หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 94 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


การศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ พิมพ์
Thursday, 06 February 2014


แผนงานการศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ

แผนกยุติธรรมและสันติ
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม 


ทำไมต้องมี การศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ?

เพราะสังคมไทยกำลังต้องการเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ผู้คนสามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยความรัก ความสามัคคี และมีมิตรไมตรีต่อกัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติวัฒนธรรมเข้ามาอยู่ร่วมกันในสังคมไทย ดังนั้น สิ่งจำเป็นเร่งด่วนในขณะนี้คือ การเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และเผยแพร่ให้บุคคลทุกระดับเกิดความตระหนักในการเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม

การศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความเข้าใจในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมและค่านิยมสากล ที่มุ่งให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม อันนำมนุษย์ไปสู่การเคารพซึ่งกันและกัน สามารถยุติความขัดแย้ง และอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของการศึกษาคาทอลิก ซึ่งให้ความสำคัญกับการทำให้คุณค่าของพระวรสาร ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา และชีวิตภาวนา อยู่ในบรรยากาศการเรียนการสอนและในทุกกิจกรรม ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักรักและรับใช้ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และเสริมสร้างสังคมที่ดีงาม


ความเป็นมาและพัฒนาการ

ระหว่างปี 2538 - 2539 แผนกยุติธรรมและสันติ (เดิม : คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ / ยส.) เริ่มการดำเนินงานโดยประสานความร่วมมือกับผู้ทรงคุณวุฒิ นักการศึกษา และนักส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เพื่อกำหนดแนวทางที่เป็นไปได้ในการจัดตั้งโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2541 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวน 11 คน ประกอบด้วย นักการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ตัวแทนสภาการศึกษาคาทอลิกฯ และนักวิชาการ และได้จัดพิมพ์ "คู่มือการเรียนการสอนสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ" สำหรับใช้ประกอบการอบรม

เดือนกุมภาพันธ์ 2542 เริ่มดำเนินการครั้งแรกด้วยการจัดประชุมผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิก ที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย เพื่อแนะนำโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา มีผู้เข้าร่วมประชุม 52 คน จาก 22 โรงเรียน และจัดสัมมนาผู้บริหาร เรื่องสิทธิมนุษยชน ที่อาคารมูลนิธิเซนต์คาเบรียล มีผู้บริหารจาก 20 โรงเรียนเข้าร่วม

จากนั้นในเดือนเมษายน 2542 เริ่มจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนศึกษา เป็นเวลา 4 วัน ให้แก่ตัวแทนครูจาก 7 โรงเรียน ที่สำนักงานกลางซิสเตอร์ผู้รับใช้ฯ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และพัฒนาไปสู่การจัดอบรมให้แก่คณะครูทั้งโรงเรียน ที่โรงเรียนนารีวุฒิ จ.ราชบุรี เป็นแห่งแรก ในเดือนพฤษภาคม 2542

ในปี 2543 ได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชนศึกษา ให้แก่กลุ่มผู้นำลูกเสือรัตนโกสินทร์ และจัดกิจกรรมติดตามประเมินผลการบูรณาการสิทธิมนุษยชนในโรงเรียนที่รับการอบรมในปี 2542 นอกจากนี้คณะกรรมการโครงการฯ ชุดแรกมีมติให้ทาบทามตัวแทนสภาการศึกษาคาทอลิกฯ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา

ต่อมาในปี 2544 ได้สนับสนุนให้ครูโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยและโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยเข้าร่วมอบรม Human Rights ที่จัดโดย Human Rights OSAKA ที่ประเทศฟิลิปปินส์ และสนับสนุนคณะวิทยากรให้กับ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เรื่อง "การบูรณาการสิทธิมนุษยชนศึกษาในการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา" ซึ่งจัดโดยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้แก่ครูจากโรงเรียนในเขตอีสานใต้

ปี 2545 คณะกรรมการโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา ได้รับเชิญจากสภาการศึกษาคาทอลิกฯ เข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการในงานมหกรรมการศึกษา โดยได้เชิญ รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร บรรยายเรื่อง "สิทธิมนุษยชนศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก" จากนั้นได้มีการจัดพิมพ์และเผยแพร่หนังสือ "เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา" จำนวน 2,000 เล่ม เพื่อเผยแพร่ในโรงเรียน

ปี 2548 - 2549 ตัวแทนคณะกรรมการโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา ยส. ร่วมเป็นคณะทำงานและวิทยากรอบรมในคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนศึกษา ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และจัดทำศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชน ประเภทหนังสือและสื่อต่างๆ เช่น วีดีทัศน์ ภาพยนตร์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เพื่อให้บริการแก่โรงเรียน องค์กรเครือข่าย และผู้ที่สนใจ

ปี 2548 - ปัจจุบัน มุ่งเน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนศึกษาแก่ครูทั้งโรงเรียน


สรุปผลการดำเนินงาน

โรงเรียนคาทอลิกที่ผ่านการอบรมสิทธิมนุษยชนศึกษา จำนวน 83 โรงเรียน ผู้รับการอบรมจำนวน 3,453 คน จำแนกเป็น

  • จัดสัมมนา / อบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนศึกษา แก่ครูทั้งโรงเรียน จำนวน 26 โรงเรียน
  • จัดประชุม / สัมมนา / อบรมเชิงปฏิบัติการ โดยมีครูตัวแทนกลุ่มสาระจากหลายโรงเรียนเข้าร่วม จำนวน 18 ครั้ง


การขยายผลจากการอบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนศึกษา

1) จัดอบรมต่อเนื่องแก่บุคลากรของโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา จ.ชลบุรี

ปี 2554 (1) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนศึกษาให้แก่ครูทั้งโรงเรียน และ (2) จัดอบรม Training of Trainers สิทธิมนุษยชนศึกษาให้แก่กลุ่มแกนนำครูโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา และโรงเรียนปรีชานุศาสน์ จ.ชลบุรี ปี 2555 (1) จัดอบรมการสื่อสารเพื่อสร้างสันติให้แก่คณะครูและบุคลากรสนับสนุนทั้งโรงเรียน และ (2) อบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นคนกลางด้วยหัวใจ : เป็นคนกลางเพื่อสร้างสันติ ให้แก่กลุ่มแกนนำครู


2) จัดค่ายเยาวชนสิทธิมนุษยชนกลุ่มเยาวชนและนักเรียน

ปี 2549 ได้ริเริ่มจัดค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ร่วมกับ Amnesty International Thailand และระหว่างปี 2550 - 2556 ได้จัดค่ายยุวสิทธิมนุษยชนให้แก่เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 14 ครั้ง และจัดอบรมสิทธิมนุษยชนให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนคาทอลิก จำนวน 12 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการขยายผลไปสู่เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ และเยาวชนในเครือข่ายศูนย์สังคมพัฒนา และจัดค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนนักสิทธิมนุษยชน (ค่ายสัมผัสชีวิต)

ปี 2556 ได้ริเริ่มจัดค่าย Training of Trainers ให้แก่แกนนำนักเรียนโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา จ.ชลบุรีและจัดฐานเรียนรู้สิทธิมนุษยชนในค่ายลูกเสือ-เนตรนารีของโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา



แผนแม่บท งานการศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประชาคมโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งสิทธิมนุษยชนให้เกิดขึ้นในทุกสังคมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่า การปฏิบัติด้วยความเคารพในสิทธิซึ่งกันและกันของมวลมนุษยชาติ จะก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมและเป็นหนทางไปสู่สันติภาพอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ภาพความเป็นจริงของประเทศไทยในปัจจุบัน ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและความรุนแรงเกิดขึ้นในสังคมหลายมิติและทุกระดับ ทั้งในครอบครัว ในชุมชน ตลอดจนกลไกด้านสังคม การเมือง กฎหมาย และเศรษฐกิจ ดังนั้น สิ่งจำเป็นเร่งด่วนของสังคมไทยในขณะนี้ คือ การเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และเผยแพร่ให้บุคคลทุกระดับเกิดความตระหนักในเรื่องการเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยมีพันธกิจที่สำคัญในปัจจุบันคือ การเป็นมโนธรรมของสังคม จึงถือเป็นหน้าที่สำคัญที่จะต้องผลักดัน รณรงค์ ให้ข้อคำสอนและชี้แนะ เพื่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกันของมนุษย์ มุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดกระแสวัฒนธรรมแห่งความรัก เมตตา การแบ่งปัน ความยุติธรรมและสันติสุขอย่างแท้จริงในสังคม การศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความเข้าใจเรื่องคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมและค่านิยมสากลที่มุ่งให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม อันนำมนุษย์ไปสู่การเคารพซึ่งกันและกัน สามารถยุติความขัดแย้ง และอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 จนถึงปัจจุบัน โครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา ได้ดำเนินงานส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนในสถานศึกษาคาทอลิกมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นยังไม่เพียงพอต่อการส่งผ่านความเข้าใจและการตระหนักในวิถีปฏิบัติแห่งสิทธิมนุษยชนออกไปสู่สังคมวงกว้าง จากการสรุปบทเรียนพบว่า หากจะขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ มีความยั่งยืน และสามารถขยายผลออกไปในระดับกว้าง ต้องส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพเข้าสู่โครงสร้างของสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และสร้างความเข้มแข็งแก่บุคลากรในสถานศึกษา ให้เป็นผู้นำที่สามารถฝึกอบรมและถ่ายทอดแก่ผู้อื่นได้

ด้วยตระหนักในความสำคัญของการให้การศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันติภาพแก่เด็กและเยาวชน
ซึ่งจะเติบโตขึ้นไปมีบทบาทต่อสังคมในอนาคต และเพื่อให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของการศึกษาคาทอลิกตามแผนอภิบาล ค.ศ. 2010-2015 ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญกับการทำให้คุณค่าของพระวรสาร ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม จิตอาสาและชีวิตภาวนา อยู่ในบรรยากาศการเรียนการสอนและในทุกกิจกรรม โดยมุ่งให้ผู้เรียนรู้จักรักและรับใช้ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และเสริมสร้างสังคมที่ดีงาม ในโอกาสนี้ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกความยุติธรรมและสันติ (ยส.) จึงได้สืบทอดการดำเนินงานของโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา ด้วยการจัดตั้งแผนงาน ‘การศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ' เพื่อเป็นเครื่องมือในการให้การศึกษากับเด็กและเยาวชนให้มีโอกาสเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่สันติสุขของสังคมไทยในอนาคต


วัตถุประสงค์

   1. สร้างความรู้ความเข้าใจและการตระหนักในสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในสถาบันการศึกษาและในชุมชน

   2. ส่งเสริมการบูรณาการสิทธิมนุษยชนและสันติภาพเข้าสู่ระบบการศึกษาและในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

   3. สร้างวิถีปฏิบัติการเคารพสิทธิมนุษยชนและวัฒนธรรมแห่งสันติภาพในสถาบันการศึกษาและในสังคมไทย


กลุ่มเป้าหมาย

   นักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษาคาทอลิก และชุมชน


ระยะเวลาดำเนินการ

   5 ปี ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2552 ถึง 30 มิถุนายน 2557


คณะอนุกรรมการ

งานการศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ มีคณะอนุกรรมการ ดังรายนามต่อไปนี้

   1. รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร     ประธาน         ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา

   2. คุณนริศ มณีขาว                รองประธาน    นักวิชาการอิสระด้านสันติภาพ

   3. คุณพ่อวัชรินทร์ สมานจิต     กรรมการ       ผู้บริหารโรงเรียนดาราสมุทร จ.ชลบุรี

   4. ภราดาวิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์     กรรมการ       นักวิชาการด้านการศึกษาคาทอลิก

   5. ซิสเตอร์โนรา ระดมกิจ         กรรมการ       ผู้รับผิดชอบฝ่ายสังคมคณะพระหฤทัยฯ

   6. คุณชื่นสุข อาศัยธรรมกุล     กรรมการ       นักวิชาการอิสระด้านสตรี

   7. คุณอัจฉรา สมแสงสรวง       กรรมการ       ผู้อำนวยการแผนกยุติธรรมและสันติ

   8. คุณพ่อเดชา อาภรณ์รัตน์     กรรมการ       เลขาธิการสภาการศึกษาคาทอลิกฯ


บทบาทหน้าที่

   คณะอนุกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่ง วาระละ 3 ปี และมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการดำเนินแผนงาน ‘การศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ' ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรและคู่มือ และการจัดอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ และงานติดตามผล


แผนการดำเนินงาน

   1. จัดทำหลักสูตรและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

   2. ติดตามผลโรงเรียนที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ ปีละ 1 ครั้ง

   3. จัดอบรม Training of Trainers (TOT) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

   4. จัดทำคู่มือ Training of Trainers (TOT) ปี 2556


กรอบเนื้อหาหลัก

หมวด 1 สิทธิมนุษยชน

   1. แนวคิด ความเป็นมา และพัฒนาการสิทธิมนุษยชน

   2. ศาสนธรรมกับสิทธิมนุษยชน

   3. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

   4. หลักการสำคัญของสิทธิมนุษยชน

   5. สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน

   6. สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และกลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

   7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก

   8. คุณค่า ศักดิ์ศรี และสิทธิทางเพศ


หมวด 2 การสร้างสันติภาพและการจัดการความขัดแย้ง

   1. แนวคิด และหลักการแห่งสันติภาพ

   2. สันติภาพจากประสบการณ์ในชีวิต

   3. การสื่อสารเพื่อสร้างสันติ

   4. การจัดการความขัดแย้ง


หมวด 3 ประเด็นทางสังคมในสถานการณ์ปัจจุบัน

   1. การค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานเด็ก

   2. ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

   3. การจัดการเรียนการสอนแก่เด็กพิเศษ

   4. การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน


หมวด 4 การบูรณาการสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในสถาบันการศึกษา

   1. การศึกษาสิทธิมนุษยชนและสันติภาพเพื่อส่งเสริมค่านิยมอันพึงประสงค์

   2. การจัดทำแผนการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ


ผลที่คาดหวัง

   1. ผู้รับการอบรมเข้าใจและตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ และพัฒนาไปสู่การปฏิบัติการเคารพสิทธิมนุษยชนและวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ ในสถาบันการศึกษาและในชุมชน

   2. เกิดกลุ่มแกนนำครู ผู้เป็นนักฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ

   3. สถานศึกษาคาทอลิก สามารถประยุกต์ใช้คู่มือการจัดอบรม Training of Trainers และขยายผลต่อ


 

ตัวอย่าง

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ

โรงเรียน.......................................... ระหว่างวันที่..........................


ปัจจุบันสังคมไทยกำลังให้ความสำคัญในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนและ
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติมากขึ้น โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ซึ่งจะมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติวัฒนธรรมเข้ามาอยู่ร่วมกัน ความเข้าใจและการตระหนักในการเคารพ
ซึ่งกันและกัน จะช่วยให้คนในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสอดคล้อง กลมกลืน และมีสันติสุข
ท่ามกลางกระแสปฏิรูปการศึกษาที่กำหนดให้การจัดการศึกษาจะต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคน
มีความสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ระบบการศึกษาจึงอยู่ในช่วงที่ท้าทายอย่างยิ่งในการสร้างมิติใหม่ของการจัดการศึกษา โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาคนให้สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต การศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จะเป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรม ค่านิยมสากล และคุณค่าทางจิตวิญญาณ มุ่งให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม อันจะนำมนุษย์ไปสู่การเคารพซึ่งกันและกัน สามารถยุติความขัดแย้ง และอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

จุดมุ่งหมายของการศึกษาจะต้องพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน และมุ่งให้ผู้เรียนรู้จักรักและรับใช้
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น และมีส่วนในการเสริมสร้างสังคมที่ดีงาม ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ที่สนับสนุนครูให้ความสำคัญต่อค่านิยมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ให้นักเรียนเป็นคนดีทั้งในครอบครัว ในโรงเรียน และในชุมชน
ในโอกาสนี้จึงเป็นการเหมาะสมที่สถานศึกษาคาทอลิกจะให้ความสำคัญในการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ อันจะนำไปสู่วัฒนธรรมแห่งความรัก ความยุติธรรม และสันติสุขในสถานศึกษาและในสังคมไทย


วัตถุประสงค์

  1. ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก และทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างสันติ 

  2. เพื่อให้ตระหนักในศาสนธรรมและมิติด้านจิตวิญญาณของสิทธิมนุษยชน

  3. เพื่อให้เกิดการบูรณาการสิทธิมนุษยชนและสันติภาพเข้าสู่หลักสูตรการเรียนรู้

  4. สร้างวิถีปฏิบัติสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในโรงเรียนและในชุมชน


กลุ่มเป้าหมาย

  ครูผู้สอนและบุคลากรโรงเรียน.................................................................จำนวน.......... คน


วัน - เวลา - สถานที่

  ระหว่างวันที่ ............................................... 2556

  ณ ห้องประชุมโรงเรียน...............................................................


หน่วยงานที่รับผิดชอบ

  คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกความยุติธรรมและสันติ (ยส.) ร่วมกับ
  โรงเรียน.................................................................


ทีมวิทยากร

  1. รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา

  2. คุณพ่อมหาโซโน โปรโบ เอส.เจ. ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิญญาณของการศึกษา

  3. คุณอัจฉรา สมแสงสรวง ผู้อำนวยการแผนกความยุติธรรมและสันติ

  4. คุณพิทักษ์ เกิดหอม ผู้เชี่ยวชาญการฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชน

  5. คุณณัฐวุฒิ บัวประทุม นักกฎหมายประจำมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

  6. คุณนริศ มณีขาว นักวิชาการอิสระด้านการสื่อสารอย่างสันติ


รูปแบบ / กระบวนการ

  - การบรรยาย และเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

  - กิจกรรมกลุ่มย่อย และบทบาทสมมุติ

  - ทดลองทำแผนการเรียนรู้ และนำเสนอ


เนื้อหา

  1. ศาสนธรรมและจิตวิญญาณสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน

  2. แนวคิดทางศาสนาและความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน

  3. สิทธิมนุษยชนในชีวิตประจำวัน และหลักการสำคัญของสิทธิมนุษยชน

  4. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และการคุ้มครองเด็กในประเทศไทย

  5. การสื่อสารเพื่อสร้างสันติ

  6. การศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ : คุณลักษณะอันพึงประสงค์

  7. การบูรณาการสิทธิมนุษยชนเข้าสู่หลักสูตรการเรียนรู้


ประเมินผล

  1. การสังเกตระหว่างการอบรม

  2. การใช้แบบประเมินผล

  3. การติดตามประเมินผลหลังการอบรม 1 ปี


ผลที่คาดหวัง

  1. ผู้เข้าอบรมเข้าใจและตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

  2. ผู้เข้าอบรมเข้าใจศาสนธรรมและมิติด้านจิตวิญญาณของสิทธิมนุษยชน

  3. ครูผู้สอนสามารถบูรณาการสาระสิทธิมนุษยชนและสันติภาพเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ได้

  4. เกิดวิถีปฏิบัติสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในโรงเรียน


ผู้ดูแลกระบวนการอบรม

ฝ่ายงานการศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
ที่อยู่ : 2492 ซ.ประชาสงเคราะห์ 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 02-2774625   โทรสาร: 02-6924150
E-mail:   Website: www.jpthai.org



 

ตัวอย่าง

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ

โรงเรียน...................................... ระหว่างวันที่ .................................


วันที่หนึ่ง

08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน - รับเอกสาร

08.30 - 09.00 น. พิธีเปิด : วจนพิธีกรรม (อธิการโรงเรียน)

09.00 - 09.15 น. แนะนำองค์กรและวัตถุประสงค์ / ประเมินความคาดหวัง (คุณอัจฉรา สมแสงสรวง)

09.15 - 10.30 น. สิทธิมนุษยชนในชีวิตประจำวันและสาระสำคัญ (คุณพิทักษ์ เกิดหอม)

10.30 - 11.00 น. พัก - อาหารว่าง

11.00 - 12.00 น. สิทธิมนุษยชนในชีวิตประจำวันและสาระสำคัญ (ต่อ) (คุณพิทักษ์ เกิดหอม)

12.00 - 13.00 น. พัก - อาหารกลางวัน

13.00 - 14.30 น. แนวคิดและความเป็นมาสิทธิมนุษยชน (รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร)

14.30 - 15.00 น. พัก - อาหารว่าง

15.00 - 16.00 น. ศาสนธรรมและจิตวิญญาณสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน (คุณพ่อมหาโซโน โปรโบ เอส.เจ.)


วันที่สอง

08.30 - 09.00 น. ภาวนาร่วมกัน / สรุปเนื้อหาวันก่อน

09.00 - 10.30 น. สถานการณ์เด็กและเยาวชนในปัจจุบัน (คุณณัฐวุฒิ บัวประทุม)

10.30 - 11.00 น. พัก - อาหารว่าง

11.00 - 12.00 น. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และ พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก (คุณณัฐวุฒิ บัวประทุม)

12.00 - 13.00 น. พัก - อาหารกลางวัน

13.00 - 14.30 น. สื่อสารด้วยหัวใจ : สื่อสารเพื่อสร้างสันติ (คุณนริศ มณีขาว)

14.30 - 15.00 น. พัก - อาหารว่าง

15.00 - 16.00 น. สื่อสารด้วยหัวใจ : สื่อสารเพื่อสร้างสันติ (ต่อ) (คุณนริศ มณีขาว)


วันที่สาม

08.30 - 09.00 น. ภาวนาร่วมกัน / สรุปเนื้อหาวันก่อน

09.00 - 10.00 น. การศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ : คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (รศ.ดร.วไล)

10.00 - 10.30 น. พัก - อาหารว่าง

10.30 - 12.00 น. บูรณาการเข้าสู่หลักสูตรการเรียนรู้ (คุณอัจฉรา สมแสงสรวง)
                        เขียนแผนการเรียนรู้ตามวิชาและช่วงชั้นที่สอน

12.00 - 13.00 น. พัก - อาหารกลางวัน

13.00 - 14.30 น. นำเสนอ - ให้ข้อเสนอแนะ - ปรับปรุงแผนการเรียนรู้ (รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร)

14.30 - 15.00 น. พัก - อาหารว่าง

15.00 - 16.00 น. ประเมินผล มอบประกาศนียบัตร - ปิดการอบรม (คุณอัจฉรา สมแสงสรวง)



Image
Image
Image
Image

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!