หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow เงินกับความสุข : ภาวัน
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 162 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

เงินกับความสุข : ภาวัน พิมพ์
Wednesday, 24 June 2009

เงินกับความสุข

IMAGE ฉบับเดือน มีนาคม 2552

Imageคุณทราบหรือไม่ว่า คน ๓ กลุ่มต่อไปนี้ ได้แก่ เศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในอเมริกา ชาวอามิชในรัฐเพนซิลวาเนีย ชาวอินุยต์ในเกาะกรีนแลนด์ มีอะไรบ้างที่เหมือนกันหรือเท่ากัน?

ก)อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด
ข)สัดส่วนการมีโทรศัพท์มือถือต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน
ค)อัตราการตายด้วยอุบัติเหตุบนท้องถนน
ง)ความสุข

ถ้าคุณตอบข้อ ก) - ค) คุณก็ตอบผิดแล้ว คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง)

จากการสอบถามความเห็นของประชาชนทั่วโลกเมื่อปีที่แล้ว พบว่าคนทั้ง ๓ กลุ่มข้างต้นมีความสุขกับชีวิตคิดเป็นคะแนนเท่ากัน คือ ๕.๘ (จากคะแนนเต็ม ๗) โดยมีชนเผ่ามาไซในแอฟริกาตามมาติดๆ คือ ๕.๗

ผลการศึกษาดังกล่าวคงทำให้หลายคนอดแปลกใจไม่ได้ เพราะคนทั้ง ๓ กลุ่มนี้มีมาตรฐานความเป็นอยู่และรายได้แตกต่างกันอย่างมาก แต่กลับมีความสุขเท่าๆ กัน ที่น่าแปลกใจยิ่งกว่านั้นคือ เศรษฐีอเมริกันซึ่งมีเงินมากมายมหาศาล กลับมีความสุขมากกว่าชนเผ่ามาไซเพียงแค่ ๐.๑ คะแนนเท่านั้น ทั้งๆ ที่ฝ่ายหลังแทบไม่มีสมบัติอะไรเลย นอกจากกระท่อม ธนู และสัตว์เลี้ยงไม่กี่ตัว

การค้นพบดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ว่า ความร่ำรวยมิใช่ปัจจัยหลักของความสุข จริงอยู่คนเราจะมีความสุขก็ต้องมีเงินหรือทรัพย์สมบัติ อย่างน้อยก็ต้องเกินระดับความยากจน ถ้ายังกินไม่อิ่มนอนไม่อุ่น ก็ยากจะมีความสุขได้ ด้วยเหตุนี้คนเร่ร่อนไร้บ้านในแคลิฟอร์เนียกับคนเร่ร่อนในกัลกัตตาจึงมีความสุขแค่ ๒.๙ นั่นคือมีความสุขเพียงครึ่งเดียวของเศรษฐีอเมริกัน มองในแง่นี้ก็เห็นได้ไม่ยากว่าคนรวยมีความสุขมากกว่าคนจน

แต่เมื่อมีเงินหรือทรัพย์สมบัติถึงระดับหนึ่งแล้ว แม้จะมีเงินมากขึ้นก็ไม่ได้ทำให้มีความสุขเพิ่มขึ้นเลย คนอเมริกันและคนญี่ปุ่นมีรายได้สูงขึ้นและมีความสะดวกสบายมากกว่าเมื่อ ๕๐ ปีที่แล้วหลายเท่าตัว แต่น่าสังเกตว่าอัตราส่วนของคนที่บอกว่า "มีความสุขมาก" ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย

ทำไมมีเงินมากขึ้นจึงไม่ทำให้มีความสุขเพิ่มขึ้น? เหตุผลข้อหนึ่งก็คือ เราชินชากับความร่ำรวยหรือสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้นได้รวดเร็วมาก วันแรกที่คุณได้รถคันใหม่ที่ขับนิ่มกว่าเดิมหรูหรากว่าเดิม แน่นอนคุณย่อมมีความสุข แต่เมื่อผ่านไปสัก ๓ เดือนหรือครึ่งปี คุณก็จะรู้สึกเฉยๆ กับรถคันนั้นแล้ว พูดอีกอย่างหนึ่ง ความสุขที่เคยเพิ่มขึ้นได้ลดมาสู่ระดับเดิมก่อนที่จะได้รถคันนั้น

คำพูดที่ว่า "เงินซื้อความสุขได้" จึงมีส่วนถูกเพียงครึ่งเดียว ถ้าให้ถูกจริงๆ น่าจะพูดว่า "เงินเช่าความสุขได้" อะไรที่เราเช่าหรือยืมมา เรามีสิทธิครอบครองได้เพียงชั่วคราว ไม่ช้าไม่นานก็ต้องคืนเขาไป ความสุขที่ได้จากเงินก็เช่นกัน มันมาอยู่กับเราเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น

มีความสุขอีกมากมายที่ไม่ต้องใช้เงินเลย และสามารถอยู่ได้ยั่งยืนกว่า เช่น ความสุขท่ามกลางครอบครัวอันอบอุ่น ความสุขจากการสังสรรค์ในหมู่มิตร ความสุขจากการชื่นชมธรรมชาติ ความสุขจากการเอื้อเฟื้อผู้อื่น รวมถึงความสุขจากการทำสมาธิภาวนา
ชาวอามิช ชาวอินุยต์ และชาวมาไซ อาจไม่มีโอกาสเสพสุขจากวัตถุได้มากเท่าเศรษฐีอเมริกัน แต่สิ่งที่ให้ความสุขแก่พวกเขาอย่างมากมายคือ สัมพันธภาพอันงดงามทั้งกับผู้อื่นและกับธรรมชาติ รวมทั้งความสุขจากใจที่สงบเย็น

ความสุขจากเงินนั้นมีเสน่ห์ตรงที่เข้าถึงได้ง่าย แต่อะไรที่ได้มาง่ายนั้นไม่ค่อยยั่งยืน (ลองนึกถึงความสุขจากเซ็กส์และยาเสพติดเป็นตัวอย่าง) แต่ความสุขจากสัมพันธภาพและความสุขจากจิตใจอันสงบนั้น แม้จะเข้าถึงยาก แต่อยู่ได้ยั่งยืนกว่า

อย่างไรก็ตามมีวิธีหนึ่งที่เงินสามารถให้ความสุขอย่างรวดเร็วและยั่งยืน (อย่างน้อยก็นานกว่าการเที่ยวห้าง) นั่นคือ บริจาคเงินให้แก่คนจนหรือผู้ทุกข์ยาก รอยยิ้มของเขาสามารถทำให้คุณอิ่มเอิบไปได้นานทีเดียว

โดย... ภาวัน

ที่มา http://www.budnet.org/

 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >