หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 170 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สันติวิธีและทางรอดของการยุติความรุนแรงในภาคใต้ (ตอนที่ 4) โดย : ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 20 August 2008
 

Image กลับไปอ่าน ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 และ ตอนที่ 3 ก่อน

Image

 

สันติวิธีและทางรอดของการยุติความรุนแรงในภาคใต้ (ตอนที่ 4)

โดย : ศราวุฒิ ประทุมราช


          มาถึงบทสุดท้ายของทางรอดของการยุติความรุนแรงในภาคใต้อย่างสันติวิธี นั่นคือ กลยุทธในการชุมนุม ซึ่งตามปกติ สังคมไทยมักไม่ค่อยชอบการชุมนุมนัก โดยเฉพาะ การชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพฯ ที่ผู้ใช้รถใช้ถนน มักเดือดร้อน รำคาญ ว่า ผู้ชุมนุมก่อปัญหาทำ ให้รถติด หรือมักก่อความวุ่นวาย ไม่สงบ เช่น การชุมนุมของกลุ่ม นปก.หน้าบ้าน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อปีที่แล้ว จนผู้นำในการชุมนุม ได้ดิบได้ดีในรัฐบาลสมัคร 1 ซึ่งไม่ใช่ประเด็นในการวิจารณ์ครั้งนี้ เพราะ ต้องการอธิบายว่า การชุมนุมเป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นประการหนึ่ง และเป็นเป้าหมายสำคัญของการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ ได้ทางทางหนึ่ง


การชุมนุม

          การชุมนุมเป็นปฏิบัติการไร้ความรุนแรง ซึ่งคนทั่วไปรู้จักกันดีและใช้กันบ่อยครั้งจนบางครั้งเข้าใจกันว่า การชุมนุมเป็นสุดยอดของปฏิบัติการไร้ความรุนแรง ดังเห็นได้ว่าผู้คนมักนึกถึงการชุมนุมเป็นอย่างมาก หากว่าวิธีการอื่นไร้ผลแล้ว แท้ที่จริงการชุมนุมเป็นเพียงหนึ่งในบรรดาปฏิบัติการไร้ความรุนแรงนับร้อยๆชนิด ซึ่งยังมีผู้ศึกษาค้นคว้ากันน้อย อย่างไรก็ตาม การชุมนุมก็นับว่าเป็นวิธีการประท้วงและโน้มน้าวที่สามารถก่อผลวงกว้าง กระทั่งรัฐเองก็ต้องมีกลไกที่จะจัดการจัดการชุมนุมโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันปัญหานานาประการ         


เป้าหมาย

          เป้าหมายในการชุมนุมนั้นมีหลายประการและจัดในหลายโอกาส เช่น เพื่อเฉลิมฉลองบุคคลหรือวาระสำคัญ เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่ตัวแทนของตน เพื่อประชาสัมพันธ์ ชี้ให้เห็นปัญหาหรือให้การศึกษาคนทั่วไป ที่สำคัญคือเพื่อเรียกร้อง ประท้วง และสร้างแรงกดดัน


องค์ประกอบการชุมนุม

          การชุมนุมย่อมประกอบด้วย ผู้จัดและผู้ร่วมชุมนุม ผู้จัดนั้นควรมีการแบ่งส่วนทำงานต่างๆ ดังนี้

          1) เป็นผู้แทนกลุ่ม ทำหน้าที่เจรจากับคู่กรณีหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ

          2) ประชาสัมพันธ์ หรือสื่อสารกับผู้ชุมนุมและคนวงกว้าง

          3) ให้ความสนับสนุน เช่น ในด้านอาหาร ยารักษาโรค ข้อแนะนำทางกฎหมาย ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์

          4) ควบคุมดูแลอุปกรณ์การชุมนุม เช่น เครื่องเสียง รถ

          5) กำกับดูแลการชุมนุมให้เรียบร้อย เช่น ประสานงานให้เป็นไปตามที่กำหนด  และรักษาความสงบ ปลอดพ้นจากการต่อต้าน  


โครงสร้างการตัดสินใจ

          ในการชุมนุมต้องมีการเตรียมการ เพื่อหาข้อตกลง อาทิ เป้าหมาย หลักการ วิธีการ ข้อเรียกร้อง การแบ่งหน้าที่ ตลอดจนระเบียบวินัยระหว่างการชุมนุม ควรมาจากความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้จัดการชุมนุมทุกคน อย่างน้อยที่สุดก็เป็นข้อสรุปที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันโดยรับรู้ล่วงหน้าก่อนการชุมนุม

          ในทางปฏิบัติ การชุมนุมจะเป็นไปด้วยดีตามแผนที่กำหนด หรือตามข้อตกลงได้ จะต้องมีผู้ประสานงาน หรือหัวหน้าส่วนต่าง ๆ เป็นลำดับขั้นไป โดยมาสิ้นสุดที่ผู้ประสานงานทั่วไปที่ดูแลกำกับการชุมนุมโดยรวม หรือผู้ประสานงานกลาง(อาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ แต่ไม่ควรมาก) ผู้ประสานงานแต่ละส่วนหรือหัวหน้าส่วนนี้จะดูแลให้ส่วนของตนดำเนินตามข้อตกลงและตามแผนงาน   ในกรณีที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงแต่ไม่เร่งด่วน ผู้ประสานงานฝ่ายจะนำเอามติหรือข้อสรุปภายในฝ่ายของตนมาปรึกษาร่วมกันกับผู้ประสานงานฝ่ายอื่นๆและกับผู้ประสานงานกลาง ในกรณีที่มีเหตุกะทันหัน  ผู้ประสานงานกลางจะเป็นผู้ตัดสินใจ โดยมีหลักการว่า ถ้าเป็นไปได้ควรตัดสินใจร่วมกับผู้ประสานงานฝ่าย แต่หากไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เมื่อตัดสินใจไปแล้ว (เช่นย้ายสถานที่ หรือยุติการชุมนุม) ผู้ประสานงานฝ่ายจะทำหน้าที่รับเอามตินั้น ๆไปปฏิบัติในฝ่ายของตน

          โครงสร้างการตัดสินใจดังกล่าว ในด้านหนึ่งเป็นการกระจายอำนาจให้ผู้จัดการชุมนุมทุกคนได้มีส่วนร่วมกำหนดการชุมนุมทั้งในด้านการวางแผนและในสถานการณ์จริง พร้อมกันนั้นก็มีกลไกที่จะควบคุมให้การชุมนุมเป็นไปตามข้อตกลง ไม่ผันแปรไปตามการเบี่ยงเบนของคนจำนวนน้อย ซึ่งอยู่ในวิสัยที่จะเกิดขึ้นได้ ในอีกด้านหนึ่ง โครงสร้างการตัดสินใจเช่นนี้  ก็เอื้อให้ปฏิบัติการดังกล่าวมีความฉับไว สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่พลิกผันได้อย่างรวดเร็ว ทันการณ์

          โดยหลักการ ผู้ร่วมชุมนุมควรมีส่วนในการกำหนดการชุมนุมด้วย ในทางปฏิบัติ หากว่าผู้ร่วมชุมนุมมีไม่มาก(50 คน) ผู้ชุมนุมแทบทุกคนต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่แล้ว คือ เป็นผู้จัดการชุมนุมไปในตัว ในกรณีเช่นนี้โครงสร้างในการตัดสินใจดังกล่าวย่อมเอื้อให้ผู้ชุมนุมทุกคนได้มีส่วนร่วมในการชุมนุมไปโดยปริยาย แต่หากว่ามีผู้ชุมนุมเรือนร้อยเรือนพัน โครงสร้างการตัดสินใจดังกล่าวจำต้องปรับเปลี่ยนบ้าง ที่ควรเพิ่มเข้ามาคือ ให้ผู้ชุมนุมแบ่งเป็นกลุ่มย่อย และมีตัวแทนเป็นลำดับขึ้นไปตามโครงสร้างการตัดสินใจดังกล่าว(แต่ไม่ควรมีลำดับขั้นมากเกินไป) กลุ่มย่อยนี้อาจจัดแบ่งตามประเภทลักษณะหรือองค์กรสังกัดของผู้ชุมนุม โดยหลักการแล้ว ควรมีการประชุมซักซ้อมกับผู้ที่จะเข้าร่วมชุมนุมทุกคนก่อน (หรืออาจจะทำแยกตามจุดต่าง ๆก็ได้) หากว่าผู้ชุมนุมมีมากมาย เพื่อว่าเมื่อถึงวันงานจริงจะสามารถปฏิบัติตามแผนได้ทุกขั้นตอน โดยนัยนี้คนที่มาชุมนุมสบทบในวันงาน จึงเป็นส่วนเสริม แต่อาจมีส่วนในการตัดสินร่วมกับผู้ที่เคยผ่านการประชุมซักซ้อมหรืออบรมมาก่อนแล้วก็ได้


ข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้ชุมนุม

          การชุมนุมโดยสันติจะเป็นไปได้ดีก็ต่อเมื่อผู้ร่วมชุมนุมมีความรู้ความเข้าใจในข้อพึงปฏิบัติ ข้อพึงปฏิบัติอย่างน้อยควรมีลักษณะดังนี้

          1) มีความชัดเจนในเป้าหมาย ข้อเรียกร้อง วิธีการ ตลอดจนข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอ รวมทั้งชัดเจนในเอกลักษณ์ของกลุ่ม

2) มีวินัย ซึ่งได้แก่ ความเชื่อฟังและปฏิบัติตามข้อตกลง  

3) มีความรู้ในข้อกำหนดอื่นๆที่เสริมการชุมนุม เช่น การแต่งกายให้สุภาพ เป็นต้น      


            ทั้งหมดนี้ คือ ข้อเสนอส่วนหนึ่ง ในการแก้ไขความรุนแรงในภาคใต้ แต่วิธีการและหลักการสันติวิธีที่นำเสนอมานี้ ต้องการให้มีผู้นำไปศึกษา และทดลองใช้ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ นักกีฬาที่ชนะเลิศในแต่ละประเภทนั้น ก่อนการได้รับชัยชนะ ต้องตรากตรำฝึกฝนมาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน ฉันใด นักปฏิบัติการสันติวิธีจะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว ก็ด้วยการฝึกฝน ทางร่างกายและจิตใจ ให้พร้อมที่จะเผชิญหน้าความรุนแรง ด้วยความรัก และการไม่ใช้ความรุนแรง หากเราฝึกฝน ให้เป็นผู้ไม่ใช้ความรุนแรงเข้าตอบโต้ ผู้ใช้ความรุนแรงได้ อย่างทระนงแล้ว ผู้ใช้สันติวิธี ก็คือ ผู้กล้าหาญ ยิ่งกว่า ผู้ขลาดเขลา เข้าต่อสู้โดยใช้กำลังและอาวุธ

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >