หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนสนทนา arrow การใช้สิทธิทางศาล คือ สันติวิธีในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงภาคใต้ : ศราวุฒิ ประทุมราช
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 100 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


การใช้สิทธิทางศาล คือ สันติวิธีในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงภาคใต้ : ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Tuesday, 27 May 2008


การใช้สิทธิทางศาล คือ สันติวิธีในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงภาคใต้

โดย ศราวุฒิ ประทุมราช


นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มีการใช้สิทธิทางศาล ในการขอให้มีการปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยมิชอบ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ได้จับกุมผู้ต้องสงสัยมาสอบสวนและมีการซ้อมทรมานผู้ถูกจับกุม ถือเป็นการใช้มาตรการอย่างสันติวิธี ที่ต้องได้รับการปฏิบัติต่อไปอันจะเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ไขความไม่สงบในภาคใต้
               

ผมกำลังพูดถึงกรณีนักศึกษาสถาบันราชภัฏยะลา ที่ถูกจับกุมไปเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2551  เวลาประมาณ 08.45 น. เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจที่  ๑๑  ซึ่งตั้งอยู่ใกล้โรงเรียนเทคนิคพาณิชยการ  จังหวัดยะลา ประมาณ 4 คันรถ แต่งกายนอกเครื่องแบบ เข้าไปปิดล้อมและตรวจค้นหอพักนักศึกษาสถาบันราชภัฏยะลา ที่ ซอยมัสยิดตักวา ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา   เจ้าหน้าที่ทหารอ้างว่า  พบยาบ้าและอาวุธปืนในหอพัก โดยใช้เวลาในการตรวจค้นประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง หลังจากนั้นได้ควบคุมตัวนักศึกษาและเพื่อนที่มิได้เป็นนักศึกษาแต่อยู่ในหอพักดังกล่าวทั้งหมด รวม 7 คน ขณะที่นักศึกษาทั้งหมดกำลังเตรียมตัวจะไปเล่นฟุตบอลต้านยาเสพติด  พงยาวิ คัพ รายชื่อนักศึกษาที่ถูกจับกุม มี ดังนี้        

1. นายกูยิ  อีแต  อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิชาเอกเทคโนโลยีนวัตกรรมการศึกษา คณะวิยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณะกรรมการสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดยะลา 

2. นายอามีซี  มานาก  อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิชาเอกการบัญชี คณะวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

3. นายอับดุลเลาะ  ดอเลาะ  อายุ 23 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิชาเอกการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

4. นายอิสมาแอ  เตะ  อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

5. นายอาหมะ  บาดง  อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิชาเอกพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา

6. นายอัสมาดี  ประดู่  อายุ 23 ปี  ปัจจุบันทำงานอยู่ในจังหวัดยะลา

7. นายอัสมัน  เจ๊ะยอ  ปัจจุบันทำงานอยู่ในจังหวัดยะลา              

หลังจากที่เจ้าหน้าที่ทหารได้มีการตรวจค้นหอพักและนำตัวนักศึกษาทั้ง  7 คน  ไปสอบสวน  ณ  ฐานที่ตั้งหน่วยเฉพาะกิจที่  ๑๑  ซึ่งตั้งอยู่ใกล้โรงเรียนเทคนิคพาณิชยการ  จังหวัดยะลา   และได้มีการยึดทรัพย์สินซึ่งทางเจ้าหน้าที่อ้างว่า  มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุเพื่อตรวจสอบไปด้วย              

ญาติของนักศึกษา 3 คน จึงได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกจับกุม โดยอ้างมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อมีการอ้างว่าบุคคลใดต้องถูกควบคุมในคดีอาญา หรือในกรณีอื่นใด โดยมิชอบด้วยกฎหมาย บุคคลเหล่านี้ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา ขอให้ปล่อย คือ ....." และได้อ้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังนี้

  • มาตรา ๔ บัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอ ภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
  • มาตรา ๕ บัญญัติว่า ประชาชนชาวไทย ไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
  • มาตรา ๖ บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
  • มาตรา ๒๙ บัญญัติว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะ กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้

 มาตรา ๓๒ บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการ โหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้                                

การจับกุมและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของ ศาลหรือมีเหตุอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ                                 

การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ                               

ในกรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการ หรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควร การเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้               

ศาลจังหวัดยะลาได้ออกนั่งพิจารณาคำร้องของญาตินักศึกษา ทั้ง 3 คน และฝ่ายทนายความของนักศึกษาได้แจ้งต่อศาลว่า นักศึกษา 3 คน ที่ได้ยื่นคำร้องนี้ ได้รับการปล่อยตัวแล้วเมื่อประมาณ 24 นาฬิกา ของคืนวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ศาลจังหวัดยะลาจึงทำรายงาน ว่า การควบคุมตัวตามคำร้องนี้สิ้นสุดไปแล้ว ไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาอีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ  

แม้จะเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ที่ผู้พิพากษาไม่ได้พิจารณาว่า การควบคุมตัวนักศึกษาทั้ง 7 คนดังกล่าว เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ ก็ตาม แต่การใช้สิทธิทางศาล ย่อมเป็นหนทางหนึ่งในการใช้สันติวิธี ในการเรียกร้องหาความเป็นธรรม ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ในระดับหนึ่งว่า ความยุติธรรมนั้นมีจริงในสถานการณ์ภาคใต้ ที่หลายฝ่ายได้เพิกเฉย หรือไม่สนใจที่จะแสวงหาความยุติธรรมตามกฎหมาย

เราต้องเชื่อมั่นว่าวิถีทางที่จะได้มาซึ่งความเป็นธรรมนั้น มีอยู่จริง และเป็นช่องทางหนึ่งของการแก้ไขความขัดแย้งได้ หากเราเชื่อมั่นเช่นนี้ เราจึงสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบ เพราะเคารพกฎ กติกา ของสังคม นั่นเอง

    

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >