หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow บทเรียนจากแอฟริกาใต้ : พระไพศาล วิสาโล
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 78 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

บทเรียนจากแอฟริกาใต้ : พระไพศาล วิสาโล พิมพ์
Wednesday, 07 July 2010

 มติชนรายวัน วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553


บทเรียนจากแอฟริกาใต้

พระไพศาล วิสาโล


ฟุตบอลโลกครั้งที่ 19 ทำให้แอฟริกาใต้กลับมาเป็นจุดสนใจของคนทั้งโลกอีกครั้งหนึ่ง ตลอดทั้งเดือนคนหลายร้อยล้านจะจับจ้องมองเกมกีฬาเดียวกัน ในขณะที่ชาวแอฟริกาใต้ร่วมกันเทใจให้กับทีมฟุตบอลของตัวท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

บรรยากาศดังกล่าวนับว่าแตกต่างอย่างมากจาก 15 ปีก่อนเมื่อแอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพจัดรักบี้โลก ก่อนหน้านั้นแค่ 2 ปีแอฟริกาใต้เกือบจะเกิดสงครามกลางเมือง มีเหตุการณ์นองเลือดหลายครั้งอันเกิดจากการปะทะกันระหว่างคนขาวกับคนดำ และระหว่างคนดำต่างเผ่า รัฐบาลซึ่งมาจากคนขาวอันเป็นชนกลุ่มน้อยคุมสถานการณ์แทบจะไม่ได้แล้วทั้งๆ ที่มีอำนาจเผด็จการอยู่ในมือ ใช่แต่เท่านั้นเศรษฐกิจของแอฟริกาใต้ก็ย่ำแย่เพราะเพิ่งฟื้นตัวจากการถูกนานาชาติคว่ำบาตรเนื่องจากมีนโยบายเหยียดผิวมาช้านาน

สถานการณ์เริ่มดีขึ้นเมื่อทุกฝ่ายเห็นด้วยกับการเลือกตั้งที่จัดขึ้นในปีถัดไป ซึ่งทำให้เนลสัน แมนเดลาได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี แม้จะได้คะแนนเสียงจากคนดำอย่างท่วมท้น แต่เนลสัน แมนเดลาถือว่าตนเป็นประธานาธิบดีของคนแอฟริกาใต้ทั้งประเทศ ไม่ว่าคนดำหรือคนขาว ความปรองดองของคนในชาติถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง เขาจึงเลือกอดีตประธานาธิบดีเดอเคลิร์กซึ่งเป็นคนขาว มาเป็นรองประธานาธิบดีในคณะรัฐบาลแห่งชาติ

อย่างไรก็ตามความเคียดแค้นชิงชังที่คนดำมีต่อคนขาวซึ่งเอาเปรียบเหยียดหยาม พวกเขามาช้านาน ไม่ได้หายไปง่ายๆ คนดำรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับทุกอย่างที่เป็นของคนขาว รวมถึงทีมรักบี้ของแอฟริกาใต้ แม้ได้ชื่อว่าเป็นทีมชาติ แต่ทีมรักบี้แอฟริกาใต้เป็นสัญลักษณ์ของการเหยียดผิวอย่างชัดเจนเพราะมีแต่ผู้เล่นซึ่งเป็นคนขาว (ช่วงที่แอฟริกาใต้ถูกประชาคมนานาชาติคว่ำบาตรนั้น ทีมรักบี้แอฟริกาใต้ก็ถูกปฏิเสธไม่ให้ไปเล่นในประเทศต่างๆ ด้วย) ดังนั้นเมื่ออำนาจถูกโอนถ่ายจากคนขาวมาสู่คนดำหลังการเลือกตั้งปี 2537 จึงมีเสียงเรียกร้องให้ยุบทีมรักบี้ดังกล่าวรวมทั้งยกเลิกทุกอย่างที่เป็น สัญลักษณ์ของทีมรักบี้นี้ ไม่ว่าโลโก้หรือสมญานาม "สปริงบ็อกส์"

แต่แมนเดลารู้ดีว่าการทำเช่นนั้นเป็นการทำร้ายจิตใจของคนขาว นั่นไม่ใช่หนทางแห่งการปรองดอง เขาตระหนักดีว่าการปรองดองนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการมีไมตรีจิตให้อีกฝ่าย มิใช่การแก้แค้นแม้จะมีอำนาจเหนือกว่า ดังนั้นเขาจึงทำสิ่งที่คนดำทั้งประเทศคาดไม่ถึง นั่นคือปกป้องทีมสปริงบ็อกส์และคงสัญลักษณ์ทุกอย่างที่เป็นของทีมนี้

แมนเดลารู้ดีว่าการทำเพียงเท่านั้นยังไม่พอ ตราบใดที่คนดำยังรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับทีมรักบี้ของชาติตัวเอง สิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในการแข่งขันรักบี้โลกที่แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพก็คือ ชาวแอฟริกาใต้ผิวดำพากันส่งเสียงเชียร์ทีมตรงข้ามกับทีมชาติของตัว ดังนั้นแมนเดลาจึงทำการรณรงค์ให้คนผิวดำหันมาเล่นรักบี้กันให้มากขึ้น (แทนที่จะเล่นแต่ฟุตบอลซึ่งเป็นกีฬาของคนดำ) มีการส่งนักรักบี้ทีมชาติเดินสายทั่วประเทศเพื่อฝึกเยาวชนผิวดำให้รู้จักเล่นรักบี้ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือการสร้างสัมพันธภาพระหว่างคนผิวดำกับนักกีฬาทีมชาติของตัว

เมื่อการแข่งขันรักบี้โลกเปิดสนามขึ้นที่กรุงโจแฮนเนสเบิร์ก ฝันของแมนเดลาก็ปรากฏเป็นจริง คนแอฟริกาใต้ผิวดำต่างส่งเสียงเชียร์ทีมชาติของตนอย่างกึกก้อง ขณะที่คนขาวร้องเพลงชาติที่เป็นภาษาซูลู กล่าวกันว่านี้คือก้าวสำคัญแห่งความสมานฉันท์ในแอฟริกาใต้ ทั้งคนขาวและคนดำทิ้งความแตกต่างและความเจ็บปวดไว้เบื้องหลัง ต่างหันมาเทใจให้กับสิ่งเดียวกัน ผลก็คือทีมสปริงบ็อกส์ซึ่งเป็นทีมรองบ่อนไร้อันดับในการแข่งขันครั้งนั้น ได้พลิกคำทำนายของเซียนกีฬา สามารถฝ่าด่านจนเข้าชิงชนะเลิศกับทีมนิวซีแลนด์ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเต็งอันดับ 1 แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อแอฟริกาใต้สามารถเอาชนะนิวซีแลนด์ได้อย่างเฉียดฉิว ครองแชมป์รักบี้โลกเป็นครั้งแรกท่ามกลางความปลื้มปีติของคนแอฟริกาใต้ทั้งประเทศ ใช่แต่เท่านั้นแมนเดลายังทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดฝัน นั่นคือสวมเสื้อทีมสปริงบ็อกส์มาเป็นประธานในพิธี สำหรับผู้คนเป็นอันมาก นี้คือภาพที่ให้ความหวังว่าแอฟริกาใต้จะก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นใจ

ในแอฟริกาใต้นั้น กีฬาคือเครื่องแบ่งแยก กล่าวคือคนขาวเล่นรักบี้ ส่วนคนดำเล่นฟุตบอล
(มีคำพูดที่สะท้อนความรู้สึกดูแคลนระหว่างนักกีฬา 2 ประเภทว่า "รักบี้คือกีฬาอันธพาลที่เล่นโดยสุภาพบุรุษ ส่วนฟุตบอลคือกีฬาสุภาพบุรุษที่เล่นโดยอันธพาล") แต่อะไรที่แบ่งแยกผู้คนนั้น ก็สามารถเชื่อมผู้คนได้ เช่นเดียวกับกุญแจที่ลั่นดาลประตูก็สามารถเปิดประตูได้ แมนเดลาตระหนักดีถึงความจริงข้อนี้ ผ่านประสบการณ์ของเขาเองระหว่างที่ถูกจองจำอยู่ในคุกนานถึง 27 ปี

แมนเดลาเคยสนับสนุนการใช้ความรุนแรงเพื่อต่อสู้กับการกดขี่ปราบปรามของรัฐบาลคนขาว แต่ประสบการณ์และการไตร่ตรองภายในเรือนจำทำให้เขาตระหนักว่าสันติวิธีเป็น วิธีเดียวที่จะถางทางให้คนดำมีเสรีภาพและความเสมอภาคเช่นเดียวกับคนขาว แต่จะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องทำให้คนขาวมองคนดำเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเช่นเดียวกับคนขาว

แมนเดลาตระหนักดีว่า ความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจาก "ระยะห่างทางสังคม" ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่เขาทำระหว่างที่อยู่ในคุกก็คือ การศึกษาและทำความเข้าใจวัฒนธรรมของคนขาว เขาจับได้ว่าคนขาวนั้นชอบรักบี้เป็นชีวิตจิตใจ เขาจึงตะลุยอ่านหนังสือเกี่ยวกับรักบี้ ทั้งๆ ที่ไม่เคยชอบมาก่อนเลย และจดจำรายละเอียดมากมาย เขาเชื่อว่านี้เป็นวิธีหนึ่งที่จะเปิดใจคนขาวให้ยอมรับคนดำว่าเป็นเพื่อนได้

คุกที่เขาถูกขังนั้นขึ้นชื่อว่าเข้มงวดมาก และมีการป้องกันอย่างแน่นหนา อีกทั้งผู้คุมซึ่งเป็นคนขาวก็ดุร้าย เจ้าระเบียบ และมีท่าทีรังเกียจนักโทษคนดำมาก แมนเดลาพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้มีปัญหากับผู้คุม แต่เขามีเรื่องลำบากใจอยู่อย่างหนึ่ง คืออาหารมื้อเย็นที่เหลือจากตอนกลางวันนั้น จะเย็นชืดมาก เขาเองกินอาหารเย็นๆ ไม่ค่อยได้ จำเป็นต้องอุ่นเสียก่อน เขารู้ดีว่าผู้คุมไม่ชอบแน่ที่เขาจะมาวุ่นวายเรื่องนี้ แต่เขาก็มีวิธี ทุกเย็นเขาจะเดินเข้าไปคุยกับคนขาวเรื่องรักบี้ ชนิดเจาะลึกลงไปถึงรายละเอียด รวมทั้งผลการแข่งขันล่าสุด (แน่นอนเขาคุยด้วยภาษาของคนขาว) ปรากฏว่าถูกใจผู้คุมมาก สักพักเขาก็ตะโกนสั่งลูกน้องว่า "เฮ้ย ไปอุ่นอาหารให้แมนเดลาหน่อย"

แมนเดลาตระหนักดีว่าการจะโน้มน้าวคนขาวให้ถ่ายอำนาจแก่คนดำนั้น เขาต้อง "พูดกับหัวใจของพวกเขา" ไม่ใช่พูดกับสมองของเขา หรือเอาเหตุผลมาพูดกัน เขาพบว่ารักบี้เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถเป็นสะพานพาเขาเข้าถึงหัวใจของคนขาวได้ เขาพยายามทำให้คนขาวเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า "ถ้าหากผู้ก่อการร้ายที่อยู่อีกด้านหนึ่งของโต๊ะเจรจาเป็นแฟนรักบี้ เขาก็คงไม่เลวร้ายอย่างที่พวกเรานึกกระมัง" แล้วเขาก็ทำสำเร็จ

แมนเดลาประสบความสำเร็จในการเจรจาให้คนขาวแบ่งปันอำนาจให้แก่คนดำซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ แอฟริกาใต้จึงสามารถหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมืองได้อย่างหวุดหวิด ความสำเร็จของแมนเดลา มิได้อยู่ที่การมียุทธศาสตร์ทางการเมืองที่ดี มีทางลงให้แก่คนขาวที่ครองอำนาจมานับร้อยปี แต่ยังอยู่ที่บุคลิกและความสามารถส่วนตัวของเขา ที่ทำให้คนขาวไว้วางใจเขา เห็นเขาเป็นเพื่อน ซึ่งทำให้เห็นต่อไปว่าคนดำนั้นก็เป็นมนุษย์ มีศักดิ์ศรี รวมทั้งมีความเหมือนมากกว่าความต่าง และความเหมือนอย่างหนึ่งก็คือ เป็นแฟนรักบี้เหมือนกัน

การทำให้ผู้อื่นไว้วางใจนั้นจะสำเร็จได้ต่อเมื่อเราเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักหยิบยื่นไมตรีให้เขาด้วย หาไม่แล้วก็ยากที่จะเอาชนะความระแวงและความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ได้ แมนเดลาสามารถชนะใจคนขาวได้ก็เพราะเหตุนี้ แต่สิ่งที่อาจจะยากกว่าก็คือการทำให้คนดำไม่ลุกขึ้นมาแก้แค้นคนขาวหลังจากที่ถูกกระทำย่ำยีมาช้านาน บาดแผลที่คนดำได้รับจากคนขาวนั้นเรื้อรังมาหลายทศวรรษ จึงปรารถนาที่จะชำระความแค้นเมื่อคนดำได้เป็นใหญ่ในประเทศ ดังนั้นจึงรู้สึกไม่พอใจอย่างมากที่แมนเดลาขัดขวางการกระทำดังกล่าว ซ้ำยังมีไมตรีจิตให้แก่คนขาว ผู้คนเป็นอันมากผิดหวังที่เขาไม่กวาดล้างเจ้าหน้าที่ผิวขาวที่เคยเป็นมือไม้ให้กับรัฐบาลในการกดขี่ปราบปรามประชาชน ซ้ำยังยอมให้คนเหล่านั้นมาเป็นองครักษ์ประจำตัวของเขา แทนที่จะใช้การเมืองแบบไล่ล่าแก้แค้น แมนเดลายืนยันที่จะใช้การเมืองแห่งการให้อภัยและคืนดี

คนที่จะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องอาศัยความกล้าหาญอย่างมาก เพราะต้องสวนกระแสความรู้สึกของมหาชนที่เลือกเขาขึ้นมา ต้องทนคำวิพากษ์วิจารณ์และเข้าใจผิดนานัปการ แต่กาลเวลาได้พิสูจน์ว่า สิ่งที่แมนเดลาทำนั้นได้นำสันติสุขและความสมานฉันท์มาสู่แอฟริกาใต้ จากประเทศที่เกือบจะแตกเป็นเสี่ยง กลายเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา

แน่นอนว่าความสมานฉันท์ในแอฟริกาใต้เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยต่างๆ อีกมากมาย รวมทั้งการเยียวยาโดยอาศัยกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีคณะกรรมการเพื่อสัจจะและความสมานฉันท์เป็นกลไกสำคัญ ที่ทำให้ผู้กระทำอาชญากรรม (ไม่ว่าขาวหรือดำ) ได้รับโทษ (หากไม่สารภาพตั้งแต่แรก) และทำให้เหยื่อของความรุนแรงได้รับการชดเชยหรือมีโอกาสเล่าความเจ็บปวดของตน ให้ผู้อื่นรับรู้ในระหว่างการพิจารณาคดี (ชาวผิวดำผู้หนึ่งซึ่งถูกตำรวจผิวขาวทรมานจนตาบอด เล่าว่า "สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกแย่ตลอดเวลาก็คือความจริงที่ว่าผมไม่สามารถเล่าเรื่องราวของผมได้ แต่ตอนนี้ผมรู้สึกเหมือนว่าผมมองเห็นได้อีกครั้งหนึ่งโดยการมาที่นี่และบอกเล่าเรื่องราวของผมออกมา")

15 ปีหลังจากรักบี้โลกถึงฟุตบอลโลก แอฟริกาใต้ได้ก้าวหน้าไปมาก ทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง และความปรองดองในชาติ ทุกครั้งที่เราดูฟุตบอลโลกที่จัดในประเทศนั้น ควรจะนึกหันมามองบ้านเมืองของเราด้วย อย่าคิดแต่เพียงว่าเมื่อไรเราจะมีปัญญาจัดฟุตบอลโลกได้ที่เมืองไทย แต่ควรนึกต่อไปว่าเราจะสร้างความปรองดองในชาติอย่างแอฟริกาใต้ได้อย่างไรบ้าง

คนไทยนั้นจะว่าไปแล้วความแตกต่างระหว่างกันมีน้อยกว่าความแตกต่างระหว่างคนขาวกับคนดำในแอฟริกาใต้ ไม่ว่าจะในแง่ผิวสี ฐานะทางเศรษฐกิจ หรืออำนาจทางการเมือง หากแอฟริกาใต้ยังสามารถจัดสรรอำนาจกันใหม่ได้อย่างสันติ ชนิดที่กลับหัวกลับหางก็ว่าได้ (คนดำกลายเป็นผู้ปกครอง ส่วนคนขาวกลายเป็นผู้ถูกปกครอง) เมืองไทยซึ่งมีปัญหาน้อยกว่ากันมาก จะไม่สามารถฝ่าพ้นวิกฤตด้วยสันติวิธีเชียวหรือ แต่เราต้องทำมากกว่าการชูคำขวัญ มีหลายอย่างที่จะต้องทำ แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือความปรองดองบนวิถีแห่งไมตรีจิต ซึ่งต้องอาศัยความกล้าที่จะทวนกระแสแห่งความโกรธเกลียดทั้งของผู้คนและในใจเรา


------------------------------

จาก เว็บ

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >