หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนสนทนา arrow เสรีภาพของสื่อมวลชนเอเชีย ในรอบปี 2550 (ตอนจบ) โดย ศราวุฒิ ประทุมราช
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 69 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


เสรีภาพของสื่อมวลชนเอเชีย ในรอบปี 2550 (ตอนจบ) โดย ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 25 June 2008

  

เสรีภาพของสื่อมวลชนเอเชีย ในรอบปี 2550 (จบ)

โดย ศราวุฒิ ประทุมราช


ในตอนท้าย ขอรายงานอีก 2 ประเทศในอาเซียน คือ สิงคโปร์และเวียดนาม โดยขอไม่กล่าวถึงประเทศไทย และในรายงานไม่ได้กล่าวถึงประเทศบรูไน และ ผมขออนุญาตไม่กล่าวถึงประเทศในเอเชียเหนือ คือ เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศในเอเชียใต้ 3 ประเทศ คือ ศรีลังกา ปากีสถานและอินเดีย เนื่องจากเนื้อที่จำกัด

7. สิงคโปร์  ประเทศสิงคโปร์ที่แยกตัวออกมาจากมาเลเซียนั้น มีความขึ้นชื่อในเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพราะสมัยนายคลินตันเป็นประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกานั้น นายลีกวน ยู เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยว่าตนเองมีรายได้ปีละ กว่าล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่านายคลินตันเสียอีก แต่สิงคโปร์กลับติดลบในเรื่องสิทธิมนุษยชน ไม่ส่งเสริมประชาธิปไตย และขัดขวาง ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน รัฐบาลตั้งแต่สมัยนาย ลีกวนยู ไม่ยินยอมให้สื่อมวลชน วิพากย์วิจารณ์รัฐได้ ส่งผลมาถึงนาย ลี เซียงลุง ผู้ลูกนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ก็เจริญรอยตามมรดกเผด็จการพลเรือน รายสุดท้ายในเอเชีย หรืออาจจะเป็นในโลกก็ว่าได้ ซึ่งประเทศไทยเพิ่งผ่านพ้นการเมืองในระบอบเผด็จการพลเรือนไปเมื่อไม่นานนี้

สิงคโปร์ได้ห้ามจำหน่ายหนังสือพิมพ์ ฟา อีสเทิร์น อีโคโนมิก รีวิว มาตั้งแต่ ปี 2549 แต่ยอมให้มีการเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ทได้ นอกจากนี้นายลีเซียงลุงและ พ่อของเขา ยังได้ฟ้องร้องนักการเมืองฝ่ายค้าน คือ  ฉีซุนจวง ในเรื่องหมิ่นประมาทหลายข้อหาด้วย

พรรคการเมืองฝ่ายค้านนั้น มีโอกาสน้อยมากในการได้รับการเผยแพร่ความคิดเห็นในสื่อมวลชน สิงคโปร์ นอกจากสื่อสารผ่านสื่ออีเล็กโทรนิกส์ 

ในเดือนเมษายน 2550 รัฐบาลได้ออกประกาศเตือนว่าใครก็ตามที่มีไว้ในครอบครองหรือเผยแพร่หนังสารคดีเรื่อง “17 ปี ของซาฮารี จะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับในอัตราสูง สารคดีดังกล่าวเป็นเรื่องราวของนักการเมืองฝ่ายค้านและเป็นผู้สื่อข่าวคนหนึ่ง ในเรื่องชื่อ  ซาอิด ซาฮารี ที่จำคุก 17 ปี ซึ่งนำมาจากเรื่องจริงของอดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ อูตูซาน เมลายูถูกรัฐบาลในสมัยปี 1963 ลงโทษ โดยใช้กฎหมายความมั่นคงภายใน เมื่อ ผู้สร้างหนังเรื่องนี้ได้ถูกสั่งให้ส่งมอบฟิล์มหรือสำเนาของเรื่องดังกล่าวต่อกระทรวงข้อมูลข่าวสาร การติดต่อสื่อสารและศิลปะ ต่อมารัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสารฯได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า หนังเรื่องนี้ได้ทำการข่มขู่รัฐด้วยการ เปิดเผยความลับของรัฐต่อสาธารณะ

8. เวียดนาม  ระบอบการปกครองแบบเผด็จการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ โดยพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามนี้ เป็นอุปสรรคต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลเผด็จการทหารของเวียดนามใช้ทั้งกฎหมาย ใช้ทั้งรูปแบบศาลประชาชน ในการข่มขู่มิให้ผู้ใดแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐ เช่น ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550  ในบางเมือง มีผู้มาใช้สิทธิเกือบ 100 %  เช่น ที่เมืองโฮจิมิน ซิตี้ ซึ่งไม่มีนักการเมืองอิสระผู้ใดได้รับเลือก สื่อมวลชนถูกบังคับให้รายงานข่าวนี้ด้วยความตื่นเต้น ซึ่งคนทั่วไปทราบดีว่า  เป็นการเลือกตั้งที่รัฐบาลได้จัดฉากล่วงหน้าไว้แล้ว  

ประธานาธิบดี เหงียน มินห์ เตรียต เคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนตะวันตกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ว่า บางที พวกคุณ ไม่เข้าใจหรอกว่า เรารักประชาชนของเรามากเพียงใด และเรามีความรักในเรื่องสิทธิมนุษยชน ด้วย แต่ประชาชนคนใดกระทำผิดกฎหมาย ก็ต้องถูกลงโทษ  

สองสัปดาห์ก่อนหน้านี้บาทหลวง เหงียน วัน ไลน ผู้เผยแพร่หนังสือ ชื่อ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นหนังสือเผยแพร่ความเห็นตามแนวทางที่แตกต่างจากรัฐ ได้ถูกจับกุมและพิพากษาอย่างรวบรัดใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง ในข้อหา โฆษณาชวนเชื่อ ต่อต้านสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในขณะที่บาทหลวงไลน ถูกตัดสินจำคุก พร้อมเพื่อนร่วมงานอีก 4 คน ผู้จัดการหนังสือดังกล่าวซึ่งเป็นบาทหลวงเช่นกัน ได้ถูกกักบริเวณภายในบ้านพัก หนังสือฉบับนี้หาอ่านได้อย่างลับๆ ในเวียดนามและในต่างประเทศ  

การรื้อฟื้นศาลประชาชน ขึ้นมาก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่รัฐบาลเวียดนามยกขึ้นมาเพื่อข่มขวัญผู้คิดเห็นแตกต่างจากรัฐ เพราะประชาชนที่อยู่รอบๆศาลจะได้รับเชิญขึ้นมาวิจารณ์ผู้ถูกกล่าวหาว่าไม่ภักดีต่อพรรคหรือรัฐบาลและสามารถกล่าวประณามบุคคลที่ถูกนำตัวมาขึ้นศาลประชาชได้อย่างเปิดเผยเพสร้างความตื่นตระหนกให้แก่ผู้เป็นผู้ถูกกล่าวหา เช่น กรณี เหงียน นัก โตน ผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือที่คิดเห็นแตกต่างจากรัฐบาล ชื่อ ตู โด ด๋าน ชู (เสรีภาพและประชาธิปไตย) ได้รับการพิจารณาโดยศาลประชาชน ที่ฮานอยเมื่อเดือนสิงหาคม โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและสมาชิกพรรคการเมืองกลุ่มหนึ่งกล่าวหาว่า นายนัก โตน ปลุกปั่นยุยงให้ชาวนาเดินขบวน ในที่สุดศาลประชาชนตัดสินให้ ส่งเขาไปเข้ารับการ เข้าค่ายฝึกอบรมเพื่อจัดระบบการศึกษาใหม่  ทำนองเดียวกับการส่งผู้ต้องสงสัยว่าสนับสนุนการก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ของไทย เข้ารับการ ฝึกอบรมอาชีพ 4 เดือน แทนการถูกดำเนินคดี (ไม่รู้ว่าใครลอกเลียนใครระหว่างรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามและฝ่ายทหารของไทย) นอกจากนี้ยังมีการประกาศผ่านสื่อมวลชนของรัฐบาล ต่อต้านนายนักโตนว่า คือนักฉวยโอกาสที่ไม่มีค่าควรกล่าวถึง ก่อนหน้านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ มีกรณี นายเหงียน วัน ได ทนายความ คนหนึ่ง ก็ได้รับการพิจารณาในศาลนี้ ที่ ย่านบัช เคียว ในข้อหา ทรยศต่อชาติ ศาลพิพากษาให้ถอนใบอนุญาตว่าความ และปิดสำนักงานทนายความของเขา ซึ่งต่อมาในเดือนมีนาคมนายเหงียน วัน ได พร้อมเพื่อทนายความอีกคน ชื่อ เล ทิ คง หนาน ได้จัดทำบล็อก ชื่อ nguyenvandi.rsfblog.org ได้ถูกจับที่ฮานอย สื่อต่างประเทศได้เผยแพร่ข่าวนี้ทันที แต่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐได้เตือนญาติของคนทั้งสองว่า ห้ามให้ข่าวต่อสื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อต่างประเทศ ในที่สุดในเดือนพฤษภาคมทั้งสองถูกจำคุกคนละ 4 และ 5 ปี ภายใต้กฎหมายอาญามาตรา 88

ผู้สื่อข่าวสาวเกิดในเวียดนามสัญชาติฝรั่งเศส ชื่อ  เหงียน ทิ ทัน วัน ถูกนำตัวไปสอบสวนนานกว่า 3 สัปดาห์ ที่เรือนจำใน เมืองโฮจิมินห์  ก่อนได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ โดยสงสัยว่าจะเป็นผู้ก่อการร้าย โดยเธอเข้ามาในเวียดนามเพราะต้องการเปิดสถานีวิทยุ ชื่อ ชัน ทรอย มอย หรือ ขอบฟ้าใหม่ และต้องการสัมภาษณ์ผู้มีความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐ  ซึ่งสถานีวิทยุนี้ตั้งอยู่ใกล้ที่ทำการพรรคการเมืองฝ่ายค้าน เวียด ตัน

และเช่นเดียวกับสิงคโปร์ เวียดนามพยายามจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นผ่านอินเตอร์เน็ท ซึ่งมีรายงานว่ามีการจำคุกนักเคลื่อนไหวทางอินเตอร์เน็ทที่แสดงความเห็นแตกต่างจากรัฐถูกจำคุก 3 ถึง 5 ปี ซึ่งตั้งแต่เวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก ทำให้เวียดนามต้องติดต่อธุรกิจและเปิดประเทศทางการค้ามากขึ้น ทำให้โลกไซเบอร์และอินเตอร์เน็ทเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็เป็นช่องทางที่ทำให้ผู้มีความคิดเห็นต่างจากรัฐแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางนี้ไปยังชาวโลกได้ง่ายขึ้น  มีรายงานว่า ผู้ท่องโลกไซเบอร์ 8 คนถูกจำคุก เพราะได้ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นผ่าน อินเตอร์เน็ท ในเดือนกันยายนเจ้าหน้าที่ตำรวจและรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ได้สั่งปิดให้การให้บริการหนังสือพิมพ์ ออนไลน์ Intellasia.com ซึ่งดำเนินงานโดยชาวออสเตรเลีย ที่มีรายงานเกี่ยวกับข่าวสารทางด้านการเงิน การคลัง แต่มีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นประเด็นทางการเมืองเกี่ยวกับประเทศเวียดนาม

นี่คงเป็นเพียงตัวอย่าง หนึ่งในหลายประเด็นของการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ของประชาชนและสื่อมวลชน ในประเทศกลุ่มอาเซียน เราควรได้เรียนรู้จากเพื่อนบ้านเพื่อการสร้างความเข้าใจ ในมิตรประเทศ และ เข้าใจเรื่องของการอยู่ร่วมกันในภูมิภาคอย่างสงบ หากผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านอยู่กันอย่างหวาดกลัว ไม่กล้าแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา และเปิดเผย ได้แล้ว พวกเขาจะมีความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับความเป็นมนุษย์ได้อย่างไร

Image

Image กลับไปอ่าน ตอนที่ 1ตอนที่ 2 และ ตอนที่ 3

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >