หน้าหลัก arrow มุมมองสิทธิฯ ในหนัง arrow The Story of Cap & Trade : เล่นแร่แปรคาร์บอน
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 109 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


The Story of Cap & Trade : เล่นแร่แปรคาร์บอน พิมพ์
Wednesday, 21 July 2010

Image 

The Story of Cap & Trade : เล่นแร่แปรคาร์บอน

หลังจากสร้าง "The Story of Stuff " ภาพยนตร์อะนิเมชั่น
ตีแผ่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากกลไกการตลาดยุคบริโภคนิยม
ซึ่งปล่อยออกมาตั้งแต่เมื่อต้นปี 2551 และได้เสียงตอบรับอย่างดีเยี่ยม
จากผู้ชมทางอินเทอร์เน็ตหลายล้านคนทั่วโลก

แอนนี่ เลนนาร์ด (Annie Leonard) และทีมงานกลับมาสื่อสารสู่สังคมออนไลน์
ด้วยภาพเคลื่อนไหวของการ์ตูนลายเส้นประกอบการบรรยายอีกครั้งเมื่อต้น ธ.ค. ที่ผ่านมา
คราวนี้เธอกระตุ้นให้ผู้คนได้ฉุกคิดถึงวาระที่ซ่อนเร้นอยู่ในความพยายามบรรเทาวิกฤตโลกร้อน
ของบรรดาผู้นำประเทศและภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
ด้วยการจำกัดสิทธิการปล่อยคาร์บอนและการซื้อขายคาร์บอน
หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "Cap & Trade"

เหมือนจะซับซ้อนและยุ่งยาก ทว่าแอนนี่ช่วยให้มันเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นมาก
และแม้เธอจะเล่าโดยอ้างอิงข้อมูลของสหรัฐฯ เป็นหลัก
แต่เราๆ ท่านๆ ในประเทศไทยก็ควรจะรู้เท่าทันประเด็นเหล่านี้บ้าง
เพราะวิกฤตโลกร้อนเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับสากล ไม่ว่าผู้นำชั้นแนวหน้าของโลกและผู้เกี่ยวข้องโดยตรง
จะตัดสินใจหรือลงมือจัดการเรื่องนี้อย่างไร สุดท้ายแล้วย่อมส่งผลกระทบถึงทุกคน
การเฝ้ามองการทำงานของพวกเขาอยู่ห่างๆ จึงดีกว่าปล่อยปละละความสนใจไปเลย

 

คลิปสารคดี "The Story of Cap & Trade" ความยาวเกือบ 10 นาที
เปิดเรื่องด้วยความรู้สึกเบาใจของใครหลายๆ คน
เมื่อเห็นผู้นำโลกหารือพูดคุยกันถึงหนทางหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แวบแรกแอนนี่ก็คิดเช่นนั้น แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดกลับได้กลิ่นตุๆ ของการฉวยประโยชน์จากปัญหาระดับโลก

เพราะ Cap & TradeImage (บางครั้งก็เรียก Emission Trading หรือ Carbon Trading)
ที่พวกเขาคิดว่าเป็นทางออกปัจจุบันของวิกฤตโลกร้อนที่จะมาถึงในอนาคต
เธอขอแสดงความเห็นในมุมต่างว่า มันกำลังสร้างปัญหาใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม
แถมยังไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้

จากนั้นก็พาผู้ชมไปรู้จักกับตัวละครที่มีบทบาทสำคัญ
นั่นคือ เอ็นรอน (Enron) กลุ่มธุรกิจค้าพลังงานรายใหญ่ของโลก
และโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) วาณิชธนกิจชื่อดัง
ผู้ทรงอิทธิพลในตลาดหุ้นวอลสตรีทของสหรัฐฯ
ซึ่งช่วยกันผลักดันให้เกิดตลาดการซื้อขายคาร์บอน
โดยคาดการณ์ว่ามูลค่าการตลาดจะขยับขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
หรือประมาณ 100 ล้านล้านบาท ในอีก 10 ปีข้างหน้า

ใครที่ตามเรื่องปัญหาโลกร้อนคงรับรู้แล้วว่า ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์
ซึ่งนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า "คาร์บอน" เพิ่มขึ้นมากในชั้นบรรยากาศโลก
และนักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยก็เห็นว่า ต้องลดให้เหลือเพียง 350 ส่วนในล้านส่วน
เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะจากสภาพภูมิอากาศ

โดยสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้ก่อคาร์บอนรายใหญ่ของโลก
ต้องลดการปล่อยลง 80 เปอร์เซ็นต์ (หรือมากกว่านั้น) ภายใน 40 ข้างหน้า
แต่มันจะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ รวมทั้งของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล...โรงงานอุตสาหกรรม การขนส่งทางเรือทางเครื่องบิน
การเดินทางด้วยรถยนต์ การก่อสร้าง การผลิตสินค้าและข้าวของเครื่องใช้
ทุกอย่างล้วนปล่อยคาร์บอน

ตัวละครสำคัญที่ถูกกล่าวถึงในตอนแรกจึงเสนอแนวคิด Cap & Trade ขึ้นมา
พร้อมกับอ้างว่าการเปิดตลาดซื้อขายคาร์บอนจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

ในขั้นแรกรัฐบาลทั่วโลกจะต้องร่วมกันสรุป
และกำหนดโควตาการปล่อยคาร์บอนในแต่ละปีของแต่ละประเทศ
การจำกัดเพดานการปล่อยคาร์บอน นี่แหละที่เรียกว่า "Cap" ซึ่งแอนนี่เห็นว่ามาถูกทาง

หลังจากนั้นรัฐบาลของแต่ละประเทศจะนำตัวเลขโควตานี้
ไปแจกจ่ายให้กับผู้ประกอบการที่ปล่อยคาร์บอน
และลดตัวเลขโควตาลงทุกปีเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 350 ส่วนในล้านส่วนที่วางไว้

องค์กรธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใดที่ปรับเปลี่ยนมาสู่เทคโนโลยีสะอาด
และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ย่อมมีแนวโน้มจะปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าโควตาที่ได้รับ
ซึ่งสิทธิการปล่อยคาร์บอนในส่วนที่เหลือนี้สามารถขายต่อให้องค์กรอื่นๆ
ที่ปล่อยคาร์บอนเกินจำนวนที่ได้รับอนุญาต
โดยกิจกรรมการซื้อขายโควตาการปล่อยคาร์บอนก็คือ "Trade" นั่นเอง

ทั้งนี้ตัวกลางการเจรจาอย่างเอ็นรอนและโกลด์แมน แซคส์
ก็จะได้รับค่าธรรมเนียมหรือเงินส่วนแบ่งมูลค่าการซื้อขายโควตาในตลาดคาร์บอน
ในทำนองเดียวกับโบรกเกอร์ตลาดหุ้น
...แหม ได้มีส่วนช่วยโลก แถมยังร่ำรวยขึ้นด้วย ใครจะไม่ชอบ เธอว่าอย่างนั้น

หลายคนมองว่า มันเป็นก้าวแรกของการแก้ปัญหา
ซึ่งแม้จะไม่ดีที่สุด แต่ก็ยังดีกว่าไม่ลงมือทำอะไรเลย
ทว่าแอนนี่คิดตรงกันข้าม
อะไรที่ถูกดึงมาเกี่ยวข้องกับเงินแล้วมักจะมี "บางสิ่ง" แฝงอยู่ในรายละเอียดเสมอ

สำหรับกรณีนี้ "บางสิ่ง" ที่แอนนี่หยิบยกมาท้วงติงประการแรกก็คือ
การแจกจ่ายโควตาอนุญาตปล่อยคาร์บอนแบบให้เปล่า
(Free Permit หรือ Cap and Giveaway)

ถูกต้อง! ผู้ก่อคาร์บอนทั้งหลายได้รับสิทธิการปล่อยคาร์บอนต่อไปอย่างสบายใจเฉิบ
โดยไม่ต้องควักกระเป๋าจ่ายสักแดงเดียว อีกทั้งยังเป็นการแจกจ่ายโควตา
โดยอ้างอิงสัดส่วนการปล่อยคาร์บอนที่เคยเกิดขึ้นในอดีตด้วย
คือใครเคยปล่อยมากก็ได้โควตามาก ใครเคยปล่อยน้อยก็ได้โควตาน้อย...ลดหลั่นกันไป

สหภาพยุโรปนำร่องใช้งานรูปแบบนี้ไปแล้ว พบว่า
มันทำให้รายจ่ายด้านพลังงานเพิ่มสูงขึ้น กลายเป็นภาระที่ผู้บริโภคต้องแบกรับ
แถมยังไม่ช่วยให้ปล่อยคาร์บอนน้อยลงแต่อย่างใด
ข้อดีประการเดียวที่พอจะมองเห็นก็คือ
ผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ก่อคาร์บอน
สามารถสร้างรายได้พิเศษเพิ่มขึ้นนับล้านดอลลาร์
มันเป็นรายได้ที่ดึงออกมาจากกระเป๋าเงินของผู้บริโภค

เธอจึงเสนอให้เปลี่ยนการแจกเป็นการขายโควตาปล่อยคาร์บอน
เพราะเงินที่รัฐบาลได้จากการขายนั้น
สามารถนำไปใช้สร้างระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาพลังงานสะอาด
ช่วยเหลือประชาชนที่ต้องแบกรายจ่ายด้านพลังงานสูงขึ้น
ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาพลังงานสะอาด
หรือแบ่งปันสู่ผู้คนในประเทศที่ได้ผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
ที่หลายคนเรียกว่า "หนี้นิเวศ" (Ecological Debt)

แอนนี่เปรียบเทียบการมีชีวิตอย่างสุขสบายของชาวอเมริกันที่ปล่อยคาร์บอนมาเป็นร้อยปีว่า
เหมือนเราจัดงานปาร์ตี้ขนาดใหญ่โดยไม่ชวนเพื่อนบ้านมาร่วมสังสรรค์
ซึ่งหากไม่ช่วยรับผิดชอบรายจ่ายความเสียหายอันเกิดจากโลกร้อน
ก็เท่ากับโยนภาระค่าเก็บกวาดทำความสะอาดหลังงานเลี้ยงเลิกราไว้ที่พวกเขา
ซึ่งไม่เข้าท่าเอาเสียเลย

ข้อท้วงติงประการที่สอง...การชดเชยการปล่อยคาร์บอน (Offsetting)
คือเมื่อบริษัทใดลดการปล่อยคาร์บอนจนต่ำกว่าโควตาที่ได้รับ
ก็สามารถขายโควตาส่วนที่เหลือเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนเกินลิมิตของบริษัทอื่นๆ ได้

แต่สิ่งที่อันตรายที่สุดของหลักการชดเชยก็คือ เป็นเรื่องยากมากที่จะพิสูจน์ว่า
ปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยน้อยกว่าโควตานั้นเป็นเท่าใดกันแน่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อส่วนต่างที่เกิดขึ้นสามารถขายต่อได้ราคาดี
จึงเป็นช่องโหว่ร้ายแรงซึ่งกระตุ้นให้บริษัทที่คิดไม่ซื่อ
ปั้นตัวเลขการปล่อยคาร์บอนให้ต่ำกว่าความเป็นจริง

อย่างเช่นโรงงานอุตสาหกรรมที่วางแผนการปล่อยคาร์บอนให้เกินจริงเข้าไว้
บอกว่าปีหน้าจะปล่อย 200 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็ลดการขยายโรงงาน
เพื่อให้ปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าเป้าที่ตั้งไว้
อาจจะเหลือสักครึ่งหนึ่งก็สามารถสร้างรายได้พิเศษจากการขายโควตาปล่อยคาร์บอนได้แล้ว
...แอนนี่เห็นว่า มันเป็นกลไกที่งี่เง่าจริงๆ

แค่รายละเอียดสองประเด็นที่ว่ามา ก็ทำให้ Cap& Trade เป็นกลไกแก้ปัญหาโลกร้อน
ที่ไม่ยุติธรรมและไร้ประสิทธิภาพมากพอแล้ว แต่...มันยังไม่จบ
เพราะทางเลือกนี้เบี่ยงเบนประเด็นในการเยียวยาโลกร้อน (Distraction)
ให้เตลิดไปไกลกว่าสิ่งที่ควรลงมือทำ

แอนนี่เรียกร้องให้ภาคประชาชนออกมาช่วยกันเสนอกฎหมาย
โดยยกตัวอย่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดของสหรัฐฯ
ที่กำหนดให้คาร์บอนเป็นหนึ่งในมลพิษทางอากาศที่ต้องควบคุมการปล่อย
ฉะนั้นหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA)
ก็น่าจะเล่นบทเป็นผู้ควบคุมปริมาณการปล่อยคาร์บอนเองได้เลย

นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ประชาชนในประเทศอื่นๆ นอนใจว่า
ทุกอย่างน่าจะไปได้สวย ก็แค่เปลี่ยนหลอดไฟ ขับรถน้อยลงหน่อย
ที่เหลือก็ปล่อยให้กลไก Cap & Trade ทำงาน ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง
เพราะเอาเข้าจริง มันก็แค่กลไกที่ช่วยปกป้องภาคธุรกิจดีๆ นี่เอง

ไม่จำเป็นต้องรีบเชื่อทุกอย่างที่แอนนี่พูด
มันมีวาระซ่อนเร้นอยู่ในการซื้อขายโควตาปล่อยคาร์บอนหรือไม่
คนไม่กี่คนกำลังเล่นแร่แปรคาร์บอนเพื่อฉวยประโยชน์เข้ากระเป๋าตัวเองผ่านกลไกแก้ไขโลกร้อนจอมปลอมอย่างนั้นหรือ
...อย่าลืมนะ คุณควรจะมีส่วนร่วมขบคิดเรื่องเหล่านี้เหมือนกัน

ภายหลังเผยแพร่ "The Story of Cap & Trade" ออกไปไม่นาน
ก็มีเสียงสะท้อนกลับมามากมายจากผู้ชม
ทั้งที่เห็นด้วยและโต้แย้งกันประเด็นต่อประเด็น
ทำให้เธอยิ่งรู้สึกประสบความสำเร็จมากขึ้นไปอีก
เพราะสามารถสร้างกระแสการถกเถียงในวงกว้าง
อันน่าจะนำไปสู่หนทางเยียวยาโลกร้อนที่ดีกว่านี้ นั่นต่างหาก...เป้าหมายใหญ่ที่เธอตั้งใจไว้

-----------------------
 หมายถึง การจำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเน้นที่คาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล

 

ที่มา http://myfreezer.wordpress.com


----------------------------------------------------------------------------


หรือติดตามอ่าน เป็นไฟล์ PDF Image

บทความนี้ไม่ใช่บทความเดียวกับด้านบน


บทแปลพร้อมเชิงอรรถอ้างอิง

"STORY OF CAP AND TRADE"

สนับสนุนโดย คณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม

(Thai Working Group for Climate Justice)

มกราคม 2553


เรื่องราวของการจำกัดเพดานและการซื้อขายสิทธิการปล่อยคาร์บอน

และเหตุใดคุณจึงไม่สามารถแก้ปัญหาโดยใช้วิธีคิดที่สร้างระบบนี้ขึ้นมาได้

www.storyofstuff.com/capandtrade/

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >