หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ข้าแต่พระบิดา (ตอนที่ 6) โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 40 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ข้าแต่พระบิดา (ตอนที่ 6) โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์ พิมพ์
Wednesday, 28 January 2009

           กลับไปอ่าน  ตอนที่ 1 "ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย 

                               ตอนที่ 2  พระองค์สถิตในสวรรค์ พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ

                               ตอนที่ 3  พระอาณาจักรจงมาถึง พระประสงค์จงสำเร็จในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์ 

                               ตอนที่ 4  โปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้

                               ตอนที่ 5  โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น..."


------------------------------------------

 

โปรดช่วยข้าพเจ้าไม่ให้แพ้การผจญ แต่โปรดช่วยให้พ้นจากความชั่วร้ายเทอญ (มธ 6:13)

Image          คำ peirazein ในภาษากรีกมีความหมายว่า "ทดลอง, ทดสอบ" มากกว่าจะแปลว่า "ผจญ, ประจญ, หรือ ล่อลวง" ซึ่งส่อไปในทางชักชวนผู้อื่นให้กระทำผิด

          เหตุผลคือ ถ้าเราแปลคำ peirazein ในหนังสือปฐมกาลบทที่ 22 ข้อ 1 เป็น "ผจญ" เราก็จะได้ความว่า "พระเจ้าทรงผจญอับราฮัมให้ถวายอิสอัคบุตรชายเป็นเครื่องเผาบูชา"  ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่พระเจ้าจะล่อลวงอับราฮัมให้กระทำผิด

          เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงควรเปลี่ยนความคิดจากสิ่งที่เราเคยเรียกว่า "การผจญ" แล้วมักลงเอยด้วยความพ่ายแพ้หรือ "บาป" เสียใหม่ 

          หากเราจะส่งมนุษย์ขึ้นไปโคจรในอวกาศ เราจำเป็นต้องทดสอบจนแน่ใจว่าบุคคลนั้นมีความพร้อมและเหมาะสมสำหรับภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้มิใช่หรือ ?

          กับเราก็เช่นเดียวกัน พระเจ้าทรง "ประทานการทดสอบ" แก่ผู้ที่ทรงเลือกสรร  เพื่อช่วยให้เราเข้มแข็งมากขึ้น  มีโอกาสชนะมากขึ้น  และเป็นคนดีเหมาะสมกับงานที่พระองค์จะทรงมอบหมายให้มากขึ้น

          การทดสอบจึงไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวหรือน่าอับอายที่จะต้องปกปิดกันอีกต่อไป   แต่เป็นสิ่งที่เราจะต้องเอาชนะหรือผ่านการทดสอบให้จงได้....

 

ซาตานคือใคร ?

          คำ ซาตาน (Satan) ในภาษาฮีบรูมีวิวัฒนาการทางความหมายควบคู่กับประวัติศาสตร์ของชาวยิว ดังจะเห็นร่องรอยได้จากพระธรรมเดิม

          1.       แรกเริ่มหมายถึง "ฝ่ายตรงข้าม" หรือ "ปรปักษ์" เช่น หัวหน้าชาวฟีลิสเตียห้ามดาวิดออกรบด้วยเพราะเกรงว่า "เขาอาจจะหันกลับมาเป็นศัตรู (ซาตาน) กับเราขณะทำการรบอยู่" (1 ซมอ 29:4) หรือเมื่อกษัตริย์ดาวิดเสด็จกลับกรุงเยรูซาเล็ม อาบีชัยต้องการให้ประหารชีวิตชิเมอีซึ่งเคยสาปแช่งดาวิด แต่ดาวิดตรัสกับอาบีชัยว่า "เรามีความคิดไม่ตรงกัน (ซาตาน)" (2 ซมอ 19:23)

          2.       ต่อมาความหมายพัฒนาไปสู่เชิงลบมากขึ้น และย้ายจากมนุษย์ไปสู่เทวดาในสวรรค์  ซาตานคือบุตรของพระเจ้า (โยบ 1:6) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนอัยการในโลกนี้ นั่นคือ "กล่าวหา" มนุษย์ต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้า (โยบ 1:7; 2:2; ศคย 3:2)

                    ระยะนี้ชาวยิวรับอิทธิพลของคำกรีก Diabolos (ดีอาโบสอส - แปลว่า "การให้ร้าย") ซึ่งตรงกับ Devil ในภาษาอังกฤษเข้ามา ซาตานจึงมิใช่เพียง "ผู้กล่าวหา" แต่หมายถึง "ผู้กล่าวให้ร้าย" มนุษย์ต่อหน้าพระเจ้า  กระนั้นก็ตาม ซาตานยังไม่เป็นปรปักษ์กับพระเจ้า เพียงแต่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับมนุษย์

          3.       ระหว่างถูกกวาดต้อนไปบาบิโลน ชาวยิวรับอิทธิพลความคิดของชาวเปอร์เซียเรื่องการตัดสินใจเลือกระหว่าง "อำนาจแห่งความสว่าง" และ "อำนาจแห่งความมืด" ซาตานจึงถูกผลักให้เป็น "อำนาจแห่งความมืด" และยืนอยู่ขั้วตรงข้ามกับพระเจ้าและมนุษย์อย่างสุดโต่ง

          ในพระธรรมใหม่ "ซาตาน" หรือ "ปีศาจ" คือผู้อยู่เบื้องหลังความเจ็บไข้และความทุกข์ทรมานต่าง ๆ ดังที่พระเยซูเจ้าตรัสว่า "หญิงผู้นี้ (ปีศาจสิง เจ็บป่วย หลังค่อม ยืดตัวตรงไม่ได้) เป็นบุตรหญิงของอับราฮัม ซึ่งซาตานล่ามไว้เป็นเวลาสิบแปดปีแล้ว ไม่สมควรที่จะถูกแก้จากพันธนาการนี้ในวันสับบาโตด้วยหรือ" (ลก 13:16)

          นอกจากนี้ ซาตานคือผู้ที่ล่อลวงยูดาสให้ทรยศพระเยซูเจ้า (ยน 13:2) ซาตานคือผู้ที่เราต้อง "ต่อสู้มันด้วยใจมั่นคงในความเชื่อ" (1 ปต 5:9) และคือผู้ที่จะต้องถูกทำลายชั่วนิรันดรดังคำอุปมาที่ว่า "แล้วพระองค์จะตรัสกับพวกที่อยู่เบื้องซ้ายว่า ‘ท่านทั้งหลายที่ถูกสาปแช่ง จงไปให้พ้น ลงไปในไฟนิรันดรที่ได้เตรียมไว้ให้ปีศาจและพรรคพวกของมัน'" (มธ 25:41)

          เมื่อเห็นวิวัฒนาการของ "ซาตาน" ดังนี้แล้ว  ตัวตนของซาตานจึงไม่น่ากลัวเท่ากับวิธีการโจมตีของมัน  เพราะมันมักใช้ "ความคิดและความปรารถนา" ของเราเองเป็นพันธมิตรและเป็นอาวุธของมัน จน    อาจกล่าวได้ว่า "ศัตรู" ที่น่ากลัวที่สุดและต้องเฝ้าระวังมากที่สุดก็คือ "ตัวตนของเรา" นั่นเอง !!!

 

การประจญมาจากไหน ?

          1.       จากภายนอก 

                   1.1      เกิดจากเพื่อน สังคมที่ทำงาน สภาพแวดล้อมรอบบ้าน ฯลฯ

                   1.2      เกิดจากผู้ที่รักเรา เช่นเรามีกระแสเรียกที่จะทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง แต่ถูกพ่อแม่ห้ามปรามด้วยความรักและห่วงใย

                   1.3      เกิดจากการตามกระแส ชอบลองดี แข่งกันเลว มักเกิดกับพวกวัยรุ่น

          2.       จากภายใน 

                   2.1      เกิดจากความคิด ความปรารถนา และจุดอ่อนของเราแต่ละคน  เราจึงต้องพยายามค้นให้พบจุดอ่อนของเราแล้วเฝ้าระวังไว้ให้ดี

                   2.2      เกิดจากพรสวรรค์และจุดแข็ง ซึ่งทำให้เรามั่นใจตัวเองมากเกินไป และตั้งตัวอยู่ในความประมาท


Image

Image ติดตามอ่าน ตอนที่ 7 การประจญเกิดขึ้นเมื่อใด? ในวันพุธหน้า (4 ก.พ. 52)


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >