หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน arrow ค่ายเยาวชนสัมผัสชีวิต ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 10-14 พฤษภาคม 2553
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 61 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ค่ายเยาวชนสัมผัสชีวิต ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 10-14 พฤษภาคม 2553 พิมพ์
Thursday, 17 June 2010

 

ชมภาพจาก

ค่ายเยาวชนสัมผัสชีวิต ครั้งที่ 2


undefinedคลิกชมภาพกันเลยundefined


undefined เว็บบอร์ด : ฝากข้อความถึงเพื่อนร่วมค่ายฯ undefined

(สมัคร สมาชิกด้วยนะ)

Image

 

Image

 
ค่ายเยาวชนสัมผัสชีวิต ครั้งที่สอง

ศูนย์การเรียนรู้ลาซาล บ้านพระเจดีย์สามองค์ 

ความจริง มิตรภาพ ความทรงจำ และข้อตั้งใจ

 

นอกจาก ค่ายยุวสิทธิมนุษยชนที่ ยส. จัดให้กับนักเรียนชั้นมัธยมปลายที่สนใจปีละสองครั้งในเดือนมีนาคมและตุลาคมแล้ว อีกค่ายหนึ่งที่น้องๆ จะได้ศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างเข้มข้นมากขึ้นคือ ค่ายเยาวชนสัมผัสชีวิต ซึ่งครั้งที่ 1 ได้จัดไปเมื่อเดือนเมษายน 2551 เยาวชนได้เข้าไปร่วมชีวิตและเรียนรู้ความเป็นจริงกับชาวปกาเกอะญอ ที่บ้านขุนแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

2 ปีต่อมา ค่ายเยาวชนสัมผัสชีวิต ครั้งที่ 2 จึงเกิดขึ้น ณ ศูนย์การเรียนรู้ลาซาล บ้านพระเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 10-14 พฤษภาคม แม้จำนวนวันอาจไม่มากนัก แต่ประสบการณ์ที่ได้รับก็ทรงคุณค่า ประทับใจ ได้ข้อคิด ข้อตั้งใจ จากสิ่งที่ได้รับตลอด 5 วันที่อยู่ร่วมกันทั้งกับพวกเรากันเอง กับเด็กๆ และกับแรงงานชาวพม่าที่เราได้สัมผัส จึงยืนยันคำกล่าวที่ว่า "มิตรภาพ ไม่มีพรหมแดน" ได้จริงแท้แน่นอน


10 พฤษภาคม
วันเดินทาง ....ยามค่ำนั่งล้อมวงรอบตะเกียง

 เรานัดพบน้องๆ ค่าย จากกรุงเทพฯ และปริมณฑล และที่เดินทางไกลมาจาก ระนอง (นก), ชุมพร (เจม,ไผ่), อุบลราชธานี (หมูน้อย) และ อ่างทอง (แอมแปร์) ที่สถานีขนส่งหมอชิต น้องมากันตรงเวลานัด 9.30 น. ได้เวลาขึ้นรถ บขส. สายกรุงเทพฯ - ด่านเจดีย์สามองค์ ทั้งน้องและพี่แยกย้ายกันนั่งตามอัธยาศัย เมื่อมาถึงสถานีขนส่ง จ.กาญจนบุรี มีน้องค่ายจากโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย และ นารีวุฒิ มาสมทบคือ นนท์ ไอซ์ ออโต้ แป้ง และ เมย์ น้องมาครบทั้ง 18 คน จากนั้นรถมาแวะพักทานข้าวเที่ยงที่ไทรโยค มองเห็นวิวเทือกเขาสวยงามอยู่ลิบๆ จากนั้นมุ่งตรงสู่สังขละบุรี แต่เนื่องจากเป็นเส้นทางคดโค้งไปตามภูเขา บางช่วงก็สูงชัน ทำให้ใช้เวลาเดินทางค่อนข้างนาน กว่าจะถึงจุดหมายปากทางเข้าไร่ยางพาราที่เรียกว่า "หกพันไร่" ก็เกือบหกโมงเย็นแล้ว

 หลังขนข้าวของเข้าที่พัก เขาคอนโดรีสอร์ท เรียบร้อย พวกเราเดินเลยไปตามทางดินแดงขรุขระ ไปยัง "ศูนย์การเรียนรู้ลาซาล" ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก โดยมี บราเดอร์วิกตอร์ กิล มูโน๊ส ผู้อำนวยการศูนย์ฯ คอยต้อนรับ พร้อมอาหารเย็นค่อยท่าอยู่แล้ว ท่านเป็นชาวสเปน คณะนักบวชลาซาล ทำงานอภิบาลในประเทศไทยยาวนานถึง 46 ปีแล้ว จึงพูดภาษาไทยได้คล่องแคล่ว เมื่อความมืดเริ่มโรยตัวเข้าปกคลุม เราอาศัยแสงจากตะเกียง เนื่องจากที่ตั้งของโรงเรียนเป็นที่ดินให้ยืมของเจ้าของสวนยางพารา จึงไม่สามารถต่อไฟฟ้ามาใช้ได้ ท่านได้เล่าความเป็นมาคร่าวๆ ของศูนย์ให้พวกเราฟัง จากนั้น พี่เล็ก ชี้แจงความเป็นมา แจ้งวัตถุประสงค์ พร้อมกฎกติกาต่างๆ ในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน 5 วันของเยาวชนจำนวน 18 คน ที่ถูกคัดเลือกจากเยาวชนที่ผ่านค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ครั้งที่ 2 - ครั้ง 7 เยาวชนส่วนใหญ่อยู่ระดับ ม.5 ม. 6 และมีน้องที่ได้ก้าวเข้าไปสู่ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว หรือกำลังจะเป็นเฟรชชี่ในอีกไม่กี่วันนี้ ค่ำคืนแรกเราลากันไปพักผ่อนท่ามกลางแสงดาวสุกสกาวเต็มท้องฟ้า สำหรับใครบางคนอาจจะครุ่นคิดและหวาดหวั่นอยู่ว่า ทำวิกผม... เย็บมุ้ง... สอนหนังสือเด็กๆ... รีดยางพารา... จะเป็นอย่างไรหนอ?...


11 พฤษภาคม
สัมผัสชีวิตผู้ใช้แรงงาน ...สร้างสรรค์โลกา

 และแล้ว เช้าวันสดใสก็มาถึงพร้อมภารกิจที่ได้รับมอบหมาย บางคนตื่นแต่เช้าตรู่ เพื่อสัมผัสชีวิตที่ชายแดนด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งมีเพียงธงชาติไทย และธงชาติพม่า เป็นสัญลักษณ์ปักปันกันคนละฟากฝั่งรั้วลวดหนามเล็กๆ ให้ผู้ไม่รู้ทราบว่า นั่นประเทศพม่า นี่ประเทศไทย มีบังเกอร์และทหารไทยประจำการอยู่สองคน ทุกๆ เช้า-เย็นแรงงานพม่านุ่งโสร่งปะแป้งทานาคาถือปิ่นโตเดินเข้าออกเขตแดนอย่างไม่ขาดสาย มาทำงาน มาเรียน หรือนั่งรถไปทำงานโรงงานรองเท้าที่อยู่ไกลออกไป บรรยากาศเช้าๆ เหมือนตลาดสด มีขนม อาหารพื้นถิ่น และอาหารพม่าอยู่ตามรายทางเล็กๆ ราคาไม่แพงอยู่หลายเจ้า

 หลังอาหารเช้า เยาวชนแบ่งกลุ่มกันแยกย้ายไปตามหน้าที่รับผิดชอบ ที่ศูนย์เรียนรู้ลาซาล แม็กซ์ เจม หมูน้อย ที่ตระเตรียมตัวมาอย่างดีในการสอนเด็กๆ เสียงอันใสแจ๋วของหมูน้อยช่วยดึงดูดความสนใจของเด็กได้ดี หน้าที่อื่นๆ เป็นผู้ใช้แรงงานกัน โดยกลุ่มใหญ่ทำงานที่โรงงานยางพารา ห่างออกไปประมาณ 1 กม. และอีกสองกลุ่มแยกไปทำวิกผม กับโรงงานเย็บมุ้ง ซึ่งใกล้ตลาดด่านเจดีย์สามองค์ ตอนเย็นทุกคนกลับมาพร้อมหน้ากัน ทานอาหารเย็นเรียบร้อย พวกเราได้นั่งล้อมวงแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้ไปสัมผัสร่วมกัน เจม สะท้อนความรู้สึกสงสารน้องคนหนึ่งว่า "ได้เงินค่าขนมแค่วันละสองบาทเท่านั้น แต่ตัวเองได้วันละ 100 บาท" หมูน้อย บอกเล่าปนเสียงสั่นเครือว่า "เด็กที่นี่ขาดโอกาสทางการศึกษา แต่มีความกระตือรือร้นในการเรียนมาก ไม่ได้รับสัญชาติไทย ศูนย์แห่งนี้ก็ยังไม่ได้รับอนุมัติเป็นโรงเรียนถูกต้องตามกฎหมาย จากที่สอบถามกับครูทราบว่า แม้เด็กๆ เหล่านี้จะเรียนจนจบแต่ก็ไม่ได้รับวุฒิบัตรทางการศึกษา ไม่มีโอกาสเรียนต่อ อนาคตเขาจะเป็นอย่างไร เขาคงไปแต่งงาน มีลูก หรือไม่ก็ทำงานโรงงาน" แม็กซ์ "เด็กๆ ตั้งใจเรียนกันดีมาก แม้ไร้สัญชาติ จะเป็นพม่า มอญ หรือ กะเหรี่ยงก็เป็น "คน" เหมือนกัน เด็กที่นี่ค่อนข้างขาดอาหาร บางคนมีกินอิ่มแค่มื้อเดียว บางบ้านมีข้าวแต่ไม่มีกับ"

 น้องๆ ที่ไปทำโรงงานยาง ได้ทำกันหลายหน้าที่ รีดยางจากก้อนกลมๆ ขาวๆ เป็นแผ่นแบนๆ บางคนช่วยเก็บและพับยางที่ตากหรืออบเรียบร้อยแล้ว ต้องเอาออกจากราวไม้ไผ่มามาเรียงแล้วพับเป็นกอง ใช้เหล็กกดให้ยางติดกันแล้วยกมาไว้เป็นกองใหญ่ อาจจะดูไม่ยาก แต่ด้วยปริมาณยางที่มีให้ทำตลอดแทบไม่ได้หยุดพัก และโรงงานที่ทำก็ค่อนข้างมีฝุ่นเยอะ และมีกลิ่นเน่าของขี้ยาง ชวนให้เวียนหัวมาก วันนั้นทั้งวัน รู้สึกเวลาช่างเดินเชื่องช้าเหลือเกิน ออโต้ ได้คุยกับเด็กๆ ที่มาทำงานซึ่งพูดภาษาไทยได้ เผยความรู้สึกว่า "สงสารเด็กๆ ที่มาทำงานช่วงปิดเทอม ได้ค่าแรงแค่วันละ 50-70 บาท แต่ต้องทำงานหนักตั้งแต่เช้าถึงเย็น เทียบกับตัวเองที่ขี้เกียจมากเรียกร้องอะไรพ่อแม่ก็หามาให้ และรู้สึกตื้นตันใจเวลาไปช่วยเขาทำงาน คิดว่า อย่างน้อยๆ สิ่งที่เราทำก็ช่วยเพิ่มปริมาณรายรับที่เด็กๆ เหล่านี้จะได้รับ" บูม บอกว่า "ตอนทำก็เหนื่อยมาก รู้สึกท้อเหมือนกันว่าทำไมไม่เสร็จสักที แต่ก็ได้บทเรียนว่าคนงานเหล่านี้ถึงเขาจะเหนื่อยจะท้อ แต่เขาก็หยุดทำไม่ได้ เขาต้องสู้เพื่อความอยู่รอด เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขา และได้เรียนรู้เรื่องความเป็นระเบียบวินัยของตัวเอง การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และสัมผัสได้ถึงมิตรภาพ แม้ภาษาจะเป็นอุปสรรค แต่ก็ได้เห็นรอยยิ้มของพวกเขา เวลาที่พวกเราคุยกับเด็กๆ ที่มาทำงาน"

 หมู แบ่งปันว่า "เคยใช้แรงงานแบบนี้มาบ้างแล้ว สมัยเด็กๆ เคยลำบากมาก่อน ทำงานเป็นจับกัง แบกข้าวสารกับพ่อ ตื่นตี 4 ไปเก็บผัก ขับรถสิบล้อก็เคย ช่วยแม่เย็บผ้า ทุกวันนี้ความเป็นอยู่ดีขึ้น แต่ก็คิดอยู่เหมือนกันว่า เราทำงานไปเพื่ออะไร ได้คุยกับคนงานเขาบอกว่าทำงานในไทยได้เงินดีกว่าทำที่พม่า เด็กพม่าที่มาทำงานในโรงงานถามเหมือนกันว่า พี่มาทำอย่างนี้ไม่ได้ตังค์ แล้วพี่มาทำกันทำไม" แป้ง และ น้อง ทำงานที่โรงงานวิกผมเล่าว่า "วิกอันหนึ่งกว่าจะเสร็จต้องใช้เวลานาน สายตาต้องเพ่งตลอด ต้องใช้ความอดทนอย่างมาก ทำให้รู้คุณค่าของเงินมากขึ้น ต่อไปจะขยันเรียนมากกว่านี้" น้องๆ ค่ายที่ไปทำงานเย็บมุ้งและพับมุ้ง กลุ่มพับมุ้งมีปัญหาแสบตาและผื่นคันตามเนื้อตัวซึ่งมีผลจากสารเคมีที่ใช้เคลือบมุ้งป้องกันแมลง ไผ่ บอกว่า "ได้เห็นน้ำใจของคนงานพม่าที่หาเก้าอี้มาให้นั่งพัก และเอาพัดมาให้" เมย์ "มุ้งหนึ่งหลัง คนเย็บได้ค่าแรงเพียง 1 บาท 60 สตางค์ แต่เวลาไปขายในตลาดราคาเป็นร้อย"


12 พฤษภาคม
สู้ๆ ...วันที่สองของการใช้แรงงาน

 เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่หลากหลาย วันนี้เรามีการโยกย้ายหน้าที่งานกัน โดยคนที่ทำงานโรงงานยางไปเก็บน้ำยางในไร่ยางที่กว้างใหญ่ โดยมี คุณหนึ่ง หนุ่มหล่อชาวกะเหรี่ยงผู้มีน้ำใจดีรับหน้าที่เป็นโชเฟอร์พาทัวร์รอบไร่ เลยไปถึงหมู่บ้านของชาวมอญด้วย แต่เมื่อวานฝนตกทำให้กรีดยางได้ไม่มากนัก จากนั้นพลพรรคพวกเราจึงมาช่วยกันดายหญ้าที่ขึ้นรกที่สวนยางหลังโรงเรียน มีคนงานทำอยู่ก่อนแล้ว แต่เนื่องจากอากาศร้อนมาก และแทบไม่มีร่มเงาไม้เลย ดายหญ้ากันสักพักจึงต้องพักดื่มน้ำ ใกล้เที่ยงจึงถอนทัพกลับมากินข้าวที่โรงเรียน ช่วงบ่าย น้องๆ จากโรงงานยางตามมาสมทบเพราะวันนี้ที่โรงงานมีงานไม่มากนัก ในช่วงบ่าย น้องๆ ส่วนใหญ่จึงไปสอนเด็กๆ กัน ทั้งวิชาการ ร้องเพลงเต้นประกอบท่าทาง และความรู้รอบตัว ส่วนอีกกลุ่มเล็กๆ ช่วยกันทำถังขยะให้โรงเรียน หลังเลิกเรียนพวกเราบางส่วนติดรถไปส่งเด็กๆ ที่ตลาดใกล้ชายแดน คืนนี้ไม่มีพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ ยกยอดไปเป็นพรุ่งนี้ ....

 ที่โรงเรียน ผมมีโอกาสพูดคุยกับ มาสเตอร์สิทธิศักดิ์ ครูเกษียณจากโรงเรียนลาซาล กรุงเทพฯ อ่านพบเรื่องราวที่บราเดอร์วิกตอร์มาเปิดโรงเรียนที่ด่านเจดีย์สามองค์จาก"อุดมศานต์" จึงติดต่ออาสามาช่วยสอนมาอยู่ได้เดือนกว่าแล้ว "อยู่นี่ผมเหมือนมาอยู่โลกใหม่ ไม่เคยรับรู้ปัญหาของเด็กไร้สัญชาติมาก่อน ฟังภาษาของเขาก็ไม่รู้ ที่นี่เป็นสถานที่ขอเขาใช้ ตอนนี้บราเดอร์ไปซื้อที่ไว้แล้วประมาณ 25 ไร่ ห่างจากที่นี่ประมาณ 14 กม. กำลังถมดินเพื่อสร้างเป็นโรงเรียน คาดว่าจะสร้างเสร็จภายในหนึ่งปีและเปิดสอนได้ในปีการศึกษาหน้า ที่นี่จะรับเด็กอนุบาล เด็กที่นี่มีความยากลำบากมาก บางคนต้องเดินมาโรงเรียน เด็กๆ น่าสงสารมาก"

ที่โรงเรียนได้มีโอกาสพูดคุยกับนักเรียนชั้น ป.4 บางคนซึ่งตอนนี้เป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน ด.ช.ต่านวิน บอกว่าเขาเป็นอิสลาม บ้านอยู่ย่านที่เรียกว่าเจดีย์บน ไม่ไกลจากโรงเรียนนัก พ่อแม่มาจากฝั่งพม่า พูดภาษาไทยไม่ได้ ที่มาเรียนหนังสือเพราะชอบเรียนภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ที่บ้านขายข้าวแกง เลิกเรียนกลับไปก็ช่วยพ่อแม่ทำงานด้วย ในอนาคตเด็กชายคนนี้มีความฝันที่จะเป็นครู เขาอยากอยู่เมืองไทย ไม่อยากกลับไปพม่าอีกแล้ว เพราะเจ้าหน้าที่พม่าชอบมาไถเงิน ที่โรงเรียนมีเล่นกีฬา สนุกดี

ด.ญ.โบว์ บ้านของเธออยู่ที่หมู่บ้านตองไว ต้องข้ามไปฝั่งพม่า แต่พ่อแม่เป็นคนลาว ตอนอยู่ชั้น ป.3 โบว์เขียนเรียงความเรื่อง "ฉันรักครู ....เพราะครูรักฉัน" ส่งไปประกวดของกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับรางวัลรองชนะเลิศ โดยไปรับรางวัลกับนายกรัฐมนตรี ในวันครู 16 มกราคม ที่ผ่านมา ที่คุรุสภา เธอชอบเรียนหนังสือเพราะจะได้มีความรู้ และอยากเรียนไปให้สูงที่สุด โตขึ้นอยากเป็นหมอ เพราะจะได้ช่วยเหลือผู้อื่น แต่ก่อนเธอและน้องสาวคือ ด.ญ.หวาน ซึ่งเรียนอยู่ชั้นเดียวกัน ต้องเดินมาโรงเรียนซึ่งใช้เวลาถึงสองชั่วโมง เวลาอยู่บ้านก็ช่วยตายายทำไร่


13 พฤษภาคม

แบ่งปันสิ่งดีๆ ให้กัน

 หลังจากสองวันได้สวมบทบาทเป็นผู้ใช้แรงงาน บางคนเป็นคุณครูสอนเด็กๆ วันนี้เป็นการรับฟังประสบการณ์การทำงานช่วยเหลือแรงงานต่างชาติกันบ้าง เริ่มจาก คุณพอรู้รู่ (Paw Lu Lu) เธอพูดภาษาไทยไม่คล่องนัก จึงมีลูกชายมาช่วยเป็นล่ามให้ เธอทำงานช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับความยากลำบาก ทั้งพม่า กะเหรี่ยง มอญ จีน โดยเฉพาะแรงงานที่เจ็บป่วย ติดเชื้อเอชไอวี มีอาการทางประสาท หรือออกจากคุกแล้วยังไม่มีงานทำ แรงงานหญิงที่โดนสามีทำร้าย โดยเปิดบ้านช่วยเหลือชื่อว่า "บ้านปลอดภัย" และได้ขยายงานไปช่วยเด็กกำพร้าและผู้สูงอายุด้วย ปัญหาที่พบคือเรื่องเงินทุนในการช่วยเหลือ แม้จะมีปัญหา แต่ในฐานะที่เป็นคริสเตียน ผู้มีความเชื่อไม่ท้อถอย และอธิษฐานขอความช่วยเหลือจากพระเป็นเจ้า ผู้สนใจเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมของบ้านแห่งนี้ได้ที่ huaymalai-safehouse.blogspot.com

"ปัญหาแรงงานต่างชาติ ไร้สัญชาติที่เข้ามาทำงานในไทย เริ่มดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา ทางการเริ่มเปิดโอกาสด้านสิทธิต่างๆ แรงงานที่เข้ามา สามารถทำเรื่องขอกับทางการไทยในการเข้าไปทำงาน หรือขออนุญาตเข้าไปเรียนก็ได้ ขอออกนอกพื้นที่ได้ แรงงานที่มาจากพม่า นายจ้างก็มาทำเรื่องขออนุญาตได้ ทำได้ง่ายขึ้นกว่าเมื่อก่อน"

"สำหรับเด็กๆ ที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีบัตรหรือไม่มีบัตร ไม่มีใบเกิดหรือทะเบียนบ้านก็ไม่เป็นไร แต่ทุกโรงเรียนต้องรับเข้าเรียน เด็กเมื่อจบ ม.6 ถ้าอยากเรียนต่อมหาวิทยาลัยก็มีสิทธิ์ ถ้าปัญหาการเมืองพม่าแก้ไขไปในทางที่ดีขึ้น แรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานในไทยจะลดน้อยลงแน่นอน ถ้าเศรษฐกิจพม่าดีขึ้นเขาจะกลับประเทศ บางหมู่บ้านตามชายแดนไทยน่าจะเงียบเหมือนป่าช้าเลย เพราะทุกคนจะกลับไป"

"จากความเชื่อของเรา เมื่อมีปัญหาหลายอย่าง เราไม่สามารถพึ่งมนุษย์ด้วยกัน มนุษย์ช่วยเหลือเราเท่าที่เขาช่วยได้ แต่สำหรับพระเจ้า ถ้าพระเจ้าเห็นว่าปัญหานี้เหมาะกับโอกาส พระเจ้าจะตอบคำอธิษฐานของเรา พระเจ้าจะทำให้ปัญหาที่เรารู้สึกว่าหนักใจ ไม่สบายใจ ทำให้เราสบายใจ มีความสุขขึ้น ในหลายครั้งเราคิดว่าเราทำดีแล้วแต่บางคนเห็นว่าเราทำไม่ดี แต่เราต้องยึดในเป้าหมายที่จะช่วยผู้อื่น เราไม่ต้องเสียใจถ้าถูกว่าหรือโจมตี ต้องทำสิ่งที่พระเจ้าให้เราทำ บางทีก็ยาก บางทีก็ง่าย ไม่เป็นไร ถือว่าเป็นงานของพระ"

"อคติระหว่างคนไทย ต่อคนพม่าหรือชาติอื่น น้อยลง ในหมู่บ้านที่เราอยู่ แต่ก่อนทำงานไม่ค่อยได้ เขาดูถูกเรา แต่เดี๋ยวนี้เวลาเขาต้องการความช่วยเหลือเขาก็มาหาเรา ชาวบ้านบางคนที่พบปัญหาก็มาขอความช่วยเหลือจากเรา เราก็ช่วยเหลือไปเท่าที่ทำได้ เขาเห็นว่าแต่ก่อนเขาทำไม่ดีกับเรา แต่เรากลับช่วยเขา เขารู้สึกดีต่อเรา มีคนหนึ่งทำงานที่อำเภอ เวลาเราไปติดต่อขออนุญาตต่างๆ เขาพูดไม่ดีกับเรา ดูถูกเรา ต่อมาน้องสาวของเขาเป็นบ้า ไม่มีใครช่วยดูแล เขามาขอความช่วยเหลือเราก็ช่วย"

 ครูวี (วีรวรรณ วิเศษสิงห์) ผู้บุกเบิกการสอนเด็กนักเรียนที่นี่เล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า ตอนแรกทำงานช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวี แล้วมาเห็นเด็กในย่านนี้ไม่ได้เรียนหนังสือ จึงเริ่มสอนโดยปูเสื่อใต้ต้นยาง เริ่มแรกมีเด็กประมาณ 70 กว่าคน จากนั้นเริ่มเขียนโครงการขอทุนไปหลายแห่ง เช่น NCCM (คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ถูกคุมขัง) มีผู้เข้ามาสนับสนุนบ้าง จนกระทั่ง NCCM พาคณะลาซาลเข้ามาสำรวจและให้การสนับสนุน ครูที่มาสอนไม่ได้จบครูโดยตรงแต่มีใจรักที่จะสอน พ่อแม่ของเด็กก็ดีใจที่เด็กได้เรียนหนังสือ พูดภาษาไทยได้ เวลาทหารมาตรวจจะได้พูดภาษาไทย นอกจากนี้ก็มีสอนภาษาไทยให้กับผู้ใหญ่ตอนเย็นๆ ด้วย

ต่อจากนั้นบราเดอร์วิกตอร์มาแบ่งปันถึงการให้การศึกษากับลูกแรงงานต่างชาติ บราเดอร์บอกว่า คนไทยต้องดูแลแรงงานในเรื่องของสุขภาพ ส่วนลูกๆ เขาเราก็ต้องให้การศึกษา การทำงานทุกวันนี้ของบราเดอร์ก็ทำตามจิตตารมณ์ของผู้ก่อตั้งคณะลาซาลที่ต้องให้การศึกษากับเด็กยากจน และจากเอกสารจากทางคณะที่ส่งมาจากกรุงโรมเมื่อ 25 ปีก่อน ที่บอกว่าต้องให้การศึกษาเด็กยากจน ต้องซื่อสัตย์ต่อจิตตารมณ์ของคณะ และบราเดอร์ได้เล่าถึงประสบการณ์ช่วยเหลือเด็กยากจนตอนที่อยู่นครสวรรค์

"การดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ที่นี่ มากกว่า 50 % เป็นเงินของคณะลาซาล และมีคนอื่นช่วย เช่น ศิษย์เก่าคณะลาซาล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และผู้มีน้ำใจดีหลายกลุ่มมาช่วยสร้างโรงอาหาร ทำแท้งค์น้ำ สร้างสนามเด็กเล่นให้ ตอนแรกที่มาเห็นที่นี่ ก็สงสารทั้งเด็กและครู ตอนนั้นครูเหมือนไม่มีอนาคต ไม่ได้เงินเดือนมาหลายเดือน เราถนัดด้านการศึกษาก็ทุ่มเทมาในด้านนี้ ที่นี่หาครูมาสอนค่อนข้างลำบาก ครูของเรานอกจากมาสอนด้วยใจแล้วก็ต้องมีคุณภาพด้วย แต่ก่อนเราไม่มีรถรับส่งครู ต้องเดินทางมาจากตัวอำเภอสังขละบุรีเอง ขี่มอเตอร์ไซค์กันมา บางวันฝนตกก็มาไม่ได้ เด็กก็ไม่ได้เรียนหนังสือ"

"เรามีเกณฑ์รับเด็กที่นี่ คือ เด็กอยู่ในที่ดิน 6 พันไร่ สอง เด็กจำนวนมากที่อยู่ในพม่าแต่มีบัตรไทย แบบบัตรประชาชนชั่วคราว คือพ่อแม่เขาไปทำมาหากินที่นั้น ตอนนี้หลายอย่างก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว กระทรวงศึกษาธิการออกประกาศว่า เด็กทุกคนแม้จะไม่มีสัญชาติ ไม่มีทะเบียนบ้าน ให้รับได้ เด็กที่มาเรียนที่นี่ ในที่สุดเขาก็อยากทำงานในประเทศไทย เพราะอยู่พม่าไม่มีอนาคต แม้เขาจะเรียนที่นี่หรือเรียนที่อื่น ในที่สุดเขาก็ต้องมาทำงานในไทย ผมคิดว่าเราควรให้ความรู้เขา และเตรียมที่จะให้เขาเข้ากับสังคมไทยให้ได้ดี สมมุติว่าทั้งอำเภอสังขละบุรี ถ้าวันหนึ่งเราไล่คนพม่าไปหมดเลย แล้วเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ใครจะสร้างบ้าน ใครจะทำยางพารา งานหนัก เงินเดือนน้อย คนไทยไม่ทำ ถ้าไล่คนพม่าไป เศรษฐกิจทั้งอำเภอไม่มีอะไรเหลือ เขามาอยู่ประเทศเรา เขาได้ประโยชน์ เราก็ได้ประโยชน์ ดีที่สุดคือให้รัฐบาลจัดให้ถูกต้องตามกฎหมาย เขาจะได้เสียภาษีให้รัฐบาลไทย ไม่ต้องกลัวเรื่องที่ดิน เพราะกฎหมายที่ดินไทยเข้มงวดมาก คนพม่าจะเอาที่ดินคนไทยเป็นไปไม่ได้...."


ในช่วงบ่าย เป็นช่วงของการค้นพบตัวเอง (ประสบการณ์ที่ได้รับมันสอนอะไรเรา / มันเปลี่ยนแปลงชีวิตภายในจิตใจเราอย่างไร) โดยใช้แนวคำถาม 4 ข้อ ซึ่งจะมีช่วงของการปลีกวิเวก 45 นาที หามุมเงียบๆ มีเวลาส่วนตัวที่จะได้กลับไปทบทวน ไตร่ตรองประสบการณ์ที่ผ่านมา จากนั้นจึงแบ่งปันสิ่งดีๆให้กับเพื่อน ......

Image
Image
Image
Image
Image
Image

 

 มาถึง อ.สังขละบุรี ก็ควรได้สัมผัส สถานที่สำคัญในอำเภอแห่งนี้แม้จะมีเวลาไม่มาก หลังแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างซาบซึ้งจนบางคนกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ พวกเราดินทางไปยัง วัดวังก์วิเวการาม ศูนย์รวมจิตใจของคนไทยเชื้อสายมอญ ได้ทำบุญไหว้พระ และเดินทักษิณาวัตรรอบองค์พระเจดีย์พุทธคยาสีทองอร่าม สามรอบ และที่ไม่ห่างกันนักคือสะพานไม้ที่มีชื่อเสียง ทอดข้ามน้ำสามสาย ซองกาเลีย บีคลี่ และรันตี เรียกว่า สามประสบ เกิดเป็นแม่น้ำแควน้อย ทรัพยากรมีค่าที่ให้ชีวิตกับชาวกาญจนบุรี พวกเราถ่ายรูปหมู่กันสนุกสนาน ก่อนกลับที่พัก เรามีโอกาสสัมผัสบรรยากาศที่ตลาดชายแดน มีร้านค้าขายของที่ระลึก ผ้านุ่ง แป้งไม้ทานาคา และกล้วยไม้ และค่ำคืนสุดท้ายเรานั่งล้อมวงคุยกันโดยพี่ๆ ทีมงาน ยส. นำโดย พี่อัจ พี่ไพ พี่เล็ก พี่อีฟ พี่นุช และ พี่แหยม ช่วยไตร่ตรองในมิติคุณค่า ศาสนา วัฒนธรรม และด้านสิทธิมนุษยชน ที่น้องๆ บางคนอาจจะยังมีข้อคลางแคลงใจอยู่กับปัญหาลูกจ้างชาวพม่าที่อยู่ที่บ้าน (มีเยาวชนหลายคนมีลูกจ้างทำงานที่บ้าน) กับประสบการณ์สัมผัสชีวิต 2 วันที่ผ่านมา มันยังขัดแย้งกันอยู่บ้าง ซึ่งพี่ๆ ก็ได้ให้แง่คิด มุมมองการเคารพในคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน แม้เขาจะเป็นคนสัญชาติอื่น แต่เขาก็คือ มนุษย์ มีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึกที่เหมือนกัน การที่เราไปเห็นความยากลำบาก ขาดโอกาส ถูกกดขี่ สภาพการทำงานที่เห็น ความปลอดภัยในการทำงาน ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นเครื่องยืนยัน ช่วยชั่งตวงวัดการคิด การตัดสินใจของเรา ในการที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน สร้างสังคมแห่งสันติสุข ด้วยการเคารพคุณค่า ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง



14 พฤษภาคม 

วันเดินทางกลับมาถึงอย่างรวดเร็ว พวกเราตื่นแต่เช้าทานข้าว ออกเดินทางโดยรถ บขส. ด่านฯ - หมอชิต ระหว่างเดินทางเราได้รับข่าวน่าเศร้าว่ากำลังเกิดการปะทะกันหลายจุดในกรุงเทพฯ... เพียงเพราะใส่เสื้อสีที่ไม่เหมือนกัน คิดเห็นแตกต่างกัน แต่อย่าลืมว่า เรามีความเป็นมนุษย์ที่เสมอเหมือนกัน ถึงหมอชิตประมาณสี่โมงเย็นเป็นการร่ำลารอบสองที่หมอชิตขอให้ทุกคนเดินทางกลับบ้านถึงบ้านโดยปลอดภัย หวังว่าพวกเราจะมีโอกาสมาทำกิจกรรมที่มีประโยชน์กับผู้อื่น และบ่มเพราะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามในตัวเราเช่นนี้อีก.....

 

Image


ความคิดเห็น
....
เขียนโดย แอมแปร์ เปิด 2010-10-27 13:09:10
ขอบคุณ พี่ๆทุกคนที่ให้โอกาส 
ทำให้มีวันนี้ เหมือนว่าเราโตขึ้น 
รู้จักคุณค่าของชีวิต 
หากไม่มีวันนั้น คงไม่มีวันที่ดีๆอย่างทุกวันนี้ 
ขอบคุณค่ะ
เขียนโดย เปิด 2010-10-27 13:06:44
คิดถึง ความทรงจำเก่าๆถ้าหากไม่มีวันนั้น 
ชีวิติเรา คงไม่ได้อย่างวันนี้ 8) 8)
ความรักที่สังขละบุรี
เขียนโดย พัทธนนันท์ เปิด 2010-10-16 22:48:27
อยากไปสังขละจัง...... 
คิดถึงสังขละมาก...... 
สังขละสวยมาก.... 
สังขละบรรยายกาศดีมาก..... 
คนสังขละสวยกันทุกคน.... 
 
^^
เขียนโดย BeinG ' เปิด 2010-07-23 21:10:18
ทำได้สวยมากเลยอ่าๆๆ 
สุดยอด รักตายเลย 55 5 
 
เด่วนะค่า ลำดับเหมือนจามาเป็นคู่ๆเลย 
กิ้วววว >
!!
เขียนโดย เจ๋งๆๆ เปิด 2010-07-12 19:58:01
:roll 5 55
ซึ้งๆ
เขียนโดย เต้ยคร๊าบบ เปิด 2010-06-22 18:01:01
ก้อซึ้งดีนะคับ 
ขอบคุนพี่ๆที่จัดกิจกรรมดีๆแบบนี้ 
 
ชีวิตถึงจารำบากยังงัย 
เศร้าขนาดไหนก้อต้อดำเนินต่อไป 
 
ขอให้ทุกคนโชคดี
อิอิ
เขียนโดย เจมๆ เปิด 2010-06-22 15:12:21
เก๋เท่ระเบิด 5555
เม้นรองข้างล่าง 55
เขียนโดย ใบไผ่ เปิด 2010-06-20 19:10:02
ใกล้ใครฟระ 55+  
เป็นไง ไปหัวหินหนุกป่ะ โทดทีหวะ เป็นหวัด + ติดซ้อมวง
เม้นท์ข้างล่างอ่ะ
เขียนโดย admin เปิด 2010-06-18 23:14:53
รูปไหนน๊าาา  
ที่ใกล้กัน :grin
เขียนโดย เปิด 2010-06-18 21:37:55
ทำไมรุปเราถึงได้ใกล้กันนัก !~ 
 
- -"
สุดยอด
เขียนโดย ใบไผ่ เปิด 2010-06-18 20:15:53
คิดถึงสังขละจังเลย!! 
 
ครั้งหน้าขอร้อง อยากไปทำบ้านดินอะคับ 
 
ที่เดิมๆๆ อยากไปมากกกก 
 
เพื่อนๆพี่ๆ คิดถึงนะ ^^ 
 
:grin :grin
เหอะๆ
เขียนโดย admin เปิด 2010-06-18 17:56:05
สุดยอดดด :eek

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >