หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow จาก ร.ศ.๑๑๒ ถึงร.ศ.๒๒๙ : ภัยที่แปรเปลี่ยน : พระไพศาล วิสาโล
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 102 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

จาก ร.ศ.๑๑๒ ถึงร.ศ.๒๒๙ : ภัยที่แปรเปลี่ยน : พระไพศาล วิสาโล พิมพ์
Wednesday, 04 August 2010








จาก ร.ศ.๑๑๒ ถึงร.ศ.๒๒๙ : ภัยที่แปรเปลี่ยน

พระไพศาล วิสาโล


สมุดภาพเหตุการณ์ร.ศ. ๑๑๒
Franco - Siames Crisis 1893
โดย ไกรฤกษ์ นานา



เหตุการณ์ร.ศ.๑๑๒ เป็นเหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่วิกฤตการณ์การเมืองที่ร้ายแรงที่สุดนับแต่สร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาก็ว่าได้ เพราะนอกจากไทยจะต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสทั้งหมดแล้ว ยังต้องสูญเสียอธิปไตยในการปกครองจันทบุรี รวมทั้งเสียอธิปไตยในการศาล (ดังกรณีพระยอดเมืองขวางซึ่งต้องใช้กฎหมายฝรั่งเศสในการตัดสินให้มีความผิด) ใช่แต่เท่านั้น มีความเป็นไปได้อย่างมากที่ไทยจะต้องสูญเสียมากกว่านั้นอีกในอนาคต เพราะฝรั่งเศสจะต้องหาทางขยายจักรวรรดิของตนในอินโดจีนให้ครอบคลุมดินแดนไทยให้มากที่สุด

ก่อนเกิดเหตุการณ์ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) ฝรั่งเศสได้ยึดครองดินแดนเวียดนามทั้งหมด และได้กัมพูชามาอยู่ในอารักขา อีกทั้งยังสามารถชนะจีนในสงครามชายแดน เห็นได้ชัดว่าแสนยานุภาพทางทหารของฝรั่งเศสนั้นมีมากเกินกว่าชาติใดในเอเชียจะต้านทานได้

ภัยจากจักรวรรดินิยมตะวันตก

แต่ฝรั่งเศสมิใช่ภัยคุกคามประการเดียวจากอัสดงคตประเทศเท่านั้น ด้านทิศตะวันตก อังกฤษได้ขยายจักรวรรดิของตนมายังอินเดียและพม่าได้สำเร็จแล้ว อีกทั้งยังสามารถเอาชนะจีนในสงครามฝิ่นทั้ง ๒ ครั้ง เช่นเดียวกับฝรั่งเศส อังกฤษก็ต้องการแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนไทย

เมืองไทยในครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๕ (รัชกาลที่ ๔ และ๕) ตกอยู่ในท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ครอบคลุมไปทั่วโลก อันเป็นผลจากลัทธิจักรวรรดนิยมหรือลัทธิล่าอาณานิคม ซึ่งมีอังกฤษเป็นผู้นำ ตามมาด้วยฝรั่งเศส เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ฮอลแลนด์ เป็นต้น ดินแดนเกือบทั้งหมดในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ได้ตกเป็นเมืองขึ้นหรืออาณานิคมของยุโรปตะวันตกกับอเมริกาเหนือ หาไม่ก็เป็น "กึ่งอาณานิคม" คือมีการปกครองของตนเอง แต่สูญเสียอธิปไตยไปหลายด้าน

ลัทธิล่าอาณานิคมนั้นเป็นผลจากความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มต้นที่อังกฤษ กำลังการผลิตที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วจากเครื่องจักรและพลังงานถ่านหิน ทำให้ประเทศในยุโรปต้องการวัตถุดิบราคาถูกจำนวนมหาศาลจากทวีปอื่น ๆ ขณะเดียวกันก็ต้องการขยายตลาดไปยังทวีปเหล่านั้นด้วย จึงพยายามเข้าไปยึดครองประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ซึ่งนอกจากจะมีทรัพยากรธรรมชาติเหลือเฟือแล้ว ยังไม่มีกำลังต้านทานกองทัพของตะวันตกซึ่งมีอาวุธยุโธปกรณ์ดีกว่า (อันเป็นผลจากพัฒนาการทางอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน)

ลัทธิล่าอาณานิคมได้ทำให้นานาประเทศที่ตกเป็นเมืองขึ้นถูกครอบงำด้วยระเบียบแบบแผนอย่างตะวันตก ขณะเดียวกันก็ทำให้อีกหลายประเทศที่ไม่ได้เป็นเมืองขึ้น (เช่น ไทย และญี่ปุ่น)จำต้องปรับปรุงประเทศตามอย่างตะวันตก ทั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพในการรับมือกับภัยคุกคามจากตะวันตก และเพื่อการยอมรับจากประเทศเหล่านั้น ผลก็คือกระแสอัสดงคตานุวัตร (westernization)แพร่หลายไปทั้งโลก

ความอ่อนแอของยุโรปตะวันตกภายหลังจากสงครามโลกทั้ง ๒ ครั้ง ผนวกกับการลุกขึ้นต่อต้านของชนพื้นเมืองในอาณานิคมต่างๆ ทั่วโลก ได้ทำให้ลัทธิล่าอาณานิคมเสื่อมสลายลง ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๒๕ จึงมีนานาประเทศได้รับเอกราชทั่วทั้งโลก รวมทั้งเพื่อนบ้านของไทยด้วย

อย่างไรก็ตามแม้ว่าลัทธิล่าอาณานิคมจะอ่อนตัวลง แต่ไม่ได้หมายความว่าอิทธิพลของตะวันตกจะลดลง สหรัฐอเมริกา ซึ่งเติบใหญ่อย่างมากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และได้กลายมาเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งแทนอังกฤษ (ซึ่งบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่สอง)ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลาง โลก

รัฐบริวารในยุคสงครามเย็น

ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๖ ทั่วทั้งโลกได้เกิดความตื่นตัวเรื่อง "การพัฒนาประเทศ" โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นตัวผลักดันอย่างสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกของไทยเกิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๐๓ โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา นับแต่นั้นเศรษฐกิจไทยก็ผูกพันแนบแน่นกับระบบทุนนิยมโลก ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ประเทศไทยหันมาเน้นการส่งออกสินค้าเกษตรควบคู่กับการพัฒนาอุตสาหกรรม มีการตัดถนน สร้างเขื่อน และพัฒนาเมืองอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ใช่แต่เท่านั้น การศึกษา การเมือง และการทหารของไทยก็ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกามากขึ้น นอกจากผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันจะมาร่วมวางแผนพัฒนาการศึกษาไทยแล้ว ยังมีการส่งนักศึกษาไทยไปเรียนต่อในสหรัฐอเมริกามากมาย ขณะที่ผู้นำการเมืองและการทหารของไทยได้ผลัดกันไปเยือนสหรัฐอเมริกา พร้อมกับการได้รับเงินช่วยเหลืออย่างมหาศาลจากสหรัฐอเมริกาทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา และการทหาร

สภาพการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมิได้ เกิดขึ้นลอย ๆ แต่เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกา กับสหภาพโซเวียต ฝ่ายหนึ่งประกาศตัวเป็นผู้ปกป้อง "โลกเสรี"ให้พ้นจากภัยคอมมิวนิสต์ อีกฝ่ายประกาศตัวเป็นผู้นำการปฏิวัติสังคมนิยม ในยุคล่าอาณานิคม อังกฤษกับฝรั่งเศสแผ่อำนาจด้วยการยึดครองดินแดนให้ได้มากที่สุด แต่มาถึงยุคนี้ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้เปลี่ยนมาขยายอำนาจด้วยการสร้างรัฐบริวารให้มากที่สุด

การพัฒนาประเทศตามแนวทางของ สหรัฐอเมริกา (ผ่านธนาคารโลก IMF และองค์กรระดับโลกมากมาย) มองในแง่นี้ก็คือการสร้างรัฐบริวาร ทั้งเพื่อขยายอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาและเพื่อต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับทุนนิยมของสหรัฐอเมริกาโดยตรง การพัฒนาดังกล่าวได้ช่วยขยายอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาหลายประการ กล่าวคือในด้านเศรษฐกิจ "ประเทศกำลังพัฒนา" ได้ผูกติดแนบแน่นกับทุนนิยมโลกซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นศูนย์กลาง สินค้าเกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้ได้สร้างความมั่งคั่งเป็นอย่างมากให้แก่ประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกันประเทศกำลังพัฒนาก็กลายเป็นตลาดให้กับสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ตู้เย็น รถยนต์ และเครื่องจักร (ก่อนที่สินค้าจากญี่ปุ่นและเกาหลีจะมาตีตลาดในภายหลัง) การแลกเปลี่ยนที่ไม่เป็นธรรมของการค้าโลก ซึ่งถูกควบคุมโดยประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้สินค้าจากประเทศกำลังพัฒนามีราคาถูกมาก ตรงข้ามกับสินค้าจากประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมีราคาแพง ดังนั้นยิ่งพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศกำลังพัฒนาก็ยิ่งร่อยหรอ ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกากลับมีความมั่งคั่งมากขึ้น

จริงอยู่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนามีความเจริญเติบโตเป็นลำดับ แต่ผลประโยชน์นั้นตกอยู่กับชนชั้นนำและชนชั้นกลางในประเทศเหล่านั้นมากกว่าที่จะตกอยู่กับชนชั้นล่าง ทำให้เกิดช่องว่างทางเศรษฐกิจสังคมในประเทศเหล่านั้นมากขึ้น ขณะที่การเจริญเติบโตของประเทศเหล่านั้นก็หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาให้เติบโตมากขึ้นด้วย ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่สหรัฐอเมริกาไม่สามารถสูญเสียประเทศเหล่านั้นให้แก่ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้

นอกจากด้านเศรษฐกิจแล้ว วัฒนธรรมของประเทศกำลังพัฒนาก็ถูกครอบงำโดยตะวันตกซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำด้วยเช่นกัน ดังเห็นได้จากรสนิยมการบริโภค การแต่งกาย ดนตรี ความบันเทิง ทั้งโดยผ่านสื่อนานาชนิด และผ่านการเผยแพร่ของนักเรียนนอกที่กลับจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป ที่สำคัญคือวิธีคิด โลกทัศน์ และค่านิยม ซึ่งมองไปที่สหรัฐอเมริกาเป็นแม่แบบ

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นกับประเทศไทย ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการพัฒนาที่ผ่านมาของไทยจึงเป็นเพียงการทำให้ทันสมัย (modernization) หรือเป็นเพียงการพัฒนาที่ทำให้เกิดการพึ่งพามากขึ้น แม้อธิปไตยเหนือดินแดนยังมีอยู่ แต่เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา ตกอยู่ในภาวะพึ่งพา ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ สภาพเช่นนี้ส่งผลถึงการเมืองด้วย ดังเห็นได้จากการที่ไทยถูกสหรัฐอเมริกาผลักดันให้เข้าไปมีส่วนในการทำสงครามในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อต่อต้านการแผ่อิทธิพลของสหภาพโซเวียตและจีน คอมมิวนิสต์

เมื่อสงครามเย็นยุติ อันเป็นผลจากการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออก สหรัฐอเมริกามีความจำเป็นน้อยลงในการดึงไทยให้เป็นบริวาร ประเทศไทยมีอิสระมากขึ้นในทางเศรษฐกิจการเมือง (รวมทั้งการเข้าไปใกล้ชิดกับจีนมากขึ้น) แต่ในเวลาเดียวกันก็ต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ที่ไม่เคยประสบมาก่อน นั่นคือกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งตามมาหลังการสิ้นสุดของสงครามเย็น

อันตรายอย่างใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์

กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้พรมแดน ประเทศมีความหมายน้อยลง และในบางกรณีก็ไม่มีความหมายเลย เพราะการเคลื่อนย้ายและไหลบ่าของเงินทุน ข้อมูล ข่าวสาร สินค้า และเทคโนโลยี (และผู้คน)สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเสรี โดยพรมแดนประเทศมิอาจขวางกั้นได้อีกต่อไป สภาพดังกล่าวได้เอื้อให้ระบบทุนนิยมแพร่หลายได้ทุกหัวระแหง และมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชีวิตของผู้คน

แม้ว่าโลกาภิวัตน์โดยเฉพาะในทาง การค้าและการลงทุนจะทำให้เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็ได้ก่อให้เกิดปรากฏการณ์หลายอย่างซึ่งเป็นปมปัญหาในเวลานี้ กล่าวคือ

๑) การรุกรานและครอบงำของทุนต่างชาติ
การเปิดเสรีทางการเงินและการคลายข้อจำกัดทางธุรกรรมในช่วงทศวรรษ ๒๕๓๐ เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่และการเก็งกำไรจากการค้าเงินบาท นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจปี ๒๕๔๐ จนไทยต้องบากหน้าขอความช่วยเหลือจาก IMF แต่ก็ต้องแลกด้วยการทำข้อตกลงกับ IMF รวมทั้งการออกกฎหมาย ๑๑ ฉบับซึ่งมีผลให้ต่างชาติเข้ามาถือครองเศรษฐกิจประเทศไทยได้ง่ายดาย วิกฤตปี ๒๕๔๐ ยังชี้ให้เห็นว่าทุนต่างชาตินั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อเศรษฐกิจไทย สามารถโจมตีค่าเงินบาทจนทำให้เกิดวิกฤตได้อย่างฉับพลัน ใช่แต่เท่านั้นการลงทุนแบบไร้พรมแดน (ซึ่งรวมถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ)ยังทำให้ทุนต่างชาติสามารถครอบครอง ทรัพยากรในประเทศหรือใช้ประโยชน์ได้อย่างอิสระ โดยให้ผลตอบแทนคืนสู่ประเทศน้อยมาก ซ้ำยังสร้างภาระ(เช่นผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม)แก่คนในท้องถิ่นด้วย

ควบคู่กับการผลักดันให้เปิดเสรี ทางการค้า ทุนต่างชาติหรือบรรษัทขนาดใหญ่พยายามออกกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิบัตรหรือทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อส่งเสริมการผูกขาดผลิตภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม สารสนเทศ และการแพทย์ ซึ่งนอกจากจะสร้างภาระทางการเงินแก่คนส่วนใหญ่แล้ว ในบางกรณียังเป็นการฉกฉวยภูมิปัญญาและกีดกันการค้าในอีกรูปแบบหนึ่ง (เช่นการจดสิทธิบัตรพันธุ์ข้าวหอมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้ไทยไม่สามารถส่งข้าวหอมมะลิไปขายที่นั่นได้)

ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกาภิวัตน์นั้น ได้สร้างความเติบใหญ่แก่ทุนต่างชาติหรือบรรษัทขนาดใหญ่ ในปี ๑๙๙๒ ประมาณร้อยละ ๗๐ ของการค้าโลกถูกควบคุมโดยบรรษัทยักษ์ใหญ่เพียง ๕๐๐ แห่ง

๒) ความเหลื่อมล้ำและความแตกแยกในสังคม
ดังได้กล่าวแล้วว่าโลกาภิวัตน์ได้เปิดทางให้ทุนต่างชาติเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในไทยได้อย่างเสรี ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยมีนักลงทุนไทยเข้าร่วมด้วยโดยอาศัยประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ทั้งหมดนี้อาจเรียกรวมๆ ว่าทุนโลกาภิวัตน์

อิทธิพลของทุนโลกาภิวัตน์(ที่ เป็นคนไทย)ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเพราะได้รับการสนับสนุนจากนักการเมือง (รวมทั้งจากการเข้าไปมีอำนาจในรัฐบาล) ไม่ว่าการสนับสนุนทางตรงหรือการสนับสนุนผ่านนโยบายที่ลำเอียงเข้าข้างทุนดังกล่าว ทำให้เกิดชนชั้นนำกลุ่มใหม่ในเมืองไทยที่มั่งคั่งอย่างรวดเร็วและมีเงินจำนวนมหาศาล ผลก็คือความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่มีอยู่ก่อนแล้วถ่างกว้างขึ้น จนเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนชัดเจนขึ้น (ปัจจุบันทรัพย์สินของครอบครัวรวยที่สุด ๒๐% มากเป็น ๖๙ เท่าของครอบครัวที่จนสุด ๒๐%)

ใช่แต่เท่านั้นโลกาภิวัตน์ด้าน เศรษฐกิจและข่าวสารยังส่งผลให้สังคมไทยแตกตัวเป็นกลุ่มย่อยๆ ที่มีความคิด ความเชื่อ รสนิยม วิถีชีวิต ผลประโยชน์ต่างกัน โดยแต่ละกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์ข้ามกลุ่มน้อยมาก ทำให้เกิดช่องว่างทางทัศนคติมากขึ้น แม้จะอยู่ในสังคมเดียวกันก็ตาม (เช่น เห็นไม่ตรงกันในเรื่องประชาธิปไตย ความเป็นไทย ผลประโยชน์ของชาติ ดังสะท้อนให้เห็นจากความแตกต่างระหว่างฝ่ายเสื้อเหลืองและเสื้อแดง เป็นต้น)

ช่องว่างแนวดิ่ง(อันเนื่องจาก ความเหลื่อมล้ำทางรายได้)และช่องว่างแนวนอน (อันเนื่องจากการแตกตัวเป็นกลุ่มย่อยที่หลากหลาย) ทำให้เกิดความแตกแยกกันได้ง่ายทั้งผลประโยชน์และความคิด จนน่าเป็นห่วงว่าการปะทะจนถึงขั้นเสียเลือดเนื้อ(ดังกรณีสงกรานต์เลือด)จะยังเกิดขึ้นอีกและมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงขึ้น ความสามัคคีหรือสมานฉันท์ของคนในชาติกลับกลายเป็นแค่คำขวัญที่ตอกย้ำซ้ำซาก แต่ไร้ผลในทางปฏิบัติ

๓) การแพร่ขยายของวัฒนธรรมบริโภคนิยม
ผลพวงประการหนึ่งของโลกาภิวัตน์คือการให้เสรีภาพแก่บรรษัทขนาดใหญ่ในการกระตุ้นความต้องการบริโภค ด้วยสื่อและวิธีการนานาชนิด โดยสิ่งที่บริโภคนั้นมิได้มีเพียงสิ่งอำนวยความสะดวก หรือให้ความเพลิดเพลินเอร็ดอร่อยทางกายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงภาพลักษณ์ที่เกิดจากการใช้สินค้าบางชนิดด้วย เช่น การเป็นคนทันสมัย เป็นหญิงเก่ง เป็นชายมาดมั่น เป็นต้น

บริโภคนิยมแพร่หลายมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อบรรษัทเหล่านี้มากเท่านั้น จึงมีความพยายามมาโดยตลอดที่จะกระตุ้นลัทธินี้ให้กลายเป็นวิถีชีวิตของผู้คน วิคเตอร์ เลบาว นักธุรกิจชาวอเมริกัน พูดอย่างชัดเจนในเรื่องนี้ว่า "เศรษฐกิจของเรา(ในปัจจุบัน)มีความสามารถในการผลิตอย่างล้นเหลือ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องทำให้การบริโภคกลายเป็นวิถีชีวิตของเรา ทำให้การซื้อและใช้สินค้ากลายเป็นพิธีกรรม ทำให้เราเสาะแสวงหาความพึงพอใจทางจิตวิญญาณ(และการสนองตัวตน)ด้วยการบริโภค เราจำเป็นต้องเสพสินค้า ผลาญให้หมด ซื้อของใหม่ และทิ้งมันให้เร็วขึ้นกว่าเดิม"

แนวความคิดดังกล่าวแม้จะมีมานาน หลายทศวรรษแล้ว แต่สบโอกาสเฟื่องฟูสุดขีดในยุคโลกาภิวัตน์ จนบริโภคนิยมกลายเป็นวิถีชีวิตของผู้คนแทบทั้งโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ ความเชื่อว่าความสุขอยู่ที่การบริโภค ดังนั้นถ้าต้องการมีความสุขมากๆ ก็ต้องบริโภคเยอะๆ มีสิ่งเสพสิ่งบริโภคมากๆ การดำเนินชีวิตจึงเป็นไปเพื่อการแสวงหาสิ่งเสพ ด้วยเหตุนี้เงินจึงกลายเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต

วัฒนธรรมบริโภคนิยมนั้นก่อปัญหานานัปการอาทิ

สุขภาพเสื่อมโทรม โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคมะเร็ง เบาหวาน และไตวาย ซึ่งกลายเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของคนไทยในปัจจุบันไปแล้ว

สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย การบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย นอกจากสร้างมลภาวะในอากาศและน้ำแล้ว ยังทำเกิดขยะเป็นจำนวนมาก รวมถึงการทำลายป่าและแหล่งน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อสนองการบริโภคที่เพิ่มไม่หยุด

เกิดปัญหาสังคมเพิ่มขึ้น การถือเอาเงินและวัตถุเป็นสรณะ ได้ทำให้เกิดการปล้น จี้ ฆาตกรรม เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็ก็ส่งเสริมให้เกิดการคอร์รัปชั่นอย่างแพร่หลาย

ความสัมพันธ์ร้าวฉาน การให้ความสำคัญกับการหาเงิน ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวและชุมชนเหินห่างกันมากขึ้น จนอาจถึงขั้นแตกร้าวเพราะขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ความสัมพันธ์ด้วยน้ำใจและความรักนับวันจะลดน้อยถอยลง

ความทุกข์ในจิตใจเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความเครียดในการหาเงิน และความไม่พอใจในสิ่งที่ตนมี ความต้องการที่ไม่หยุดหย่อนมักจะตามมาด้วยความกังวลที่จะไม่ได้อย่างที่ต้องการ นอกจากนั้นความสัมพันธ์ที่ห่างเหินกัน ยังทำให้ผู้คนรู้สึกโดดเดี่ยว อ้างว้าง หรือระแวงกันได้ง่าย จึงทำให้คนเป็นโรคจิตโรคประสาทกันมากขึ้น

ความรู้สึกว่าชีวิตว่างเปล่า ไร้คุณค่า การแสวงหาเงินและสิ่งเสพ จนละเลยเรื่องจิตใจหรือการแสวงหาคุณค่าของชีวิต ทำให้ผู้คนรู้สึกว่าชีวิตว่างเปล่า แม้รอบตัวจะเต็มไปด้วยวัตถุสิ่งเสพมากมายเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่พบกับความสุขอย่างแท้จริง ทำให้รู้สึกสับสนและเคว้งคว้างมากขึ้น

ปรากฏการณ์ทั้ง ๓ ประการได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ของไทยในปัจจุบัน ซึ่งคุกคามความปกติสุขทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อม ปัญหาดังกล่าวมิได้เกิดจาก "ตัวแสดง"ที่เป็นประเทศมหาอำนาจดังกรณีร.ศ.๑๑๒ หรือช่วงสงครามเย็น แต่เกิดจากปัจจัยที่หลากหลายทั้งภายนอกและภายในประเทศ อาทิ อำนาจทุนโลกาภิวัตน์ ซึ่งไม่สามารถชี้นิ้วได้ว่าเป็นอันใดอันหนึ่ง แต่มีมากมายหลากหลายและผลัดเปลี่ยนกันเข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทย ทั้งที่เป็นทุนจากต่างชาติและทุนในไทย แต่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือความแตกแยกภายในชาติ (อันเนื่องจากความเหลื่อมล้ำและแตกตัวในสังคม) และความเสื่อมทรุดทางสังคมและจิตใจ (อันเนื่องจากความหลงใหลในบริโภคนิยม) ทั้ง ๒ ประการคือภัยที่คุกคามประเทศไทยที่กัดกร่อนชอนไชจากภายใน

ในปีร.ศ.๑๑๒ อันตรายที่สยามต้องเผชิญคือภัยคุกคามจากภายนอก อันได้แก่จักรวรรดินิยมอังกฤษและฝรั่งเศส ที่หมายยึดครองแผ่นดินไทย แต่ในปัจจุบัน (ร.ศ.๒๒๙) อันตรายได้แปรเปลี่ยนไป ภัยคุกคามมิได้มาจากภายนอกมากเท่ากับที่มาจากภายใน ในขณะที่ภารกิจเร่งด่วนในสมัยร.ศ.๑๑๒ คือการรักษาอธิปไตยไทย ในปัจจุบันภารกิจสำคัญคือการสร้างสมานฉันท์ของคนในชาติ จะว่าไปแล้วประเด็นเรื่องอธิปไตยกลับเป็นเรื่องที่สำคัญน้อยลงด้วยซ้ำ เหตุผลก็เพราะโลกาภิวัตน์นับวันจะทำให้อธิปไตย ตลอดจนความเป็นชาติและความเป็นไทยเลือนรางลง นี้คือปรากฏการณ์อีกด้านหนึ่งที่มิอาจมองข้ามได้ในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งควรกล่าวเพิ่มเติมดังนี้

๔)อธิปไตย ความเป็นชาติ และความเป็นไทยเลือนรางลง
การเคลื่อนย้ายถ่ายเทเงินทุน ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี (หรือแม้แต่ผู้คน)ได้อย่างเสรีชนิดที่ไม่มีพรมแดนขวางกั้น โดยที่รัฐบาลมีอำนาจน้อยมากในการควบคุมหรือขวางกั้น (ทั้งโดยกฎหมายและในทางปฏิบัติ) โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลจำต้องออกกฎหมาย ๑๑ ฉบับตามข้อตกลงกับ IMF ซึ่งเป็นเสมือนการละเมิดอธิปไตยของไทย ทำให้เห็นได้ชัดว่าอธิปไตยของประเทศนับวันจะมีความหมายน้อยลงในยุคโลกาภิวัตน์

อธิปไตยเป็นปัจจัยหนึ่งในการ กำหนดความเป็นชาติ เมื่อแนวคิดเกี่ยวกับอธิปไตยเปลี่ยนไป แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นชาติก็ย่อมแปรเปลี่ยนไปด้วย ใช่แต่เท่านั้นการแตกตัวเป็นสังคมที่หลากหลายจากกระแสโลกาภิวัตน์ ยังทำให้ผู้คนมีความคิดที่หลากหลายในประเด็นต่างๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องความเป็นไทยด้วย นับวันคนไทยจะมีจุดร่วมน้อยลงเกี่ยวกับความเป็นไทย คนจำนวนมากเห็นว่าเป็นไทยได้โดยไม่จำเป็นต้องพูดไทย กินของไทย นิยมไทยก็ได้ แม้แต่สินค้าไทยแต่ชื่อเป็นฝรั่งหรือจีน ก็มีเป็นจำนวนมาก โดยอาจผลิตจากคนลาว คนเขมร หรือจากโรงงานของคนจีน คนไต้หวันก็ได้ จนทำให้เกิดคำถามว่าการจัดสัญชาติให้แก่สินค้าว่าเป็นไทยหรือต่างชาติยังเป็นไปได้หรือควรกระทำอยู่หรือ ในทำนองเดียวกันสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมแห่งชาติ ผลประโยชน์แห่งชาติ ถูกตั้งคำถามมากขึ้นว่ามีจริงหรือ

ปัญหาเหล่านี้ไม่อาจแก้ด้วยการ ใช้กำลังทหารหรือการทูต ดังที่เคยใช้ในกรณีร.ศ.๑๑๒ แต่ต้องอาศัยการจัดระเบียบภายในประเทศเสียใหม่ ซึ่งรวมถึงการปรับความสัมพันธ์ในทางการเมืองเศรษฐกิจระหว่างผู้คนในชาติ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข แม้จะมีความหลากหลายทางด้านผลประโยชน์และทัศนคติก็ตาม ขณะเดียวกันก็ต้องมีการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่นำพาผู้คนก้าวข้ามวัฒนธรรมบริโภคนิยม ส่งเสริมให้เกิดความผาสุกสงบเย็นทางจิตใจ โดยไม่หวังพึ่งความสุขจากวัตถุสถานเดียว จะทำเช่นนั้นได้ต้องอาศัยสติปัญญาที่เข้าใจความเป็นจริงอย่างรอบด้าน ทั้งโลกสมัยใหม่และชีวิตด้านใน โดยไม่ยึดติดกับกรอบความคิดเดิมๆ (เช่น การยึดติดกับความเป็นไทยแบบเดิมๆ)และพร้อมที่จะยอมรับหรือรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทัน

เมื่อร้อยปีก่อนภัยร้ายแรงมาจากภายนอก จึงทำให้คนไทยสามัคคีกันได้ง่าย แต่ในปัจจุบันภัยสำคัญนั้นอยู่ในใจกลางประเทศ ซึ่งทำให้เกิดความแตกแยกร้าวฉานกัน ในสภาพเช่นนี้การเรียกร้องให้ผู้คนสามัคคีกัน จึงมีความหมายน้อยมาก ตราบใดที่ยังมิได้จัดการกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมที่ทำให้ผู้คนแบ่งแยกหรือขัดแย้งกัน

การขจัดภัยดังกล่าวมิอาจเกิด ขึ้นได้ด้วยใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (ดังสมัยรัชกาลที่ ๕ที่ทรงนำพาสยามฝ่าพ้นวิกฤตร.ศ.๑๑๒ ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ร่วมกับเสนาบดีคู่พระทัย) แต่จะต้องเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของคนทั้งประเทศ ที่ตระหนักถึงความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงและเห็นชัดว่าความเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ตนอย่างไรบ้าง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ตระหนักถึงความเป็นหุ้นส่วนของประเทศ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียไม่น้อยไปกว่าคนกลุ่มอื่นในสังคม แม้ทัศนคติดังกล่าวยังมิได้ฝังลึกในจิตสำนึกของคนไทยส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่เหลือวิสัยที่จะสร้างขึ้น



------------------------------

จาก เว็บ

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >