หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ข้าแต่พระบิดา (ตอนที่ 2) โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 53 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ข้าแต่พระบิดา (ตอนที่ 2) โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์ พิมพ์
Wednesday, 31 December 2008

 กลับไปอ่าน  ตอนที่ 1 "ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย..." 



----------------------------------------

 

พระองค์สถิตในสวรรค์

Image          พระเจ้าไม่ได้เป็นเพียง "พ่อ" ของเราเท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงเป็น "พ่อที่อยู่ในสวรรค์" อีกด้วย  คำ "สวรรค์" บ่งบอก 2 นัยคือ

          1. ความศักดิ์สิทธิ์  สวรรค์เป็นสถานที่แห่งความศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าคือผู้ศักดิ์สิทธิ์

              บางคนจงใจใช้ความสัมพันธ์กับ "พ่อ" เป็นข้ออ้างที่จะดำเนินชีวิตสบาย ๆ และปล่อยตัวอยู่ในบาป โดยคิดว่า "เดี๋ยวพ่อ (พระเจ้า) ก็ยกโทษให้เองแหละ"

              แต่เราจะหยุดอยู่ที่คำว่า "พ่อของเรา" เพียงอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องระลึกอยู่เสมอว่า "พ่อของเราอยู่ในสวรรค์" และทรงไว้ซึ่งความ "ศักดิ์สิทธิ์" ด้วย

              ในพระวรสารนักบุญมาระโก พระเยซูเจ้าทรงเรียกพระเจ้าเป็น "บิดา" เพียงหกครั้ง  แสดงว่าแม้จะเป็นพระบุตรของพระเจ้า พระองค์ยังเคารพในความศักดิ์สิทธิ์ของ "พระบิดา" ผู้สถิตในสวรรค์

              เพราะฉะนั้นเราต้องดำเนินชีวิตอย่าง "ศักดิ์สิทธิ์" เฉกเช่นเดียวกับ "พ่อในสวรรค์" ของเราทรงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ด้วย

          2. พระอานุภาพ (power)  สวรรค์ให้ความรู้สึกว่าเป็นสถานที่ของผู้ทรงฤทธิ์

              พ่อแม่ทุกคนย่อมรักลูก ปรารถนาให้ลูกเป็นคนดีและประสบความสำเร็จในชีวิต แต่ไม่ใช่ว่าความรักของพ่อแม่จะช่วยให้ลูกเป็นคนดีหรือประสบความสำเร็จได้ทุกคน  หลายครั้งด้วยซ้ำไปที่ความรักตามประสามนุษย์มักลงเอยด้วยความผิดหวังเพราะว่าเราไม่มีฤทธิ์อำนาจ

              แต่ "พ่อ" ของเราผู้สถิตในสวรรค์ทรงเปี่ยมด้วยฤทธิ์อำนาจ  ทุกคนที่มาพึ่งพา "ความรัก" ของพระองค์จะไม่มีทางพบกับคำว่าผิดหวัง

              เราจึงวางใจในพระเจ้าผู้เป็น "พ่อ" ของเราได้อย่างเต็มเปี่ยม และแต่เพียงผู้เดียว

 

พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ

Image           คำ สักการะ ตรงกับคำกริยากรีก hagiazesthai (ฮากีอาเซสธาย) ซึ่งมีรากศัพท์เดียวกันกับคำคุณศัพท์ hagios (ฮากีออส)

ฮากีออส แปลตามตัวคือ "แยก, แตกต่าง" แต่โดยทั่วไปมักแปลว่า "ศักดิ์สิทธิ์"

สักการะ หรือ ฮากีอาเซสธาย จึงหมายถึงการ "ทำให้สิ่งหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยการแยกให้แตกต่างจากสิ่งอื่นหรือบุคคลอื่น"  

          วัดเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (ฮากีออส) เพราะถูกแยกออกมาให้แตกต่างจากสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ   วันของพระเจ้าก็ศักดิ์สิทธิ์เพราะถูกแยกออกมาจากวันอื่นเพื่อพระเจ้าโดยเฉพาะ เป็นต้น

          คำวอนขอนี้จึงหมายถึง "ขอให้พระนามของพระเจ้าได้รับการปฏิบัติแตกต่างจากนามอื่น" หรือ "ขอให้พระนามของพระองค์อยู่ในตำแหน่งอันเป็นเอกลักษณ์สูงสุด ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน"

          อนึ่งคำ พระนาม ในภาษาฮีบรูมีความหมายพิเศษเพราะไม่ได้หมายถึงเพียง "ชื่อ" หรือ "นาม" ที่ใช้เรียกคนใดคนหนึ่งเท่านั้น  แต่หมายรวมถึง "บุคลิกลักษณะหรือธรรมชาติเฉพาะ" ที่ทำให้เป็น "บุคคลคนนั้น"  หรือพูดง่าย ๆ คือหมายถึง "คนนั้นทั้งคน"

          พระคัมภีร์กล่าวว่า "ผู้ที่รู้จักพระนาม ย่อมวางใจในพระองค์" (สดด 9:10) ความหมายคือ ผู้ที่รู้จักบุคลิกลักษณะและธรรมชาติของพระเจ้าว่าทรงเป็นเช่นใดแล้วเท่านั้น จึงจะกล้าวางใจในพระองค์  ไม่ใช่เพียงแค่รู้จักชื่อของพระเจ้าก็วางใจในพระองค์แล้ว

          "บางคนหวังพึ่งรถศึก บางคนทระนงด้วยม้าศึก แต่เราทั้งหลายเรียกหาพระนามพระยาห์เวห์ พระเจ้าของเรา" (สดด 20:7) ยอมบ่งบอกชัดเจนว่าในยามสงคราม ชาวยิววางใจพระเจ้าไม่ใช่เพราะจำได้ว่าพระองค์ชื่อยาห์เวห์ แต่เพราะพวกเขารู้จักธรรมชาติของพระองค์ว่าทรงฤทธิ์และทรงรักพวกเขามากเพียงใด

          ประกาศกอิสยาห์ทำนายถึงยุคสมัยของพระเมสสิยาห์ไว้ว่า "ประชากรของเราจะรู้จักพระนามของเรา" (อสย 52:6) นั่นคือรู้จริงและรู้อย่างเต็มเปี่ยมว่าพระเจ้าทรงเป็นเช่นใด เพราะพระเมสสิยาห์คงไม่เสด็จมาเพียงเพื่อบอกว่าพระเจ้าชื่ออะไรเท่านั้น

          เมื่อรวมความหมายของคำว่า "พระนาม" และ "สักการะ" เข้าด้วยกัน  เราอาจอธิบายความหมายของคำวอนขอประการนี้ได้ว่า "โปรดให้เราสามารถวางพระเจ้าไว้ในที่อันเหมาะสมกับธรรมชาติของพระองค์" หรือสั้น ๆ คือ "โปรดให้เรามีความเคารพยำเกรงพระเจ้า" (Reverence)

          เพื่อจะได้ชื่อว่ามีความเคารพยำเกรงพระเจ้า เราต้อง

          1. เชื่อว่ามีพระเจ้า เพราะเราไม่อาจเคารพยำเกรงผู้ที่ไม่มีตัวตนได้

          2. รู้จักพระองค์ ผู้ทรงมีคุณสมบัติสำคัญ 3 ประการคือ "ศักดิ์สิทธิ์ ยุติธรรม และเปี่ยมด้วยความรัก"  หากพระองค์เป็นเหมือนเทพเจ้ากรีกที่ชอบกลั่นแกล้งมนุษย์ให้เกรงกลัว เราคงไม่เคารพรักพระองค์เป็นแน่

          3. รับรู้ว่าพระองค์สถิตอยู่ทุกแห่ง และทุกเวลา

          4. นบนอบเชื่อฟังพระองค์


Image

Image ติดตามอ่าน ตอนที่ 3 ...พระอาณาจักรจงมาถึง พระประสงค์จงสำเร็จในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์...
ได้ในวันพุธหน้า (7 ม.ค. 52)


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >