หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนสนทนา arrow เสรีภาพของสื่อมวลชนเอเชีย ในรอบปี 2550 (ตอนที่ 2) โดย ศราวุฒิ ประทุมราช
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 42 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


เสรีภาพของสื่อมวลชนเอเชีย ในรอบปี 2550 (ตอนที่ 2) โดย ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 11 June 2008


เสรีภาพของสื่อมวลชนเอเชีย ในรอบปี 2550
(ตอนที่ 2)

ดย ศราวุฒิ ประทุมราช


3. อินโดนีเซีย  ประเทศใหญ่สุดในกลุ่มอาเซียนที่มีประชากรกว่า 200 ล้านคน ที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แม้จะได้รับการยกย่องว่าสื่อมวลชนที่นี่มีเสรีภาพค่อนข้างมาก แต่องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ก็ได้รายงานปัญหาใหญ่ 2 ประเด็น คือ การใช้กฎหมายอาญาลงโทษจำคุกสื่อมวลชนเพื่อให้หลาบจำหรือให้คิดใหม่ ในสิ่งที่คิดหรือเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาด และ การที่ฝ่ายทหารปกปิดผลการสอบสวนกรณีที่มีผู้สื่อข่าวถูกฆาตกรรมใน ติมอร์ เลสเต สมัยที่ยังเป็นอีส ติมอร์           

ในอินโดนีเซียปีที่แล้ว มีการลงโทษจำคุกนักข่าว 2 ราย คือ กรณี นายไรซัง บิมา วิชัย ถูกจำคุก 6 เดือน เมื่อวันที่ 9 กันยายน เพราะไปลงข่าวว่าผู้บริหารหนังสือพิมพ์ระดับสูงคนหนึ่งลวนลามทางเพศลูกจ้างสาวของสำนักข่าว  เหตุเกิดเมื่อปี 2004  และกรณีนายเบอริฮาร์ ลูบิส บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์รายวัน โกราน เทมโป้ ถูกจำคุก ในข้อหาใช้วาจาลบหลู่เกียรติของอัยการ ว่า สำนักงานนี้ได้แทรกแซงการห้ามเผยแพร่หนังสือทางวิชาการเล่มหนึ่ง และผู้สื่อข่าวหนังสือวิเคราะห์ข่าวรายสัปดาห์  เทมโป้ ได้ออกมาเปิดโปงว่า เขาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการดักฟังโทรศัพท์ เพราะเหตุที่พยายามทำข่าวการหลีกเลี่ยงภาษีของ ซูกานโต้ ทาโนโต นักธุรกิจที่ทรงอิทธิพลคนหนึ่ง

พันธมิตรเพื่อความเป็นอิสระของผู้สื่อข่าว ได้ออกมาคัดค้านการใช้กฎหมายอาญาคุกคามสื่อมวลชน และได้คัดค้านกฎหมายเลือกตั้งมาตราหนึ่งที่มีบทบัญญัติห้ามทำข่าวระหว่างวันสุดท้ายของการรณรงค์หาเสียงกับวันลงคะแนนเสียง

กรณีที่ฝ่ายทหารปกป้องอาชญากรรมที่มีหลักฐานว่าทหารระดับสูงเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่อีส ติมอร์ ในปี 1975 ที่มีผู้สื่อข่าวอย่างน้อย 7 คน ถูกฆ่าตาย การสอบสวนใหม่ที่กระทำโดย   ชาวออสเตรเลีย ได้เปิดเผยว่า กรณีที่มีผู้สื่อข่าว ต่างประเทศ 5  คน ถูกฆ่าตายที่ บาบิโล อีสติมอร์ นั้น เป็น อาชญากรรมสงครามที่กระทำโดยทหารอินโดนีเซีย ต่อมา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียแถลงว่า การสอบสวนจะไม่เปลี่ยนแปลงจุดยืนของประเทศในเรื่องนี้ และกล่าวว่า คดีนี้เคยขั้นสู่ศาลมาแล้ว ซึ่งศาลก็มีเขตอำนาจจำกัด และตัดสินว่าไม่มีหลักฐานว่าทหารอินโดนีเซียเกี่ยวข้องกับการตายดังกล่าว รายงานการสอบสวนใหม่นี้ จึงไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย

เหตุที่ฝ่ายทหารปฏิเสธกรณีนี้ เพราะ นายทหารระดับสูงที่ถูกกล่าวหา ว่าเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรม 5 ศพ และเข้ายึดครองอีส ติมอร์ นั้น ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอินโดนีเซีย  เป็นอดีตผู้กองของทหาร ที่ได้เป็นรัฐมนตรีและต่อมาเป็นผู้ว่าราชการนครจาการ์ต้า

4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   คนไทยไม่ค่อยทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวในประเทศลาวมากนัก นอกจากรู้ว่า ไทยและลาวเป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน และคนไทยค่อนข้างภาคภูมิใจว่าพี่น้องชาวลาวต่ำต้อยกว่า หรือ พัฒนาน้อยกว่าไทย            

อย่างไรก็ตามเนื่องจากประเทศลาวปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม จึงทำให้สื่อมวลชนถูกควบคุมโดยรัฐบาล เป็นอย่างมาก จึงมีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอระหว่าหัวหน้าสื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่กระทรวงข่าวสาร เพื่อปรึกษาหารือว่าข่าวใด ได้รับการพิจารณาให้ลงได้ และตกลงกันว่าเรื่องใด ที่ควรให้ความสำคัญก่อนหลัง บางครั้งบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ ก็ไม่ต้องเขียนอะไร เพราะ ลงข้อมูลที่ได้รับข้อมูลจาก สำนักข่าวสารปะเทดลาว ก็พอ           

อย่างไรก็ตามมีหนังสือพิมพ์ภาษาต่างประทศ 2 ฉบับ คือ ฉบับภาษาฝรั่งเศส ชื่อ นวัตกรรมใหม่ และฉบับภาษาอังกฤษ ชื่อ เวียงจันทน์ไทม์ ก็มีเสรีภาพพอสมควรในการรายงานสถานการณ์ ปัญหาสังคมเศรษฐกิจ แต่หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ก็มักจะลงบทความที่สร้างความพึงพอใจให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์ หนังสือพิมพ์ของพรรค ชื่อ ปะซาซน (ประชาชน)ก็พยายามนำเสนอความคิดสังคมนิยมตามแนวทางของตนที่ ว่า สิ่งพิมพ์ปฏิวัติ ผลิตโดยประชาชน และเพื่อประชาชน นำไปสู่ปฏิบัติการทางการเมือง เพื่อระบอบปฏิวัติ แต่สื่อต่างประเทศก็ถูกจำกัดมิให้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับชนชาติส่วนน้อยชาวม้ง ได้อย่างเสรี           

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็พยายามควบคุมการนำเสนอของสื่อมวลชน เพื่อห้ามการวิจารณ์ เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิด เช่น พม่า และลูกพี่ใหญ่ คือ เวียดนามและจีน

สื่อมวลชนส่วนใหญ่จึงจึงทำการ เซนเซอร์ตัวเอง คนลาวจึงนิยมรับสื่อทางโทรทัศน์ และวิทยึจากประเทศไทย เพราะสื่อในลาวไม่มีสาระอะไร และในปี 2006 มีรายการวิทยุภาค เอฟเอ็ม ของฝรั่งเศส ได้รับการอนุญาตให้ออกอากาศได้ แต่ก็ออกอากาศเป็นภาษาลาวและสามารถรับในเวียงจันทน์เท่านั้น           

รัฐบาลลาวสัญญาว่าจะออกกฎหมายสื่อมวลชน มาตั้งแต่ปี 2001 แต่จนถึงปี 2007 ก็ประกาศเลื่อนออกไปไม่มีกำหนด เพราะเหตุว่า ไม่อาจให้นิยามได้ว่า อะไรที่ห้ามเป็นข่าว และกลัวว่าจะมีการเสนอให้ปัจเจกบุคคลเป็นเจ้าของสื่อ นอกจากนี้ กฎหมายอาญาของลาว ยังมีบทลงโทษสื่อ โดยสามารถจำคุกได้ไม่มีกำหนด ในข้อหา เผยแพร่ข่าวที่ทำให้รัฐอ่อนแอ และ มีบทลงโทษ จำคุก 1 ปี สำหรับ ผู้ใดนำเข้าสิ่งพิมพ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมของชาติ

สุดท้ายองค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ได้รายงานว่า ยังมีนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและนักข่าว ผู้นำการเคลื่อนไหวด้านประชาธิปไตย หนึ่งใน ห้าคนที่สำคัญ ชื่อ นายทองปะเสิด  คัวขุน ผู้เขียนบทความและจัดทำแผ่นพับมากมายเกี่ยวกับสถานการณ์ในลาว ว่าต้องการการเปลี่ยนแปลง ซึ่งยังคงถูกจองจำอยู่ในคุก มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 1999 หลังจากถูกตัดสินจำคุก  20 ปีในข้อหา ต่อต้านกิจกรรมของรัฐ

 

Image 

 

Image กลับไปอ่านตอนที่ 1

Image ติดตามอ่านตอนที่ 3 ได้ในสัปดาห์หน้าค่ะ

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >