หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow เยือนถิ่นคาทอลิก ยลโบสถ์คริสต์ตระการตา
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 271 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

เยือนถิ่นคาทอลิก ยลโบสถ์คริสต์ตระการตา พิมพ์
Tuesday, 30 June 2009
เยือนถิ่นคาทอลิก ยลโบสถ์คริสต์ตระการตา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  
โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ หนึ่งในอันซีนไทยแลนด์
 
      แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่ของไทยจะนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก แต่บ้านเมืองเราก็เปิดกว้างให้แก่ศาสนาอื่นๆด้วยเช่นกัน ประเทศไทยจึงเป็นประเทศหนึ่งที่หลอมรวมเอาวัฒนธรรมต่างๆร้อยรัดเข้าด้วยกัน แต่สามารถอยู่รวมกันได้อย่างร่มเย็น
       
       'คริสต์ศาสนา' เป็นศาสนาหนึ่งที่เข้ามาเติบโตในเมืองไทย มีอยู่หลายนิกายด้วยกันแต่ที่เด่นกว่าใครก็คงจะเป็น นิกายคาทอลิก (นับถือทั้งพระเยซูเจ้าและพระแม่มารี) และโปรเตสแตนต์ (นับถือแต่พระเยซูเจ้าอย่างเดียว) และจะมีใครรู้บ้างว่า ถิ่นหนึ่งที่คริสต์ศาสนาปลูกหน่อต่อเชื้อจนขยายวงกว้างนั้น เพราะเข้ามาปักหลักอยู่ในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ถิ่นอีสานบ้านเรานี่เอง

วัดสองคอนกับงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่

       อิทธิพลของคริสต์ศาสนาสามารถพบได้มากที่ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และ ยโสธรดังนั้นจึงทำให้ในอีสานมีชุมชนและโบสถ์คริสต์ที่สำคัญตั้งอยู่หลายแห่ง
       
       ท่าแร่ ชุมชนคาทอลิกใหญ่ที่สุดในเมืองไทย
       

       ชุมชนคาทอลิกแห่งหนึ่งที่เมื่อมาอีสานแล้วไม่ควรพลาดคือที่ "ชุมชนท่าแร่" บ้านท่าแร่ ต.ท่าแร่ อ.เมือง จ.สกลนคร
       
       บ้านท่าแร่ เป็นชุมชนคาทอลิกที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย มีประชากรนับถือคาทอลิกนับหมื่นคน โดยคริสตชนท่าแร่ดั้งเดิมนั้นอพยพมาจากเวียดนามในราวปี พ.ศ. 2427 หรือ ค.ศ.1884

โบสถ์รูปทรงเรือที่ โบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่

       หมู่บ้านนี้มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมตารางหมากรุก คล้ายกับบ้านเมืองในแถบประเทศตะวันตก มีบ้านเรือนสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสที่งดงามเรียงรายสองข้างทางในถนนสายหลักของ หมู่บ้านเป็นจำนวนมาก
       
       ในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ของทุกปี ชุมชนท่าแร่จะจัดเทศกาล"แห่ดาว"คริสตมาสอย่างยิ่งใหญ่ มีการประดับประดาบ้านเรือนด้วยดวงไฟหลากสีสันและตกแต่งด้วย "ดาว" สัญลักษณ์การประสูติของพระเยซูเจ้า
       
       นอกจากนี้ที่บ้านท่าแร่ ยังเป็นที่ตั้งของ "โบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล" ซึ่งเป็นโบสถ์ขนาดใหญ่รูปทรงคล้ายเรือ เพื่อระลึกถึงการอพยพมาตั้งถิ่นฐานของคริสตชนในหมู่บ้านนี้อีกด้วย
       
       2 โบสถ์คริสต์งามแห่งนครพนม
       
       จากสกลนครข้ามจังหวัดสู่นครพนม มาเยือนโบสถ์คริสต์ที่ "วัดนักบุญอันนา" (หนองแสง) ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ด้านทิศเหนือ โบสถ์แห่งนี้ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางของชาวคริสต์ริมฝั่งโขงหรือมิสซังลาวมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2422 โบสถ์มีลักษณะเป็นหอคอยคู่ เป็นยอดแหลมสูงเด่นเป็นสง่า มองเห็นได้ในระยะไกล

สถาปัตยกรรมฝรั่งเศสที่บ้านท่าแร่
 
       ต่อกันอีกแห่งหนึ่งในนครพนมที่ "วัดนักบุญยอแซฟ คำเกิ้ม" วัดนี้มีรูปแบบของสถาปัตยกรรมโบราณกว่า 125 ปี ณ วัดคำเกิ้ม หรือวัดนักบุญยอแซฟ ต.อาจสามารถ อ.เมืองฯ จ.นครพนม สิ่งที่โดดเด่นประจำวัด คือ 'โบสถ์เก่า' ที่ยังทิ้งร่องรอยความเสียหายจากการถูกระเบิด เมื่อครั้งกรณีพิพาทอินโดจีน รอยถูกเผา ส่งให้โบสถ์เก่าแลดู สวย ขลัง ได้อย่างเหลือเชื่อ
       
       วัดสองคอน พลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่
       
       ศาสนานำมาซึ่งศรัทธาอันยิ่งใหญ่ ดังที่จะเห็นตัวอย่างได้ที่ "วัดสองคอน" ตั้งอยู่ที่ บ้านสองคอน ต.ป่งขาม อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร
       
       วัดสองคอน มีชื่อเต็มว่า "สักการะสถานแห่งมรณะสักขี วัดสองคอน" หรือในชื่อเดิมว่า วัดพระแม่ไถ่ทาส เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่คริสตชน 7 ท่าน ที่พลีชีพเพื่อยืนยันความเชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2532 พระสันตปาปาจอห์นปอลที่ 2 ได้ประกาศให้ทั้งเจ็ดคนเป็น "บุญราศีมรณสักขี" ที่หมายถึงคริสตชนผู้ประกอบกรรมดีและพลีชีพเพื่อประกาศยืนยันความเชื่อในพระเจ้าไม่ยอมละทิ้งศาสนา

โบสถ์คริสต์นักบุญอันนา จ.นครพนม

       วัดสองคอนปัจจุบันมีชื่อเสียงมากในเรื่องความงดงามแปลกตาของตัวอาคาร ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีความสวยงาม และใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2539 ออกแบบโดย ดร. อัชชพล ดุสิตนานนท์
       
       วัดสองคอนยังได้รับการคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ให้เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวอันซีนไทยแลนด์ เป็นงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในอุษาคเนย์ วัดแห่งนี้มีการแบ่งพื้นที่จำนวน 64 ไร่ ออกเป็นส่วนต่างๆ มีถนนตัดผ่ากลาง ทางด้านตะวันตกสร้างเป็นอาคารสำนักงาน บ้านพัก และสุสานหรือป่าศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ฝังอัฐิของบุญราศีทั้ง 7

โบสถ์เก่าขรึมขลังที่วัดคำเกิ้ม

       ส่วนด้านทิศตะวันออกที่ติดกับแม่น้ำโขงก็สร้างเป็นโบสถ์คอนกรีตเสริม เหล็กโถงสี่เหลี่ยมชั้นเดียว ผนังของวัดและส่วนไว้พระธาตุเป็นกระจกใส บริเวณด้านหน้าเป็นส่วนประกอบพิธี ส่วนด้านหลังเป็นที่เก็บอัฐิของบุญราศีทั้ง 7 ซึ่งมีการทำเป็นหุ่นขี้ผึ้งจำลองของบุญราศีทั้ง 7 ไว้ให้สักการบูชา มีไม้กางเขน 7 แห่งด้านหน้า แทนบุญราศีทั้ง 7
       
       สำหรับกำแพงโบสถ์สร้างโอบล้อมโบสถ์เป็นครึ่งวงกลม มีผนังโค้งประดับภาพนูนต่ำ เล่าเรื่องราวประวัติบุญราศีแห่งวัดสองคอน ส่วนด้านหลังเปิดโล่งเป็นสนามเพื่อเอาไว้ชมทิวทัศน์อันสวยงามของแม่น้ำโขง โดยโบสถ์หลังนี้ได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี พ.ศ. 2538

สถานที่เก็บอัฐิและหุ่นขี้ผึ้งของบุญราศีทั้ง7แห่งวัดสองคอน
 
       โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ อันซีนยโสธร
       
       ปิดท้ายด้วยอีกหนึ่งโบสถ์คริสต์อันซีนไทยแลนด์อันงดงามตระการตากันที่ "โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้" อ.ไทยเจริญ จ.ยโสธร
       
       โบสถ์แห่งนี้มีประวัติเล่าสืบกันมาว่าอย่างน่าสนใจว่า โดยเมื่อปี พ.ศ.2451 หรือเกือบ 100 ปีที่แล้ว บ้านหนองซ่งแย้(ที่อยู่ของแย้) อ.ไทยเจริญ จ.ยโสธร เป็นหมู่บ้านเล็กๆกลางดงทึบ มีครอบครัวที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ 5 ครอบครัวที่มาจากต่างทิศต่างถิ่นมาอยู่รวมกันที่นี่
       
       แต่ว่าพวกเขาก็ยังประสบกับชะตากรรมเดิมๆ คือถูกผู้คนในหมู่บ้านที่อยู่มาก่อนกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ พร้อมๆกับทำร้าย และระดมขับไล่ออกจากหมู่บ้าน กลุ่ม 5 ครอบครัวเมื่ออับจนหนทาง ก็เดินทางไปหาบาทหลวงฝรั่งเศสเดชาแนลและออมโบรซีโอ ที่บ้านเซซ่ง ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร มาทำการขับไล่ผีปอบที่สิงอยู่กับตนและครอบครัว ซึ่งบาทหลวงทั้งคู่ต่างไม่ปฏิเสธ ร่วมเดินทางมาช่วยเหลือชาวบ้านที่บ้านหนองซ่งแย้

โบสถ์(คริสต์)ไม้วัดซ่งแย้ ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย

       หลังจากนั้นครอบครัวทั้ง 5 ก็เข้ารีตเป็นคริสเตียนนิกายโรมันคาทอลิก โดยต่อมามีคนอพยพมาอยู่เป็น ประชาคมชาวคริสต์มากขึ้น
       
       เมื่อมีชาวคริสต์มาอยู่เป็นประชาคมมากขึ้น บาทหลวงทั้ง 2 จึงสร้างวัดหนองซ่งแย้ขึ้นมาในปี พ.ศ.2452 โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาลาตินว่า "วัดอัครเทวดามิคาแอล" ซึ่งเป็นชื่อของนักบุญองค์สำคัญ มีบาทหลวงเดชาแนลเป็นอธิการโบสถ์คนแรก
       
       เดิมวัดซ่งแย้เป็นเพียงกระต๊อบเล็กๆฝาขัดแตะ แต่ต่อมาวัดแห่งนี้ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับ โดยโบสถ์คริสต์รุ่นปัจจุบันเป็นโบสถ์หลังที่ 3 ที่มีความน่าสนใจหลายอย่าง ไล่ไปตั้งแต่เริ่มลงมือก่อสร้างในปี พ.ศ. 2490 โดยชาวบ้านแถวนั้นได้ร่วมแรงร่วมใจกันตัดไม้ที่อยู่ในป่าละแวกหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้สัก ไม้จิก ชักลากลำเลียงออกมาจากป่า โดยมีหัวหน้าช่างจากจังหวัดอุบลราชธานีมาเป็นผู้คุมงาน

ป้ายนี้ชี้บอกถึง 7 มรณสักขีแห่งประเทศไทย

       บาทหลวงบุญเลิศ พรหมเสนา อธิการโบสถ์องค์ปัจจุบัน ได้เผยถึงบันทึกของการสร้างโบสถ์หลังนี้ว่า มีชาวบ้านที่ร่วมแรงร่วมใจมาสร้างโบสถ์วัดซ่งแย้ราวๆ 1,500 คน โดย แบ่งเป็น 15 กลุ่ม แต่ละกลุ่มรับงานไปทำเป็นแผนกต่างๆ อาทิ กลุ่มจัดหาเสา กลุ่มจัดหาไม้กระดาน กลุ่มจัดหาแป้นไม้มาทำหลังคา
       
       ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุงหลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่าง ๆ กันถึง 360 ต้นส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่หอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้ทิพยา

รูปปั้นพระเยซูถูกตรึงกางเขน ที่วัดซ่งแย้

       ด้วยแรงแห่งศรัทธาและความรักที่มีต่อศาสนา จึงได้กอบโกยเหล่าคาทอลิกทั้งหลายมาอยู่ ณ ดินแดนถิ่นอีสาน และได้ช่วยกันเสริมสร้างศรัทธาจนเป็นรูปธรรมต่างๆ การเยือนถิ่นคาทอลิก จึงถือเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่โดยแท้
       
       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
       
       สำหรับ ผู้ที่สนใจ ททท. ได้จัดทำตัวอย่างเส้นทางท่องเที่ยวเยือนถิ่นคาทอลิกไว้ 3 เส้นทางด้วยกัน ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ 1672

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >