หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนสนทนา arrow กรณี 54 ศพ กับ การลักลอบค้ามนุษย์จากพม่า (ตอนที่ 2) โดย ศราวุฒิ ประทุมราช
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 41 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


กรณี 54 ศพ กับ การลักลอบค้ามนุษย์จากพม่า (ตอนที่ 2) โดย ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 16 July 2008

กรณี 54 ศพ กับ การลักลอบค้ามนุษย์จากพม่า (ตอนที่ 2)

โดย ศราวุฒิ ประทุมราช


ปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการจับกุมคนขับรถตู้คอนเทนเนอร์  ที่บรรทุกคนต่างชาติจากพม่า และผู้เกี่ยวข้องกับขบวนการค้าแรงงานพม่า อีกหลายคน แล้วถูกตั้งข้อหาว่าฆ่าคนตาย ตามที่ทราบกันแล้วนั้น ปัญหา คือว่า เมื่อจับกุมคนปลายแถวที่เกี่ยวข้องกับการค้าแรงงานได้เช่นกรณีนี้แล้ว จะสามารถสืบค้นไปถึงต้นธารของ ขบวนการได้อย่างไร เพราะยังคงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ต่อไปว่า การลักลอบนำคนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในประเทศไทยนั้น มีมานานแล้ว แต่กรณีนี้ เป็นอุทาหรณ์ ว่ามีการแออัดยัดเยียดกัน จนขาดอากาศหายใจ ทำให้เสียชีวิต ซึ่งหากไม่มีการเสียชีวิตของคนงานแล้ว คงไม่เป็นข่าวใหญ่โต เป็นที่สนใจของคนทั่วโลก
           

สิ่งที่ต้องพิจารณา สำหรับ กรณีนี้ คือ เราจะสามารถจัดการขบวนการนายหน้าค้าแรงงาน ในข้อหาว่า เป็นการค้ามนุษย์ได้หรือไม่ กรณีเช่นนี้ ควรมีใครบ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบ  

ประเด็นแรก กรณีนี้ ถือเป็นการค้ามนุษย์หรือไม่ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้อีก 120 วันข้างหน้า คือ ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2551เป็นต้นไป นั้น ให้คำจำกัดความของการค้ามนุษย์ไว้ ตามาตรา 6 คือ การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ด้วยประการใดประการหนึ่ง คือ

(1)    เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยัง ที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับบุคคลใดไว้ โดยข่มขู่ ...

(2)    เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยัง ที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับเด็กไว้

การพาบุคคลใด มาจาก หรือส่งไปยัง ที่ใด น่าจะเข้าข่ายเป็นความผิดตาม (1) นี้ สำหรับคนรับจ้างขับรถ พาคนงานมาจากระนอง เพื่อส่งต่อไปยังภูเก็ต และ มาตรา 4 ของพรบ.ฉบับนี้ ได้มีการให้ความหมายของคำว่า การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก ... การเอาคนลงเป็นทาส การนำคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงาน หรือบริการ หรือการอื่นที่คล้ายคลึงกัน อันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ ...

การตีความตามความหมายนี้ ถ้าอ่านดูตามตัวอักษร และเนื่องจากกฎหมายนี้ เป็นกฎหมายอาญา นักกฎหมายโดยทั่วไปบอกว่า ต้องตีความโดยเคร่งครัด ก็จะเห็นว่า ไม่น่าจะมีข้อความใดที่จะเอาผิด คนขับรถบรรทุกได้ เพราะ ไม่ใช่เป็นการหาประโยชน์จากการค้าประเวณี หรือนำคนมาเป็นขอทาน  หรือ เป็นการบังคับใช้แรงงาน เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่า ในหมู่คนที่รอดชีวิต หรือแม้แต่คนที่ตายไปในจำนวน 54 คนนั้น มีผู้ยืนยันว่า จะถูกนำตัวมาเพื่อการประเวณี หรือ ถูกหลอกมาค้าแรงงาน หรือ ถูกนำตัวมาเป็นขอทาน           

ซึ่งเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยาก และมีกระบวนการที่ต้องกักตัว ผู้รอดชีวิต ไว้เป็นพยานในการดำเนินคดี ซึ่งหมายความว่า ต้องมีการดูแลคนที่เหลือ ในการกิน การอยู่ ห้ามมีการส่งกลับ หรือหากจะส่งกลับ ต้องมีการสอบสวน หรือ มีการให้ปากคำต่อศาลไว้ในฐานะเป็นพยาน หรือเป็นผู้เสียหาย ฯลฯ           

ถ้ามีการนำกฎหมายฉบับนี้มาใช้บังคับ  ไม่น่าจะต้องมีการตีความอย่างแคบๆ ตามหลักกฎหมายอาญา โดยทั่วไป  แต่ต้องตีความอย่างกว้าง เพราะปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่ง คือ  กฎหมายที่มีลักษณะคุ้มครอง ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ต้องตีความเพื่อให้บังคับใช้ได้ อย่างกว้างขวาง ครอบคลุมทุกกรณี ที่เข้าข่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังกรณีของ ความผิดเรื่องการค้ามนุษย์นั้น ต้องตีความว่า การเอาคนเป็นสินค้า นั้นเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งคือ การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ผู้กระทำการค้าคน หรือส่งเสริมให้มีการนำคนมาเป็นสินค้า หรือ อยู่ในกระบวนการนำคนมาเป็นสินค้า ล้วนต้องอยู่ในความหมายของการค้ามนุษย์ ทั้งสิ้น 

แต่นักกฎหมายส่วนใหญ่ ไม่ใช่นักสิทธิมนุษยชน จึงตีความเพื่อการบังคับใช้กฎหมาย โดยใช้หลักการตีความทั่วไปของคดีอาญา  ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่อีกประเด็นหนึ่ง ที่ต้องการการพัฒนาอย่างเร่งด่วน และอาจเป็นสิ่งที่จะนำเสนอความเห็น ในโอกาสต่อไป 

จึงเห็นได้ว่ากฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของเรา ยังค่อนข้างเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับได้ยาก  

ประเด็นที่สอง กรณีเช่นนี้ ควรมีใครบ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบ จะเห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามรวบรวมหลักฐาน ให้มาก ว่าใครบ้างเกี่ยวข้องกับขบวนการค้าแรงงานข้ามชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ก็ ได้รับมอบหมายให้ติดตามคดีนี้อย่างใกล้ชิด จึงพอมองเห็นเจ้าภาพของการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรม ส่วนแรก ซึ่งในกระบวนการยุติธรรมนั้น นอกจากฝ่ายเจ้าหน้าที่สอบสวน สืบสวน แล้ว การรวบรวมพยานหลักฐานโดยพนักงาน อัยการ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ และรวมไปถึง การพิพากษาของศาล ว่าจะลงโทษบุคคลที่ถูกฟ้องนั้น หรือไม่ ถ้าพบว่ากระทำความผิดจริง หรือ จะปล่อยตัวไป ถ้า ไม่พบความผิด หรือพยานหลักฐาน ไม่เพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้  

ส่วนของกระบวนการยุติธรรมก็มีตัวละคร มากมายที่ต้องเอาจริงเอาจัง ต่อคดี เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ซึ่งยังไม่ขอลงรายละเอียด   

แต่สิ่งที่ผมเป็นห่วงนั้น ไม่ใช่ประเด็นต่อกระบวนการยุติธรรม เสียทีเดียว เพราะ การค้ามนุษย์ เป็นเรื่องใหญ่ ที่กระทบกระเทือนผลประโยชน์มากมาย จากผู้ลงทุน ที่ต้องการได้ประโยชน์จากหยาดเหงื่อ แรงกายของเพื่อนมนุษย์ และเป็นประเด็นที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต ของผู้สืบสวน สอบสวน เป็นอย่างยิ่ง จึงต้องการเห็นรัฐบาล เอาจริงเอาจังและละเอียดอ่อนกับการป้องกันและแก้ไข เพื่อแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ หากรัฐไม่มีนโยบายที่ชัดเจนแล้ว สังคมไทย ก็คงไม่แคล้วที่จะตั้งคำถามว่า ที่รัฐบาลไม่กล้าแตะต้อง ผู้ค้ามนุษย์ หรือขบวนการค้ามนุษย์ นั้นเป็นเพราะมีคนในรัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการนี้ด้วย อย่างนั้นหรือ

Image

Imageกลับไปอ่านตอนที่ 1 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >