หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow คอร์รัปชั่น : มะเร็งร้ายของสังคมไทย : ธีรพัฒน์ อังศุชวาล
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 66 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

คอร์รัปชั่น : มะเร็งร้ายของสังคมไทย : ธีรพัฒน์ อังศุชวาล พิมพ์
Wednesday, 01 July 2009

คอร์รัปชั่น : มะเร็งร้ายของสังคมไทย

ธีรพัฒน์ อังศุชวาล
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Imageความรุนแรงของคอร์รัปชั่นหรือการฉ้อราษฎร์บังหลวงในประเทศไทย เป็นที่รับรู้กันไปทั่วโลก กล่าวคือ ในอดีตประเทศไทยถูกจัดอันดับโดยกลุ่มนักธุรกิจต่างประเทศว่า เป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นสูงสุดอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้นในระดับโลก เห็นได้จากคะแนนภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นที่จัดโดยโดย Transparency International (TI) ซึ่งเป็นองค์การนานาชาติ ล่าสุด ได้ 3.5 จาก 10 และอยู่ลำดับที่ 97 วัดจากประเทศที่โปร่งใสมากมาหาน้อยจำนวน 180 ประเทศ (สารานุกรมเสรี,2552,มิถุนายน 11) ส่วนในระดับภูมิภาค สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2552 (ไทยรัฐออนไลน์,2552,เมษายน 9) ว่า สำนักงานที่ปรึกษาความเสี่ยงทางการเมือง และเศรษฐกิจ (PERC) เผยแพร่รายงานประจำปี 2552 เกี่ยวกับการจัดอันดับการคอร์รัปชั่นในแถบเอเชีย 14 ชาติกับอีก 2 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ผลการจัดอันดับ ประเทศไทยได้อันดับ 15 คะแนน 7.63 จาก 10 คะแนน หมายถึงว่าประเทศไทยมีการคอร์รัปชั่นมากเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังอย่างมากสำหรับสังคมไทย

การคอร์รัปชั่นนั้น มีคำจำกัดความที่หลากหลายต่างกันออกไป อาทิ "การใช้อำนาจเพื่อได้ให้มาซึ่งกำไร ตำแหน่ง ชื่อเสียงเกียรติยศ หรือผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม โดยวิธีทางที่ฝ่าฝืนกฎหมายหรือมาตรฐานทางศีลธรรม อาจรวมถึงพฤติกรรมเบี่ยงเบนของผู้มีตำแหน่งในราชการ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์เข้าตนและพรรคพวก ทั้งในด้านสังคม ด้านการเงิน ด้านตำแหน่ง" (ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ สังสิต พิริยะรังสรรค์,----,หน้า 55) "การคอร์รัปชั่น เป็นการทรยศต่อความไว้วางใจสาธารณะ เพราะว่าเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว คอร์รัปชั่นในภาครัฐมีอยู่ทั่วโลกและเป็นตัวจำกัดความสามารถของระบบบริหาร ในหลายประเทศ คอร์รัปชั่นโดยวิธีติดสินบนและใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว ซึ่งเป็นแบบแผนที่ทำกันทั่วไปและเป็นที่รู้กันว่าเป็นรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ ข้าราชการทำงาน" (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,2549,หน้า 265-267)

โดยโครงสร้างที่ทำให้เกิดคอร์รัปชั่น(ประเวศ วะสี,2549, หน้า 94-98) ประกอบด้วย

  1. โครงสร้างทุนขนาดใหญ่ เข้ามายึดกุมอำนาจทางการเมือง ซึ่งเชื่อกันว่าอำนาจเงินมหึมา ย่อมมีอิทธิพลต่อกระบวนการทั้งหมด เช่น การเมือง อำนาจรัฐ เศรษฐกิจ
  2. โครงสร้างรวบอำนาจ กล่าวคือเป็นการประสานกันของอำนาจ 3 ประเภท ได้แก่ การเมือง ข้าราชการระดับสูงและธุรกิจ
  3. โครงสร้างการตรวจสอบถูกทำให้อ่อนแอ ซึ่งความเป็นจริงคอร์รัปชั่นจะเกิดไม่ได้หากกระบวนการตรวจสอบมีความเข็มแข็ง ซึ่งในรัฐธรรมนูญบัญญัติโครงสร้างการตรวจสอบไว้เป็นอันมาก
  4. การเพิก เฉยต่อการเมืองภาคพลเมือง ซึ่งมีบัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญ โดยทราบทั่วกันว่า การเมืองไม่ได้มีแต่การเมืองของนักการเมืองเท่านั้นแต่มีการเมืองภาคผลเมือง ด้วย ซึ่งในส่วนนี้โดนเพิกเฉย ทำให้เกิดการตักตวงผลประโยชน์มากมาย

อีกสาเหตุหนึ่งของการคอร์รัปชั่นที่เกิดจากตัวบุคคล (ธานินทร์ กรัยวิเชียร,2548, หน้า) มาจากความต้องการอำนาจ ต้องการความมั่งคั่งและต้องการสถานภาพที่ทุกคนยอมรับ ทั้ง 3 ประการพร้อมกัน ซึ่งมาจากกิเลสในตัวมนุษย์ อธิบายความเพิ่มเติมได้ว่า มนุษย์ต้องการได้ในสิ่งที่ตนไม่มีทางได้มาด้วยความชอบธรรมตามสังคม กฎหมายและศีลธรรม
ตามหลักพระพุทธศาสนา การคอร์รัปชั่น ความไม่เป็นธรรมในสังคม เกิดขึ้นเนื่องจากขาดหลักธรรมในหัวข้อ "อคติ4" ซึ่งทำให้เกิดความไม่เที่ยงธรรม สังคมจะดีได้ต้องปราศจาก 4 อคติ (อินทรัตน์ ยอดบางเตย,2547,หน้า 57-58) ดังนี้

  1. ฉันทาคติ ความลำเอียงอันเกิดจากอำนาจแห่งความรัก ความชัง เป็นที่มาของการคอร์รัปชั่นในสังคมทุกระดับ
  2. โทสาคติ ความลำเอียงอันเกิดจากอำนาจความโกรธ เป็นที่มาแห่งการกลั่นแกล้งกันในสังคม
  3. โมหาคติ ความลำเอียงอันเกิดจากความโง่เขลาเบาปัญญา ทำให้สังคมขาดกฎระเบียบที่แน่นอน
  4. ภยาคติ ความลำเอียงอันเกิดจากความกลัวภัยมาถึงตน ก่อให้เกิดการเอาตัวรอดและการผลักภารสู่สังคม

รูปแบบของการคอร์รัปชั่น
สามารถจำแนกการคอร์รัปชั่นออกเป็นรูปแบบต่างๆได้อย่างมากมาย เช่น แบ่งตามขนาด คือ การคอร์รัปชั่นขนาดเล็กและการคอร์รัปชั่นขนาดใหญ่ หรือการแบ่งตามระดับ คือคอร์รัปชั่นเชิงบุคคล คอร์รัปชั่นเชิงสถาบัน และ คอร์รัปชั่นเชิงระบบ
การแบ่งคอร์รัปชั่นตามมิติก็เป็นรูปแบบอีกรูปแบบหนึ่งที่มีการแบ่ง โดยการแบ่งตามมิติมีดังนี้

  1. คอร์รัปชั่นในการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นการใช้อิทธิพลที่เกินกว่าอำนาจของกฎหมาย เพื่อไปกำหนดนโยบายและทำให้เกิดผล เช่น การทำโครงการจัดซื้อจัดจ้างให้แก่สมาชิกพรรพวกของตน การซื้อขายตำแหน่งโดยไม่คำนึงถึงหลักการเรื่องความสามารถและคุณธรรมอาศัย เครือญาติหรือพรรคพวกตนเองเป็นที่ตั้ง
  2. คอร์รัปชั่นทางเศรษฐกิจ เป็นการแสวงหากำไรส่วนเกินหรือในทางเศรษฐศาสตร์ จะเรียกว่าค่าเช่า เช่น การควบคุมการค้าและการให้สัมปทานผูกขาดแก่สมาชิกพรรคพวก การจัดซื้อจัดจ้างในราคาที่สูงเกินจริง และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้กลายมาเป็นทรัพย์สินของตนเอง
  3. คอร์รัปชั่นทางการเมือง เป็นการใช้อำนาจของรัฐบาลโดยขาดคุณธรรมหรืออย่างผิดกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ตน เอง หรือผลประโยชน์ทางการเมือง และผลประโยชน์ที่ได้นั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นวัตถุเงินทองเสมอไป เช่น การซื้อเสียงในการเลือกตั้ง การหลอกลวงด้วยการหาเสียงเกินจริง

การทุจริตคอร์รัปชั่นในยุคนี้ มีหลายประเภท (วิทยากร เชียงกูล, 2549 ,หน้า26-27) ได้แก่ การยักยอก การที่เจ้าหน้าที่รัฐเรียกร้องเงินจากธุรกิจเอกชนหรือการที่ธุรกิจเอกชนให้ สินบน หรือผลประโยชน์ภายหลังแก่เจ้าหน้าที่รัฐ ให้ตัดสินใจทำ หรือไม่ทำอะไรบางอย่างที่ทำให้ผู้ให้สินบนได้รับผลประโยชน์เหนือคู่แข่งราย อื่น การเลือกจ้างหรือแต่งตั้งญาติและพรรคพวกตน การฟอกเงิน ผลประโยชน์ทับซ้อน การเอื้อประโยชน์ เป็นต้น

โดยที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป คือ ภาษีคอร์รัปชั่น ซึ่งนักการเมืองและข้าราชการเก็บจากพ่อค้า นักธุรกิจ และประชาชน ในรูปของค่าคอมมิชชั่น และส่วยต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการรั่วไหลของเงินงบประมาณแบบอื่นๆ และแบบที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นการคอร์รัปชั่นที่เกิดจากการทับซ้อนของผลประโยชน์ หรือการขัดกันระหว่างผลประโยชน์สาธารณะและผลประโยชน์ส่วนบุคคล อธิบายเพิ่มเติมได้ว่า(ผาสุก พงศ์ไพจิตร,2546, หน้า 161-162) คือการทับซ้อนของผลประโยชน์ของบุคคลที่มี 2 สถานะ หรือมากกว่าในเวลาเดียวกัน คือ ตำแหน่งสาธารณะและตำแหน่งในบริษัทเอกชน ซึ่งบุคคลดังกล่าวอาจมีความโน้มเอียงใช้อำนาจและตำแหน่งสาธารณะหาผลประโยชน์ ส่วนตัว หรือแสวงหาประโยชน์ให้แก่กลุ่มพวกพ้องของตนเอง ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างง่าย ซึ่งการคอร์รัปชั่นในโครงการขนาดใหญ่ภาครัฐ ได้กลายเป็นแหล่งหารายได้จากการคอร์รัปชั่นที่สำคัญของนักการเมือง และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาดังกล่าว พยายามอย่างเป็นกระบวนการเพื่อที่จะทำให้โครงสร้างแห่งการตรวจสอบอ่อนแอ อีกทั้งนำสังคมไทยไปสู่ ‘คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย' (ผาสุก พงษ์ไพจิตร,2546.,หน้า188) อันหมายถึงการที่กลุ่มทุนเข้ายึดกุมอำนาจรัฐผ่านกระบวนการทางการเมืองและใช้ อำนาจที่มี เอื้อประโยชน์ในรูปแบบของการให้สัญญา การออกกฎหมาย การสัมปทาน การดำเนินนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่กลุ่มตน โดยละเลยผลกระทบที่ตกอยู่กับสังคมและเศรษฐกิจ

ประกอบกับจุดอ่อนในเรื่องจริยธรรมของผู้บริหาร ซึ่งการให้ความสำคัญกับการยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรมในทุกๆเรื่อง ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ควรเป็นข้อพิจารณาของผู้บริหารประการแรก (ธานินทร์ กรัยวิเชียร,2548, หน้า 32-43) ทั้งนี้ จุดอ่อนดังกล่าวเกิดจาก

  1. ระบบอุปถัมภ์ในวงราชการ ซึ่งบุคคลควรมีสิทธิและหลักประกันที่มั่นคงในความก้าวหน้าทางการงานตามความ รู้ ความสามารถ ผลงาน แต่ความเป็นจริงของระบบราชการไทย กลับมีกลุ่มบุคคลคอยใช้อำนาจช่วยเหลือพวกพ้องหรือผู้ที่ให้ผลประโยชน์แก่กัน โดยมิชอบ ซึ่งเป็นวงจรต่อๆกันไปเป็นระบบ
  2. การหลีกเลี่ยงภาษีอากร ปรากฏมากในทุกสาขาวิชาชีพ ถ้าพิจารณาผิวเผิน อาจเห็นเป็นเพียงปัญหาส่วนบุคคล แต่หากพิจารณาในภาพรวมแล้ว จะพบว่าเป็นปัญหาที่กระทบต่อความมั่งคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการเสียภาษีเป็นหน้าที่สำคัญของประชาชนทุกคนในประเทศ เพราะงบประมาณแผ่นดินที่ใช้ในการบริหารงานบ้านเมือง หากมีการหลีกเลี่ยงภาษีมาก งบประมาณในการพัฒนาประเทศก็จะลดลงตามไปด้วยเช่นกัน ส่งผลต่อการดูแลประโยชน์สุขอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมแก่ประชาชน
  3. การจงใจ ฝ่าฝืนตัวบทกฎหมายในหมู่ข้าราชการและผู้บริหารระดับสูง จัดเป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงอย่างยิ่ง ซึ่งผู้มีอำนาจอาจมองว่าตนสามารถทำทุกสิ่งได้ตามปรารถนาโดยไม่ต้องคำนึงถึง ความชอบธรรม

คอร์รัปชั่น ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม : ที่มาปัญหาเศรษฐกิจ
การล่มสลายของเศรษฐกิจไทยที่เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ.2539 หรือที่เรียกว่า "โรคต้มยำกุ้ง" นั้น สาเหตุสะสมมาจาก (จรัส สุวรรณเวลา,2546, หน้า 21-29) ความเลวร้ายทางการปกครองที่ประกอบด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง การเอาพรรคพวกเข้าสวมตำแหน่งงานต่างๆ การเล่นพวกสร้างกลุ่มอิทธิพล และการเลือกปฏิบัติรวมถึงการบริหารจัดการที่ผิดพลาด เช่นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า การประพฤติปฏิบัติที่สิ้นเปลืองและฟุ่มเฟือย ประสิทธิภาพของงานต่ำ และการผลัดวันประกันพรุ่ง ส่งผลให้ปัจจัยจำเป็นพื้นฐานไม่เพียงพอ ทั้งปัจจัยทางกายภาพและทรัพยากรบุคคล ทั้งหมดนี้เป็นผลจากการขาดการปกครองที่ดี ทั้งในส่วนของรัฐ บริษัทธุรกิจเอกชน และขององค์การมหาชน
ซึ่งการคอร์รัปชั่นก่อให้เกิดผล เสียหายต่อปัจจุบันและอนาคตของประเทศไทยในทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างน้อย 4 ข้อ ดังนี้ (วิทยากรเชียงกูล,2549,หน้า 7-8)

  1. ทำให้คนกลุ่มน้อย คดโกงทรัพยากรของส่วนรวมไปเป็นของตนเองอย่างผิดกฎหมายและจริยธรรม ส่งผลต่อการเมืองไม่ได้พัฒนาเป็นประชาธิปไตยแบบที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและ ความเสมอภาคอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นความไม่เป็นธรรมต่อสังคม
  2. ทำให้เกิด การบิดเบือนการใช้ทรัพยากรของประเทศที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับ ประโยชน์สูงสุดหรือเข้าไม่ถึงบริการของรัฐ เช่น มีงบเพื่อพัฒนาการศึกษาและสาธารณสุขน้อยลง การก่อสร้างถนนหรือถาวรวัตถุต่างๆ มีคุณภาพต่ำ ต้องซ่อมแซมบ่อย อายุใช้งานน้อยกว่าที่ควรเป็น ประชาชนได้บริการคุณภาพต่ำ ฯลฯ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างตามมา
  3. ทำให้เกิดการผูกขาดโดย นักธุรกิจการเมืองขนาดใหญ่ ไม่ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ความอ่อนแอ ความด้อยพัฒนาล้าหลังขององค์กรทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน
  4. ทำให้ประชาชน มีค่านิยมยกย่องความร่ำรวย ความสำเร็จ โดยถือว่าการโกงเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ เช่น การโกงข้อสอบ การใช้อภิสิทธิ์ โดยมองว่าโกงเล็กโกงน้อยต่างๆ เป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็ปฏิบัติ ทำให้ประชาชนขาดจริยธรรม ศีลธรรม คิดแต่ในเชิงแก่งแย่ง แข่งขัน เอาเปรียบกันอย่างไม่เคารพกติกา ไม่มีวินัย ไม่มีจิตสำนึกที่จะทำงานร่วมกันเพื่อหมู่คณะ กลายเป็นคนเห็นแก่ได้ที่อ่อนแอ ไร้ความภาคภูมิใจ ไร้ศักดิ์ศรี ดังนั้น การจะพัฒนาคน ชุมชน และประเทศชาติ เพื่อจะร่วมมือและแข่งขันกับประเทศอื่นๆ เป็นไปได้ยาก

แนวทางแก้ไขในมุมมองผู้ศึกษา

  1. ควรแยกโครงสร้างรวบอำนาจที่ประกอบด้วย การเมือง ข้าราชการระดับสูงและธุรกิจออกจากกัน กล่าวคือ การเมืองกับธุรกิจต้องตัดขาดจากกัน การถอดถอนหรือแต่งตั้งข้าราชการต้องมีกรอบและกลไกแห่งการมีส่วนร่วมที่โปร่ง ใส ไม่ใช่ขึ้นแต่กับฝ่ายการเมืองและควรมีวาระที่แน่นอน การแต่งตั้งควรมีคณะกรรมการจากหลายภาคส่วนของสังคม
  2. ควรส่งเสริมโครงสร้างแห่งการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพที่สุดบนระบอบการ ปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งโครงสร้างการตรวจสอบ อาจประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาที่เป็นอิสระและฝ่ายค้านที่เข้มแข็ง องค์กรอิสระ สื่อมวลชนที่สามารถทำการสืบสวนความจริง กระบวนการทางสังคม องค์กรเอกชน นักวิชาการ ที่เข็มแข็ง ตื่นตัวร่วมตรวจสอบและทักท้วงการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม ฯลฯ
  3. ในส่วนของระบบอุปถัมภ์ ไม่ควรนำตนเองเข้าไปสู่ระบบนั้น ต้องมีความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรี โดยตระหนักอยู่เสมอว่าเรามีความสามารถและไม่จำเป็นต้องพึ่งพาวิธีที่มิชอบ เพื่อให้ได้มาซึ่งโอกาสในการงาน เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม
  4. ปลูกฝังความรู้ความเข้าใจในสิทธิ หน้าที่ที่พึงกระทำในฐานะประชาชนไทย ว่าต้องปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม เช่น การเสียภาษี การใช้สิทธิ เสรีภาพบนความไม่เดือดร้อนความผู้อื่น บนความเป็นธรรมของสังคม
  5. ผู้บริหารควรสร้างความไว้วางใจกับประชาชน โดยปฏิบัติตนอยู่บนความชอบธรรมของสังคม รวมถึงดำเนินมาตรการปราบปรามเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ประพฤติมิชอบอย่างจริงจัง เป็นสำคัญ
  6. เสริมสร้างธรรมาภิบาลแก่สังคมทุกระดับ รวมถึงการนำไปใช้จริงกับการปฏิบัติงานในองค์กร

สรุป
การทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งมีความหมายเดียวกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรืออาจเรียกง่ายๆ ว่า คอร์รัปชั่น นับเป็นปัญหาสังคมที่น่าหนักใจมากที่สุดเรื่องหนึ่งของประเทศไทย ไม่ว่าจะมองจากมุมใด ปัญหาการคอรัปชั่น ย่อมเป็นปัญหาความไม่เป็นธรรมของสังคมซึ่งส่งผลถึงปัญหาเศรษฐกิจเชิงโครง สร้างของประเทศ ที่สำคัญแก่การป้องกันและปราบปราม เนื่องจากหาข้อมูลที่แท้จริงได้ยาก ความเสียหายโดยรวมที่เกิดขึ้นทั่วประเทศมีจำนวนแท้จริงเพียงใดย่อมไม่มีทาง รู้ได้อย่างถูกต้อง เปรียบเหมือนมะเร็งร้ายที่กำลังขยายตัวแผ่ซ่านเข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย หากจะรักษาชีวิตไว้จะต้องใช้วิธีการรักษาที่ตรงจุด รวดเร็วและรุนแรง อันที่จริงทุกๆ ประเทศมีปัญหาการคอรัปชั่น เพราะข้าราชการก็คือมนุษย์ที่มีกิเลส ซึ่งคล้ายคลึงกันทั้งสิ้น แต่หลายประเทศพยายามแก้ปัญหา โดยกระบวนการหลายขั้นตอนที่ต่อเนื่องเป็นระบบและจริงจัง สร้างวัฒนธรรมของความโปร่งใส ซื่อสัตย์ รวมถึงการแยกระหว่าง ส่วนตัวกับสาธารณะ รวมทั้งการสร้างระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ และลดแรงจูงใจให้ทำการคอรัปชั่น ความแตกต่างในประเทศไทย คือยังไม่มีรัฐบาลใดมีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาการคอรัปชั่นอย่างแท้จริง



----------------------------------------

เอกสารอ้างอิง

  • -----------, 2552. ไทยรองแชมป์ คอร์รัปชั่นเอเชีย. เมษายน 9. ไทยรัฐออนไลน์ .
  • จรัส สุวรรณเวลา, 2546. จุดบอดบนทางสู่ธรรมาภิบาล : บทบาทของบอร์ดองค์การมหาชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • ธานินทร์ กรัยวิเชียร, 2548. คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์.
  • ประเวศ วะสี, 2549. จากหมอประเวศถึงทักษิณ. กรุงเทพฯ : มติชน.
  • ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ สังสิต พิริยะรังสรรค์, ----. คอร์รัปชั่น กับประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : --------.
  • ผาสุก พงษ์ไพจิตร, 2546. "คอร์รัปชั่นสองรูปแบบ" ใน ชัยวัฒน์ สุรวิชัย. (บรรณาธิการ). ธรรมาภิบาลกับคอร์รัปชั่นในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิถีทรรศน์.
  • ผาสุก พงษ์ไพจิตร, 2546. บกพร่องโดยสุจริต ทุจริตเชิงนโยบาย. October, NO. 2, หน้า 188-201.
  • เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2549. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
  • วิทยากร เชียงกูล, 2549. แนวทางปราบคอร์รัปชั่นอย่างได้ผล. กรุงเทพฯ : สายธาร.
  • อินทรัตน์ ยอดบางเตย, 2547. ธรรมรัฐ. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้ากรุ๊ป.

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >