หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 270 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สารวันสิทธิฯ วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2543 พิมพ์
Friday, 19 May 2006

  

สารเนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนในพระศาสนจักรไทย
วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2543


พี่น้องคริสตชนที่เคารพรักทั้งหลาย

วันนี้เป็นวันที่พระศาสนาจักรในประเทศไทยเรียกร้องให้คริสตชนร่วมกันสร้างจิตสำนึก และเตือนให้เราเคารพในสิทธิมนุษยชน ร่วมกับพระศาสนาจักรสากลและมวลมนุษย์ทั้งหลาย

คำว่า "สิทธิมนุษยชน" นี้มักจะทำให้คริสตชนมีความรู้สึกแตกต่างกันไป บางคนรู้สึกว่าดี บ้างก็กลัว บ้างก็โกรธตามมายาคติที่ได้รับมา ปัจจุบันสิ่งที่เคลือบแฝงมากับคำคำนี้ได้ถูกกำจัดออกไปมากแล้ว คำว่าสิทธิมนุษยชนเป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการกำหนดให้การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้รับรองสิทธิพื้นฐานของปวงชนชาวไทย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการบรรจุเรื่องสิทธิมนุษยชนลงไว้ในรัฐธรรมนูญไทย ดังนั้นจึงควรที่คริสตชนเราจะมาพิจารณาถึงสิทธิมนุษยชนโดยปราศจากอคติ

ความหมายของสิทธิมนุษยชนหยั่งรากลึกลงไปในพระคัมภีร์ตั้งแต่เมื่อพระผู้เป็นเจ้าทรงให้ชีวิตกับมนุษย์ (ปฐก. 2:7) และพระเป็นเจ้ายังให้มนุษย์มีความเท่าเทียมกันโดยทรงสร้างทั้งหญิง และชายตามพระฉายาของพระองค์ (ปฐก. 1:26–27) สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่จึงเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ และมนุษย์แต่ละคนจึงควรเคารพในศักดิ์ศรีของกันและกัน เพราะแต่ละคนนั้นมีชีวิตที่พระเป็นเจ้าประทานให้ และเป็นฉายาของพระเจ้า

นอกจากนั้นการที่มนุษย์จะมีชีวิตอยู่ก็ต้องมีอาหาร พระผู้เป็นเจ้าก็ให้อาหารอย่างเพียงพอแก่มนุษย์ (ปฐก. 1:29)
นอกจากอาหารแล้วก็จำเป็นที่มนุษย์ต้องมีปัจจัยสี่เพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ สิ่งประกอบที่จำเป็นแก่ชีวิตนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิที่มนุษย์ต้องมีด้วย อิสระภาพก็เป็นพระพรที่พระเป็นเจ้าทรงประทานให้แก่มนุษย์ตั้งแต่ทรงสร้างมนุษย์มา มนุษย์ไม่เหมือนสัตว์อื่นๆที่เกิดมาเพื่อมีชีวิตอยู่เท่านั้น มนุษย์มีความคิด มีจิตสำนึก และต้องพัฒนา เพราะเป้าหมายของมนุษย์คือการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระผู้เป็นเจ้า ตามแผนการกอบกู้ของพระองค์ มนุษย์ยังมีสังคม และวัฒนธรรม ดังนั้นนอกจากมนุษย์มีสิทธิที่จะมีชีวิต ก็ยังต้องมีสิทธิอื่นๆอีกที่จะทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ขึ้นตามแผนการณ์ของพระผู้เป็นเจ้า

เราสามารถแบ่งสิทธิต่างๆของมนุษย์ออกเป็นสามกลุ่มคือ 1)สิทธิพื้นฐานที่จะมีชีวิตอยู่เยี่ยงมนุษย์ 2)สิทธิทางสังคม ทางวัฒนธรรม และการเมือง 3)สิทธิทางเศรษฐกิจอันเกี่ยวโยงถึงสิ่งแวดล้อม และ การพัฒนา

องค์การสหประชาชาติได้เห็นความสำคัญของสิทธิมนุษยชนนี้ จึงไดัประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งประชาชาติขึ้นเมื่อกว่า 50 ปีมาแล้ว ปฏิญญาฯนี้ไม่ได้ให้สิทธิแก่มนุษย์ เพียงแต่ได้รับรองว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์มีอยู่ เพราะที่แท้สิทธิของมนุษย์มาจากพระผู้เป็นเจ้า เป็นพระพรที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้แก่มนุษย์แต่ละคน ซึ่งจะตัดทอนและถ่ายโอนให้แก่ใครไม่ได้ พระพรของพระผู้เป็นเจ้านี้เป็นสากล สำหรับมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา

ในพระสมณสาสน์ "พระศาสนาจักร กับ สิทธิมนุษยชน" ได้กล่าวว่า เมื่อมนุษย์ตระหนักในสิทธิที่เขามี และมีหน้าที่จะเรียกเรียกร้องสิทธิเหล่านั้น คนอื่นๆ มีหน้าที่ที่จะยอมรับ และเคารพสิทธิเหล่านั้นในเวลาเดียวกัน มนุษย์ก็จะมีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี เมื่อมนุษย์เริ่มรู้สึกว่าตนเองมีสิทธิเขาผู้นั้นก็จะต้องมองเห็นหน้าที่ของตนควบคู่กันไปด้วย ความรับผิดชอบ และหน้าที่ เป็นลักษณะสองประการของสิทธิซึ่งเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้ง กล่าวคือเมื่อมีสิทธิก็มีความรับผิดชอบตามมาด้วย

การมีสำนึกในสิทธิมนุษยชนจึงไม่ใช่ความเห็นแก่ตัวเรียกร้องเอาแต่ได้ แต่เป็นการเข้าใจในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และอยู่ร่วมกันโดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน สิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานของสันติภาพ และความสงบสุขในสังคม สังคมจะสงบสุขไม่ได้ถ้ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน การเคารพต่อสิทธิมนุษยชนมีความสำคัญต่อสังคมเป็นส่วนรวม ไม่ใช่เฉพาะกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง พวกเราคริสตชนต้องมาช่วยกันสร้างจิตสำนึกนี้ และร่วมกันเรียกร้องเมื่อมีการละเมิด ดังที่พระสันตปาปาปอลที่ 6 ได้ตรัสไว้ว่า "คริสตชนไม่อาจที่จะอยู่นิ่งเฉย และทำไม่รู้ไม่ชี้ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่หนักหน่วง และไม่คำนึงถึงเหตุผล, เราไม่อาจที่จะปกปิดความกระวนกระวาย และความเศร้าสลดใจ เมื่อเห็นสภาพการณ์(ละเมิดสิทธิ)ที่คงอยู่ และเลวร้ายลงทุกวัน" (พระศาสนาจักร และสิทธิมนุษยชน)

ดังนั้นในวันสิทธิมนุษยชนนี้ให้เราภาวนาเพื่อให้คนไทยทุกคนและโดยเฉพาะคริสตชนคนไทยมีความเคารพในสิทธิ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และมาช่วยกันสร้างสังคมที่สงบสุขบนพื้นฐานของความเคารพในสิทธิมนุษยชน

ขอพระเยซูคริสตเจ้าอำนวยพรมายังพี่น้อง และผู้มีน้ำใจดีทุกท่าน

มีคาแอล บุญเลื่อน หมั้นทรัพย์
พระสังฆราชสังฆมณฑลอุบลราชธานี
มุขนายกคณะกรรมการยุติธรรมและสันติแห่งประเทศไทย

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า