หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 104 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


การเมือง กีฬาและสิทธิมนุษยชน : ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 14 May 2008


การเมือง กีฬาและสิทธิมนุษยชน

โดย : ศราวุฒิ ประทุมราช


กรณีการวิ่งคบเพลิงเพื่อนำไฟฤกษ์จากประเทศกรีซ ไปยังประเทศเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก คือ จีน ได้ก่อให้เกิดกระแสการคัดค้านจากทั่วโลก โดยมีผู้ประท้วง ขัดขวางการวิ่งทั้งในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งทรวงการต่างประเทศของจีน ถึงกับเผยแพร่คำแถลงไว้ในเว็บไซต์ประณามว่าการเจตนาขัดขวางการวิ่งคบเพลิงว่าเป็นการกระทำโดยไม่คำนึงถึงจิตวิญญาณของกีฬาโอลิมปิกและไม่เคารพกฎหมายของอังกฤษและฝรั่งเศส และระบุว่าเป็นการกระทำโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวทิเบต กระแสการคัดค้านการจัดกีฬาโอลิมปิก ที่ประเทศจีน ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว และยิ่งเป็นประเด็นแหลมคมในเวที โลก เมื่อทางการจีนได้ทำการปราบปรามลามะ และประชาชนที่เดินขบวน เรียกร้องเอกราชในเมืองหลวงของทิเบต ตามข่าวปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิต กว่า 100 คน ขณะที่ตัวเลขของทางการจีนแถลงว่ามีผู้เสียชีวิตเพียง 14 คน 
           

ปัญหาเรื่องตัวเลขผู้เสียชีวิต จากการปราบปรามการชุมนุมของประชาชนโดยสงบโดยรัฐนั้น ดูเหมือนจะเป็นปัญหาในประเทศด้อยพัฒนาประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งกรณีของพม่า กรณีของอินโดนีเซีย ยุค ซูฮาร์โต ครองเมืองและกรณีของประเทศไทยเมื่อเร็วๆนี้ที่นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ว่ามีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เพียงคนเดียว ซึ่งประเด็นนี้ยังขออนุญาตไม่วิจารณ์ในวันนี้

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ การหยิบยกการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการไม่ยอมให้ชาวทิเบตมีการปกครองตนเอง มาเป็นเหตุผลในการคัดค้านการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก นั้น เป็นเหตุผลที่มีความชอบธรรมหรือไม่

นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ยังคงมีการหยิบยกประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและ การปฏิวัติรัฐประหารในประเทศต่างๆมาเป็นเหตุผลในการ ไม่คบค้าสมาคม กับประเทศที่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน อยู่เนืองๆ เช่น กรณีที่สหภาพยุโรป มีมติไม่ทำการค้ากับพม่า การที่สหรัฐอเมริกา งดเว้นความช่วยเหลือฉันมิตร ต่อไทย เป็นเวลา กว่า 1 ปี นับแต่มีการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และเพิ่งจะประกาศถอนมติดังกล่าวไปเมื่อเร็วนี้ เมื่อมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมไปถึงในอดีต กรณีนักรบชาวมุสลิมที่ต่อต้านอิสราเอล ได้จับกุมนักกีฬาชาวยิว ฆ่าทิ้งกว่า 10 คน ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่เมือง มิวนิก ประเทศเยอรมนี เมื่อปี 2518 

กรณีต่างๆเหล่านี้ เป็นการนำเรื่องสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย มาปะปนกับการแข่งขันกีฬาหรือไม่

หากตอบโดยไม่คิดแล้วจะเห็นได้ว่า ไม่น่าที่จะนำกีฬา ไปเป็นตัวประกัน ต่อปัญหาสิทธิมนุษยชน หรือ ความไม่เป็นประชาธิปไตยในประเทศใดประเทศหนึ่ง เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ด้วยเหตุผลทั้งปวง ทำนองเดียวกับ นิทานเรื่อง หมาป่า กับลูกแกะ ที่คล้ายๆกับว่า เอ็งไม่ได้ทำผิด หรอก แต่พ่อแม่เอ็งนั่นแหละผิด ข้าจึงต้องจับแกกินเป็นอาหาร หรือทำนองเดียวกับปัญหาของนักเรียนอาชีวะต่างสถาบัน ในอดีต ที่เมื่อพบนักเรียนโรงเรียนคู่อริ แม้จะไม่รู้จักกัน แต่เพราะความเป็นสถาบัน จึงทำให้ต้องมาเข่นฆ่า ทำร้ายกัน

แต่เมื่อศึกษาถึงหลักการที่ว่า สิทธิมนุษยชนไม่มีพรมแดน  ประกอบกับเหตุผลและความร้ายแรงแห่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว น่าเชื่อว่า การคัดค้านการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่จีน น่าจะ มีความสมเหตุผล และมีความชอบธรรม ดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง สิทธิมนุษยชน คือ หลักการและแนวปฏิบัติของผู้คนในสังคมเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข  มีการเคารพต่อชีวิต และไม่ล่วงเกินสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น  สังคมใดมีประเพณีหรือวัฒนธรรม หรือ กฎหมาย ระเบียบ ที่ละเมิดหรือขัดแย้งกับแนวทางหรือหลักการของสิทธิมนุษยชน ถือว่า สังคมนั้น มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน  โดยเฉพาะการ ห้ามการแสดงความคิดเห็น ห้ามชุมนุม อันเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ สำหรับความเป็นมนุษย์แล้วยิ่งเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐ จะละเมิดไม่ได้  การที่รัฐบาลจีนหรือ รัฐบาลประเทศใดก็ปราบปรามประชาชน ที่ใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ หรือ ตามจับกุมผู้มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างจากรัฐแล้วนำตัวไปจำคุกทันทีโดยไม่นำตัวให้ศาลพิจารณาคดี ถือว่ารัฐบาลประเทศนั้นทำผิดหลักการสิทธิมนุษยชน องค์กรเอกชน  ประชาชน  และรัฐบาลทุกประเทศสามารถคัดค้าน  หรือแสดงความเห็นต่อการกระทำของรัฐที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ เพราะสิทธิมนุษยชนไม่มีพรมแดน  การแสดงความเห็นหรือมีกิจกรรมเช่น เดินขบวนคัดค้านรัฐบาลที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนย่อมเป็นเสรีภาพในการแสดงออกอย่างหนึ่งที่ได้รับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  และไม่ใช่การแทรกแซงกิจการภายในประเทศนั้น           

ประการที่สอง การแสดงกิจกรรมในการคัดค้านประเทศที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากการไม่คบค้าสมาคม หรือ บอยคอต(boy-cott) แล้ว ยังมีวิธีการต่างๆอีกมากมาย เช่น การไม่ให้ความร่วมมือทางการเมือง เป็นปฏิบัติการที่มุ่งสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาล หรือต่อกลุ่มที่พยายามควบคุมกลไกรัฐโดยมิชอบ อาจมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาลหรือเปลี่ยนรัฐบาล แต่บางครั้งก็เป็นการกระทำของรัฐบาลหนึ่งต่ออีกรัฐบาลหนึ่ง แบ่งออกเป็น การปฏิเสธอำนาจหน้าที่ ได้แก่ การเพิกถอนความภักดี การไม่ให้ความสนับสนุนอย่างเปิดเผย การไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล เช่น การคว่ำบาตรการเลือกตั้ง การไม่ทำงานให้รัฐบาล การคว่ำบาตรกระทรวงทบวงกรมของรัฐ การลาออกจากองค์กร รวมทั้งโรงเรียนของรัฐ การคว่ำบาตรองค์กรที่รัฐสนับสนุน การปฏิเสธเจ้าหน้าที่ที่รัฐแต่งตั้ง การถอดป้ายบอกสถานที่ทิ้ง การดื้อแพ่งโดยประชาชน เช่น การถ่วงเวลาหรือการไม่ทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิเสธหมายเกณฑ์ทหาร การไม่ให้ความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น การหน่วงเหนี่ยวและการยกเลิกกิจการทางการฑูต การตัดความสัมพันธ์ทางการฑูต การปฏิเสธสมาชิกภาพในองค์กรระหว่างประเทศ การขับออกจากองค์กรระหว่างประเทศ และรวมถึงการประท้วงคัดค้าน ด้วย ซึ่งถือเป็นปฏิบัติการสันติวิธี และเป็นกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ เพื่อความมุ่งหมายให้คนทั่วไป หรือทั่วทั้งโลก หันมาให้ความสนใจต่อประเด็นที่กำลังมีการประท้วงนั้น           

ประการสุดท้าย  การประท้วงการแข่งกีฬาโอลิมปิกในจีน นั้น มีความมุ่งหมาย หลักที่ต้องการเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ หันมาสนใจการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการละเมิดสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง (Self-determinarion) ของชาวทิเบต  ซึ่งสิทธิมนุษยชนในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง มีความสำคัญยิ่งใหญ่กว่า การแข่งขันกีฬา ซึ่งแม้กีฬา ก็เป็นเรื่องสำคัญ ของการมีเป้าหมายเพื่อการสร้างมิตรภาพระหว่างประเทศ ก็ตาม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับ สิทธิในการปกครองตนเองของทิเบต แล้ว กีฬา ย่อมมีคุณค่าน้อยกว่า เพราะรัฐบาลจีน ได้ทำการละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกายของผู้คนในทิเบตมาอย่างยาวนาน หากปล่อยให้มีการคุกคามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่นนี้ได้ต่อไป จะทำให้เป็นการคุกคามความสงบสุขของการอยู่ร่วมกัน ในโลก จึงเป็นเหตุผลที่น่าจะมีความชอบธรรมในปฏิบัติการครั้งนี้           

แล้วเราคนไทย จะนิ่งเฉย นั่งชมกีฬาอย่างสนุกสนาน ท่ามกลางการคาวเลือด ของการปราบปราม เข่นฆ่า ชีวิตเพื่อนมนุษย์ อยู่ได้ กระนั้นหรือ  

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >