หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนสนทนา arrow เสรีภาพของสื่อมวลชนเอเชีย ในรอบปี 2550 (ตอนที่ 1) โดย ศราวุฒิ ประทุมราช
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 60 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


เสรีภาพของสื่อมวลชนเอเชีย ในรอบปี 2550 (ตอนที่ 1) โดย ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 04 June 2008


เสรีภาพของสื่อมวลชนเอเชีย ในรอบปี 2550 (ตอนที่ 1)

โดย ศราวุฒิ ประทุมราช


ท่ามกลางการปะทะคารมระหว่างผู้นำประเทศและรัฐมนตรีบางคนในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช กับสื่อมวลชนไม่เว้นแต่ละวัน ทำให้ดูราวกับว่าสื่อมวลชนของไทยนั้นมีเสรีภาพ ในการรายงานข่าวและมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น มากกว่าสื่อมวลชนของอีกหลายประเทศในเอเชียนั้น

องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน เพื่อเสรีภาพของสื่อมวลชน หรือ Reporters without Borders for press freedom ซึ่งเป็นองค์การพัฒนาเอกชน ไม่แสวงหากำไร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2525โดยจดทะเบียนในประเทศฝรั่งเศส มีสำนักงานและผู้แทนกว่า 120 ประเทศ รวมทั้งในกรุงเทพฯ ได้เผยแพร่รายงานเสรีภาพของสื่อมวลชนในเอเชีย ประจำปี 2008 ซึ่งเป็นรายงานสถานการณ์ของสื่อมวลชนในเอเชีย ปี 2007 หรือ ปี 2550 ความยาวประมาณ 112 หน้า ในรายงานฉบับนี้ (แน่นอนว่ารวมถึงประเทศไทยด้วย)ได้รายงานให้เห็นว่า สื่อมวลชนในประเทศต่างๆในเอเชีย ต่างมีข้อจำกัดไม่มากก็น้อย ในการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และ ไม่มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย เนื่องจากเนื้อที่มีจำกัด ในบทความนี้ ผมจึงขออนุญาต รายงานเสรีภาพของประเทศต่างๆในประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ใกล้ชิดกับประเทศไทยก่อน และในตอนที่ 2 จึงจะรายงานเสรีภาพของสื่อมวลชน ในประเทศเอเชีย ที่เหลือ หากผู้อ่านรอไม่ไหว ขอเชิญอ่านจากฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่ http://www.rsf.org/rubrique.php3?id_rubrique=736 

รายงานฉบับนี้เกริ่นนำไว้ว่า ปี 2007 เป็นปีแห่งสนามรบของสื่อมวลชน ไม่ต้องบอกคงทราบว่า เป็นสนามรบระหว่างรัฐบาลและสื่อมวลชน เช่น มีสื่อมวลชนถูกฆ่าตาย 17 คน อีกเกือบ 600 คนได้รับการขู่เอาชีวิต โดยในปากีสถานประเทศเดียว มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทำการจับกุมผู้สื่อข่าว 250 คน โทษฐานเดินขบวนชุมนุมคัดค้านประธานาธิบดีมูชาราฟ และคัดค้านการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐ หรือในศรีลังกา ผู้สื่อข่าวอาวุโสของหนังสือพิมพ์ภาษาทมิฬ ต้องพักอาศัยอยู่ภายในสำนักงาน โดยไม่กล้าออกไปนอกสำนักงาน เพราะเกรงว่าจะถูกยิงโดยมือปืนที่เป็นกองกำลังพลเรือยติดอาวุธที่มีอยู่ทั่วไปบนถนนในเมืองจาฟนา เป็นต้น

เรามาลองติดตามดูสถานการณ์เสรีภาพของสื่อมวลชนในภูมิภาคอุษาคเนย์หรืออาเซียน ได้ ณ บัดนี้

1. พม่า  นับแต่การเดินขบวนประท้วงใหญ่เมื่อเดือน สิงหาคม-กันยายน  2550 โดยพระสงฆ์ และประชาชนพม่า ที่สร้างความตระหนกตกใจแก่ฝ่ายทหารอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน หลังจากการเริ่มกวาดล้างผู้ชุมนุมพบว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 50 คน (แต่รายงานจากแหล่งอื่นๆระบุว่า มีมากกว่า 500-1000 คน ไม่ใช่ตาย แค่ 1 คน เหมือนในเมืองไทยสมัย 6 ตุลา 19) ในจำนวนนี้มีผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่น 1 คน คือ นายเคนจิ นากาอิ และมีผู้สื่อข่าวชาวพม่าถูกจับกุมประมาณ 15 คน มีการปิดการให้บริการอินเตอร์เนท นานถึง 2 สัปดาห์ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่เข้าไปทำข่าวหรือได้รับวิซ่านักท่องเที่ยวถูกจับตาอย่างใกล้ชิด  สื่อมวลชนที่รายงานข่าวการชุมนุมต่างมีส่วนสนับสนุนการชุมนุมด้วยการพร้อมเพรียงกัน ไม่พิมพ์ยอดจำหน่ายบนหน้าหนังสือพิมพ์ แม้จะถูกแทรกแซงจากรัฐ แต่ไม่กล้าพาดหัวข่าวอื่นๆ ตามความจริงด้วยเกรงว่าหนังสือพิมพ์จะขายไม่ออก ประชาชนส่วนหนึ่งจึงหันไปรับข่าวสารจากต่างประเทศผ่านดาวเทียม เช่นรับข่าว บีบีซี สำนักข่าวสารอเมริกาหรือวิทยุออสโล แทน           

ฝ่ายทหารทำการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธเพื่อตระเวนข่มขู่ประชาชนที่ต้องการชุมนุม ปิดสายโทรศัพท์ของนักกิจกรรมและผู้สื่อข่าวต่างประเทศบางส่น เช่น สำนักข่าว เอเอฟพี ของฝรั่งเศส ผู้บัญชาการทหารในกรุงย่างกุ้งออกคำสั่งห้ามผู้สื่อข่าวทุกคนใช้กล้องถ่ายรูป ถ่ายผู้เดินขบวน ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคมเป็นต้นมา และออกคำสั่งให้ยิงผู้เดินขบวนได้ เป็นเหตุหนึ่งที่มีการยิงนายเคนจิ นากาอิ ผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่นเสียชีวิต นายเทียรี่ ฟาไลส์ ผู้สื่อข่าวคนหนึ่งให้ความเห็น           

นอกจากนี้ยังมีการไม่อนุญาตการต่อสัญญาณอินเตอร์เนท เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมงต่อวัน ในช่วงเดือน ตุลาคม- พฤศจิกายน เข้มงวดการจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์จากต่างประเทศ ที่จำหน่ายในพม่า ปลายเดือนธันวาคม 2007 ฝ่ายทหารของพม่าขึ้นราคาใบอนุญาตจำหน่ายจานดาวเทียมจากราคา ประมาณ 150 บาท เป็น 24,000 บาท เพื่อมิให้สื่อโทรทัศน์หรือ เคเลิ้ล ทีวี จากต่างประเทศสามารถมีอิทธิพลทางความคิด ในการนำเสนอข่าวความเคลื่อนไหวในประเทศ ได้อย่างเสรี           

ท้ายสุดรายงานขององค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน เปิดเผยว่า มีผู้สื่อข่าวชาวพม่าอีก 8 คน ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เช่น โกอองยี บรรณาธิการนิตยสารกีฬา รายการ 90 นาที ถูกจับเพราะถูกสงสัยว่าเป็นผู้เผยแพร่ เอกสารจากรายการ เสียงประชาธิปไตยในพม่า โกวิน มอว์และโก ออง ออง สองผู้สื่อข่าวที่เป็นผู้เผยแพร่สื่อในทางลับ ก็ถูกจับด้วย ขณะเดียวกันนับแต่ต้นปี 2008 ผู้สื่อข่างหลายคนได้ถูกปล่อยตัวเป็นอิสระ เช่น ตัน วิน เลง ถูกจับตั้งแต่ปี 2000  และกำลังเป็นโรคเบาหวาน และนายตุงตุน ถูกจำคุก 8 ปี เมื่อเดือนตุลาคม 1999 ในข้อหาส่งข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนออกนอกประเทศ เป็นต้น

2. กัมพูชา  เสรีภาพของสื่อมวลชนกัมพูชานั้น เริ่มด้วยมีรายงานเกี่ยวกับการข่มขู่เอาชีวิต และขู่ให้ไม่เผยพร่หรือตีพิมพ์ซ้ำรายงานเกี่ยวกับการตัดไม้ทำลายป่า ที่เขียนโดยผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ 3 คน ถูกข่มขู่เอาชีวิต เพราะ เนื้อหาของรายงานกล่าวถึงความรับผิดชอบของผู้นำรัฐบาล ในการทำไม้ผิดกฎหมาย และสื่อมวลชนในกัมพูชาได้หยิบยกรายงานเรื่องนี้มาวิพากย์วิจารณ์ ทำให้รัฐมนตรีกระทรวงข่าวสาร ได้ให้สัมภาษณ์ทำนองว่า สื่อที่รายงานข่าวเรื่องนี้ต้องรีบถอนการวิจารณ์เรื่องนี้ใน 1 สัปดาห์ เพราะเป็นเรื่องที่เสื่อมเสียอย่างใหญ่หลวง สื่อมวลชนสามารถอ้างอิงรายงานนี้ได้ แต่ห้ามผลิตซ้ำ หากไม่เชื่อฟังอาจมีการใช้มาตรการทางกฎหมาย นอกจากนี้ญาติพี่น้องของผู้นำในรัฐบาล ยังได้ให้สัมภาษณ์ทางสื่ออีกว่า หากใครก็ตามที่มาจาก องค์กร พยานในโลกกว้าง – global witness” ที่เป็นผู้จัดพิมพ์รายงานดังกล่าว เข้ามาในกัมพูชา เขาจะจัดการ ตีให้หัวแบะผลของการข่มขู่ดังกล่าว ทำให้ บรรณาธิการ และที่ปรึกษาชาวฝรั่งเศสของหนังสือพิมพ์ของกระทรวงเกษตร ได้ปิดตัวลง เพราะ ได้ตีพิมพ์ซ้ำส่วนหนึ่งของรายงานฉบับนี้

นอกจากนี้หนังสือพิมพ์ภาษาเขมร ชื่อ พล พัต ซึ่งรายงานการทุริตเกี่ยวกับการทำไม้ที่ผิดกฎหมายของนักธุรกิจ ชื่อ เมียส สีพัน จนถูกข่มขู่เอาชีวิต  ในเดือนสิงหาคม หลังจากนั้นไม่นานบ้านของเขาถูกไฟไหม้ จนทำให้ผู้สื่อข่าวรายนี้ ต้องหลบหนีเข้ามาในเมืองไทย       

สื่อมวลชนด้านโทรทัศน์ในกัมพูชาก็ถูกควบคุม ไม่เป็นอิสระ เพราะเจ้าของสถานีโทรทัศน์และวิทยุส่วนใหญ่ เป็นของเครือญาตินายฮุนเซน นายกรัฐมนตรี หรือไม่ก็เป็นของบุคคลในรัฐบาลหรือฝ่ายทหาร อย่างมากรายการบางรายการของ เครือข่ายโทรทัศน์กัมพูชา ก็เปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านได้ แสดงความเห็นเป็นครั้งคราว


Image (ติดตามอ่านตอนที่ 2 สับดาห์หน้า)

(มีทั้งหมด 4 ตอน) 

 

Image

 

โลโก้ รณรงค์ต่อต้านการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่ปักกิ่ง ขององค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน เขียนว่า ปักกิ่ง 2008 จีน คุกที่ใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับผู้สื่อข่าวและนักต่อต้านรัฐในโลกสมัยใหม่

ภาพจากเว็บ http://www.jeffooi.com

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >