หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 78 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สันติวิธีและทางรอดของการยุติความรุนแรงในภาคใต้ (ตอนที่ 2) โดย : ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 06 August 2008

 

Image กลับไปอ่านตอนที่ 1

สันติวิธีและทางรอดของการยุติความรุนแรงในภาคใต้ (ตอนที่ 2)

 โดย : ศราวุฒิ ประทุมราช   


2.3 การไม่ให้ความร่วมมือทางการเมือง เป็นปฏิบัติการที่มุ่งสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาล หรือต่อกลุ่มที่พยายามควบคุมกลไกรัฐโดยมิชอบ อาจมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาลหรือเปลี่ยนรัฐบาล แต่บางครั้งก็เป็นการกระทำของรัฐบาลหนึ่งต่ออีกรัฐบาลหนึ่ง แบ่งออกเป็น

2.3.1 การปฏิเสธอำนาจหน้าที่ ได้แก่ การเพิกถอนความภักดี การไม่ให้ความสนับสนุนอย่างเปิดเผย

2.3.2 การไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล เช่น การคว่ำบาตรการเลือกตั้ง การไม่ทำงานให้รัฐบาล การคว่ำบาตรกระทรวงทบวงกรมของรัฐ การลาออกจากองค์กร รวมทั้งโรงเรียนของรัฐ การคว่ำบาตรองค์กรที่รัฐสนับสนุน การปฏิเสธเจ้าหน้าที่ที่รัฐแต่งตั้ง การถอดป้ายบอกสถานที่ทิ้ง

2.3.3 การดื้อแพ่งโดยประชาชน เช่น การถ่วงเวลาหรือการไม่ทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิเสธหมายเกณฑ์ทหาร

2.3.4 การดื้อแพ่งโดยบุคลากรของรัฐ เช่น การเฉื่อยงาน ไม่ให้ความร่วมมือในการบริหาร ไม่ให้ความร่วมมือทางศาล ถ่วงหรือสกัดกั้นคำสั่ง ทำให้กองกำลังไร้ประสิทธิภาพ กองกำลังไม่ทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา

2.3.5 การดื้อแพ่งของรัฐบาลท้องถิ่น เช่น การไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลกลาง

2.3.6 การไม่ให้ความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น การหน่วงเหนี่ยวและการยกเลิกกิจการทางการฑูต การตัดความสัมพันธ์ทางการฑูต การปฏิเสธสมาชิกภาพในองค์กรระหว่างประเทศ การขับออกจากองค์กรระหว่างประเทศ

ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงที่ประสบผลด้วยการไม่ให้ความร่วมมือ เช่น การคัดค้านรัฐประหารในแอลจีเรีย(2501) การคัดค้านรัฐประหารในเบอร์ลิน(2463) ขบวนการสวราชย์โดยการนำของคานธี ในช่วงทศวรรษ 1930 การคัดค้านอำนาจเผด็จการของพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย(2448) การคว่ำบาตรรถประจำทางที่มอนต์โกเมอรี โดยการนำของมาร์ติน ลูเทอร์ คิง(2498) การต่อสู้เพื่อสิทธิของคนงานเกษตรกรรมในแคลิฟอร์เนีย(2508–2513) การคว่ำบาตรเนสท์เล่ทั่วโลก(2525) การโค่นล้มเผด็จการในกัวเตมาลา(2487) ไทย(2516) และฟิลิปปินส์(2529)

 

3.  การแทรกแซงโดยไร้ความรุนแรง

วิธีการนี้ คือ การเข้าแทรกแซงในสถานการณ์ที่เป็นประเด็นปัญหาหรือกำลังมีความขัดแย้งกันอยู่ เป็นการเข้าไปเผชิญหน้ากับคู่กรณีอย่างเปิดเผยและชัดแจ้ง วิธีการนี้เป็นการกระทำที่ท้าทายและเสี่ยงต่อการถูกตอบโต้อย่างรุนแรง แต่ก็ให้ผลอย่างรวดเร็วและกระทบกับความรู้สึกของผู้คนได้มากกว่า ดังเช่นการเข้าไปนั่งและชุมนุมบนพื้นที่ที่จะสร้างเขื่อน ย่อมให้ผลหนักแน่นกว่าการถือป้ายประท้วงคัดค้านหน้าสำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต  

วิธีนี้หากจะได้ผลก็ต้องอาศัยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้ปฏิบัติการมาก เพราะในหลายกรณีมีลักษณะไม่ต่างจากการเข้าสู่สมรภูมิสงคราม ซึ่งล่อแหลมต่อการปะทะโดยตรง แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์อยู่ในตัว ผลที่ได้ย่อมมีทั้งผลโดยตรงคือแก้ที่ตัวปัญหา ระงับยับยั้งไม่ให้มันเกิดขึ้น  ส่วนผลทางอ้อมคือผลในทางจิตวิทยา เช่น ปลุกเร้าให้คนสนใจและเข้าร่วมในการแก้ปัญหา 


การแทรกแซงแบ่งเป็น  

3.1 การแทรกแซงทางจิตวิทยา เช่น การแบกรับความยากลำบาก เพื่อสร้างแรงกดดันในทางจิตวิทยา การอดอาหาร

3.2 การแทรกแซงทางกายภาพ เช่น การนั่งหรือยืนประท้วงในที่หวงห้าม การบุกรุกหรือครอบครองพื้นที่ต้องห้าม การเอาตัวกีดขวางสิ่งของหรือบุคคลมิให้กระทำสิ่งมิชอบ

3.3 การแทรกแซงทางสังคม เช่น การจงใจใช้บริการเกินขีด การพูดสอดแทรก การตั้งสถาบันสังคมอย่างใหม่ซ้อนของเก่า การหน่วงเหนี่ยวขวางกั้นการทำงานของห้างร้าน

3.4 การแทรกแซงทางเศรษฐกิจ เช่น การยืนกรานทำงานต่อไป การนัดหยุดงานโดยไม่ออกจากโรงงาน การเข้ายึดพื้นที่ทำมาหากินโดยไร้ความรุนแรง การสร้างสถาบันเศรษฐกิจชนิดใหม่ การสร้างตลาดใหม่

3.5 การแทรกแซงทางการเมือง เช่น การจงใจใช้บริการของรัฐอย่างล้นหลาม เพื่อทำให้ระบบติดขัด การละเมิดกฎหมายที่มิชอบ การหาทางเข้าคุก การยืนกรานปฏิบัติตามแบบแผนเดิมที่ถูกห้าม การตั้งรัฐบาลซ้อน

วิธีการดังกล่าวเป็นการจัดแบ่งอย่างคร่าวๆของนักวิชาการสันติวิธี ชื่อ ยีน ชาร์ป ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นการจัดประเภทอย่างหยาบๆ ซึ่งคงจะไม่สามารถครอบคลุมวิธีการต่างๆที่เคยมีในประวัติศาสตร์ได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งในอนาคตเบื้องหน้าก็คงจะมีอีกหลายวิธีที่ไม่สามารถจัดลงหมวดหมู่ดังกล่าวได้ ทั้งนี้เพราะปฏิบัติการไร้ความรุนแรงนั้นเป็นวิธีการที่มีความหลากหลาย ยิ่งเป็นปฏิกิริยาต่อสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งมักมีลักษณะจำเพาะ ทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ผลของปฏิบัติการดังกล่าวก็ถูกกำหนดโดยปัจจัยดังกล่าวด้วย และอีกปัจจัยที่มิพึงมองข้ามก็คือ ปัจจัยทางวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึง ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อที่นับถือร่วมกันในสังคม ปัจจัยทางด้านนี้มีบทบาทสำคัญมากในการเสริมสร้างพลังของปฏิบัติการไร้ความรุนแรง ซึ่งอาจมีผลหยุดยั้งการตอบโต้ปราบปรามด้วยความรุนแรงของคู่กรณีได้ ชาวพุทธเวียดนามซึ่งคัดค้านนโยบายสงครามของรัฐบาลเผด็จการ เมื่อเผชิญกับการล้อมปราบในกรุงเว้ สิ่งที่เขานำมาวางบนถนนเพื่อขวางกั้นรถถัง คือ ศาลบรรพบุรุษ อันเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ระหว่างความดีกับความชั่ว ในโปแลนด์ พิธีมิซซาและสารภาพบาปที่ขบวนการโซลิดาลิตี้ได้จัดขึ้นในระหว่างการประท้วงอย่างยืดเยื้อที่เมืองกดางสค์ ส่งผลไม่น้อยต่อภาพลักษณ์และสถานะของขบวนการดังกล่าว ซึ่งอยู่ในวงล้อมของกองทัพคอมมิวนิสต์ ในเหตุการณ์ปฏิวัติอย่างสันติที่ฟิลิปปินส์ รูปพระแม่มาเรียและพระเยซูถูกตรึงกางเขน รวมทั้งลูกประคำและเสียงสวดมนต์ของประชาชนที่รายล้อมค่ายคร่าเม่ สามารถสะกดให้กำลังทหารของมาร์คอสที่ส่งมาลุยฝูงชนให้คลายความเป็นปฏิปักษ์

วิธีการดังกล่าวมักเกิดขึ้นโดยความนึกคิดอย่างฉับพลัน ด้วยแรงดลใจทางศาสนาและวัฒนธรรมโดยมิได้มีการวางแผนล่วงหน้าก่อน อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงที่มีประสิทธิภาพนั้นมักเป็นผลจากการผสมผสานความคิดในเชิงวิเคราะห์และปัญญาที่ผุดโพลงขึ้นอย่างได้สัดส่วนกัน เช่นเดียวกับที่ต้องอาศัยการประสานสงเคราะห์ระหว่างสมองกับหัวใจ บ่อยครั้ง ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงที่เสนอในเหตุการณ์หนึ่งๆนั้น เมื่อมองในแง่เหตุผลหรือกรอบความคิดอย่างนักวิเคราะห์แล้ว ดูไม่น่าเลื่อมใสศรัทธาหรือคงถึงกับถูกดูแคลน แต่กลับเป็นวิธีการที่เข้าถึงจิตใจของประชาชนคนทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อเสนอโดยผู้นำทางศาสนาหรือวัฒนธรรม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ยุทธวิธีที่ประชาชนพากันล้อมค่ายคร่าเม่ ซึ่งนายพลรามอสและเอนริเล่ ประกาศตัวเป็นกบฎต่อมาร์คอสนั้น เป็นสิ่งซึ่งผู้นำทางการเมืองและปัญญาชนจำนวนมากสั่นหัว แต่แล้วกลับได้รับการตอบสนองจากประชาชนอย่างมหาศาลและส่งผลให้สถานการณ์ในฟิลิปปินส์พลิกกลับ ยังความพ่ายแพ้แก่มาร์คอสในที่สุด

เราจะเห็นได้ว่าปฏิบัติการณ์ไร้ความรุนแรงหรือสันติวิธีนั้น สามารถเป็นทั้งวิธีการและเป็นเป้าหมายของการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนได้ในหลายกรณี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของปฏิบัติการ ที่สำคัญผู้นำสันติวิธีไปใช้ควรตั้งมั่นและเชื่อมั่นว่าจะยืนหยัดปฏิบัติการโดยไม่ใช้ความรุนแรง

 

ติดตามอ่านตอนที่ 3  ได้ในวันพุธหน้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >