หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ โดย คุณไพโรจน์ พลเพชร
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 150 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ โดย คุณไพโรจน์ พลเพชร พิมพ์
Tuesday, 19 June 2007


เมื่อวันอังคารที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ณ ห้องประชุม ชั้น ๑๐ อาคารสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย  คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) จัดเสวนา ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เพื่อเป็นเวทีให้คริสตชนซึ่งมีความสนใจต่อประเด็นด้านการเมืองได้แสดงความคิดเห็นต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ นี้  โดยมีคุณไพโรจน์ พลเพชร สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เป็นวิทยากร นำในการเสวนา ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วยพระคุณเจ้าบรรจง ไชยรา ประธานฝ่ายสังคม, พระสงฆ์ผู้รับผิดชอบในคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของสภาพระสังฆราช, ซิสเตอร์จากคณะนักบวชต่างๆ, เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานสภาพระสังฆราช, อาจารย์และนักศึกษาจากโรงเรียนในเครือคาทอลิก รวม ๒๕ ท่าน

ความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐

โดย คุณไพโรจน์  พลเพชร
สมาคมเพื่อสิทธิเสรีภาพประชาชน (สสส.)
สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

Imageเมื่อดูรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ซึ่งเกิดจากภาวะไม่ปกติ เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยการยึดอำนาจของข้าราชการประจำ ถ้าเราดูการเมืองไทยในระยะ ๑๕ ปี หลังรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เรามีการเมือง  ๒ แบบ คือที่ผ่านมาเรามีการเมืองซึ่งมีฝ่ายทหารเป็นผู้นำประเทศมาโดยตลอด จุดเปลี่ยนที่สุดก็คือ หลังพฤษภาคม ๒๕๓๕ เป็นต้นมา ฝ่ายการเมืองได้ขึ้นมาบริหารประเทศ ส่วนฝ่ายข้าราชการประจำก็ถดถอยไป ไม่มีบทบาททางการเมือง ซึ่งระยะเวลา ๑๕ ปี เป็นระยะเวลาที่ยาวที่สุดของการเมืองซึ่งไม่ได้มาจากการยึดอำนาจ ส่วนผลของการยึดอำนาจคุณทักษิณ ชินวัตร มาจากการที่คุณทักษิณ ไปกดดันกลุ่มข้าราชการประจำ รวมทั้งกลุ่มที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกับคุณทักษิณ จึงเกิดแรงต้าน ๒ แรง ปะทุขึ้นจนกระทั่งนำมาสู่การยึดอำนาจ รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐  จึงมีแนวโน้ม ๒ ทางเลือก คือ

๑. ให้ประชาชนมีบทบาทสูงขึ้น เพื่อแก้ปัญหาที่ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพดังในรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ ได้บัญญัติไว้ เพื่อให้มีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น และจำกัดบทบาทนักการเมืองโดยเพิ่มหรือรื้อฟื้นบทบาทข้าราชการประจำขึ้นมา ซึ่งนี่คือสิ่งที่เขาเป็นห่วงกัน สำหรับในเรื่องสิทธิเสรีภาพก็ไปแก้ปมเงื่อนของรัฐธรรมนูญปี ๔๐ อาทิ สิทธิที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ประชาชนสามารถใช้สิทธิได้เลยโดยไม่ต้องรอ เช่น ประชาชนมีสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็เป็นผลทันทีเลย คือ ประชาชนสามารถจัดการทรัพยากรในชุมชนได้ สามารถทำฝายในชุมชนได้ จัดการป่าชุมชนได้ ถ้ามีข้อโต้แย้งก็ไปตัดสินที่ศาลได้เลยโดยไม่ต้องออกกฎหมายลูก และถ้าจำเป็นต้องออกกฎหมายลูกต้องทำภายใน ๑ ปี 

๒. องค์กรอิสระที่เป็นอิสระจริง  องค์กรอิสระซึ่งถูกพรรคการเมืองครอบงำ จะแก้ปัญหาให้องค์กรอิสระเป็นอิสระจริงได้อย่างไร เดิมกรรมการสรรหาประกอบด้วย ๓  ส่วน คือ ศาล ฝ่ายการเมือง ฝ่ายวิชาการ เขาจึงแก้ปัญหาเพื่อให้ปลอดการเมือง โดยตัดสถาบันการศึกษาออกเพราะเห็นว่าสถาบันการศึกษาไม่ปลอดการเมือง  ฝ่ายการเมืองที่เคยมี ๕ ก็ลดลงเหลือ ๒ และให้ถ่วงดุลกันคือ มีฝ่ายค้าน ๑ เสียง และฝ่ายรัฐบาล ๑ เสียง เขาคิดว่าศาลจะสามารถคัดคนให้ปลอดการเมืองได้  องค์กรอิสระจึงน่าจะอิสระ  

Imageและก็ไปแก้ปมวุฒิสภา ด้วยแนวคิดว่า ถ้าเป็นการเลือกตั้งแบบเดิมไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องฝ่ายการเมืองครอบงำวุฒิสภาได้ เขาจึงคิดว่าให้มีการสรรหาวุฒิสมาชิกเพื่อแก้ปัญหานี้ คณะกรรมการสรรหาในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงให้อำนาจศาลขึ้นมามีบทบาทสูงสุดในการสรรหาวุฒิสมาชิก เมื่อเขาได้วุฒิสมาชิกตามที่ตุลาการสรรหาแล้ว องค์กรอิสระก็จะเป็นอิสระ วุฒิสมาชิกก็จะเป็นอิสระ ฝ่ายการเมืองก็จะครอบงำไม่ได้ จึงเป็นที่มาของการถกเถียงกันว่าวุฒิสมาชิกจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่  ผมก็คิดต่อว่าผลจะเป็นอย่างไร ผลก็คือ แนวโน้มที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ศาลก็จะเลือกสรรคนจากอดีตข้าราชการประจำ จึงเป็นที่มาของการวิเคราะห์ว่า เป็นการขยายบทบาทข้าราชการประจำเข้ามาในการเมืองโดยใช้วิธีแบบนี้ เพราะถ้าเป็นการเลือกตั้งแบบเดิม ข้าราชการประจำอาจไม่ได้เข้ามา ดังนั้นแนวโน้มของวุฒิสมาชิกและองค์กรอิสระ ถ้าไม่ถูกครอบงำโดยการเมือง ก็ถูกครอบงำโดยฝ่ายข้าราชการประจำ  

ทีนี้ในส่วนของการเมืองที่เขาพยายามจะแก้เรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พยายามจะจำกัดการใช้อำนาจของฝ่ายการเมือง คือ นายกรัฐมนตรี ต่อไปถ้าเลือกรัฐมนตรีก็ไม่พ้นจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) รัฐมนตรีสามารถควบ ๒ ตำแหน่งคือ เป็นรัฐมนตรีด้วย เป็น ส.ส.ด้วย และการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ ให้ลดจำนวนลง ขณะเดียวกันก็พยายามจะเปลี่ยนบัญชีรายชื่อเป็น ๔ บัญชี เดิมเราเลือกบัญชีเดียว คือ บัญชีประเทศ แต่ของใหม่ มี ๔ บัญชีๆ ละ ๒๐ คน ตามสัดส่วนประชากร มีคนคำนวณว่า ภาคใต้ต้องไล่ตั้งแต่ เพชรบุรี ราชบุรี ฯลฯ แบ่งประเทศไทย เป็น ๔ เขตๆ ละ ๒๐ คน ๒๐ บัญชี 

อีกประการที่เขาพยายามแก้คือ เวลามีวิกฤติทางการเมืองอย่างสมัยคุณทักษิณไม่มีใครตัดสินใจ จึงจะให้ศาลและองค์กรอิสระ ๑๑ คน มาตัดสิน ซึ่งเกิดจากแนวคิดเพื่อแก้ปัญหาฝ่ายบริหารเข้มแข็งมาก แต่ตอนนี้ลองให้อำนาจสถาบันตุลาการใช้อำนาจดูว่าจะเป็นอย่างไร เพราะดูเหมือนว่าไม่มีสถาบันที่น่าเชื่อถือ จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก ตุลาการจึงถอดใจ ขอไม่มีส่วนร่วมด้วย และการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกเขาก็ขอไม่เข้ามาเป็นกรรมการสรรหา 

ดังนั้นถ้าดูจากรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ นี้ จึงมีการตั้งคำถามว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะนำไปสู่เป้าหมายอะไร เพราะในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ มีเป้าหมายชัดเจนว่า นำไปสู่การปฏิรูปการเมือง แต่ครั้งนี้ไม่ชัดเจน เขาพยายามจะบอกว่า เพื่อแก้ปัญหาสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มากขึ้น การพยายามถ่วงดุลโดยสร้างองค์กรถ่วงดุลมาตรวจสอบ และสร้างเรื่องระบบคุณธรรมขึ้นมา ซึ่งนี่เป็นเรื่องใหม่ซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อน ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่ให้มีหมวดว่าด้วยจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะเราเห็นว่าที่ผ่านมาเรามีผู้บริหารประเทศซึ่งค่อนข้างมีปัญหาทางจริยธรรม จึงต้องสร้างระบบนี้ขึ้นมา 


ข้อด้อยของรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐

Imageจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ มี ๒ จุด คือ เรื่องสถาบันการเมือง ในเรื่องระบบการเลือกตั้งซึ่งยังไม่ลงตัวที่สุด และเรื่องที่มาของวุฒิสมาชิก อำนาจของวุฒิสมาชิก และองค์กรอิสระซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองซึ่งเขาพยายามไปให้อำนาจตุลาการ  ถึงที่สุดถ้าพูดกันอย่างตรงไปตรงมาก็คือเขาพยายามรื้อฟื้นระบบราชการขึ้นมา

เรื่ององค์กรอิสระ จุดอ่อนขององค์กรอิสระที่ไม่ได้แก้ในรัฐธรรมนูญ ปี ๕๐ คือ การกำหนดคุณ สมบัติผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่ง ถ้าดูจากรัฐธรรมนูญ ระดับคนที่เข้ามาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต้องมีประสบ การณ์ระดับรองอธิบดีมาก่อน ดังนั้นเท่ากับเป็นการล็อคสเป็คพอสมควรว่าต้องเป็นคนในแวดวงข้าราชการซึ่งมีวัฒนธรรมองค์กรที่ติดหัวอยู่ ในการมาทำงานตรวจสอบจึงค่อนข้างลำบาก จึงมีข้อเสนอให้ขยายคนกลุ่มอื่นเข้ามาบ้าง อีกประเด็นคือ เรื่องกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งมี ๒๗ คน มี กรรมการสรรหามาจาก พรรคการเมือง อธิการบดี สื่อมวลชน องค์กรเอกชน อัยการ ประธานสภาทนายความ ซึ่งล้วนมาจากกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย แต่ของใหม่ออกแบบไว้ มีศาล ๓ คน ตัวแทนการเมืองฝ่ายค้านและรัฐบาล ๒ คน กรรมการสิทธิสมัยหน้าก็จะได้คนเช่น อดีตตำรวจ อดีตอัยการ อดีตผู้พิพากษา เป็นนักกฎหมายล้วนๆ ซึ่งค่อนข้างมีวิธีคิดซึ่งติดกรอบ ซึ่งจะเป็นจุดอ่อนค่อนข้างมาก ซึ่งมีคนท้วงติงมากว่า องค์ประกอบการสรรหาเพียง ๕ คนไม่น่าจะพอ แต่ยังไม่ได้รับสัญญาณจากกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าเขาคิดอย่างไร 


ข้อดีของรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐

สิ่งที่ปฏิเสธรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้คือ เรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในหมวดว่าด้วยสิทธิเสรีภาพโดยรวมถือว่าพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญปี ๔๐ โดยพยายามสร้างให้หมวดสิทธิเสรีภาพมีผลได้จริง

เรื่องกระจายอำนาจ รัฐธรรมนูญปี ๕๐ พัฒนาไปไปไกลกว่ารัฐธรรมนูญปี ๔๐ คือ แนวคิดการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น แทนที่จะให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการกำหนดกิจกรรมต่างๆ แต่กลับพยายามให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใช้อำนาจร่วมกับชุมชน เช่น เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จะตัดสินใจดำเนินการเรื่องอะไรต้องฟังความเห็นของชุมชน หรือบางเรื่องต้องลงประชามติของชุมชนจึงจะตัดสินใจได้ หมายความว่า แนวคิดเรื่องกระจายอำนาจจะไม่ให้ฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตัดสินใจโดยเด็ดขาด แต่ต้องให้องค์กรชุมชน ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  ซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป

Imageเรื่องการกระจายอำนาจนี้ เราต้องยอมรับว่าเมื่อเรากระจายพื้นที่อำนาจไปส่วนไหน คนที่ไหวตัวทันเร็วที่สุดก็คือ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มการเมือง พอตรงไหนมีอำนาจเพิ่มขึ้นเขาก็เข้าไป จึงเกิดปัญหา เมื่อกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ผลคือ ท้องถิ่นรับวัฒนธรรมเหมือนกันเลยคือ วัฒนธรรมการโกง  ทีนี้ถามว่าเราจะแก้อย่างไร รัฐธรรมนูญปี ๕๐ พยายามแก้โดยขยายการมีส่วนร่วมจากข้างล่างขึ้นมา องค์กรชุมชน เวลาองค์กรท้องถิ่นตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผ่านกระบวนการเปิดเผย การตัดสินใจร่วม น่าจะลดการทุจริตลงได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งขององค์กรท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยากที่จะนอกลู่นอกทาง  แต่ถ้าองค์กรชุมชนอ่อนแอหรือระบบพรรคพวกเข้ามาเป็นผู้บริหารท้องถิ่น ทำให้การคอร์รัปชั่นเป็นไปได้มาก แต่ถ้าองค์กรชุมชนเข้มแข้งก็สามารถตรวจสอบได้ รัฐธรรมนูญจึงเขียนกำกับว่า ถ้าองค์กรท้องถิ่นจะตัดสินใจในกิจการใดก็ตามต้องให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ต้องรายงานผลการดำเนินงานประจำปีว่าใช้งบประมาณเรื่องใดบ้าง แต่ก็ใช่ว่าจะกำจัดการคอร์รัปชั่นได้ แต่ก็เป็นปัจจัยว่าคนในชุมชนหรือองค์กรเข้าไปตรวจสอบได้มากขึ้นแค่ไหน เพราะเดิมเราวางไว้ให้ราชการส่วนกลางตรวจสอบองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จึงถ่ายโอนให้ระดับล่างตรวจสอบว่าจะเป็นไปได้ไหม ซึ่งนี่เป็นทิศทางใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมและเป็นความสำคัญมากเพราะทิศทางเรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมันต้องเดินไปอย่างนี้ ระดับท้องถิ่น การเลือกตั้ง อบต. อบจ. มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ต้องรับผิดชอบกับประชาชนโดยตรง จึงน่าจะเป็นทิศทางที่ดี

เรื่องสื่อสารมวลชน ในรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ก็ดีขึ้น มีการกำกับเข้มงวดขึ้น เช่น ห้ามผูกขาดข้ามสื่อ ที่ผ่านมาใครทำหนังสือพิมพ์ก็มีโทรทัศน์ด้วย มีวิทยุด้วย แต่รัฐธรรมนูญ ปี ๕๐ พยายามไม่ให้มีการผูกขาดเช่นนี้ เพราะจะทำให้กลุ่มฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถสื่อสารฝ่ายเดียวในสังคมได้มากไป  และการห้ามนักการ เมืองถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมเป็นเจ้าของในสื่อวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งพยายามแก้ปัญหาเรื่องการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์ที่มีการเอียงข้าง

รัฐธรรมนูญปี ๔๐ เราใช้มาเกือบ ๑๐ ปี เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลง และยังหวังว่าการเปลี่ยนแปลงจากประชาชนซึ่งเป็นระดับล่างที่บางส่วนกระตือรือร้นจากการถูกคุกคามก็ลุกขึ้นมาดูแลสิทธิใช้สิทธิตนเอง และลุกขึ้นมาตรวจสอบ ทำให้ผู้ใช้อำนาจไม่กล้าใช้อำนาจดิบซึ่งทำให้เกิดการเผชิญหน้า ถ้าทำระดับนี้เรื่อยๆ และถ้ากระจายอำนาจลงท้องถิ่นมากขึ้น อำนาจส่วนกลางลดน้อยถอยลง ซึ่งทิศทางของรัฐธรรมนูญล่าสุดนี้ดี ผมคิดว่าการยึดอำนาจจากส่วนบนไม่มีประโยชน์ ในระยะยาวจะไม่มีประโยชน์ถ้าฐานข้างล่างคือประชาชน องค์กรท้องถิ่นแข็งแรง ในรัฐธรรมนูญปี ๕๐ นี้ทิศทางเรื่องสิทธิเสรีภาพและการกระจายอำนาจ ค่อนข้างใช้ได้ ถ้าเราไม่ติดใจเรื่องโครงสร้างความขัดแย้งข้างบนซึ่งมีมาก และถ้าทิศทางมันเดินไปสัก ๑๕ ปี เราน่าจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

ทั้งหมดนี้เป็นผลต่อการตัดสินใจลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ นี้ 

สำหรับขั้นตอนของรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ขณะนี้อยู่ในช่วงของการให้ประชาชนร่วมลงประชามติและแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญนี้ หลังจากที่ได้มีการแปรญัตติเป็นรายมาตราเสร็จไปเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งขั้นตอนต่อไป ส.ส.ร. จะลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ในวันที่ ๖ กรกฎาคม ศกนี้ และหลังจากลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. แล้ว จะมีการจัดพิมพ์จำนวน ๑๖ ล้านฉบับ เพื่อแจกจ่ายให้แก่องค์กรต่างๆ และประชาชนทุกครัวเรือนนำไปศึกษาทำความเข้าใจก่อนออกเสียงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ ๑๙ สิงหาคม  อันจะนำสู่การเลือกตั้งในเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ ภายใต้ความคิดว่าจะทำให้บ้านเมืองกลับสู่ความเป็นประชาธิปไตย 

Image

 จัดโดย คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ(ยส.) เมื่อวันอังคารที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐  ณ ห้องประชุมชั้น๑๐ อาคารสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย  ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ  

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >