หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 35 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


เสรีภาพของสื่อมวลชนเอเชีย ในรอบปี 2550 (ตอนที่ 3) โดย ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 18 June 2008

เสรีภาพของสื่อมวลชนเอเชีย ในรอบปี 2550 (ตอนที่ 3)

โดย ศราวุฒิ ประทุมราช


5. มาเลเซีย  เสรีภาพของสื่อมวลชนมาเลเซียค่อนข้างเลวร้ายที่สุด รองจากเวียดนามและลาว ในกลุ่มประเทศอาเซียน (ซึ่งหากรวม ประเทศทั้งหลายในเอเชียแล้ว คาดว่าคงอยู่ในระดับต้นๆ)ทั้งนี้องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ได้รายงานว่า ในมาเลเซีย สื่อมวลชนยังคงอยู่ในขั้นโคม่า ที่ถูกลิดรอน โดยรัฐบาลและโดยกลุ่มการเมืองที่มีชาวมาเลเซียเชื้อชาติอินเดียสนับสนุน ดังกรณี นายอาร์ ราหะมาน ช่างภาพสื่อมวลชนหนังสือพิมพ์ มาเลเซีย นานบัน ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาทมิฬ ที่เมือง โจฮอร์ บารู ทางตอนใต้ของมาเลเซีย ได้ถูกคนร้าย 2 คนเข้ามาทำร้ายร่างกายในสำนักงานได้รับบาดเจ็บสาหัส ถึงขั้นไม่รู้สึกตัว ต่อมาอีกสิบวัน นาย เอ็ม นาการาจัน เพื่อนนักข่าวร่วมสำนักงานได้รับโทรศัพท์ข่มขู่เอาชีวิต ว่า หากไม่อยากเป็นอย่างเพื่อนที่นอนไม่ฟื้นอยู่ในเวลานี้ ให้หยุดเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเงื่อนไขความยากจนในโรงเรียน ประเด็นที่เป็นปัญหาของการถูกขู่ฆ่าและทำร้ายสื่อมวลชนทั้งสองนี้ เนื่องมาจากการเขียนบทความท้าทายการบริหารงานในโรงเรียนชาวทมิฬ ซึ่งบริหารโดยผู้นำของสภามาเลเซีย อินเดียน (Malaysia Indian Congress)          

ในเดือนสิงหาคม หนังสือพิมพ์ภาษาทมิฬอีกฉบับหนึ่งชื่อ มักกาล โอซาย (Makkal Osai) ได้ถูกปิดลง 1 เดือน โดยสภามาเลเซีย อินเดียน เพราะได้ตีพิมพ์ภาพของพระเยซู ที่มือหนึ่งคีบบุหรี่ และมืออีกข้างถือกระป๋องเบียร์           

กลางเดือนพฤศจิกายน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคหนึ่ง ได้เข้าทำร้ายช่างภาพหนังสือพิมพ์ กวงหมิง รายวัน ที่กำลังถ่ายภาพของนายกรัฐมนตรี ที่กำลังกล่าวโจมตีพรรคฝ่ายค้าน ภายในที่ทำการของพรรครัฐบาล  ขณะเดียวกันในเดือนพฤศจิกายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคง ไออกมาเตือนสื่อมวลชนมิให้จัดอภิปรายในหัวข้อเกี่ยวกับ การเป็นรัฐอิสลาม เนื่องจากรองนายกรัฐมนตรี นาจีป ราซัก เคยออกมาให้สัมภาณ์ต่อข้อถกเถียงในเรื่องการเป็นรัฐอิสลามของมาเลเซีย

นอกจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ แล้ว สื่อประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อกระแสหลักในมาเลเซีย ก็ยังถูกคุกคามเช่นกัน รวมทั้ง สื่อมวลชนทางเลือกประเภท สื่ออีเล็กโทรนิกส์ เช่น ผู้จัดตั้งบล็อก ในเวปต่างๆ ก็พลอยถูกจำกัดเสรีภาพในการแสดงคามคิดเห็นไปด้วย โดยรัฐบาลมาเลเซียได้ออกหนังสือเตือนไปยังสื่อต่างๆเหล่านี้ ว่าอย่าให้เวลาในการออกอากาศแก่ผู้นำพรรคฝ่ายค้านให้มากนัก เพราะผู้จัดทำบล็อก มักเป็นผู้สนับสนุนนักการเมืองฝ่ายค้านเสมอๆ จนกระทั่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยเรียกผู้จัดทำบล็อกว่า พวกตอแหล           

ในเดือนกรกฎาคม รัฐมนตรีกระทรวงกฎหมาย นัสซารี อับดุล อาซีส ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลจะไม่ลังเลใจที่จะนำกฎหมายความมั่นคงภายใน มาใช้เพื่อลงโทษสื่อมวลชน รัฐบาลนี้ได้อดทนมามากพอแล้ว ซึ่งกฎหมายความมั่นคงภายในนี้ สามารถลงโทษจำคุกได้2 ปี โดยไม่ต้องนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ในข้อหา เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ           

เห็นหรือยังว่าเสรีภาพของสื่อมวลชนในมาเลเซียนั้น หนักหนาสาหัสกว่าในบ้านเรา เพราะบ้านเขา นักการเมืองหรือรัฐบาล ไม่ได้ออกมา ปะฉะดะสื่อ รายวัน แต่ของเขา ออกมา ข่มขู่สื่อ ด้วยกฎหมายและ ใช้ กฎหมู่ ซึ่งน่ากลัวและได้ผลชงัดนัก            

ตอนท้ายรายงานของมาเลเซีย องค์การสื่อมวลชนไร้พรมแดนได้ รายงานกรณี หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของคาทอลิก ที่ออกเป็นภาษามาเล ชื่อ เดอะเฮอรัลล์ ว่าถูกสั่งปิดชั่วคราว เพราะมีการใช้คำว่า อัลเลาะห์ โดยบราเดอร์ ออกุสติน จูเลียน ได้เขียนจดหมายวิจารณ์รัฐบาล ตอบโต้ที่สาเหตุที่รัฐมนตรีความมั่นคงออกคำสั่งปิดว่า  ที่สั่งปิดเพราะ แม้เราจะเคารพคัมภีร์ไบเบิ้ล แต่ในภาษามาเล คำว่า อัลเลาะห์ หมายถึงพระเจ้า โดยบราเดอร์จูเลียนก็ใช้ถ้อยคำเดียวกันนี้ และลงท้ายว่า ถ้ารัฐสับสนกับคำว่า อัลเลาะห์ เสียแล้ว คงต้องมีการให้การศึกษาแก่ชาวมุสลิมเสียใหม่ด้วย เนื่องจากชาวคริสต์และชาวมุสลิมต่างก็นับถือพระเจ้าเหมือนกัน ทำไมจึงใช้คำๆเดียวกันนี้ไม่ได้

6. ฟิลิปปินส์  ดูเหมือนว่าฟิลิปปินส์จะเป็นประเทศที่สื่อมวลชนมีเสรีภาพ มากที่สุดในเอเชีย ก็ว่าได้ เพราะเสรีภาพของสื่อมวลชนที่นี่ ถูกรบกวน หรือ จำกัด น้อยที่สุด เข้าใจว่าประเทศไทยก็คงไม่ต่างกันนัก สื่อมวลชนที่นี่จะมีปัญหา อยู่ 2 ประการ คือ การถูกข่มขู่หรือถูกลอบสังหาร และ การถูกฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาท           

วันที่ 17 เมษายน 2550 นายคาเมโล ปาลาซิออส ผู้สื่อข่าววิทยุสาธารณะ อัง บายัน ในจังหวัด นูอีวา อีไซจา ทางตอนเหนือของประเทศ ถูกลอบสังหาร ซึ่งเจ้าหน้าตำรวจที่เชื่อว่ามีสาเหตุมาจากการรายงานข่าวเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตและการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการเปิดโปงกลุ่มอาชญากรรม ในรายการวิทยุชื่อ จับจ้องมองอาชญากรรมโดยพลเมือง           

คืนวันที่ 24 ธันวาคม นายเฟอดินาน ลินทูอัน ผู้จัดรายการวิทยุ ในเมืองดาเวา ถูกคนร้าย 2 คน ขับขี่มอเตอร์ไซด์ เข้าประกบ ยิง ขณะที่นาย เฟอดินานกำลังขับรถยนต์ พร้อมเพื่อนอีก 2 คน  เสียชีวิตทันที สาเหตุมาจากการติดตามข่าวการคอรัปชั่นของผู้ว่าการเมืองดาเวา ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมอดีตทหารนายหนึ่ง ว่าเป็นผู้รับจ้างมาฆ๋านายเฟอดินาน           

มีรายงานว่า ผู้สื่อข่าว อีก 4 คน ถูกลอบสังหารในปี 2550 ซึ่งสงสัยว่า สาเหตุการตายมาจากการทำหน้าที่สื่อมวลชนหรือไม่ ไม่เว้นแม้แต่สื่อมวลชนในเมืองหลวง เช่น ในเดือนเมษายน นายเดลฟิน มัลลารี่ จากหนังสือพิมพ์รายวัน ฟิลิปปินส์ เดลี่ รีไควเรอร์ ถูกลอบสังหาร ทางตอนใต้ของเกาะลูซอน นายจอห์นนี่ โกรริโอโซ จากวิทยุ DZMM ทางตอนใต้กรุงมนิลา และมีรายงานอีกว่ามีผู้สื่อข่าวอย่างน้อย 10 คน ถูกลอบสังหารอันเนื่องมาจากการทำหน้าที่สื่อมวลชน         

ส่วนกรณีที่มีการฟ้องร้องผู้สื่อข่าวจนถึงขั้นถูกตัดสินจำคุกนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนักในฟิลิปปินส์ ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นประเทศที่สื่อมวลชนมีเสรีภาพมาก อันเป็นมรดกมาจากสหรัฐอเมริกา มหามิตรที่ยึดครองประเทศนี้ ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา แต่ก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นสวนกระแสดังกล่าว อย่างน้อย 3-4 ราย เช่น ต้นปี 2550 นายอเล็กซ์ อโดนีส ผู้ดำเนินรายการวิทยุจาก บอมโบ รอดโย ถูกตัดสินจำคุก 4 ปี 6 เดือน ในข้อหาหมิ่นประมาท สมาชิกรัฐสภา ปรอสเปโร โนกราเรส  ที่ใกล้ชิดประธานาธิบดี อาโรโย  ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเอเชีย นิวส์ เน็ทเวิร์ก ที่มีสำนักงานในกรุงเทพฯ ถูกจำคุกในเรือนจำเกซอน ในซีรี่ข่าวที่เขาเขียนเกี่ยวกับการคอรัปชั่น ในโครงการก๊าซธรรมชาติ คามาโก มาลามปายา  ที่เมือง ปาลาวัน            

เห็นท่าว่าคงต้องยกยอดไปพูดถึงเสรีภาพของสื่อมวลชนในประเทศอื่น ที่เหลือในฉบับต่อไป โปรดติดตาม

 

Image 

 

Image กลับไปอ่าน ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2

Image ติดตามอ่าน ตอนจบ สัปดาห์หน้าค่ะ

   

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >