หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow เกมส์..แห่งชีวิต (๑/๒) : ชัยยศ ยโสธโร
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 140 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

เกมส์..แห่งชีวิต (๑/๒) : ชัยยศ ยโสธโร พิมพ์
Wednesday, 30 December 2009

เกมส์..แห่งชีวิต (๑/๒)

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 18 ตุลาคม 2552

สมัยเมื่อสักเกือบ ๒๐-๓๐ ปีก่อน เกมส์ออนไลน์หรืออินเตอร์เนตยังเป็นของล้ำสมัยมากๆ ของเล่นง่ายๆ ที่ให้ความเพลิดเพลินเป็นกิจกรรมยามว่างของครอบครัวได้ชนิดหนึ่ง ก็คือ เกมส์งูไต่ถัง เป็นเกมส์ที่เราจะใช้ลูกเต๋าทอยออกแต้ม ผู้เล่นจะผลัดกันเล่นโดยทอยลูกเต๋า แล้วเดิมตามจำนวนแต้มที่ได้ คราวนี้ก็ขึ้นกับโชคชะตาว่าแต้มที่ได้นั้นจะพาเราไปพบอะไร สิ่งที่พบอาจนำพาให้เราได้เลื่อนขั้นเพื่อไปถึงจุดหมายปลายทางของเกมส์ได้ เร็วขึ้น เปรียบเหมือนกับงูที่เลื้อยไต่ขึ้นสูงไป หรือตรงกันข้าม งูอาจต้องตกบันได เหมือนกับที่เราอาจต้องถอยหลังไปมากหรือน้อยก็แล้วแต่ว่าจะเจออะไร และสัมพันธืกับสิ่งนั้นอย่างไร

แผ่นกระดาษที่ใช้ในเกมส์ แต่ละช่องจะประกอบเรื่องราวทั้งดีและร้าย ขื้นอยู่กับว่าเราจะพบเจออะไรในนั้น ผู้เขียนยังจำได้ถึงความสนุกสนาน ยามที่ได้เล่มเกมส์นี้กับพี่น้องในครอบครัว กาลเวลาผ่านไป หลายคนคงไม่รู้จักเกมส์นี้แล้ว แต่เนื้อหาในเกมส์ยังคงเป็นสิ่งที่อยู่กับชีวิตของพวกเราทุกคน เราต่างล้วนเหมือนงูในเกมส์ที่มีหน้าที่ในการนำพาชีวิตไปข้างหน้า ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดลมหายใจ แตกต่างกันตรงที่งูในเกมส์มีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน และสิ่งที่กำหนดชะตาชีวิต คือ ลูกเต๋า สำหรับพวกเรา สิ่งที่ยากกว่า คือ ตัวเราเป็นผู้กำหนดเองว่าเราจะไปที่ไหน ไปอย่างไร ภายใต้สภาพแวดล้อม เหตุปัจจัยมากมายทั้งที่ส่งเสริม และขัดขวางการกระทำของเรา

ถ้าเปรียบชีวิตเหมือนเกมส์ เกมส์ชีวิตนี้เรามีหน้าที่เล่นให้ดีที่สุด ฉลาดที่สุด การบรรลุผลเช่นนี้ได้ย่อมหมายถึงเราพึงต้องเข้าใจตัวเราเอง ตัวเราในฐานะยานพาหนะและผู้โดยสาร เปรียบเทียบก็คือ ร่างกายและจิตใจของเรานั่นเอง สุขภาพกาย จิตและสุขภาพใจของเรามันเป็นอย่างไร คุณสมบัติเด่น ด้อย คือ อะไรและอย่างไร พร้อมกันนี้หน้าที่สำคัญอีกประการคือ การทำความเข้าใจต่อเกมส์ชีวิตว่าเกมส์ที่เราเล่นอยู่นั้น คือ อะไร และวิธีการเล่น เราต้องทำอย่างไรบ้าง การรู้และเข้าใจเกมส์ชีวิตเหล่านี้ได้ ย่อมหมายถึงการมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะการเรียนรู้และการศึกษา ยิ่งหากเรามีความเชี่ยวชาญในเกมส์มากเท่าใด ย่อมหมายถึงโอกาสประสบความสำเร็จมากเท่านั้น เหมือนกับนักกีฬา ศิลปินที่ต้องผ่านการฝึกซ้อม การฝึกฝน การสร้างสรรค์มาอย่างหนักหน่วง ครูบาอาจารย์ทางธรรมะมักย้ำเตือนกับลูกศิษย์เสมอว่า "ทุกสิ่งเกิดจากเหตุ ไม่อะไรเป็นเหตุบังเอิญ กล่าวให้ร่วมสมัยก้คือ " ไม่มีอะไรฟลุ๊ค ไม่มีอะไรฟรีๆ ในโลกนี้ "

เกมส์ชีวิตที่เราเล่นเป็นเกมส์ที่หลากหลาย แต่ละเกมส์ต่างตอบสนองความต้องการในตัวเราที่แตกต่างกันไป เกมส์ความรัก เกมส์ผลประโยชน์ เกมส์ความดี - ความชั่ว ฯลฯ ดังนั้นหน้าที่ของผู้เล่นเกมส์ชีวิตคือ การทำความเข้าใจต่อเกมส์ชีวิตที่เราเล่น การแยกแยะและแจกแจงเกมส์ ชีวิตที่เราเล่นว่ามีอะไรบ้าง จะช่วยให้เราตระหนักรู้ชัดเจนได้ว่า ณ ขณะนี้เราอยู่ ณ จุดใดของเกมส์ชีวิต การรู้ตำแหน่งของตัวเราในเกมส์ชีวิต ก็คือ การได้หยุดคิด ได้ทบทวน และได้รับรู้ว่าตนเองนั้นเดินทางได้ใกล้ไกลเพียงใด ผ่านพบอะไรบ้าง และจะกำหนดท่าทีของตนเองต่ออนาคตข้างหน้าอย่างไรบ้าง การเล่มเกมส์ชีวิตจึงเปรียบได้กับเส้นทางชีวิตในแผนภาพที่เริ่มต้นด้วย บทนำ การดำเนินเรื่อง การพุ่งขึ้นสูงสู่สิ่งที่ปรารถนา การประคองรักษา และจบลงด้วยการคลี่คลายหรือเสื่อมสลาย ซึ่งก็สามารถเริ่มต้นใหม่ด้วยบทนำใหม่ได้อีกต่อไป วนเวียนไปได้เรื่อยๆ

หลากหลายเกมส์ชีวิตที่เรากระโจนเข้าไปเล่น ต่างเป็นการเติบโต การเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสิ้น เริ่มต้นที่ ๑) สุขภาพร่างกาย ในฐานะเกมส์พนันระหว่างการใช้ประโยชน์จากร่างกายเพื่อทำงาน เพื่อหาความเพลิดเพลิน กับการดูแลรักษาสุขภาพ ๒) เกมส์ชีวิตทางสังคม : เศรษฐกิจ บทบาทหน้าที่ สถานภาพ การแข่งขันเพื่อช่วงชิงบทบาทหน้าที่ ความสำเร็จ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือทางสังคม ๓) เกมส์ชีวิตทางจิตวิทยา : ความรัก ความสัมพันธ์ สุขภาพจิต อารมณ์ เพื่อตอบสนองความสุข ความต้องการทางจิตใจอันเนื่องมาจากสัญชาตญาณความเป็นสัตว์สังคมที่ต้องการ การยอมรับจากสังคม และความต้องการความสัมพันธ์ใกล้ชิดจากคนพิเศษ และ ๔) เกมส์ชีวิตทางจิตวิญญาณ เราต่างล้วนต้องการความเข้าใจในความหมายของชีวิต ความตระหนักรู้ในคุณค่าของการดำรงและมีชีวิต ซึ่งหมายถึงการต้องดิ้นรนและแสวงหาความหมายและคุณค่าในชีวิต

ทุกเกมส์ต่างล้วนอยู่ในตัวเรา พัวพันกับชีวิตเหมือนข่ายใยแมงมุมจนยุ่งเหยิงได้ หากเรารีบร้อนและรีบเร่งในการเดินทาง ดังนั้นก่อนที่พิจาราณาว่าเราควรก้าวเดินต่อไปอย่างไรในแต่ละเกมส์ชีวิต มาพิจารณาและทบทวนกฎกติกาของการเล่นเกมส์ ชีวิตเปรียบเหมือนเกมส์ที่เราถูกบังคับให้เล่น กติกาของเกมส์หรือกติกาชีวิตที่สำคัญคือ ไม่มีผุ้แพ้ ไม่มีผู้ชนะ มีแต่การนึดเปรียบเทียบเอาเอง กติกาแท้จริงคือ มีแต่การเปลี่ยนแปลง สุข ทุกข์วนเวียนกันไป กับการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อการอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างสันติ

สิ่งที่เราต้องประสบในเกมส์ชีวิตมี ๔ ปัจจัยสำคัญคือ ๑) ความทุกข์ในฐานะความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ทุกข์กาย อันเนื่องด้วยโรคภัยไข้เจ็บ การถูกทำร้ายร่างกาย อุบัติเหตุ หรือทุกข์ใจ อันเนื่องด้วยความผิดหวัง เศร้า เสียใจ โกรธ เกลียด กลัว ๒) สิ่งมหัศจรรย์ในชีวิต ชีวิตดลบันดาลให้เราได้พบสิ่งมหัศจรรย์อยู่เสมอ ซึ่งสามารถปรากฎรูปโฉมต่อตัวเราได้หลากหลายรูปแบบ อาจเป็นคำพูดเตือนสติที่ผ่านเข้ามา การกระทำเล็กๆ ของคนแปลกหน้า คนใกล้ตัว โชคเคราะห์ที่คาดไม่ถึง หรือแม้แต่ตัวความทุกข์นั่นเอง

ปัจจัยสำคัญต่อมา คือ ๓) เทพ เทวดาประจำตัวในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งที่อยู่ภายในตัวเรา และอยู่เคียงข้างรอบตัวเรา เช่น คุณธรรม สติปัญญา สัมปชัญญะ คุณความดีในตัวเราและของบุคคลรอบข้าง ความมีน้ำใจของสังคม ชุมชน และ ๔) อุปสรรค ในฐานะสิ่งถ่วงรั้งขัดขวางชีวิตเราไม่ให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า อุปสรรคที่อยู่ภายในตัวเราก็คือ อุปนิสัยความเคยชิน ความโง่เขลาเบาปัญญา ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความถือตัว อวดดี ขณะที่อุปสรรคภายนอกก็คือ สภาพเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม ค่านิยม

กฎกติกาของชีวิต คือ การต้องอยู่ร่วมและเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านี้เพื่อเดินหน้าไปในเส้นทางชีวิต ของเกมส์ชีวิตแต่ละแบบ แต่ละจังหวะของการก้าวเดิน หรือในทุกการตัดสินใจ เราต้องพบกับภาวการณ์มีเสรีภาพในการเลอก หมายถึงเราสามารถมีทางเลือกได้ พร้อมกับการมีความรับผิดชอบในการเลือกหรือตัดสินใจ บางปัญหาก็มีระดับความซับซ้อนมากน้อย แตกต่างกันไป

เข้าใจกฎกติกาและองค์ประกอบเกมส์ชีวิตแล้ว หวังว่าเราทุกท่านจะได้เตรียมพร้อมและเดินหน้ากับเกมส์ชีวิตในก้าวเดินไปต่อไป

โดย... ชัยยศ ยโสธโร

ที่มา คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >