หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ซัดทหารตัวการสิทธิมนุษยชนถดถอย10ด้าน
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 66 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ซัดทหารตัวการสิทธิมนุษยชนถดถอย10ด้าน พิมพ์
Monday, 17 December 2007

 

Imageซัด "ทหาร" ตัวการสิทธิมนุษยชนถดถอย 10 ด้าน

Source - ไทยโพสต์ (Th)

Tuesday, December 11, 2007 04:30

กรุงเทพฯ--11 ธ.ค.--ไทยโพสต์

กรุงเทพฯ - องค์กรสิทธิมนุษยชนไทยประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศประจำปี 2550 ระบุคืบหน้า 10 และถอยหลังอีก 10 พบก้าวหน้า เช่น ผุด "คตน." ล่าหัวโจกไฟเขียวตัดตอน 2,500 ศพ ส่วนถอยหลังชี้ "ทหาร" ลักไก่สืบทอดอำนาจ เข็นกฎหมายมั่นคงฯ เผยยื่นหนังสือเลขาธิการยูเอ็นให้ช่วยจับตา ด้าน "อังคณา" สงสัย จนท.ขับรถหุ้มเกราะสังหารชาวบ้าน

วันที่ 10 ธันวาคม องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย คณะกรรมการเพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และองค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย คณะทำงานปกป้องและต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ได้จัดแถลงข่าวเนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล เรื่อง "สถานการณ์สิทธิมนุษยชน 10 คืบหน้า 10 ถอยหลัง" ประจำปี 2550 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา

นายศราวุฒ ประทุมราช ตัวแทนคณะทำงานนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน แถลงถึง 10 ประเด็นความคืบหน้าด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ว่า

1.ศาลมีคำสั่งให้ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกระงับการฝึกอบรมอาชีพและปรับทัศนคติ ซึ่งเป็นการควบคุมตัวประชาชนที่ถูกสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับความไม่สงบเรียบร้อย ตามคำร้องของญาติผู้ถูกควบคุม และสุดท้ายได้ปล่อยตัวในที่สุด ถือว่ายังมีการให้ความชอบธรรมกับประชาชนได้ในด้านกระบวนการยุติธรรม

2.ศาลยกฟ้องคดีต้านท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย

3.การออกกฎหมายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 กันยายน 2550

4.การตรวจสอบการฆ่าตัดตอน โดยการตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ ศึกษา และวิเคราะห์ การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษ และการนำนโยบายไปปฏิบัติจนเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของประชาชน (คตน.)

5.การใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิต่อยาของประเทศไทย โดยเฉพาะยาต้านไวรัสเอชไอวี 2 ชนิด และยาป้องกันความรุนแรงของโรคเส้นเลือดอุดตันในหัวใจ และในสมอง 1 ชนิด

6.การคุ้มครองสตรี โดยมีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมทั้งแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2550 เพื่อคุ้มครองสิทธิของเพศหญิงให้มีความเท่าเทียมกับเพศชาย

7.การออกกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว

8.การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2550

9.การขยายสิทธิประโยชน์ดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย และ

10.กรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเอกฉันท์ให้ความเห็นชอบ พ.ร.บ.มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

สำหรับ 10 อย่างที่ถอยหลัง ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศ นายไพโรจน์ พลเพชร เลขาธิการ สสส. ระบุว่า

1.ร่างกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ถือเป็นการให้อำนาจทหารมากเกินไป และจะกลายเป็นการสืบทอดอำนาจ อีกทั้งไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล

2.การละเมิดสิทธิชุมชนในการมีส่วนร่วมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเป็นระบบ

3.กรณีที่ กอ.รมน.เชียงใหม่สั่งยุติการใช้ภาษาชนเผ่าออกอากาศวิทยุชุมชนภาคเหนือ

4.ร่างกฎหมายแก้ไขสัญชาติ โดยไม่ยอมรับรองสถานะความเป็นบุคคล ซึ่งไม่ยอมรับสิทธิเด็กที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ต้องกลายเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย มีโทษทางอาญาตั้งแต่แรกเกิด อีกทั้งมีการไม่ยอมรับความเสมอภาคทางเพศ และการไม่ยอมคืนสัญชาติให้กับกลุ่มไทยพลัดถิ่น

5. การลอบสังหารนางรวิวรรณ เสตะรัต นักต่อสู้เพื่อสิทธิผู้บริโภค ที่ได้รับผลกระทบจากการทำศัลยกรรม

6.คำสั่งไม่ให้กลับบ้าน กรณีที่แม่ทัพภาคที่ 4 มีคำสั่งห้ามบุคคลเข้าไปอยู่อาศัยในเขตท้องที่ จ.ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และในเขตพื้นที่ที่ได้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกเป็นเวลา 6 เดือน ทำให้บุคคลจำนวน 384 คน ไม่สามารถเดินทางเข้าพื้นที่ภูมิลำเนาของตนเองได้

7.การออกประกาศลงนามโดยผู้ว่าราชการจังหวัด เรื่องการกำหนดมาตรการเพื่อจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง โดยห้ามแรงงานต่างชาติออกนอกที่พักตั้งแต่ 2 ทุ่ม ถึง 6 โมงเช้า ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ ห้ามขับขี่จักรยานยนต์ รถยนต์ ห้ามจัดชุมนุม

8.กรณีการจับกุมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 2 คน ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นเบื้องสูง รัฐได้ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ทั้งนี้ ผู้ต้องหาไม่ได้รับสิทธิติดต่อญาติ หลังจากที่เข้าไปรายงานตัว ทำให้ญาติไม่รู้ว่าหายไปไหน จนทุกวันนี้ไม่กล้าเปิดเผยตัวต่อสาธารณชน เพราะเกรงความไม่ปลอดภัย

9.เสรีภาพในการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ จากกรณี นปก.ที่ออกไปขับไล่เผด็จการ ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้วประชาชนทุกคนมีสิทธิในการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ แต่เจ้าหน้าที่กลับเลือกวิธีการสลายม็อบและดำเนินการทางกฎหมายเฉพาะแกนนำการชุมนุม โดยไม่ดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงเป็นการใช้กฎหมายอย่างไม่เสมอภาค

10.กรณีการถอดถอนนายจรัล ดิษฐาอภิชัย ให้พ้นจากคณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ โดยอ้างว่าวางตัวไม่เป็นกลาง ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติ

"ตามสิทธิกระบวนการยุติธรรมและหลักนิติธรรม ต้องถือว่านายจรัลและพวกยังไม่มีความผิดจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด แต่ สนช.กลับทำหน้าที่ถอดถอนนายจรัล เสมือนทำตัวเป็นผู้พิพากษาเสียเอง" นายไพโรจน์กล่าว

นายเมธา มาสขาว เลขาธิการ ครส. ได้แถลงถึงข้อเสนอต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล รวมถึงรัฐบาลไทย และพรรคการเมือง กรณีการเลือกตั้ง และกฎหมายความมั่นคง ว่าให้รัฐบาลไทยยกเลิกกฎอัยการศึกทั้ง 26 จังหวัดที่เหลืออยู่ เพื่อนำไปสู่บรรยากาศประชาธิปไตยในการเลือกตั้ง ขอเรียกร้องให้พรรคการเมืองนำเสนอจุดยืนและนโยบายการสร้างบรรทัดฐานด้านสิทธิมนุษยชนและกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน โดยเฉพาะการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในช่วงก่อนและหลังการรัฐประหารที่ผ่านมา

นายเมธากล่าวต่อว่า ขอให้ประชาชนไทยทุกภาคส่วน ร่วมกันตรวจสอบการเลือกตั้ง และตรวจสอบพฤติกรรมของนักการเมือง ตลอดจนข้าราชการและพรรคการเมืองในด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้การเลือกตั้งที่จะมาถึงมีความโปร่งใสและยุติธรรมมากที่สุด และใช้วิจารณญาณในการเลือกตั้ง ไม่เลือกพรรคการเมืองที่มีประวัติด่างพร้อยในการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือนักการเมืองที่เคยมีประวัติในการส่งเสริมการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือปฏิปักษ์กับการสร้างสันติภาพและสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

เลขาธิการ ครส.ยังเปิดเผยว่า องค์กรด้านสิทธิได้ยื่นหนังสือต่อนายบัน กีมูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เรื่อง ขอให้ยูเอ็นสนับสนุนและผลักดันการสร้างบรรทัดฐานสิทธิมนุษยชนในประเทศ ไทย พม่า และจับตารัฐบาลเฉพาะกาลไทยลักไก่ออกกฎหมายความมั่นคงฯ

ทางด้านนางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาทนายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งเข้าร่วมแถลงข่าวด้วย ได้กล่าวถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนต่อสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า จากการทำงานอยู่ในพื้นที่ แม้จะพ้นช่วงรัฐประหารไปแล้ว แต่พบว่าความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีอยู่ต่อเนื่อง รัฐไม่สามารถให้ความคุ้มครองประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้ ทั้งยังพบว่ามีการถูกจับคุมขังโดยไม่ชอบ การซ้อมทรมานผู้ต้องหา การใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะทหารในทางที่ไม่ชอบ

"ตอนนี้มีข่าวลือหนาหูมากเรื่องการมีรถเกราะกำบังติดอาวุธสังหารประชาชน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐอยู่เบื้องหลัง จะพบว่าหลายๆ เหตุการณ์ที่มีการสังหารประชาชน จะมีการใช้รถกระบะ และคนที่อยู่หลังรถกระบะเป็นผู้ยิง ชาวบ้านจึงสงสัยว่าเขาพกอาวุธปืนมาอยู่หลังรถได้อย่างไรโดยไม่ถูกตรวจค้น ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ทราบดีว่ามีการตรวจค้นมาก จนทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นรถของเจ้าหน้าที่กองกำลังติดอาวุธมาทำร้ายประชาชน ตรงจุดนี้เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐต้องออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงทำความเข้าใจกับประชาชนโดยเร็ว ไม่เช่นนั้นก็จะสร้างขัดแย้งให้เกิดขึ้นในพื้นที่ต่อไปไม่จบ" นางอังคณากล่าว.

วันที่ 11 ธันวาคม 2550

 

 ---------------------------------------------------------------

จาก: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

Link: http://www.nhrc.or.th/news.php?news_id=3025

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >