนึ่งเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวมาก วันหนึ่งได้รับโทรศัพท์จากภรรยาว่าเธอปวดท้องและปวดศีรษะมากจนต้องเข้าโรงพยาบาล หมอจึงสั่งตรวจเลือดและทำอุลตร้าซาวด์ เพราะเกรงว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ พอรู้เช่นนี้เขาจึงสั่งให้ภรรยารีบหนีออกจากโรงพยาบาลโดยไม่ต้องจ่ายอะไร ทั้งสิ้น แล้วเขาก็โทรศัพท์ไปด่าหมอว่าเห็นแก่เงิน สั่งตรวจเลือดและทำอุลตร้าซาวด์โดยไม่จำเป็น หมอพยายามอธิบายอย่างไรเขาไม่ยอมเข้าใจ

ต่อมาเขามีเหตุต้องเข้าโรงพยาบาลเดียวกันนั้นเพื่อผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี เขาต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลหลายวันเนื่องจากมีการติดเชื้อ ค่าใช้จ่ายจึงเป็นจำนวนมาก วันสุดท้ายที่เขาอยู่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินได้มาเก็บเงินจากคนไข้ถึงในห้อง ทันที่เขาเห็นตัวเลขค่าใช้จ่าย ก็เกิดอาการช็อคและสิ้นลมคาเตียง

เงินนั้นมีไว้ใช้ แต่เมื่อใดที่เผลอใจกลายเป็นของมันไป มันก็สามารถทำร้ายจนถึงแก่ชีวิตได้



------------------------------

จาก เว็บ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >