หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 38 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ไตร่ตรองเรื่องวิกฤติโลกร้อน - อัจฉรา สมแสงสรวง พิมพ์
Thursday, 13 September 2007

Image
ไตร่ตรองเรื่องวิกฤติโลกร้อน 

อัจฉรา  สมแสงสรวง


ในการประชุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนา เมื่อวันที่ ๒๖ – ๒๗  เมษายน ๒๐๐๗  ศาสนจักรคาทอลิก โดยองค์ผู้นำ พระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ ๑๖ ทรงเรียกร้องให้ทุกคนเคารพสิ่งสร้าง และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องร่วมมือกันเพื่อให้วาระการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นวาระสำคัญยิ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืนในศตวรรษที่ ๒๑  ทั้งนี้ ประชากรทุกเผ่าพันธุ์   ทั้งที่กำลังสาละวนกับการทำสงคราม อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์การเมือง หรือไม่ก็ตาม ต่างกำลังเผชิญกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และหลีกเลี่ยงไม่ได้   จากอากาศที่ร้อนขึ้นหรือเย็นลงอย่างยาวนาน  จนดูเหมือนว่าเป็นรอบของธรรมชาติที่โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคน้ำแข็งใหม่ โดยที่มนุษย์แทบไม่รู้สึกตัว 

  • ปรากฏการณ์ภูเขาน้ำแข็งในขั้วโลกใต้ก้อนมหึมาพังทลายลงอันเนื่องมาจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นเป็นสาเหตุให้ระดับน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้นปีละประมาณ ๑ เมตร   และส่งผลกระทบต่อประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกใต้บางประเทศ อาทิ ตูวาลู (Tuvalu) และคีรีบาส (Kiribati)  ที่มีพื้นดินสูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง ๓ เมตร   กำลังถูกน้ำทะเลกลืนผืนดินอย่างต่อเนื่องImage
  • ประเทศบังคลาเทศ ที่ทางกายภาพ ตั้งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าน้ำทะเล  ประชากรที่ยากจนกว่า ๓๐ ล้านคน ต้องเผชิญกับสภาพน้ำท่วมซ้ำซาก และกลายเป็นกลุ่มคนที่พลัดถิ่นที่อยู่อาศัย
  • อุณหภูมิในมหาสมุทรแอตแลนติกที่สูงขึ้น อันเป็นที่มาของพายุเฮอร์ริเคน และทอร์นาโดที่รุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในรอบ ๓๐ปี ที่ผ่านมา
  • ภาวะน้ำท่วมอย่างผิดฤดูกาลในทวีปยุโรป
  • ภาวะแห้งแล้งที่กินเวลานาน จนหลายพื้นที่ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก กลายเป็นพื้นที่ทะเลทรายใหม่
  • การแพร่กระจายของเชื้อมาเลเรียที่ไม่เคยมีมาก่อน ในเขตที่สูงกว่า ๗,๐๐๐ ฟุตจากระดับน้ำทะเล เช่น ในโคลัมเบีย ในเทือกเขาแอนดิส รวมไปถึงบรรดาสัตว์อย่างน้อย ๒๗๙ สปีชีส์ พยายามย้ายถิ่นที่อยู่

Imageสภาพที่กล่าวมา ประเทศไทยก็เผชิญเข้าแล้ว ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สภาพอากาศที่แปรปรวน  ภาวะน้ำท่วมในภาคกลางยาวนาน การเกิดคลื่นสูงตามชายฝั่งทะเล  อุณหภูมิที่สูงขึ้นเกือบถึง ๔๕  องศาเซลเซียส ฤดูฝนที่มาก่อนฤดูกาล  และการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองที่รุนแรง รวมไปถึงการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพอากาศเย็นชื้นยาวนาน เช่น เชื้อโรคไข้หวัดนก และไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

การเผชิญหน้ากับนิเวศน์ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงนี้เป็นการท้าทายที่ยิ่งใหญ่ พระศาสนจักรเป็นด่านหน้า ที่ต้องรับมือ เพราะปัญหาอันใหญ่หลวงนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องศีลธรรมโดยตรง  และผู้ที่ได้รับผลกระทบจำนวนมหาศาล คือ คนยากจน  ที่โดยชีวิตปกติก็แทบจะไม่มีโอกาสเข้าถึงความร่ำImageรวยทางธรรมชาติอยู่แล้ว  ในความเชื่อของคริสตชน  นิเวศน์ธรรมชาติเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ดังปรากฏในพระคัมภีร์บทปฐมกาล  พระเจ้าทรงประทานโลกและสิ่งสร้างเพื่อมนุษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่าได้ใช้ประโยชน์และดูแลรักษา  เพื่อมนุษย์ได้ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและครบครัน แต่ทุกวันนี้ สังคมมนุษย์ที่หลงติดอยู่ในกับดักแห่งการพัฒนาที่มุ่งแต่การเติบโตทางเศรษฐกิจ  มนุษย์เราใช้ชีวิตเป็นเสมือนโจรสลัด   เราปล้นสะดมต้นทุนชีวิตของเราเอง  หรือหากเปรียบนิเวศน์ธรรมชาติเป็นดังธนาคาร  เราไปถอนเงินฝากของเราออกมาใช้อย่างอีรุ่ยฉุยแฉก ขณะนี้คลังเงินในธนาคารกำลังหมดไป

พระศาสนจักรในฐานะผู้สืบทอดพันธกิจของพระคริสตเจ้า “เรามาเพื่อท่านจะมีชีวิต และมีชีวิตที่สมบูรณ์”(ยน ๑๐ - ๑๐) จะช่วยให้ประชากรของโลกมีชีวิตที่สมบูรณ์อย่างไร  ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงนิเวศน์ธรรมชาติ ในที่สุดจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราทั้งหมด 

Imageในพิธีบูชาขอบพระคุณของชาวคริสต์  โดยเฉพาะภาคบูชาขอบพระคุณ  แผ่นปังและเหล้าองุ่น มีนัยที่สำคัญที่สุด ซึ่งอธิบายถึงสิ่งจำเป็นของมนุษย์ และการงานอันเป็นเรื่องพื้นฐานของมนุษย์  นั่นคือ มนุษย์ต้องมีชีวิตและเจริญเติบโต ด้วยการกระทำเพื่อได้รับประโยชน์สูงสุดจากสิ่งสร้าง   แผ่นปังทำมาจากข้าวสาลี ที่เติบโตงอกงามจากผืนดิน ผ่านการนวด สี  โม่ และอบ เช่นเดียวกับเหล้าองุ่น ที่เป็นผลมาจากน้ำองุ่น อันเป็นผลมาจากแรงงานของมนุษย์ ดังนั้น การรับศีลมหาสนิท (การรับแผ่นปังของชาวคริสต์) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับนิเวศน์ธรรมชาติ ที่เป็นความสัมพันธ์ชนิดแนบแน่น และเต็มไปด้วยความเคารพ มิใช่ความสัมพันธ์เชิงเอาเปรียบ ตักตวงเอาประโยชน์จากธรรมชาติ  

พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ ๒ เคยกล่าวเตือนว่า ปัญหานิเวศน์ธรรมชาติเป็นเรื่องของจริยธรรมของมนุษย์ พระองค์เรียกร้องคริสตชนให้หันมาร่วมฟื้นฟูนิเวศน์ธรรมชาติ  และให้ตระหนักว่าภารกิจดังกล่าวเป็นกระแสเรียกของมนุษย์ทุกคน  มนุษย์ควรเปลี่ยนแปลงด้านนิเวศน์ชีวิตของตนเอง ด้วยการฟื้นฟูจิตวิญญาณของตนเอง  ควบคู่ไปกับการเคารพฟื้นฟูธรรมชาติ  และต้องออกจากตนเองไปสู่ผู้อื่น  พระศาสนจักรในยุคปัจจุบัน ยังนำหลักคำสอนด้านสังคมที่สำคัญมายืนยันข้อเรียกร้องดังกล่าว  


เรื่องที่หนึ่ง ประโยชน์ผาสุกของส่วนรวม (Common Good)  

Imageวิกฤตินิเวศน์ธรรมชาติ  โดยเฉพาะประเด็นภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นตัวอย่างของการคำนึงเรื่องความผาสุกของส่วนรวม  ทั้งนี้ อากาศที่ห่อหุ้มโลก ก็ห่อหุ้มมนุษย์  สัตว์ พืช  และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด   และเมื่อทุกชีวิตอยู่รอดด้วยอากาศ   สิ่งนี้อธิบายได้ถึงความเป็นสากลของประโยชน์ผาสุกของส่วนรวม  ซึ่งไม่ว่ามนุษย์ในยุคใดก็ตามต้องร่วมกันรับผิดชอบ ดูแล รักษา และเข้าถึงประโยชน์ร่วมกัน การส่งต่อปัญหาโลกร้อนแก่คนรุ่นต่อไป  สะท้อนถึงความไม่รับผิดชอบ และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนของมนุษย์ในยุคที่ให้คุณค่าแก่วัตถุสำคัญกว่าความเป็นมนุษย์   เราไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะทิ้งมรดกแห่งปัญหาที่ยิ่งใหญ่แก่ลูกหลาน  ทั้งนี้ ในฐานะผู้พิทักษ์มรดกของพวกเขา เรามีพันธะหน้าที่ที่ต้องเคารพในศักดิ์ศรีของคนรุ่นใหม่ด้วย  และต้องส่งต่อมรดกแห่งนิเวศน์ธรรมชาติที่เราได้รับมาจากบรรพบุรุษให้แก่ลูกหลาน เพื่อว่าชีวิตของอนุชนรุ่นหลังจะดำรงชีวิตอย่างดีกว่ายุคสมัยที่เราเป็นอยู่นี้  


เรื่องที่สอง การพิทักษ์รักษาสิ่งสร้างของพระเจ้า (Stewardship) 

Imageการพิทักษ์รักษาในความเข้าใจของคริสตชน เป็นการกระทำที่เต็มไปด้วยความรับผิดชอบทางศีลธรรม สิ่งแวดล้อมและทรัพย์สินบนโลกนี้ เป็นสิ่งจำนองทางสังคม  โลกนี้เป็นของพระเจ้า  และเป็นสิ่งที่ให้ยืมแก่มนุษย์  มนุษย์ควรเป็นผู้พิทักษ์ที่ดีต่อโลก เราควรใช้สติปัญญาซึ่งพระเจ้าประทานมาให้ ในการร่วมกันปกป้องศักดิ์ศรีและชีวิตมนุษย์ด้วยกัน และปฏิบัติการเพื่อดูแลรักษาสรรพสิ่งบนโลกนี้ด้วยความรัก

การพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของทุกคนไม่ว่าร่ำรวยหรือยากจนที่ต้องปฏิบัติด้วยจิตสำนึกแห่งศีลธรรม   เราต้องดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความรับผิดชอบ ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่ง หรือมีชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติ มากกว่าการจัดการธรรมชาติราวกับว่ามิได้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ  


เรื่องที่สาม การพัฒนาที่แท้จริง  (Authentic Development) 

Imageการพัฒนาที่แท้จริง ควรพิจารณาถึงมิติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งในเรื่องศีลธรรมของประชาชน ความรับผิดชอบของสังคม  การปฏิบัติความยุติธรรม  การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง และการเคารพต่อแบบแผนทางวัฒนธรรมที่ช่วยให้มนุษย์ทุกคนมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่สมบูรณ์ขึ้น  มากกว่าเรื่องของการมีวัตถุในครอบครองเพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว  เราต้องไม่ปล่อยให้ความกระหายอยากวัตถุ มีมากจนกระทั่งทำให้ความคิดคำนึงของเราต่อความทุกข์ยากของผู้อื่นสูญหายไป การดำเนินชีวิตที่ให้ความสนใจน้อย ต่อการได้มาซึ่งวัตถุ อาจเป็นสิ่งที่เตือนเราถึง การ เป็น มนุษย์ของเรามีค่ายิ่งกว่า  การ มี สิ่งของต่างๆ ไว้ในครอบครองมากมาย

ประเด็นภาวะโลกร้อนที่หนักหน่วงอยู่ในขณะนี้  เป็นสิ่งที่ท้าทายการพัฒนาอย่างยิ่ง  เราไม่ควรที่จะโต้เถียงกัน หรือประณามกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งว่าเป็นตัวต้นเหตุ  เช่น การกล่าวหาที่เป็นสูตรสำเร็จว่า ชาวเขา / ผู้อยู่บนดอย เป็นผู้ที่เผาป่า อันเป็นเหตุให้เกิดวิกฤติอากาศร้อนในภาคเหนือ เมื่อเดือนมีนาคม – เมษายน ที่ผ่านมา ทั้งนี้ การพัฒนาที่เน้นเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายก็ละเลยเรื่องศีลธรรม กระทำการด้วยความไม่รับผิดชอบ มุ่งแต่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น และสกัดกั้นไม่ให้คนด้อยโอกาสกว่าเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงได้รับ หรือพูดง่ายๆ ว่า ถ้าเป็นผลประโยชน์ ฉันเอา แต่ถ้าเป็นผลเสีย คุณรับไปก็แล้วกัน 

จุดยืนเรื่องการพัฒนาที่แท้จริง  ที่ปรากฏในสมณสาสน์การพัฒนาประชาชาติ (ค.ศ.๑๙๖๗) ยังเป็นสิ่งร่วมสมัยในปัจจุบันนี้  โดยเฉพาะเรื่องความรับผิดชอบทางศีลธรรมของประเทศที่ก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม  ที่ต้องปรับการผลิตมิให้ล้นเกินความจำเป็น เกินการบริโภคที่ควรจะเป็น  ประเทศเหล่านี้ที่มีความพร้อมด้านเงินทุน มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี  และมีสมรรถนะในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ควรหันมาช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ยังเผชิญกับภาคเกษตรที่ล้มลุกคลุกคลาน (เพราะถูกประเทศที่พัฒนาเข้ามาตักตวงทรัพยากรธรรมชาติไป)  เพื่อให้เขาได้หลุดพ้นจากสภาพยากจนที่กดทับอยู่  และที่สำคัญ การพัฒนาทั้งสองภาคนี้ต้องมีดุลยภาพแห่งการเคารพคุณค่าของธรรมชาติ และการคำนึงถึงชีวิตที่ผาสุกของมนุษย์ทุกคน   

เรื่องที่สี่  ความยุติธรรมเป็นความยุติธรรมต่อคนยากจนหรือไม่

Imageการปรับตัวของกลุ่มคนเหล่านี้เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่าย เหมือนกับผู้ที่มีกำลังทางเศรษฐกิจ เพราะชีวิตของเขาทั้งหมดขึ้นอยู่กับต้นทุนธรรมชาติ ในที่สุด พวกเขาต้องเป็นผู้อพยพอีกครั้ง จากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ  และเป็นความยุติธรรมหรือไม่ต่อคนรุ่นใหม่  ผู้ที่ต้องรับเอามรดกของอากาศที่ผันแปรอยู่อย่างต่อเนื่องและภัยพิบัติจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น  การกลับมาแพร่กระจายของเชื้อโรคเขตร้อน และผลกระทบต่อภาคเกษตร  ที่สุดถือเป็นความอยุติธรรมต่อสิ่งสร้างทั้งหมด เพราะไม่มีสิ่งใดหลบเลี่ยงจากการถูกรบกวนด้วยความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ

ความห่วงใย รวมไปถึงจุดยืนทางศาสนาข้างต้นจะไม่บรรลุผล หากไม่มีการปฏิบัติในชีวิตจริง  ภาวะโลกร้อน และอากาศที่เปลี่ยนแปลง กำลังท้าทายความเชื่อของผู้มีศาสนา ว่า เรายังปฏิบัติความรักต่อเพื่อนพี่น้องของเราหรือไม่   เรายังเป็นมนุษย์คนหนึ่งในครอบครัวมนุษยชาติ ที่ต้องดำรงชีวิตอยู่โดยสัมพันธ์กับสรรพสิ่งหรือไม่  หากคำตอบว่า ความรักต่อเพื่อนบ้านเป็นความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด เพื่อรวมเราเป็นหนึ่งเดียวกันในโลกธรรมชาตินี้  การดำเนินชีวิตท่ามกลางวิกฤตินิเวศน์ธรรมชาติ ควรมีคุณค่าหลักซึ่งมาจากพลังจิตภายใน นั่นคือ การควบคุมตนเอง ความชีวิตท่ามกลางวิกฤตินิเวศน์ธรรมชาติ ควรมีคุณค่าหลักซึ่งมาจากพลังจิตภายใน นั่นคือ การควบคุมตนเอง ความสุขุมรอบคอบ ความยุติธรรม และความกล้าหาญ[๑] ซึ่งทั้ง ๔ คุณค่านี้ ช่วยให้มนุษย์ดำรงอยู่อย่างสมดุลกับมนุษย์ด้วยกัน และกับธรรมชาติอันเป็นสิ่งสร้างของพระเจ้า ทั้งนี้ ความสำเร็จในชีวิตมนุษย์มาจากการที่มนุษย์มีความสุขสูงสุดจากการใช้ทรัพยากรของโลกน้อยที่สุด   “enough is enough”[๒]



[๑] Thomas Aquinas

[๒] E.F. Shumacher , Small is Beautiful : Economic as if People Mattered


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >