หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนสนทนา arrow กรณี 54 ศพ กับ การลักลอบค้ามนุษย์จากพม่า โดย ศราวุฒิ ประทุมราช
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 77 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


กรณี 54 ศพ กับ การลักลอบค้ามนุษย์จากพม่า โดย ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 09 July 2008

กรณี 54 ศพ กับ การลักลอบค้ามนุษย์จากพม่า (ตอนที่ 1)

โดย ศราวุฒิ ประทุมราช


แรงงานข้ามชาติจากพม่า ลาว กัมพูชาและประเทศเพื่อนบ้านอื่น ที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย คือ เพื่อนมนุษย์ที่ช่วยเหลือการทำกิจกรรมชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะชาวพม่านั้น เป็นแรงงานสำคัญในกิจการหลายๆอย่าง เช่น  ในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ๆ จะมีผู้เข้ามาทำหน้าที่แม่บ้าน เลี้ยงเด็ก ส่วนในทางธุรกิจ นั้นที่สำคัญก็เช่น  กิจการประมงทะเลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับอาหารทะเล เกษตรกรรม ก่อสร้าง เพื่อนมนุษย์เหล่านี้ ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ซึ่งได้จัดสัมมนาเมื่อ ที่ 22-23 มีนาคม 2551 รายงานว่า ในปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติอย่างน้อย 2 ล้านคน ที่ทำงานประเภทที่เสี่ยงอันตราย สกปรก และแสนลำบาก แลกกับค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ชีวิตของพวกเขาจะต้องอยู่ท่ามกลางความหวาดกลัวที่จะถูกส่งกลับอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องเผชิญกับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เนื่องจากสถานภาพที่ผิดกฎหมาย กับสภาพการทำงานที่ไม่ได้มาตรฐานและไร้ซึ่งกลไกที่จะคุ้มครองป้องกันตนเอง พบว่าความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆที่แรงงานข้ามชาติจะต้องเผชิญมี 8 เรื่องหลัก คือ (1) การถูกขูดรีดจากนายหน้าในระหว่างการขนย้ายแรงงานข้ามประเทศ (2) สภาพการทำงานที่เลวร้าย (3) การถูกทำร้ายร่างกายและล่วงละเมิดทางเพศ (4) ความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐ (5) ความเสี่ยงที่จะถูกขูดรีดจากตำรวจ ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการถูกจับ (6) ความเสี่ยงที่จะถูกจับกุมเนื่องมาจากการเดินทางข้ามเขตจังหวัด (7) ความเสี่ยงที่จะเผชิญกับการไม่มีบัตรแรงงานต่างด้าว (8) ความรุนแรงเชิงอคติทางชาติพันธุ์ (รายงานโดย อดิศร เกิดมงคลและคณะ) 

กล่าวโดยเฉพาะการมีอคติทางชาติพันธุ์นั้น สื่อหลายสำนักได้ตอกย้ำมายาภาพให้เห็นว่า แรงงานข้ามชาตินำโรคร้ายกลับมาสู่สังคมไทย และเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ แม้แต่นักการเมืองอดีตรองนายกรัฐมนตรี นายสุวัตน์ ลิปตพัลลพ ยังเคยให้สัมภาษณ์ว่า แรงงานพม่าจำนวน 1 ล้านคน หากหยิบมีดคนละ 1 เล่ม ขึ้นมาประหัตประหารคนไทย อะไรจะเกิดขึ้น

มายาคติอีกประเด็น ก็คือ เมื่อเจ็บไขได้ป่วย แรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ก็ไปรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐ เป็นการนำภาษีของคนไทยไปใช้รักษาพวกนอกกฎหมาย ฯลฯ

ข้อเท็จจริงต่อกรณีนี้ ก็คือ การป้องกันโรคร้าย หรือโรคระบาด เป็นหน้าที่ของรัฐและระหว่างรัฐในการคุ้มครองประชาชนของตน และบุคลทุกคนที่อยู่ในรัฐนั้นๆ ลองเปรียบเทียบกับ ไข้หวัดนกซิครับ ประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา ต่างต้องร่วมมือกันในการ กำจัด การแพร่ระบาดของโรคนี้ เป็นหน้าที่ของรัฐทุกรัฐ แล้วทำไมจึงมาเหมารวมว่า เป็นเพราะแรงงาข้ามชาติเป็นพาหะของการแพร่เชื้อโรค รัฐต่างหากที่เป็นผู้ต้องป้องกัน ไม่ใช่ว่าเมื่อมีโรคระบาดแล้วจะต้องไล่คนที่คิดว่าน่าสงสัยออกนอกประเทศ มิเช่นนั้น คงต้องขับไล่นักท่องเที่ยวชาย ทุกคนออกนอกประเทศ เพราะน่าสงสัยว่านักท่องเที่ยวทุกคน เป็นพาหะนำโรคเอดส์ เข้ามาในประเทศ

ส่วนเรื่องการใช้ภาษีของคนไทยในการรักษาคนงานข้ามชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมายนั้น ข้อเท็จจริงก็คือ แรงงานข้ามชาติที่รัฐบังคบให้จดทะเบียนปีต่อปีนั้น นายจ้างต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการตรวจโรค ค่าประกันความเสียหาย ค่าทำบัตรอนุญาตทำงานแรงงาน รวมแล้วเป็นเงิน  3,800 บาท ต่อคน และนายจ้างจะเป็นผู้หักเงินจำนวนนี้ จากลูกจ้างในแต่ละเดือน จนครบจำนวนที่นายจ้างได้จ่ายให้แก่ทางการไป เงินที่นายจ้างจ่ายไปนี้ เป็นค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลที่ร่วมโครงการต่างๆ จะได้รับไปจากรัฐ ในอัตราหัวละ 900 บาท ต่อปี ซึ่งในแต่ละปีแรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมายมาเข้ารับการรักษาน้อยมาก จนบางโรงพยาบาลสามารถนำเงินจำนวนนี้ มารักษาคนไทยที่ไม่มีเงิน รวมทั้งแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานได้ด้วย ซึ่งหมายความว่า ค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยนั้น แรงงานข้ามชาติไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินของไทยเลยสักนิด 

นอกจากการต้องเผชิญหน้ากับการชิงชังทางเชื้อชาติแล้ว เมื่อมาอยู่ในประเทศไทยยังต้องการเผชิญกับความเสี่ยง ทั้งจากการเอารัดเอาเปรียบทางเพศ การละเมิดสิทธิมนุษยชน กระบวนการขูดรีดในกระบวนการค้ามนุษย์ ทำให้แรงงานข้ามชาติต้องพยายามช่วยเหลือตนเองให้ผ่านภาวะดังกล่าวไปให้ได้ ถามว่าคนเหล่านี้เป็นเพื่อร่วมเกิดแก่เจ็บตาย ในฐานะมนุษย์เหมือนเราคนไทยด้วยหรือไม่

ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การที่แรงงานข้ามชาติมักจะเล่าถึงการได้ทำงาน การได้ส่งเงินกลับบ้าน การกระทำตนเป็นแรงงานที่ดีที่ตรงกับความต้องการของนายจ้าง การนำเสนอความเป็นลูกจ้างที่ดีของนายจ้าง การเป็นลูกที่ดีของครอบครัวที่ยังใช้ชีวิตอยู่ในประเทศพม่า การเป็นตัวจักรหรือกลไกขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยที่สำคัญ การนำเสนอเหล่านี้เองที่นำมาซึ่งความมั่นคงปลอดภัยทั้งทางกายภาพและทางจิตใจให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ในประเทศไทยได้อย่างเป็นสุข   

นอกจากนั้นการที่แรงงานข้ามชาติได้นำเสนอวัฒนธรรมประเพณีของตนที่มีรากเหง้า มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงหรือเหมือนกับชุมชนไทย เช่น ชุมชนมอญในแถบจังหวัดภาคกลาง กลุ่มกะเหรี่ยงหรือกลุ่มไทยใหญ่ในแถบจังหวัดภาคเหนือ จะสามารถก่อให้เกิดความรู้สึกที่เป็นพวกเดียวกันหรือเหมือนกันได้ เพื่อสร้างให้เกิดการยอมรับในการมีตัวตนและดำรงชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆ

นี่คือส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์ที่เราท่านมสามารถจับต้องได้ แต่แรงงานพม่าหรือแรงงานข้ามชาติยังไม่พ้นพงหนาม ต้องเผชิญกับนโยบายของไทยที่ซับซ้อน เช่น ยังมีนโยบาย/กฎหมาย/กฎระเบียบหลายประการที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานด้านแรงงานข้ามชาติ หลายประการ เช่น  พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 88 ที่กำหนดคุณสมบัติลูกจ้างผู้มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ ต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น กฎกระทรวงฉบับที่ 9 ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่มิให้บังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กับนายจ้างซึ่งลูกจ้างทำงานเกษตรกรรม กฎกระทรวงฉบับที่ 10 ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่คุ้มครองแรงงานประมงทะเลที่มีจำนวนลูกจ้างน้อยกว่า 20 คน และเรือประมงที่ไปดำเนินการประจำอยู่นอกราชอาณาจักรติดต่อกันแต่หนึ่งปีขึ้นไป ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเรื่องประเภทขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ที่ยกเว้นกิจการบางกิจการที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสบทบ เช่น กิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ การค้าเร่ แผงลอย ทำงานบ้าน ทำให้แรงงานข้ามชาติไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในกองทุนเงินทดแทนได้  หนังสือเวียนสำนักงานประกันสังคม ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2544 เรื่อง การให้ความคุ้มครองแรงงานต่างด้าวที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน โดยกำหนดให้แรงงานต่างด้าวต้องมีหนังสือเดินทาง ต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนเงินทดแทนเท่านั้น เป็นต้น

ในด้านฝ่ายบริหารนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่มีแรงงานต่างชาติทำงานอยู่ได้ออกมาตรการควบคุมแรงงานข้ามชาติ ดัง ประกาศจังหวัด ระนอง ระยอง พังงา ภูเก็ต ที่กำหนดมาตรการเพื่อจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิและเสรีภาพของแรงงานข้ามชาติ เช่น ให้นายจ้างควบคุมดูแลมิให้แรงงานและผู้ติดตามออกนอกสถานที่พักอาศัย ตั้งแต่เวลา 20.00-06.00 น. การห้ามมิให้แรงงานใช้โทรศัพท์มือถือ การห้ามมิให้แรงงานชุมนุมนอกที่พักอาศัยตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

ด้านแนวนโยบาย ได้แก่ นโยบายผลักดันแรงงานข้ามชาติซึ่งตั้งครรภ์กลับประเทศต้นทาง , จดหมายเวียนของผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ที่กำชับให้แรงงานจังหวัดและสถานประกอบการทุกแห่งควบคุมดูแลแรงงานต่างด้าวอย่างเคร่งครัด และไม่สนับสนุนให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีของคนต่างด้าว, แนวนโยบายห้ามไม่ให้แรงงานทำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์

แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายหรือแนวนโยบายที่เป็นอุปสรรคต่อแรงงานข้ามชาติ ก็ยังมีนโยบาย กฎระเบียบบางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อแรงงานข้ามชาติเช่นเดียวกัน ได้แก่ ปฏิญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานและปฏิญญาต่อเนื่อง ซึ่งกำหนดรับรองสิทธิ และเสรีภาพแรงงาน ดังต่อไปนี้ เสรีภาพในการสมาคมและการรับรองที่มีผลจริงจังสำหรับสิทธิในการเจรจาต่อรอง, การขจัดการเกณฑ์แรงงานและการบังคับใช้แรงงานในทุกรูปแบบ, การขจัดการเลือกปฏิบัติในด้านการมีงานทำและการประกอบอาชีพ, การยกเลิกอย่างได้ผลต่อการใช้แรงงานเด็ก

รวมทั้งยังมีสนธิสัญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศต่างๆ ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยการเกณฑ์แรงงาน (ฉบับที่ 29) ค.ศ. 1930 , อนุสัญญาว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่ากัน (ฉบับที่ 100) ค.ศ. 1951, อนุสัญญาว่าด้วยการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันในเรื่องค่าทดแทนกรณีเกิดอุบัติเหตุ (ฉบับที่ 19) ค.ศ.1925, อนุสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการจัดตั้ง (ฉบับที่ 87) ค.ศ. 1948, อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิในการจัดตั้งและการเจรจาต่อรองร่วม (ฉบับที่ 98) ค.ศ. 1949 และอนุสัญญาว่าด้วยการยกเลิกแรงงานบังคับ (ฉบับที่ 105) ค.ศ. 1957

นี่เป็นเหรียญ 2 ด้าน สำหรับชะตากรรมของแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาในเมืองไทย ซึ่งวิธีการและรูปแบบของการถูกเอารัดเอาเปรียบนั้น ไม่ต่างไปจากคนไทยที่ไปทำงานที่ญี่ปุ่น ไต้หวัน หรือในยุโรป และประเทศในตะวันออกกลาง และยิ่งมีกรณีการลักลอบนำคนต่างชาติเข้ามาเป็นแรงงานในประเทศด้วยแล้ว ยิ่งเป็นปัญหาอีกระดับหนึ่งที่รัฐทุกรัฐ ยังไม่สามารถหาทางออกได้

การตายของแรงงานข้ามชาติชาวพม่า 54 ศพ เมื่อ 11 เมษายน ที่ผ่านมายังคงเป็นตัวอย่างหนึ่งว่า การค้ามนุษย์นั้นมีจริง ซึ่งคงต้องยกยอดไปว่ากันในฉบับต่อไป โปรดติดตามครับ

Image

Image ติดตามอ่านตอนที่ 2 สัปดาห์ หน้าค่ะ

(มีทั้งหมด 2 ตอน)

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >