หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow แค่เคยบ้า.. ทำไมต้องถูกทิ้ง - หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 198 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

แค่เคยบ้า.. ทำไมต้องถูกทิ้ง - หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์ พิมพ์
Wednesday, 19 September 2007

แค่เคยบ้า.. ทำไมต้องถูกทิ้ง


 ภาพของโรงพยาบาลรักษาผู้ป่วยที่มี 'ภาวะจิตไม่ปกติ' เป็นภาพที่หลายคนมองว่า ในนี้จะมีแต่คนไข้ที่พูดไม่รู้เรื่อง เหม่อลอย ร้องไห้ หรือหัวเราะอย่างไร้สติ ทั้งที่จริงๆ แล้ว ไม่ได้มีแค่นั้น...

ยังมีกลุ่มคนเล็กๆ อีกกลุ่มหนึ่ง ที่ 'เคย' ป่วยเป็นโรคจิตที่ได้รับการเยียวยารักษาจนหายดีแล้ว แต่ถูกญาติพี่น้องทอดทิ้งไม่รับกลับไปอยู่ที่บ้านด้วย จากสถิติในโรงพยาบาลศรีธัญญาเพียงแห่งเดียว มีผู้ป่วยที่ถูกญาติทอดทิ้ง 190 คน หรือร้อยละ 20 ของผู้ป่วยทั้งหมด

ตลอดเวลาแม้ผู้ป่วยเหล่านี้จะได้รับการดูแลอย่างดีจากโรงพยาบาลให้อยู่อย่าง 'สุขกาย' แต่ 'ใจ' กลับไม่เคยเป็นสุขสักวันเดียว

ดั่งเช่น 'อัมรา' (นามสมมุติ) ผู้ป่วยแผนกช่วยเหลือตัวเองได้ อายุ 63 ปี หญิงหม้ายที่หลังจากสามีเสียชีวิต เธอก็มีอาการจิตหลอน ระแวงตลอดเวลาว่ามีคนพยายามปองร้ายด้วยการทำคุณไสยหวังฮุบมรดก อาการเธอกำเริบหนักจนช็อค ลูกสาวและลูกชายจึงส่งตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาล จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลา 7 ปีแล้ว อัมรายังคงอาศัยอยู่ในโรงพยาบาล ทั้งที่หายป่วยแล้ว

'เกือบ 2 ปีแล้วที่ไม่มีใครมาเยี่ยมเลย ลูกๆ เขาไปอยู่เมืองนอกกันหมด เขาคงอายที่มีแม่เป็นบ้า' อัมราเล่าด้วยสีหน้าเศร้าๆ หากกระนั้นเธอก็ยังพยายามเข้าใจลูกว่า 'งานคงยุ่ง เลยไม่มีเวลามาเยี่ยม มารับกลับไปอยู่ด้วย'

ในขณะที่ 'ชะเง้อชะแง้' รอลูก อัมราไม่ปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ เธอเข้าฝึกอบรมวิชาชีพของโรงพยาบาลที่จัดขึ้นเพื่อ 'เตรียมความพร้อม' ให้คนไข้ที่หายแล้ว กลับไปใช้ชีวิตร่วมกับคนปกติได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลจะเป็นผู้แจกจ่ายงานให้ทำ โดยประเมินตามความสามารถของคนไข้ เช่น งานแผนกขายของที่ร้านเพื่อน เป็นร้านสวัสดิการของโรงพยาบาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยมาฝึกวิชาชีพ แผนกซักรีดเสื้อผ้า แผนกเสิร์ฟอาหารเครื่องดื่ม แผนกทำความสะอาด เป็นต้น

สำหรับอัมราได้รับมอบหมายให้ทำงานแผนกรีดผ้า โดยทำทุกวันตั้งแต่ 08.00-16.00 น. ได้ค่าตอบแทนวันละ 60 บาท เงินที่หามาได้จากน้ำพักน้ำแรง ส่วนหนึ่งเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน อีกส่วนหนึ่งนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

'เหงานะ คิดถึงลูก แต่พยามยามไม่คิดมาก มีงานทำก็ทำไป ไม่วุ่นวายกับใคร เพราะวุ่นวายไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ถึงลูกจะไม่มาเยี่ยม แต่ก็เชื่อว่า เดี๋ยวเขาต้องมา ตอนนี้เขาอาจจะกำลังทำงานเก็บเงินไว้เป็นค่าเดินทาง ค่าอาหาร ที่พัก สำหรับมารับแม่ของเขากลับไปอยู่ด้วย'

ไม่ว่าลูกจะเป็นอย่างไร คนเป็นแม่อย่างอัมราก็ไม่เคย 'โกรธลูก'

เช่นเดียวกับ 'ลูก' อย่าง 'มีนา' (นามสมมุติ) ที่ป่วยเป็นโรคจิตเภทขั้นรุนแรงหลังจากที่เห็นภาพแม่กินยาฆ่าตัวตายต่อหน้าตาต่อตา และกดดันกับสภาพของพ่อที่เอาแต่กินเหล้า เมาแล้วด่าโหวกเหวกลั่นบ้านทั้งวันทั้งคืน จนญาติพี่น้องต้องส่งเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล เมื่ออายุ 15 ปี ตอนนี้ในวัย 35 ปี เธอได้รับการรักษาจนหาย และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับคนปกติ ทำงานเป็นเด็กปั๊มใกล้ๆ โรงพยาบาล ได้ค่าแรงวันละ 140 บาท

กระนั้น สาวคนนี้....ก็เหมือนกับคนไข้อีกร้อยกว่าชีวิตที่ยังคงอาศัยโรงพยาบาลเป็น 'บ้าน' คุ้มแดดคุ้มฝน เพราะ 'พ่อบังเกิดเกล้า' ไม่ยินดีรับกลับไปอยู่ด้วย

'เคยกลับบ้านไปเยี่ยมพ่อเมื่อปี 2546 เห็นพ่อครั้งแรกดีใจมาก แต่พ่อไม่สนใจเลย ตอนลากลับพ่อยังบอกอีกว่า อยู่ที่ศรีธัญญาแหละ ไม่ต้องกลับมาหรอก' น้ำเสียงสะอื้น

ณ ตอนนี้ ชีวิตของมีนามีทั้งสุขและทุกข์ เธอไม่การันตีตัวเองว่าหายเป็นปกติแล้ว ด้วยเหตุผลว่า ถ้าหายแล้วทำไมยังต้องกินยา แต่ถามว่า ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนไหม เธอยืนยันว่าแทบจะเหมือนคนปกติ 100 เปอร์เซ็นต์

'บางคืนยังนอนร้องไห้อยู่เลย เป็นห่วงที่บ้าน เป็นห่วงพ่อ ถึงเขาจะไม่รักมีนา แต่เขายังเป็นพ่อมีนาอยู่ บางครั้งก็เคยคิดอยากตายนะ แต่พอหันไปมองคนที่แย่กว่า คนพิการ คนแก่ไร้ญาติ เปรียบเทียบกัน มีนายังดีกว่าเยอะ ยังมีชีวิต มีจิตใจ ไม่ต้องอดมื้อกินมื้อ ยังมีมือมีเท้าครบ ไม่พิกลพิการ แค่นี้ก็มีกำลังใจอยู่ต่อแล้ว มีนาไม่เคยเสียใจที่เป็นแบบนี้ เพราะแม่สอนเสมอว่า ให้ยอมรับตัวเอง แล้วเราจะมีความสุข'

นี่แค่โรงพยาบาลเดียวที่มีผู้ป่วยที่ถูกทอดทิ้ง แล้วถ้านับโรงพยาบาลทั่วประเทศล่ะ จะมีอีกกี่พันก็หมื่นคนที่ 'เฝ้ารอ' เพื่อจะได้กลับบ้านไปใช้ชีวิตเยี่ยงคนปกติกับ 'ครอบครัว'

จาก หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์
Link: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=4260&catid=11

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >