หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 92 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

สันติวิธีและทางรอดของการยุติความรุนแรงในภาคใต้ (ตอนที่ 3) โดย : ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 13 August 2008

 

Imageกลับไปอ่าน ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ก่อน

 Image

 

สันติวิธีและทางรอดของการยุติความรุนแรงในภาคใต้ (ตอนที่ 3)

โดย : ศราวุฒิ ประทุมราช


ในการปฏิบัติการไร้ความรุนแรงนั้นมีรูปแบบที่มักใช้อยู่เสมอได้แก่ การเจรจา การรณรงค์ เผยแพร่ การชุมนุม การรักษาความสงบ ในที่นี้ขอเสนอทักษะที่สำคัญ 2 ประการ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ทราบแนวทางเพื่อนำไปฝึกปฏิบัติได้แก่ การเจรจาและการชุมนุม


1) การเจรจา         

การเจรจาแม้มิใช่ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงโดยตัวของมันเอง แต่เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและสามารถมีบทบาทได้ในทุกขั้นตอนของปฏิบัติการไร้ความรุนแรง แรกสุดก่อนที่จะเผชิญหน้ากับคู่กรณีด้วยปฏิบัติการไร้ความรุนแรง นักสันติวิธีควรเริ่มต้นด้วยการเจรจาก่อน ชี้ให้เขาเห็นปัญหาในทัศนะของเรา และทางออก ต่อเมื่อไม่สัมฤทธิผลและไม่มีทางออกอื่น จึงมาถึงขั้นปฏิบัติการ แต่ในระหว่างที่มีการปฏิบัติการนั้นเอง นักสันติวิธีย่อมพร้อมและเปิดโอกาสให้มีการเจรจากันได้เสมอ จนถึงที่สุดของปฏิบัติการ โดยที่การเจรจาอาจเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อหาข้อยุติร่วมกัน

 

หลักการเจรจาแบบสันติวิธี         

1) พยายามเข้าใจจุดยืน มุมมองและเหตุผลของคู่กรณี มองให้เห็นข้อเท็จจริงของสถานการณ์ตามที่เขารับรู้มา         

2) มองเห็นส่วนดีของเขาไม่ว่าจะเป็นทัศนคติหรือพฤติกรรม และยินดีบอกสิ่งนั้นแก่เขา การกระทำเช่นนี้จะช่วยลดอคติ และช่วยให้คู่กรณีตระหนักว่าเขาได้รับการเคารพ         

3) มองผู้ที่เราเจรจาด้วยว่าเป็นผู้ที่สามารถจะเป็นฝ่ายเดียวกับเราได้ หรือสามารถที่จะตกลงด้วยดี ด้วยการที่ได้รับประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย หรือได้รับประโยชน์ร่วมกัน        

4) รักษาลู่ทางในการเจรจาไว้เสมอ เปิดโอกาสและพร้อมเสมอที่จะเจรจา การปฏิบัติต่อเขาอย่างสุภาพโดยเปิดเผยแม้การเจรจาจะไม่ประสบผล จะทำให้การเจรจาครั้งต่อไปหรือการร่วมมือกันเป็นไปได้ในอนาคต   

5) ไม่ดูถูกหรือแสดงความก้าวร้าว ด้วยสำคัญตนว่าเราเป็นฝ่ายถูกตลอดเวลา


วิธีการ         

1) มีข้อเสนอที่เฉพาะเจาะจงเป็นรูปธรรม และมีความเป็นไปได้ ทั้งยังเป็นที่เห็นพ้องยอมรับของทุกคนที่ร่วมเตรียมการ นอกจากนั้นข้อเสนอดังกล่าวควรมีข้อมูลสนับสนุน(เช่น รัฐธรรมนูญ  กฎหมาย หลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หรือ มติคณะรัฐมนตรี)         

2) ข้อเสนอดังกล่าวสามารถที่จะเปิดทางออกให้แก่คู่กรณี โดยที่อย่างน้อยทำให้เขาไม่รู้สึกเสียหน้าจนเกินไป         

3) ผู้เจรจาไม่ควรมีคนเดียว ควรมีเป็นคณะ มีหน้าที่บทบาทต่างๆกัน เช่น บันทึกการเจรจา ประเมินสถานการณ์ขณะเจรจาและพูดคุยกับคู่กรณี 

4) เจรจาอย่างเปิดเผย ไม่ควรเจรจาอย่างลับ ๆ หรือสองต่อสอง 

5) มีการบันทึกระหว่างการเจรจาตลอดเวลา และให้เพื่อนๆรู้ความเป็นไปในการเจรจาด้วย         

6) ขอเวลานอก หากจำเป็น  

7) ควรมีการฝึกฝนเตรียมความพร้อมก่อนเจรจาจริง

8) ข้อตกลงต้องเป็นรูปธรรม เฉพาะเจาะจง แจ่มชัด และมีการติดตาม


ลักษณะของผู้เจรจา         

นอกจากจะมีทัศนคติดังได้กล่าวมาแล้ว ผู้เจรจายังควรเป็นผู้ที่มองโลกตามความเป็นจริง มีความยืดหยุ่น มีขันติธรรมสูง ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ มีปฏิภาณตัดสินใจได้ฉับไว มีความอ่อนน้อมแต่ยืนหยัด มีฐานอำนาจในการต่อรอง มีบุคลิกที่คนอื่นไว้ใจ แต่ไม่ประมาทผู้อื่น           

ดูเหมือนว่าปัญหาความรุนแรงในภาคใต้นั้น ยังไม่ค่อยได้ใช้วิธีการเจรจา กันมากนัก เพราะฝ่ายที่ใช้ความรุนแรง โดยอ้างการแบ่งแยกดินแดนนั้น ไม่เคยแสดงตัวให้ปรากฏว่า เป็นใคร และ ฝ่ายรัฐเอง ก็ไม่เคยแสดงตนว่า พร้อมที่จะเปิดโอกาสให้มีการเจรจา นอกจากเคยมีการจัด โดยผู้สื่อข่าวในการตั้งโต๊ะ เจรจากับอดีตผู้นำขบวนการพูโล เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งน่าจะมีการศึกษารูปแบบ และยุทธวิธีของการเจรจาไว้ เพื่อฝึกฝนในเมื่อจำต้องนำมาปฏิบัติในสถานการณ์จริง

 

ติดตามอ่านตอนที่ 4 (ตอนจบ) ได้ในวันพุธหน้าค่ะ

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >