หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนสนทนา arrow ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของชนเผ่าพื้นเมือง โดยศราวุฒิ ประทุมราช
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 72 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของชนเผ่าพื้นเมือง โดยศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 02 July 2008


ภาพจาก www.chiangmainews.co.th

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของชนเผ่าพื้นเมือง

โดยศราวุฒิ ประทุมราช


เมื่อปี 2548 ผมมีโอกาสได้การเขียนและเรียบเรียงหนังสือให้แก่สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมชาวเขาในประเทศไทย หรือ IMPECT ในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับชนชาวเขา ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือ การได้ศึกษาระบบของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่า และชนพื้นเมืองทั่วโลก เชื่อหรือไม่ครับ ว่าสหประชาชาติได้เริ่มให้ความสนใจประเด็นชนเผ่ามาตั้งแต่ปี 2509 เมื่อเริ่มประกาศกติการะหว่างประเทศ 2 ฉบับ คือกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

จนมาถึงการประชุมระดับโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปี 2536 ซึ่งในช่วงเกือบ 30 ปีนี้เองได้มีการต่อสู้กันทางความคิดในเวทีสหประชาชาติ เพราะชนพื้นเมืองในประเทศเอกราชต่างได้รับการกดขี่ และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยประชาชนและรัฐในประเทศที่ชนพื้นเมืองอาศัย จึงเกิดขบวนการศึกษาของนักวิชาการและองค์กรของชนพื้นเมืองในระดับสากล เรียกร้องให้มีการใช้เวทีสหประชาชาติในการสร้างกฎหมายและมีกลไกภายใต้ระบบสหประชาชาติ ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชนแก่ชนพื้นเมือง และในที่สุดเมื่อสิ้นสุดการประชุมโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในปี 2536 ที่ประชุมโลก ได้มีการประกาศปฏิญญาเวียนนาและแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการ 3 ประเด็นใหญ่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิชนพื้นเมือง นั่นคือ การประกาศให้ ปี 2538 ถึง 2547 เป็นทศวรรษสากลชนพื้นเมืองโลกและ ให้จัดทำร่างปฏิญญาว่าด้วยสิทธิชนพื้นเมืองให้เสร็จสิ้นภายในทศวรรษดังกล่าว และสุดท้าย คือ การผลักดันให้มีการจัดตั้งเวทีถาวรเพื่อชนพื้นเมือง  หรือ (Permanent Forum on Indigenous Issues) ซึ่งเป็นผลสำเร็จในเดือนกรกฎาคม 2543

ก่อนที่จะไปไกลกว่านี้ ขอเล่าย้อนให้ฟังว่า ในโลกนี้เขามีชื่อเรียก ชนเผ่า หรือ ชนพื้นเมือง แตกต่างกัน ชนพื้นเมืองท้องถิ่น (Indigenous Peoples)หรือชนเผ่าพื้นเมือง(Tribal Peoples)นั้น มีผู้ให้นิยามไว้หลายความหมาย นายมาติเนส โคโบ ผู้รายงานพิเศษ ของคณะอนุกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันการเลือกปฏิบัติและการคุ้มครองชนกลุ่มน้อย ชนพื้นเมืองและชนชาติ ได้ให้คำนิยามว่า หมายถึง กลุ่มชนต่างๆที่อาศัยอยู่ในรัฐๆหนึ่งก่อนสมัยการล่าอาณานิคมจะเกิดขึ้น เป็นผู้รับช่วงและปฏิบัติตามวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีวิถีความเป็นอยู่สัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆและสัมพันธ์กับธรรมชาติ ชนเผ่าพื้นเมืองพยายามรักษาสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองของตนเองซึ่งแตกต่างจากสังคมส่วนใหญ่ที่ครอบงำชีวิตของพวกเขา ประมาณกันว่ามีชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลกกว่า 300 ล้านคนใน 70 ประเทศ ซึ่งชาวเขา ในบ้านเรานั้น อาจอยู่ในนิยามของความหมายนี้ ในความหมายอย่างกว้างๆนั่นคือ ชาวเขา คือ กลุ่มชนต่างๆ หรือชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในรัฐๆหนึ่งก่อนการตั้งขึ้นของรัฐเป็นประเทศ โดยมีอัตลักษณ์และวิถีความเป็นอยู่สัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆและสัมพันธ์กับธรรมชาติ

ทีนี้มาถึงประเด็นที่ต้องการนำเสนอในวันนี้ คือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งที่ประชุมโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อปี 2536 ได้ประกาศให้มีการรับรองร่างปฏิญญาฯฉบับดังกล่าว โดยเร็ว แต่ปรากฏว่าสมัชชาสหประชาชาติเพิ่งลงมติรับรองร่างดังกล่าวเมื่อ 13 กันยายน 2550 ที่ผ่านมานี้เอง โดยมีสมาชิกสหประชาชาติลงนามรับรองทั้งสิ้น 143 ประเทศและลงนามไม่รับรอง 4 ประเทศ งดออกเสียง 11 ประเทศ

ประเทศที่ไม่รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของชนเผ่าพื้นเมือง 4 ประเทศนั้นได้แก่ สหรัฐอมริกา (อภิมหาอมตะนิรันดร์กาลของประเทศที่ไม่เคยลงนาม กติกาสำคัญๆเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน)นิวซีแลนด์ ออสเตรเลียและแคนาดา ทั้ง 4 ประเทศดังกล่าวล้วนเป็นประเทศที่แย่งชิงดินแดนมาจากชนพื้นเมืองทั้งสิ้น

แต่เป็นที่น่ายินดี ที่รัฐบาลไทยสมัยนายกทักษิณ ได้ลงนามเห็นด้วยให้รับรองปฏิญญาฯฉบับนี้ก่อนการถูกยึดอำนาจเพียงไม่กี่วัน ซึ่งคอลัมน์นี้ขอแสดงความชื่นชมและปรบมือให้ด้วยความจริงใจ 

เนื้อหาของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของชนเผ่าพื้นเมือง กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนที่สำคัญของชนเผ่า นั่นคือ สิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง หรือ Self-determination ซึ่งถือเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ ที่ทำให้ชนเผ่าพื้นเมืองสามารถดำรงอัตลักษณ์ของตนเองและสามารถจัดการทรัพยากรธรรมชาติและเลือกวิถีทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมได้ด้วยตนเอง  

ปฏิญญาฯนี้ยังเน้นถึงข้อกำหนดสำคัญประการต่อมา ก็คือ ชนเผ่าพื้นเมืองต้องได้รับการปรึกษาหารือ มีส่วนร่วมและให้ความยินยอม ก่อนที่จะมีการดำเนินกิจกรรมใดที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชนเผ่า ต่อชุมชนชนเผ่า ต่อทรัพย์สิน ทรัพยากร หรือดินแดนของชนเผ่า ทั้งยังได้กำหนดให้ต้องได้รับค่าชดเชย เยียวยาที่พอเพียงถ้าสิทธิเหล่านี้ถูกละเมิด ที่สำคัญปฏิญญาฯนี้รับรองว่าจะกระทำทุกวิถีทางที่จะต่อต้านการล้างเผ่าพันธุ์ ให้ได้  

ที่จริงสิทธิเหล่านี้ โดยเฉพาะสิทธิในการต้องมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและให้ความยินยอมในกิจการใดที่ส่งผลกระทบต่อชนเผ่า นั้น ทำให้คิดถึงรัฐธรรมนูญของเรา ปี 2540 เสียนี่กระไร เพราะมีบทบัญญัติคล้ายคลึงกันในมาตรา 46 และ 56 เสียเหลือเกิน 

ก็ขอแสดงความยินดีต่อชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลกที่ มีกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศรองรับสิทธิมนุษยชนของท่านทั้งหลาย เพราะแม้ว่าจะไม่มีปฏิญญาฯฉบับนี้ ท่านทุกคนก็คือมนุษย์ ที่ต้องได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล อยู่นั่นเอง แต่เมื่อมีปฏิญญาฯนี้รับรองอีกชั้นหนึ่ง ท่านก็สามารถใช้อ้างเป็นไม้กันผี ได้อีก ยินดีด้วยครับ

 


 จากคอลัมน์สิทธิสากลสิทธิชนเผ่า บทความเรื่อง ยูเอ็นรับรองปฏิญญาสากลฉบับใหม่ จดหมายข่าวเสียงชนเผ่า ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กันยายน-ตุลาคม 2550 หน้า 7

 อ้างแล้ว หน้า 9

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >