หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนสนทนา arrow จับตา การจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 : ศราวุฒิ ประทุมราช
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 179 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


จับตา การจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 : ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 14 May 2008

 

จับตา การจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่  2

โดย ศราวุฒิ ประทุมราช


ท่ามกลางการวิ่งกันจนฝุ่นตลบของนักการเมือง เพื่อแย่งชิงอำนาจรัฐ ในการจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งนั้น  มีกิจกรรมหนึ่งที่กำลังดำเนินการอย่างเงียบๆ ของกลไกรัฐ ในกระทรวงยุติธรรม คือ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในการเตรียมการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นฉบับที่ 2 ซึ่งกำลังเป็นรูปเป็นร่างขึ้น และต้องการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคมไทยอีกประเด็นหนึ่ง

แนวคิดในการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่  2 นั้น มาจากการพยายามส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม  ซึ่งสืบเนื่องจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ “สิทธิมนุษยชนสังคมไทย : มาตรฐานสู่การปฏิบัติ”  เมื่อวันเสาร์ที่  6 สิงหาคม  2548 โดยอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานในการประชุมและได้มอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  พร้อมทั้งได้มีการหารือร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อละครับว่า บ้านเราเคยมีแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาแล้ว ฉบับที่ 1 ซึ่งได้ดำเนินการประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2548 แต่ไม่เคยมีหน่วยงานรัฐใด หรือ ภาคประชาชนใด รับทราบมาก่อน ในครั้งนั้น แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 1ใช้ชื่อว่า แผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดทำโดยนักวิชาการ นักกฎหมาย นักสิทธิมนุษยชนจากองค์กรพัฒนาเอกชน โดยมีภาครัฐมีส่วนร่วมด้วยน้อยมาก จึงเป็นที่มาว่าทำไมราชการกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ จึงไม่สนใจนำไปปฏิบัติ 

ดังนั้นในปีงบประมาณ  พ.ศ.  2549  เป็นต้นมา  กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ  ได้มีการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน เพื่อให้การจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ฉบับที่  2  มาจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  เพื่อให้บรรลุตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้  โดยมีการดำเนินงานไปแล้วในหลายกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการติดตามผลการบังคับใช้นโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชน (แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 1) การวางกรอบนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ฉบับที่ 2 การแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน และการศึกษาสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามกรอบรัฐธรรมนูญในบริบทของสังคมไทยและมาตรฐานสากลระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 แต่การดำเนินการดังกล่าวได้มาสดุดหยุดลงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และมาเริ่มดำเนินการใหม่อีกครั้งในปีงบประมาณ 2550 ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงของการจัดกิจกรรมตามโครงการที่ได้ ตั้งไว้

ประเด็นที่ขอให้ทุกท่านได้มีส่วนร่วมในการจับตาการจัดทำแผนนี้ ก็ คือ สาระสำคัญที่จะปรากฏอยู่ในแผน ซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า แผนชาติ ในประเด็นต่างๆ ค่อนข้างจะเป็นแผนที่ไม่ได้รับการปฏิบัติ หรือมีฝ่ายที่สนใจในการติดตามกำกับให้เป็นไปตามแผนนั้น 

 

ในการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 นี้ จะมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง   ได้แก่  การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนและการวิเคราะห์กลยุทธิ์ ของแผนด้วยวิธีการศึกษาจุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรคและโอกาส ในการเข้าถึงการแก้ไขปัญหา จากองค์ประกอบภายในและภายนอก องค์กรที่มีส่วนร่วม หรือ กลยุทธิ์ที่เรียกว่า  SWOT Analysist โดยการกำหนดให้มีการจัดเวทีระดมความคิดเห็นของทุกภาคส่วนในสังคม ทั้ง 4 ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร จำนวนประชากรที่เป็นเป้าหมายทั่วประเทศ คือ 2,000 คน 

 

การบอกว่าอยากให้แผนฉบับนี้มาจากทุกภาคส่วนในสังคมไทยนั้น กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้มีกรอบไว้ ว่าให้ครอบคลุมภาคส่วน เช่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาชน นักการเมือง  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ชมรม สมาคม นักธุรกิจ  ที่อยู่ในส่วนภูมิภาคหรือกทม. รวมถึงกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิ  ทั้งนี้ต้องมีสัดส่วนของตัวแทนดังกล่าวอย่างเหมาะสม เมื่อแยกเป็นประเภทของกลุ่มเป้าหมายแล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 

 

1. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Stakeholders) เช่น หน่วยงานภาครัฐ กลุ่มผู้บริการ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เป็นต้น

 

2. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงในการรับริการ ( Marketplace Stakeholders) หมายถึง ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ กลุ่มเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิ อาทิ กลุ่มชาติพันธุ์ คนต่างด้าว คนไร้สัญชาติ สตรี เด็ก คนพิการ ผู้ป่วย เป็นต้น

 

3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมแต่อยู่นอกองค์กร ( External Stakeholders) เช่น รัฐบาล  ฝ่ายการเมือง  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  สื่อมวลชน  องค์กรพัฒนาเอกชน รวมทั้งกลุ่มการเมืองที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เป็นต้น

 

ท่านผู้อ่านคิดว่าตัวท่านอยู่ในกลุ่มใดนั้น ก็ขอให้ติดตามการดำเนินงานของ คณะที่ปรึกษาในการจัดทำแผนนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีการรายงานผลให้ทราบทางสื่อมวลชน เป็นระยะๆ ซึ่งผมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำแผน ในครั้งนี้ จะนำมาเสนอ ในโอกาสต่อไป

ทีนี้มาติดตามดู แผนงานของการจัดทำแผน คือ ในช่วงนี้ จนถึงเดือนมิถุนายน 2551 จะมีการจัดกิจกรรม 2 กิจกรรม คือ การสรรหาวิทยากรและจัดทำหลักสูตรการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนในระดับพื้นที่ ทั้ง 4 ภูมิภาค และกทม. การยกร่างแผนฯ รวมถึงการเสนอแผนฯ ให้คณะกรรมการฯ  และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา  โดยในแต่ละกิจกรรมได้มีการส่งเสริมและมุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม เพื่อให้การจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ฉบับที่  2 เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง 

อย่างไรก็ตาม การสรรหาวิทยากร เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ฉบับที่ 2 จึงต้องมีความพยายามในการสรรหาคณะวิทยากรที่ทำหน้าที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน   ตลอดจนการจัดทำแผนและพัฒนาเป็นการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนในระดับพื้นที่  ทั้ง 4 ภูมิภาคและกทม. ดังนั้นบทบาทของวิทยากรจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนการจัดทำแผนฯ  ฉบับที่ 2 ให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยสรรหาจากผู้ที่มีความรู้  ความสามารถ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ตลอดจนกระบวนการจัดทำแผนรวมทั้งการเป็นวิทยากร  เพื่อช่วยให้เกิดกระบวนการจัดทำแผนฯ ฉบับที่ 2  พร้อมทั้งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญในการนำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2  ไปสู่การปฏิบัติ ได้อย่างเป็นรูปธรรม   สามารถปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยใช้หลักนิติธรรม อีกทั้งยังเป็นการยกระดับสิทธิมนุษยชนให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อเวทีโลกได้อย่างแท้จริง   ดังนั้น กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ  จึงได้มอบหมายให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำ  โครงการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ฉบับที่ 2  โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  กิจกรรมที่  2  สรรหาวิทยากรและจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนในระดับพื้นที่  จำนวน 1 ภูมิภาค  เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรมีจำนวนจำกัด  จึงสามารถจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนในระดับพื้นที่ได้เพียง 1 ภูมิภาค ในปีงบประมาณ  พ.ศ. 2550  และจะดำเนินการต่อเนื่องในปี  พ.ศ.  2551  อีกจำนวน 3 ภูมิภาค และกทม. เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >