หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 105 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


The Story of Bottled Water : เรื่องไม่เร้นของน้ำในขวด พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010

Image 

The Story of Bottled Water : เรื่องไม่เร้นของน้ำในขวด

น้ำดื่มบรรจุขวดออกวางขายในท้องตลาด เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ 30 กว่าปีที่แล้ว
มันสร้างความประหลาดใจแก่ผู้คนจำนวนไม่น้อย

ด้วยในขณะนั้นน้ำมีสถานภาพเป็นทรัพยากรสาธารณะแบบเต็มขั้น
ทุกคนสามารถตวงตักกักเก็บไว้ดื่มกินและชำระล้างได้แบบฟรีๆ
ทั้งจากสายฝนโปรยปราย จากแม่น้ำลำคลอง จากบ่อน้ำบาดาล
มิหนำซ้ำหลายต่อหลายเมืองยังวางระบบประปาส่งน้ำตามท่อมาถึงบ้าน
คนเมืองจึงเข้าถึงน้ำได้ง่ายเพียงเปิดก๊อก แม้ต้องจ่ายค่าความสะดวกก็ยังนับว่าถูกแสนถูก
...แล้วใครกันที่จะยอมควักกระเป๋าเพื่อซื้อน้ำดื่ม

เวลาเคลื่อนผ่านมาถึงปัจจุบัน แนวความคิดเรื่องน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ผู้คนเข้าถึงได้
โดยเสรีตามหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานยังคงอยู่
แม้ในบางพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำหรือเกิดภาวะแย่งชิงน้ำจะเริ่มมีบริษัทเอกชนเข้าไปผูกขาด
การจัดหาน้ำและขายในราคาแพงกว่าน้ำประปาอยู่บ้าง

แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงชัดเจนกว่านั้นก็คือ
การซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกกลายเป็นพฤติกรรมปกติของคนทั่วโลก
...ไม่มีใครแปลกใจกับสินค้าชิ้นนี้อีกแล้ว

มันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
แอนนี่ เลนนาร์ด (Annie Leonard) ผู้โด่งดังจาก "The Story of Stuff"
และ "The Story of Cap and Trade" กลับมาตอบคำถามดังกล่าว
ด้วยการเดี่ยวไมค์ประกอบอะนิเมชั่นการ์ตูนลายเส้น "The Story of Bottled Water"
ซึ่งเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตเมื่อ 22 มีนาคมที่ผ่านมา เนื่องในวันน้ำโลก

 

เธอเปิดประเด็นด้วยข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติเบื้องต้นของน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติก
...แน่ใจหรือว่า น้ำที่อยู่ในขวดสะอาดกว่าและรสชาติดีกว่าน้ำที่ไหลออกมาจากก๊อก

ระบบประปาในสหรัฐอเมริกาถูกควบคุมมาตรฐานด้วย พรบ. น้ำดื่มสะอาด
ที่บังคับใช้โดยหน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อม (EPA) ซึ่งต้องดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำ
เป็นประจำสม่ำเสมอ พร้อมทั้งรายงานผลให้ผู้ใช้น้ำได้รับทราบข้อมูลด้วย

ขณะที่การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มบรรจุขวดถูกยกให้เป็นความรับผิดชอบของบริษัทผู้ผลิต
องค์กรอาหารและยาของสหรัฐฯ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลคุณภาพน้ำดื่มบรรจุขวด
ทำได้เพียงตรวจตราทางอ้อมผ่านป้ายระบุผลผ่านการตรวจสอบมาตรฐานที่บริษัทผู้ผลิตแสดงไว้บนฉลากเท่านั้น
...กลไกลักษณะนี้เปิดช่องให้ผู้ผลิตน้ำดื่มแสดงความไม่ซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภคได้

จึงไม่น่าแปลกใจที่การสุ่มตรวจสอบจะพบว่า
น้ำดื่มบรรจุขวด 1 ใน 6 ยี่ห้อที่วางขายในสหรัฐฯ มีการปนเปื้อนแบคทีเรีย
ตรงข้ามกับน้ำก๊อกที่ผ่านมาตรฐานฉลุย

ส่วนเรื่องรสชาติ แม้จะเป็นความนิยมส่วนบุคคลซึ่งอาจแตกต่างหลากหลาย
ทว่าเมื่อทดสอบโดยให้อาสาสมัครปิดตาดื่มน้ำสองแก้วเพื่อเปรียบเทียบ
ปรากฏว่า ผู้ร่วมทดสอบมีมติเป็นเอกฉันท์ น้ำก๊อกถูกปากมากกว่าน้ำดื่มบรรจุขวด

ถ้ามองเรื่องราคาที่ต้องจ่าย แอนนี่ให้ข้อมูลเป็นตัวเลขกลมๆ
น้ำในขวดแพงกว่าที่เปิดจากก๊อกประมาณ 2,000 เท่า
และจากสถิติล่าสุดชาวอเมริกันก็ยังซื้อน้ำดื่มมากถึง 500 ล้านขวดในแต่ละสัปดาห์
ซึ่งเป็นจำนวนมากพอที่จะนำขวดพลาสติกมาเรียงต่อกันและพันรอบโลกได้เกิน 5 รอบ!

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ...
ในช่วงทศวรรษที่ 1970 บริษัทน้ำอัดลมรายใหญ่ของโลกเริ่มกังวลถึงยอดขายที่มีแนวโน้มหยุดเติบโต
เพราะผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงผลกระทบทางสุขภาพ
ก็เลยต้องเปิดตลาดใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่...น้ำดื่มบรรจุขวด

แล้วก็เป็นบรรดาบริษัทผู้ผลิตนั่นเองที่พยายามปั้นอุปสงค์หรือความต้องการซื้อของลูกค้า
เพื่อกระตุ้นความต้องการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดออกมาขาย
พร้อมกับโน้มน้าวให้ผู้บริโภคยอมจ่ายเงินซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น
โดยเริ่มจากการสร้างความรู้สึกหวาดกลัวและไม่ปลอดภัย
ถ้าไม่ได้ใช้หรือไม่มีไว้ในครอบครอง

กรณีนี้คนเมืองมีน้ำประปากันถ้วนหน้า ก็เลยต้องวาดภาพของมันให้จำกัดประโยชน์อยู่ที่การชำระร่างกายและซักล้างทำความสะอาดข้าวของต่างๆ เท่านั้น

จากนั้นก็ชักจูงความสนใจผู้บริโภคมาสู่ตัวผลิตภัณฑ์ ด้วยการเสนอภาพของน้ำดื่มในขวด
ซึ่งมีต้นทางจากแหล่งน้ำสะอาดท่ามกลางธรรมชาติอันบริสุทธิ์
ทั้งที่ความจริงด้านหลังของฉากจินตนาการที่ผู้ผลิตน้ำดื่มสร้างขึ้นก็คือ "ก๊อกน้ำ" เช่นกัน

ตบท้ายด้วยการสร้างมายาแบบผิดๆ สู่การรับรู้ของสังคม
เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดยี่ห้อเนสท์เล่ในสหรัฐฯ ถึงกับกล้าลงโฆษณาเต็มหน้านิตยสาร
ด้วยข้อความ "น้ำดื่มบรรจุขวดคือผลิตภัณฑ์ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในโลก"

เจอไม้นี้เข้าไปนักสิ่งแวดล้อมหรือผู้อ่านที่สนใจเรื่องเขียวๆ คงงงเป็นไก่ตาแตก
...รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตรงไหนและอย่างไร

แอนนี่ก็เลยพาไปวิเคราะห์วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เริ่มต้นด้วยการผลิตขวดพลาสติกจากน้ำมันดิบ
เฉพาะจำนวนขวดที่วางขายในอเมริกาก็เทียบเคียงได้กับปริมาณน้ำมันและเชื้อเพลิง
สำหรับขับเคลื่อนรถยนต์มากถึง 1 ล้านคัน แถมยังผลาญเชื้อเพลิงระหว่างการขนส่ง
และกระจายน้ำดื่มบรรจุขวดเหล่านี้ไปยังผู้บริโภค (ที่ดื่มน้ำหมดเกลี้ยงภายใน 2 นาที!)
ก่อนจะสร้างปัญหาใหญ่เรื่องการกำจัด

ราวๆ 80 เปอร์เซ็นต์ของขวดพลาสติกปราศจากน้ำจบชีวิตที่หลุมฝังกลบ
ซึ่งพวกมันจะนอนนิ่งใต้ดินไปอีกเป็นพันปี หรือไม่ก็ถูกส่งเข้าเตาเผา
ซึ่งเรารู้กันดีอยู่แล้วว่าการเผาพลาสติกจะปล่อยมลพิษร้ายแรง
เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ถูกรวบรวมเพื่อการรีไซเคิล

แอนนี่อยากรู้ว่า ขวดพลาสติกที่เธอทิ้งลงถังขยะรีไซเคิลเดินทางไปไหนต่อ
ความสงสัยทำให้เธอพบว่า มันถูกขนส่งทางเรือไปยังประเทศอินเดียและกองรวมเป็นภูเขาขยะพลาสติกอยู่ที่นั่น

ถ้าเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลขนานแท้ ขวดเก่าเหล่านี้จะแปลงร่างเป็นขวดพลาสติกใบใหม่
แต่ในความเป็นจริง ลูกศรสัญลักษณ์ของการรีไซเคิลไม่ได้วนกลับมาเป็นสามเหลี่ยมรูปปิด
เพราะขวดพลาสติกถูกนำไปผลิตเป็นเครื่องใช้พลาสติกอื่นๆ ที่คุณภาพของพลาสติกด้อยกว่าเดิม (ซึ่งมักถูกโยนทิ้งในตอนสุดท้ายอยู่ดี)
ขั้นตอนดังกล่าวคือ "ดาวน์ไซเคิล" (downcycle) มิใช่รีไซเคิลอย่างที่ใครๆ เข้าใจ

กลยุทธ์ที่ว่าใช้ได้ผลมากๆ กับการจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดในอเมริกา
(และน่าจะรวมถึงประเทศอื่นๆ ทั่วโลก - ผู้เขียน)
กลายเป็นตลาดใหม่มูลค่านับพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่บริษัทน้ำดื่มต่างพยายามปกป้องเม็ดเงินกำไรกันสุดฤทธิ์ บนสังเวียนนี้ คู่แข่งของพวกเขาไม่ใช่บริษัทผู้ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดด้วยกันเอง
แต่เป็น "สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด"

รองประธานของเป๊ปซี่โคถึงกับเคยประกาศต่อสาธารณะว่า "ศัตรูตัวยักษ์คือน้ำประปา"
จึงไม่แปลกที่บริษัทเหล่านี้จะพยายามทำให้น้ำประปาดูสกปรกในสายตาของผู้บริโภค
และหยิบยื่นน้ำดื่มบรรจุขวดให้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ในตอนท้ายของอะนิเมชั่น แอนนี่เสนอทางออกให้ช่วยกันสลัดมายาจากผู้ผลิตน้ำดื่มทิ้งไป
และหันกลับมาดื่มน้ำประปาดังเช่นวิถีชีวิตในอดีต
ด้วยการให้สัญญากับตัวเองว่าจะไม่ซื้อหรือบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวด
เว้นเสียแต่คุณอาศัยอยู่ในชุมชนที่ขาดแคลนแหล่งน้ำสะอาดจริงๆ

แต่ไม่ว่าความขาดแคลนนั้นจะเป็นผลสืบเนื่องจากระบบประปาที่มียังแจกจ่ายน้ำไม่ทั่วถึง
น้ำประปามีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน ท่อประปาขาดการบำรุงดูแล หรืออื่นๆ
ทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืนก็มิใช่การวางขายน้ำดื่มบรรจุขวดอยู่ดี
การลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างระบบประปาที่มีคุณภาพต่างหาก
จึงจะคุ้มค่าในระยะยาว สร้างประโยชน์วงกว้าง
และเอื้อให้คนยากจนเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้ด้วยเช่นกัน

นอกจากปฏิเสธน้ำดื่มบรรจุขวดแล้ว ยังควรก้าวขาออกจากบ้านพร้อมกระติกน้ำหรือภาชนะบรรจุน้ำใดใดที่ล้างและใช้ซ้ำได้อีกหลายครั้ง
รวมถึงต่อต้านการขายน้ำดื่มบรรจุขวดในโรงเรียนหรือในที่ทำงานของคุณ
และรณรงค์ให้มีการแก้ปัญหาเรื่องการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดอย่างจริงจัง

เพราะภาพรวมในระดับสากลยังมีคนอีก 1.2 พันล้านคนทั่วโลกที่ไม่มีแหล่งน้ำสะอาดสำหรับการบริโภค
ขณะที่หลายต่อหลายเมืองต้องทุ่มงบประมาณหลายล้านดอลลาร์เพื่อจัดการกับซากขวดน้ำพลาสติก

...ถ้านำเงินก้อนเดียวกันนี้มาใช้จัดสรรน้ำสะอาดในดินแดนที่ขาดแคลน
น่าจะสร้างประโยชน์ได้มาก มากกว่าโยนทิ้งไปกับขยะที่เราสามารถคุมกำเนิดได้

แม้ภาพยนตร์สารคดีชิ้นนี้จะอ้างอิงข้อมูลของสหรัฐอเมริกาล้วนๆ
แต่เนื้อหาในภาพรวมก็สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเราอยู่ไม่น้อย

เพราะน้ำก๊อกจากทุกพื้นที่การจ่ายน้ำของการประปานครหลวงก็ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก โดยการตรวจวิเคราะห์และรับรองคุณภาพของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กระทั่งได้รับการประกาศว่าเป็นน้ำประปาคุณภาพดีดื่มได้มานานเป็น 10 ปี
และยังดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาเป็นประจำทุกเดือน

ขณะที่การผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดในบ้านเรานั้นต้องขออนุญาตจากสำนักคณะ กรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ดำเนินการผลิตตามข้อกำหนดและผ่านมาตรฐานคุณภาพในทุกขั้นตอน
แต่ช่องโหว่มันอยู่ที่...ยังมีผู้ผลิตอีกจำนวนมากที่ลักลอบวางขายน้ำดื่มบรรจุ ขวดโดยยังไม่ได้ขออนุญาตขึ้นทะเบียนกับ อย.
หรือแม้จะขึ้นทะเบียนอนุญาตแล้ว การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มบรรจุขวดก็ยังมีความถี่น้อยกว่า
คือยืนพื้นปีละครั้ง หากจะบ่อยกว่านั้นก็ยังไม่ถึงขนาดเป็นประจำทุกเดือน

จึงพอจะสรุปได้ว่า การซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดแบบสุ่มสี่สุ่มห้า โดยเฉพาะจากผู้ผลิตรายเล็กๆ
ก็อาจมีความเสี่ยงทางสุขภาพมากกว่าการดื่มน้ำประปาในเขตพื้นที่ของกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ
กระนั้นหลายคนก็ยังไม่ค่อยเชื่อมั่นการดื่มน้ำก๊อก
น้ำประปาสะอาดจากต้นทางอาจปนเปื้อนสิ่งสกปรกระหว่างการเดินทางผ่านท่อเก่าๆ ก็ได้
เกือบทุกครัวเรือนจึงต้องติดตั้งเครื่องกรองน้ำเพิ่มความมั่นใจ

และเมื่อเปรียบเทียบกันด้วยราคา
น้ำดื่มบรรจุขวดขนาด 500 มิลลิลิตรทำให้เราต้องเสียเงินตั้งแต่ 5-6 บาท
ไล่ไปจนถึง 20-25 บาทหรือแพงกว่านั้นหากดื่มในร้านอาหารหรือโรงแรมหรูระยับ

ขณะที่น้ำจากก๊อกในปริมาณเท่ากัน ลองกดเครื่องคิดเลขบวกลบคูณหารค่าน้ำดิบ น้ำประปา ค่าบริการ และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ไม่รวมราคาของเครื่องกรองน้ำ) จากใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปาเดือนล่าสุด ผลปรากฏว่า ครึ่งลิตรราคา 0.0055 บาทเท่านั้น ไม่ถึง 1 สตางค์ด้วยซ้ำ

รู้อย่างนี้ คุณยังจะยอมจ่ายค่าน้ำดื่มบรรจุขวดที่แพงเกินจริงไปหลายร้อยหลายพันเท่า
พร้อมกับสร้างปัญหาขยะพลาสติกกันอีกเหรอ
ต่อให้เปลี่ยนไปซื้อน้ำดื่มในขวดแก้วซึ่งดูจะลดขยะได้มากกว่า เพราะแก้วรีไซเคิลได้จริง
แต่ต้องไม่ลืมนึกถึงมวลที่หนักกว่าซึ่งทำให้ยิ่งเปลืองพลังงานระหว่างการขนส่งด้วย

หันมากันพกกระติกน้ำเมื่อออกนอกบ้านกันเถอะ...เพื่อสุขภาพโลกและสุขภาพเรา


ที่มา http://myfreezer.wordpress.com

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >