หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนสนทนา arrow ความยากไร้ และ สิทธิมนุษยชน : ศราวุฒิ ประทุมราช
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 41 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ความยากไร้ และ สิทธิมนุษยชน : ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 07 May 2008


ความยากไร้ และ สิทธิมนุษยชน

ภาพจาก www.oknation.netโดย : ศราวุฒิ ประทุมราช

เชื่อหรือไม่ ว่าความยากจน หรือ ความยากจนถึงขั้นสิ้นไร้ไม้ตอก อย่างที่เราพูดกันนั้น เป็นประเด็นที่สหประชาชาติ ได้จัดเวทีถกเถียงกันเพื่อหาข้อสรุป เพื่อการขจัดสภาวการณ์เช่นนั้น และประกาศให้ทุกวันที่ 17 ตุลาคมของทุกปี เป็น วันสากลแห่งการขจัดความยากไร้ หรือ International Day for the Eradication of Poverty

การกำหนดให้วันที่ 17 ตุลาคมของทุกปี  เป็นวันสากลแห่งการขจัดความยากไร้ เกิดขึ้นในวันที่  22 ธันวาคม  2535 เมื่อองค์การสหประชาชาติตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องหยุดยั้งความยากจนและความยากไร้ในโลก  การกำหนดนี้เกิดขึ้นห้าปีหลังจากที่ผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนจากทั่วโลก  ผู้ปฏิเสธความยากไร้ในสังคมได้มารวมตัวกันที่กรุงปารีสในวันที่ 17   ตุลาคม  2530 ภายใต้การนำของโจเซฟ วเรซินสกี้ ผู้ก่อตั้งองค์การนานาชาติ  เอทีดี โลกที่สี่   ในวันนั้นผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันกระทำกิจกรรมที่สำคัญคือ

  • รำลึกถึงผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความหิวโหย  ความไม่รู้  และความรุนแรง    
  • ยืนยันความเชื่อที่ว่าความยากไร้มิใช่สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
  • ประกาศความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับผู้คนทั่วโลกที่ต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากไร้ในสังคม 

นับแต่ปี  2535 เป็นต้นมา   ทุกวันที่ 17 ตุลาคม  ในหลายประเทศทั่วโลก มีผู้คน หญิงชายและเด็กมารวมตัวกันเพิ่มขึ้นทุกปี เพื่อที่จะเสริมพลังให้กันและกัน  ยืนหยัดเพื่อพลิกฟื้นความหวังขึ้นมา           

ในที่นี้ขออนุญาต เล่าที่มาขององค์การนานาชาติ เอทีดี โลกที่สี่ เพื่อคนยากไร้ สักเล็กน้อย            

องค์การนี้ ก่อตั้งขึ้นโดย บาทหลวงโจเซฟ วเรซินซกี้ ในปี พ.ศ.2500  โดยท่านได้ร่วมกับครอบครัวยากจนในสลัม Noisy le Grand ชานกรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศส  ก่อตั้งองค์การ เอ.ที.ดี. โลกที่สี่ขึ้น  โดยที่ตัวท่านเองก็เติบโตมาจากครอบครัวยากไร้  ท่านจึงเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าความทุกข์ยากของมนุษย์นั้นเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเอง  หาได้เกิดจากโชคชะตาหรือเคราะห์กรรมไม่  ดังนั้น  ท่านจึงได้ร่วมมือกับครอบครัวยากจนในสลัมแห่งนี้  รณรงค์ให้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการช่วยเหลือคนยากจนเสียใหม่  จากการแจกหรือบริจาคสิ่งของมาเป็นการให้ความรู้  ให้การศึกษา  ให้คำแนะนำ  รวมทั้งกระตุ้นให้คิดแก้ปัญหาความยากจนด้วยการช่วยเหลือตัวเองอย่างมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรี  และเริ่มก่อตั้งเป็นองค์กรเอกชนที่มุ่งต่อสู้เพื่อขจัดความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  รวมทั้งเรียกร้องให้เกิดการเคารพในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างแท้จริง 

วาทะเด่นของท่านในการอธิบายสิ่งที่ท่านกำลังทำ ก็คือ  

ที่ใดก็ตามที่มนุษย์ทั้งชายและหญิง ต้องมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ยากลำเค็ญ ที่นั่นมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน การร่วมมือกันเพื่อทำให้เกิดการเคารพต่อ สิทธิมนุษยชน เป็นภารกิจอันประเสริฐของพวกเราทุกคน 

นอกจากนี้ องค์การนี้ยังได้มี ภารกิจ เพื่อการต่อสู้กับความยากไร้ โดยเชื่อมั่นว่า การต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากไร้นั้น จะกระทำได้อย่างต่อเนื่องและเกิดผลยั่งยืนก็ต่อเมื่อการทำงานให้ความสำคัญต่อประสบการณ์ และการมีส่วนร่วมของผู้ที่เผชิญหน้ากับความยากไร้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน  คนกลุ่มนี้มีทั้งเด็กซึ่งถูกลิดรอนโอกาสที่จะมีอนาคต  คนหนุ่มสาวที่จำต้องทำงานต่ำระดับหรือว่างงาน  ชายและหญิงที่ต้องทนแบกความ อับอายวันแล้ววันเล่า ครอบครัวที่ถูกทำร้ายจากความหิวโหย ความกลัว และความไม่แน่นอนในชีวิต   การขจัดความยากไร้และสนับสนุนให้มนุษย์ได้รับการเคารพในศักดิ์ศรีของตน จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อผู้คนในสังคมลุกขึ้นมาปฏิเสธความ อยุติธรรมนี้   การหยุดยั้งความยากไร้เป็นหนทางสู่การสร้างสันติภาพในสังคม           

องค์การนี้ได้รณรงค์เรียกร้องจนทำให้สหประชาชติประกาศให้มีวันสากลแห่งการขจัดความยากไร้ได้เป็นผลสำเร็จ           

สิ่งที่น่าสนใจ ก็ คือ การที่สหประชาชาติหยิบยกประเด็นเรื่องการขจัดความยากไร้ หรือ extreme poverty มาพูดคุยถกเถียงกันใน คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ซึ่งวาระการประชุมของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิทธิมนุษยชนทั่วโลก แสดงว่าประเด็นเรื่องความยากจน หรือความยากไร้ ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน           

สหประชาชาติและผู้คนที่ทำงานในเวทีโลก ต่างเชื่อว่า ความยากไร้ หรือความยากจน มีความเกี่ยวพันกับ การละเมิดศักดิ์ศรีของมนุษย์ และความไม่เป็นธรรมของคนจำนวนมากที่ขาดโอกาสและไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ได้อย่างเท่าเทียมกันของมนุษย์ในหลายส่วนของประเทศทุกมุมโลก            

การละเมิดศักดิ์ศรีของมนุษย์ ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะ เป็นการให้คุณค่าแก่คน แตกต่างกัน โดยไม่คำนึงว่าคนๆนั้นคือมนุษย์ แต่ให้คุณค่าเพราะคนๆนั้นมีตำแหน่งทางสังคมหรือเศรษฐกิจ เช่น คนทั่วไปจะให้คุณค่าแก่คนรวยมากกว่า คนจน ให้คุณค่าในฐานะที่เขาเป็นคนมีความรู้ มีการศึกษา มากกว่าให้คุณค่าแก่คนที่การศึกษาน้อย หรือไม่ได้รับการศึกษา การให้คุณค่าแก่คนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ สังคมที่แตกต่างกันนำไปสู่การปฏิบัติต่อคนๆนั้น แตกต่างกัน การปฏิบัติต่อคนอย่างแตกต่างกัน นำไปสู่การไม่ยอมรับ ไม่เห็นว่าคนๆนั้น ก็ เป็นคนเช่นกัน คนๆนั้นมีตัวตนอยู่ในสังคม การให้คุณค่าแก่คนและนำไปสู่การปฏิบัติต่อที่แตกต่างกัน นั้น คือ การละเมิดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์แก่คนๆนั้น            

การอธิบายหรือดูว่าสังคมใดมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อคนยากไร้ หรือไม่นั้น คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนได้จัดทำร่างปฏิญญาขึ้นมาฉบับหนี่ง และได้รับการรับรอง เมื่อ 21 สิงหาคม 2549 โดยเรียกว่า แนวทางพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนและความยากไร้ : สิทธิของคนยากจน มีอยู่ด้วยกัน 11 ข้อ เพื่อเป็นแนวทางให้รัฐบาล องค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ และองค์กรที่แสวงหากำไรทางธุรกิจ จะต้องให้ความเคารพ และพยายามดำเนินการเพื่อการขจัดความยากไร้ ให้หมดไป เท่าที่สามารถจะทำได้ ซึ่งขอนำเสนอโดยสรุป ดังนี้

  1. สิทธิการมีส่วนร่วม หมายความว่า การดำเนินกิจกรรมเพื่อการขจัดวามยากไร้นั้น ต้องให้คนยากไร้มีส่วนร่วมใน ทุกขั้นตอน ที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา มีการเปิดเผยกิจกรรมหรือโครงการเหล่านั้น ต่อสาธารณะ และต้องกำหนดตัวชี้วัด กลุ่มเป้าหมายและจัดการประเมินผลอย่างชัดเจน
  2. คนยากไร้มีสิทธิไม่ถูกเลือกปฏิบัติและไม่ถูกตราหน้า ในสังคม โดยนัยนี้การที่ผู้คนในสังคมมักมีอคติว่าคนยากไร้มีลักษณะสกปรก ไม่ได้รับการศึกษา อยู่ในสถานที่แออัด พูดจาหยาบคาย แต่งตัวมอมแมมชอบสร้างความเดือดร้อน เป็นอาชญากร นิสัยชอบความรุนแรง หรือทัศนะอะไรก็ตาม ที่เป็นลักษณะเสมือนการตีตรา หรือตัดสินว่าเป็นคนจน หรือคนยากไร้ ต้องมีพฤติกรรมเช่นนี้ อันนำไปสู่การเลือกปฏิบัติต่อคนเหล่านั้น ต้องได้รับการขจัดให้หมดไปและถือว่านี่คือทัศนะ และการปฏิบัติที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  3. คนยากไร้ต้องได้รับประโยชน์จากหลักการแยกจากกันไม่ได้และการพึ่งพิงกันของสิทธิมนุษยชน หมายความว่า คนยากไร้ต้องไม่ถูกจัดให้อยู่ตามยถากรรม หรือจัดที่อยู่อาศัยให้ แต่ มักถูกตรวจค้นอย่างไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะสิทธิพลเมืองและสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมแยกเป็นส่วนๆไม่ได้
  4. คนยากไร้ต้องได้รับหลักประกันจากสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กล่าวคือ คนยากไร้ต้องได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายทุกแห่งหน ต้องได้รับการปฏิบัติเสมอหน้ากับคนอื่นเมือ่อยู่ต่อหน้ากฎหมาย ได้รับเอกสารแสดงความเป็นพลเมือง ในประเทศนั้นๆ และมีการยอมรับว่ามีตัวตนที่มีเอกสารรับรอง เช่น มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน สามารถสร้างครอบครัว และอยู่กินกันตามประเพณีที่ดีงาม
  5. เข้าถึงสิทธิในอาหาร อย่างน้อยต้องไม่อดอยากยากแค้น จนไม่มีอาหารกิน เพื่อให้ชีวิตรอด โดยรัฐต้องจัดการให้
  6. เข้าถึงการรักษาพยาบาลและได้รับข้อมูลการดูแลสุขภาวะของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
  7. สิทธิในการได้รับน้ำสะอาดสำหรับการบริโภค โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  8. สิทธิในที่อยู่อาศัย รัฐต้องจัดหาให้ ตามความเหมาะสมและพออาศัยอยู่ได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  9. สิทธิในการได้รับการศึกษาและการดำเนินการทางวัฒนธรรมของชุมชนและกลุ่ม
  10. สิทธิในการได้รับการจ้างงานและการคุ้มครองแรงงาน รัฐจะอ้างว่าไม่สามารถดูแลคุ้มครองคนยากไร้ จากปัญหาที่เกิดจากการทำงาน หรือนายจ้างไม่ได้
  11. สิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรม หมายถึงการได้รับการพิจารณาคดี อย่างเปิดเผย มีทนายควมช่วยเหลือ หรือได้รับค่าชดเชยในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงที่ตนไม่ได้ก่อ และเป็นคดีทางอาญา 

แนวทางสหประชาติที่กล่าววข้างต้น  เป็นเสมือนหลักการคุ้มครองและส่งเสริมให้คนยากไร้ได้รับหลักประกันในการอยู่ในสังคม อย่างเหมาะสมศักดิ์ศรี โดยได้รับการคุ้มครองจากรัฐ องค์การระหว่างประเทศ รวมถึงองค์กรทางธุรกิจ มิให้ละเมิดความมีตัวตน หรือความเป็นคนของคนยากไร้ หรือคนชายขอบที่มีอยู่ทั่วทุกมุมของโลก ผู้ที่สนใจสามารถค้นหาแนวทางสหประชาชาติต่อสิทธิมนุษยชนของคนยากไร้ได้ที่  

Draft guiding principles
“Extreme poverty and human rights: the rights of the poor”

A/HRC/Sub.1/58/L.16 

 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >