หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 198 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สารวันสิทธิฯ วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2545 "ยุุติความรุนแรงในครอบครัว" พิมพ์
Friday, 19 May 2006

  

"ยุติความรุนแรงในครอบครัว"
สารเนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนในพระศาสนจักรไทย
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2545


เจริญพรมายังพี่น้องที่รักทุกท่าน…

ชีวิตครอบครัว เป็นสิ่งที่พระศาสนาจักรถือว่าสูงค่ายิ่ง เป็นสิ่งซึ่งได้รับพระพรพิเศษของพระผู้เป็นเจ้าจากศีลกล่าว อันเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ที่คู่แต่งงานได้ให้คำปฏิญาณต่อกันว่าจะร่วมทุกข์ร่วมสุขเป็นครอบครัวเดียวกันตลอดไป คำปฏิญาณนี้รวมไปถึงการทำนุบำรุงครอบครัวและหน่อเนื้อเชื้อไขที่จะเกิดมาด้วยความรัก ความเสียสละ ด้วยการอุทิศชีวิตให้แก่กันด้วยความเข้าใจและรับใช้ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าศีลกล่าวจะทำให้ชีวิตการอยู่ร่วมกันของครอบครัวเป็นเรื่องง่ายและราบรื่นเสมอไป แต่ศีลกล่าวเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความช่วยเหลือของพระผู้เป็นเจ้าที่จะมาสู่คู่สามีภรรยา เป็นกำลังใจให้สามารถเอาชนะอุปสรรค ความยากลำบากต่างๆ เมื่อพวกเขามีความพยายามและตั้งใจจริงที่จะอุทิศตัวเพื่อสร้างครอบครัวของพวกเขาให้เป็นครอบครัวศักดิ์สิทธิ์

ครอบครัว แม้เป็นเพียงหน่วยเล็กๆ แต่ก็เป็นสถาบันที่สำคัญยิ่งต่อความสงบสุขของสังคมโดยรวม ซึ่งถ้าหน่วยเล็กๆของสังคมเหล่านี้มีความสุข ก็จะทำให้สังคมมีความสุขไปด้วย นอกจากนั้นครอบครัวที่อบอุ่น ยังเป็นที่อบรมบ่มเพาะสมาชิกของสังคมให้เป็นผู้มีคุณธรรม สร้างสรรค์สังคม ไม่ก่อปัญหา หรือนำความเลวร้ายต่างๆ มาสู่สังคมที่เขาอยู่

ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของชีวิตครอบครัว พระศาสนจักรจึงเฝ้ามองปรากฏการณ์ความรุนแรงหลายรูปแบบที่กำลังเกิดขึ้นกับครอบครัวในปัจจุบัน ด้วยความห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง เช่น ปัญหาเรื่องการทำแท้ง ที่มีมากขึ้น จนถึงขั้นมีการพิจารณากันว่าควรจะแก้ไขกฎหมายให้มีช่องทางทำแท้งได้โดยเสรีหรือไม่? ปัญหาเรื่องยาเสพติด ในหมู่วัยรุ่น ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า มีสาเหตุมาจากการแตกสลายของครอบครัว ข่าวเรื่อง ‘เด็ก’ ถูกทำร้าย อย่างทารุณ โดยพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในครอบครัว บ่อยครั้งถึงแก่ชีวิต ก็มีให้เห็นอยู่เนืองๆ และยังมีความรุนแรงอีกมากมายหลายรูปแบบ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงเหล่านี้ ล้วนคือผู้ที่อ่อนแอกว่าในครอบครัว โดยทั่วไปจะเป็นผู้หญิงหรือเด็ก ซึ่งนอกจากจะถูกทำร้ายทารุณทางกายภาพแล้ว เหยื่อของความรุนแรงยังต้องดำรงชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัว แทนที่ครอบครัวจะเป็นที่แห่งความรักและให้ความอบอุ่นแก่ชีวิตและจิตใจ สำหรับพวกเขาครอบครัวกลับกลายเป็นที่แห่งความหวาดกลัว ปราศจากความปลอดภัยและยังอาจจะถูกทำร้ายอย่างทารุณได้ทุกเมื่อ
ความรุนแรงในครอบครัว ที่เกิดขึ้นนี้ มักจะถูกถือว่าเป็นเรื่องภายในของครอบครัว คนภายนอกจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดังนั้นเหยื่อของความรุนแรงจึงตกอยู่ในสภาวะแห่งความทุกข์ทรมานนี้ตลอดเวลา ที่น่าสลดใจก็คือ ความรุนแรงนี้ได้เกิดขึ้นใน ‘ครอบครัวคริสตชน’ ไม่น้อยกว่าที่อื่นๆ

ดังนั้น พระศาสนจักรจึงเรียกร้องให้คริสตชนตระหนักถึงความสำคัญของชีวิตครอบครัว พิจารณาถึงความศักดิ์สิทธิ์ของครอบครัว มีความเคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์ของสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาชิกที่อ่อนแอที่สุด และเนื่องจากครอบครัวเป็นชีวิตใหม่ที่เกิดจากการร่วมชีวิตของชายและหญิง ดังที่พระเยซูเจ้าทรงสอนว่า “แต่แรกเริ่มที่พระเจ้าทรงสร้า้งโลก พระเจ้าทรงสร้า้งมนุษย์เป็นชายและหญิง ด้วยเหตุนี้เองบุรุษจะละบิดามารดาไปอยู่กับภรรยา ทั้งสองจะเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้นเขาก็ไม่เป็นสองคนอีกต่อไป แต่จะเป็นเหมือนคนๆ เดียวกัน ในเมื่อพระเจ้าได้รวมเขาเข้าด้วยกันแล้ว มนุษย์ต้องไม่แตกแยกกัน” (มาระโก10:6-9) สมาชิกในครอบครัวจึงต้องเรียนรู้ถึงความรักของพระคริสตเจ้า ที่ทรงสอนให้เรารู้จักรักอย่างไม่เห็นแก่ตัว สมาชิกในครอบครัวจะต้องมีชีวิตอยู่เพื่อกันและกัน ไม่ใช่มีชีวิตอยู่เพื่อตนเองอีกต่อไป และให้ตระหนักว่า การทำร้ายสมาชิกในครอบครัวของตนก็คือ… การทำร้ายตนเอง

ครอบครัวของคริสตชน จะต้องเป็นแบบอย่างแห่งความรักและความสมานฉันท์แก่ครอบครัวอื่นๆในสังคม ภารกิจนี้เป็นหน้าที่อันสำคัญยิ่งของคริสตชน โดยเฉพาะในยุคสมัยปัจจุบันที่สถาบันครอบครัวในสังคมค่อยๆ ล่มสลายลงอย่างน่าเป็นห่วง ดังตัวอย่างปัญหาสังคมที่พ่อได้กล่าวมาแล้ว ภารกิจนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่เราต้องไม่ลืมว่าพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทานพระพรและความช่วยเหลืออันสำคัญนี้ให้กับครอบครัวคริสตชน แล้ว ในวันที่สามีภรรยาได้ให้คำปฏิญาณแก่กันและกัน ต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้าในวันที่รับศีลกล่าว ดังนั้น หากเพียงแต่ครอบครัวคริสตชนมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามคำปฏิญาณนั้น พระผู้เป็นเจ้าก็จะช่วยเหลืออย่างแน่นอน เพราะไม่มีอะไรที่จะยากเกินไปสำหรับพระองค์ และพระองค์สถิตอยู่กับเราเสมอ


ขอพระเยซูคริสตเจ้าอวยพรมายังพี่น้องและผู้มีน้ำใจดีทุกท่าน


ด้วยความรักในพระคริสตเจ้า


(มีคาแอลบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์)
พระสังฆราชสังฆมณฑลอุบลราชธานี
ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >