หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow การใช้ชีวิตในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม : อินโดนีเซีย
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 204 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

การใช้ชีวิตในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม : อินโดนีเซีย พิมพ์
Wednesday, 17 May 2006


การใช้ชีวิตในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม : อินโดนีเซีย


พ่ออิกญาซิอุส อิสมาร์โตโน, คณะเยสุอิต

Imageการสื่อสารระหว่างชนต่างศาสนา คือการพูดถึงความรู้สึกต่างๆ ของผู้ที่นับถือศาสนาหนึ่ง กับผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ความรู้สึกที่มีมักแตกต่างกันออกไป เมื่อพูดถึงเรื่องทางศาสนา บางคนก็รู้สึกว่ากำลังถูกคุกคาม บางคนก็รู้สึกว่าจะดีเสียกว่า หากไม่พูดเรื่องศาสนาเลย เพราะศาสนาเป็นเรื่องเปราะบาง ขณะที่บางคนกลับมีความเห็นว่า ความสงบสุขในประเทศขึ้นอยู่กับการผู้ที่นับถือศาสนาต่างกัน หันหน้ามาพูดจากัน การสื่อสารระหว่างชนต่างศาสนาในอินโดนีเซีย สะท้อนให้เห็นบรรยากาศที่อาจเป็นได้ใน 4 ลักษณะคือ การเป็นศัตรูกัน, การอดกลั้น, การเสวนา, และการเป็นพี่น้องกันอย่างแท้จริง

1) จากการเป็นศัตรู สู่การเป็นพี่น้อง

ทุกคนเชื่อว่า ไม่มีศาสนาใดในประเทศอินโดนีเซีย สอนให้ศาสนิกของตนพัฒนาทัศนคติในการเป็นศัตรูกับผู้นับถือศาสนาอื่น ทุกศาสนาสอนว่าต้องหลีกเลี่ยงการเป็นศัตรูกับผู้นับถือศาสนาอื่น กระนั้นก็ดี ในปัจจุบันยังคงมีความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงกันอยู่บ่อยๆ แต่ไม่มีความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงใดเกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว จากประสบการณ์ในพื้นที่การทำงาน เรารู้ว่าความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงเกิดจากสาเหตุอื่นที่มิได้เกี่ยวกับเรื่องศาสนาเลย นั่นคือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ สาเหตุหลักของความขัดแย้งมิได้เกิดจากศาสนา แต่เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันว่าศาสนามีบทบาทสำคัญในชีวิต ดังนั้นเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ผู้นำทางศาสนาต่างถูกเชิญให้มาแสดงความเสียใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเรียกร้องให้ศาสนิกของตนแสดงความอดทนและหลีกเลี่ยงที่จะไม่ตอบโต้อย่างเหี้ยมโหด ตลอดจนเรียกร้องให้รัฐบาลดูแลความปลอดภัยแก่ประชาชน บางครั้งแถลงการณ์ของผู้นำทำให้เข้าใจกันว่า สาเหตุหลักของความขัดแย้งเกิดจากศาสนา และรัฐบาลคือผู้ที่สามารถแก้ปัญหาได้ดีที่สุด ความร่วมมือกันในบรรยากาศเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการทำงานร่วมกันเพื่อขจัดความสงสัย และช่วยกันรวบรวมข้อมูลต่างๆ การที่ผู้นำทางศาสนาเข้าไปเยี่ยมพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงจะช่วยบรรเทาสถานการณ์อันตึงเครียด แม้ว่าการเยี่ยมเยียนนี้จะเป็นเพียงสัญลักษณ์ก็ตาม แต่กระนั้นก็ยังสามารถช่วยให้ผู้ที่มีความขัดแย้งต่อกัน เริ่มหาทางประสานรอยร้าว พวกเขาอาจตระหนักว่าการใช้ความรุนแรง มิได้ส่งผลร้ายแต่เฉพาะคนบางกลุ่มชนเท่านั้น แต่ทุกๆ คนต่างก็ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงด้วยกันทั้งสิ้น

ลักษณะที่สอง คือบรรยากาศของความอดกลั้น โดยทฤษฎี ความอดกลั้นคือพื้นฐานที่สังคมเจริญแล้วพึงมี แต่ความคิดเรื่องความอดกลั้นมักจะขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงของคนหนึ่งๆ และความรู้ที่คนๆ นั้นมีเกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ ประชาชนต้องการความอดกลั้นดังที่ตราไว้ในตัวบทกฎหมาย เป็นความอดกลั้นที่แสดงออกอย่างแข็งขันในโครงสร้างสังคม แต่ลำพังความอดกลั้นเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ เพราะมันอาจทำให้การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันไม่เกิดผล เนื่องจากความอดกลั้นอาจเป็นเพียงแค่การยินยอมให้ผู้อื่นเดินผ่านไปโดยไม่มีการสื่อสารกันเลย แม้ว่าจะไม่เพียงพอ แต่เราจะพยายามฝ่าฟันข้อจำกัดนี้ด้วยการสร้างการสื่อสารที่เชื้อเชิญให้ผู้คนขยายเส้นขอบฟ้าระหว่างกันให้กว้างขวางยิ่งๆ ขึ้น

Imageลักษณะที่สาม ได้แก่การเสวนา การเสวนาจำเป็นต้องมีการสื่อสารและความสัมพันธ์ต่อกัน แนวคิดเรื่องการเสวนาเรียกร้องให้ศาสนิกของแต่ละศาสนา เลิกคิดและเลิกรู้สึกว่า ศาสนาที่ตนนับถืออยู่ดีกว่าศาสนาอื่น แต่ให้ใช้แนวคิดที่ว่าความหลากหลายมีบทบาทสำคัญ ศาสนิกที่นับถือศาสนาต่างกันต้องเข้าใจว่า ศาสนาต่างๆ ที่มีบันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์นั้น ล้วนมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน และได้กระทำในสิ่งที่ดีและไม่ดีเหมือนๆ กัน พวกเขาควรเข้าใจว่าศาสนิกของศาสนาหนึ่ง สามารถรับฟังเรื่องดีๆ ของศาสนาอื่นได้ เพราะแม้ว่าแต่ละศาสนาจะแตกต่างกัน แต่ทุกศาสนาต่างๆ ก็มีสิ่งที่ละม้ายคล้ายกันอยู่ไม่น้อย

รัฐบาลอินโดนีเซีย โดยกระทรวงศาสนา ได้เชิญผู้นำศาสนามาริเริ่มการเสวนาระหว่างกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความปรองดองต่อกัน (kerukunan)

ความปรองดองมี 3 รูปแบบได้แก่ ความปรองดองในระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาเดียวกัน ความปรองดองกับผู้ที่นับถือศาสนาต่างกัน และความปรองดองระหว่างศาสนาต่างๆ กับรัฐบาล ในระยะหลังนี้ มีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการกระทำจากน้ำมือมนุษย์ตลอดจนความหายนะจากธรรมชาติเป็นจำนวนมาก การร่วมมือกันทำงานเพื่อช่วยเหลือเหยื่อเหล่านี้ทำได้เป็นจริงมากขึ้น

นอกจากการเสวนาซึ่งเกิดขึ้นจากการส่งเสริมของรัฐบาลแล้ว ก็ยังมีการเสวนาที่ริเริ่มจากศาสนิกด้วยเช่นกัน

ลักษณะที่สี่ คือบรรยากาศการเป็นพี่น้องกันอย่างแท้จริง บรรยากาศเช่นนี้จะมีสีสันมากยิ่งขึ้นด้วยมิตรภาพและความร่วมมือกัน หากว่าในบรรยากาศของการเสวนา ศาสนิกต่างศาสนาต่างก็เอาใจใส่ในการแลกเปลี่ยนความคิดและแรงบันดาลใจซึ่งกัน ในบรรยากาศที่สี่นี้เอง ความสมานฉันท์จะแสดงออกโดยผ่านการทำงานร่วมกัน นี่เป็นความเชื่อที่ช่วยสร้างสิ่งดีๆ มีประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น ความเป็นมิตรเช่นนี้สืบย้อนได้ในกลุ่มของผู้ที่ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ นับเนื่องมาตั้งแต่เมื่ออินโดนีเซียยังไม่เป็นเอกราช สิ่งที่ยังคงท้าทายคนธรรมดาทั่วไปก็คือ การทำให้ศาสนาเคารพในคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างจริงจัง

ในขั้นตอนการสื่อสารนี้ คือการที่ศาสนิกของศาสนาต่างๆ พยายามที่จะเข้าใจให้มากยิ่งขึ้นว่า ศัตรูที่แท้จริงของพวกเขา มิใช่ผู้ที่มิได้นับถือศาสนาเดียวกันกับตน แต่คือผู้ที่ขัดขวางการส่งเสริมคุณค่าความเป็นมนุษย์ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงรักมนุษย์ ทรงเรียกร้องให้ผู้ที่เชื่อในพระองค์ รักเพื่อนมนุษย์เสมือนพี่น้องชายหญิงของตน เพราะพวกเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นที่รักของพระองค์ พวกเขาได้รับเชิญให้มีส่วนร่วมในการสร้างของพระองค์ ที่ยังคงดำเนินอยู่ตราบจนทุกวันนี้

บรรยากาศ : การเป็นศัตรูกัน
บทบาทของชุมชนและผู้นำ : ขจัดความระแวงสงสัย ออกเยี่ยมเยียนพื้นที่ที่มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง

บรรยากาศ : การอดกลั้น
บทบาทของชุมชนและผู้นำ :ให้การสนับสนุน, ศึกษาเหตุการณ์ต่างๆ อย่างลึกซึ้ง

บรรยากาศ : การเสวนา
บทบาทของชุมชนและผู้นำ : แลกเปลี่ยนแรงบันดาลใจ, ทำความเข้าใจเรื่องคุณธรรมต่างๆ อย่างละเอียด, พัฒนาความเคารพซึ่งกันและกัน

บรรยากาศ : การเป็นพี่น้องอย่างแท้จริง
บทบาทของชุมชนและผู้นำ : ร่วมมือกันเพื่อความคุณงามความดีที่เป็นสากล

2) การสนับสนุนของพระศาสนจักรคาทอลิก

พระศาสนจักรคาทอลิกในอินโดนีเซีย พยายามกระตุ้นให้สัตบุรุษให้ความสนใจในเรื่องการสื่อสารกับผู้คนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน ตั้งแต่ ค.ศ.1977 เป็นต้นมา พระสังฆราชในอินโดนีเซียได้เชิญชวนให้คาทอลิกเปิดใจกว้างและพร้อมที่จะทำงานกับผู้อื่น ทั้งนี้เพราะ อินโดนีเซียเป็นประเทศที่กว้างใหญ่มาก การร่วมมือกันทำงานเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง

ปัจจุบัน สังคมอินโดนีเซียกำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ซึ่งได้แก่การที่สังคมขาดระเบียบปฎิบัติที่เหมาะสม ปัญหานี้ ได้มีการกล่าวไว้ในสารมหาพรต ค.ศ.1977 ของสภาพระสังฆราชฯ ซึ่งได้สรุปว่า ศีลธรรมเสื่อมถอยลงในทุกระดับของสังคม ไม่ว่าจะเป็นพลเมือง ชาติและรัฐ สารของสภาพระสังฆราชฯในโอกาสปัสกา 4 ปีต่อมา ก็เน้นย้ำถึงปัญหาเดียวกันนี้อีกโดยได้ตั้งเป็นคำถามที่ว่า "...เป็นความจริงหรือ ที่ในปัจจุบันนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากความเสื่อมของศีลธรรมเท่านั้น หรือว่าศีลธรรมและคุณธรรมซึ่งควรเป็นรากฐานของพลเมือง ของชาติ และของรัฐได้ดับสูญไปเสียแล้ว?" ยิ่งกว่านั้น ในบันทึกงานอภิบาล ค.ศ.2003 ของสภาพระสังฆราชฯ ยังได้กล่าวถึงปัญหาวิกฤตินี้ว่า เกิดจากการขาดการคุณสมบัติที่ดีในพฤติกรรมการแสดงออกของสังคม ในสภาพการณ์เช่นนี้ ความรุ่งเรืองของชาติอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของรัฐก็คงจะเป็นจริงได้ยาก ปัญหาความอยุติธรรมที่แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในแวดวงการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม นับวันจะยิ่งทวีมากขึ้น

ความตั้งใจจริงในการปลูกฝังความเป็นพี่น้องอย่างแท้จริง คือการแสดงออกของความเชื่ออันเป็นแก่นแท้ ความเชื่อยังหมายรวมถึงความตั้งใจจริงที่จะปลูกฝังความเป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยการเสริมสร้างความชอบธรรมให้แก่เพื่อนบ้าน ให้ความช่วยเหลือและดูแลเอาใจใส่ต่อทุกคนไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเราหรือนับถือศาสนาที่ต่างกันหรือไม่ก็ตาม และนี่คือการแสดงออกตามความเชื่อแบบคาทอลิกตามคำสอนของพระเยซูในเรื่องความรัก


3) ปรากฏชัดนับตั้งแต่ ค.ศ.1999

ค.ศ. 1997 : เราจะต้องพัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นพี่น้องและความเท่าเทียมกันในชุมชนที่มีวัฒนธรรม เผ่าพันธุ์ ศาสนา และความเชื่อที่แตกต่าง เพื่อใช้เป็นกรอบอ้างอิงให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ในอินโดนีเซีย (ความห่วงใยและความหวัง สารมหาพรต ปี 1997, สภาพระสังฆราชฯ, หน้า 7) :

พี่น้องชายหญิงทั้งหลาย

Imageเราต้องมีทัศนคติที่เปิดกว้างและสร้างสรรค์ต่อผู้อื่น เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับคนต่างศาสนาและต่างความเชื่อ หากยังมีความรู้สึกระแวงสงสัย ก็ขอให้เราเอาชนะความรู้สึกด้วยการหันหน้าเข้าหากันและพูดคุยกัน ให้เรารับฟังในสิ่งที่เขาห่วงใยและแบ่งปันความห่วงใยที่เรามี ให้เราแสวงหาและฟันฝ่าร่วมกันเพื่อให้ได้มาซึ่งความดีและความเป็นอยู่ที่ดี....( ) แม้ว่าจะมีความขุ่นเคืองในความสัมพันธ์ของเราอยู่บ้าง ก็ขอให้เราอย่าลืมว่ายังมีสิ่งที่ดียิ่งกว่าดำรงอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน และให้ตระหนักว่ามีมุสลิมอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งผู้ที่เป็นผู้นำของพวกเขา ที่ให้ความเป็นมิตรต่อเรา ดังตัวอย่างในเหตุการณ์ Situbondo ซึ่งมีเรื่องน่าประทับใจเกิดขึ้น เมื่อพี่น้องชาวมุสลิมเข้าช่วยปกป้องและคุ้มครองพี่น้องชาวคาทอลิกไว้; ผู้นำชาวมุสลิมหลายคนได้ส่งสารตลอดจนยืนยันในความร่วมมือของพวกเขาในการบูรณะซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนที่ได้ถูกเผาผลาญและทำลายไปเหตุการณ์นั้น

ขอให้เราเฝ้าระวังและใช้ความสุขุมรอบคอบ เพื่อจะได้ไม่ทำให้เรื่องศาสนากลายเป็นเรื่องการเมือง ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมให้พรรคการเมืองไม่ว่าจะเป็นจากพรรคใดก็ตาม ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมือง

พร้อมกับพี่น้องชาวโปรเตสแตนท์, มุสลิม, ฮินดู, พุทธ และผู้มีความเชื่ออื่นๆ พวกเราจงร่วมมือกันแสวงหาความหมายที่แท้จริงของการมีชีวิต, ปฏิบัติศาสนกิจด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง; เพื่อฝ่าฟันไปสู้อิสรภาพจากความกลัวและพันธนาการ อาศัยแนวทางแห่งความรักและความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า..( )

ดังนั้น ขอให้เราพยายามจนสุดความสามารถเพื่อนำมาซึ่งการเสวนากับผู้ที่นับถือศาสนาต่างกันในทุกระดับชั้น ขอให้ผู้นำคาทอลิกไปมาหาสู่กับผู้นำศาสนาอื่นๆ ที่ใดที่มีคาทอลิกเป็นคนส่วนมาก ขอให้ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นรู้สึกได้ถึงความปลอดภัยและการยอมรับพวกเขาอย่างแท้จริง ที่ใดที่เราเป็นคนส่วนน้อย ขอให้พวกเรามีจิตใจที่เปิดกว้าง โดยริเริ่มสร้างสัมพันธภาพและให้ความร่วมมือกับผู้ที่นับถือศาสนาอื่น รวมทั้งผู้นำของพวกเขา

เราต้องตระหนักว่า รัฐบาลสามารถริเริ่มการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างศาสนิกของศาสนาต่างๆ กัน แต่ความสัมพันธ์จะเป็นจริงและพัฒนาขึ้นได้ย่อมขึ้นอยู่ที่ศาสนิกนั้นเอง ทัศนคติที่เปิดกว้างและจิตวิญญาณแห่งการร่วมมือกันย่อมมิใช่กลวิธีเพื่อสร้างความปลอดภัย แต่ในฐานะที่เป็นพลเมืองของประเทศ ทัศนคติที่เปิดกว้างและจิตวิญญาณแห่งการร่วมมือกัน เป็นสิ่งจำเป็นในการก่อร่างและพัฒนาความเป็นหนึ่งเดียวของคนในชาติ และในฐานะที่เป็นคริสตชน สิ่งนี้ก็เป็นการปฏิบัติตามความเชื่อคาทอลิก (ความห่วงใยและความหวัง, สารสภาพระสังฆราชอินโดนีเซียในเทศกาลมหาพรต, หน้า 11-12)

ค.ศ. 1999 : เรายังคงเห็นการจัดตั้งกลุ่มเพื่อการปฏิรูป โดยเฉพาะในหมู่เยาวชน, ในแวดวงของผู้มีการศึกษาในหมู่ปัญญาชน, นักกฎหมาย และองค์กรพัฒนาเอกชน, รวมทั้งกลุ่มต่างๆ ที่สนับสนุนความเข้มแข็งของประชาชน พร้อมกันนี้ เราได้แสดงความหวังว่ากลุมเพื่อการปฏิรูปเหล่านี้จะยังคงรักษาไว้ซึ่งเจตนาบริสุทธิ์ และร่วมเป็นสมบัติส่วนหนึ่งของชาติ พวกเราภาคภูมิใจที่อาจมีโอกาสได้เป็นพยานถึงการแสดงออกจากจิตสำนึก ตลอดจนความกระตือรือร้นในกลุ่มชนที่ต่างเชื้อชาติและศาสนา เพื่อดำเนิน กิจกรรมต่างๆ ที่ยึดถือเอาประโยชน์ของชาติเป้าหมายที่สำคัญที่สุด เรามีความห่วงใยมายังชะตากรรมของผู้อื่น เฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ที่ถูกทอดทิ้ง คนยากไร้ และผู้ที่อ่อนแอ ตลอดจนการปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กและสตรี (ยืนหยัดและไม่เปลี่ยนแปลงในความหวัง, สารวันปัสกา 1999, สภาพระสังฆราชฯ, หน้า 9)

ค.ศ. 2001 : ในหัวใจของมนุษย์ทุกคน มีความรักที่พร้อมจะหยิบยื่นให้แก่ผู้อื่นพักพิงอยู่ ตามธรรมชาติของความรัก มันพร้อมที่จะก้าวออกไปช่วยเหลือผู้ทนทุกข์ โดยไม่ต้องมีใครบังคับ บ่อยครั้งที่เมื่อมีเหตุร้าย จลาจล และความยุ่งเหยิง เราจะได้ยินข่าวว่า มีคนเขาไปช่วยชีวิตเพื่อนบ้านของตน ให้ความช่วยเหลือและดูแลผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ แม้คนเหล่านั้นจะเป็นคนต่างศาสนาหรือต่างเชื้อชาติกัน ตัวอย่างเช่น ที่เกาะโมลุกกะ มีการจัดตั้งกลุ่มห่วงใยสตรีขึ้น กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวที่ประกอบด้วยสตรีชาวมุสลิม คริสเตียน และคาทอลิก ซึ่งร่วมกันทำงานเพื่อช่วยบรรเทาผู้ทุกข์ยากที่อยู่โดยรอบ และเพื่อสร้างสันติสุข จิตวิญญาณแห่งความรักฉันพี่น้องในท่ามกลางประชาชนที่นับถือต่างศาสนากัน ได้แสดงออกอย่างชัดเจนในแถลงการณ์ประณามเหตุร้ายในวันคริสตมาส สารนั้นแสดงให้เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการโจมตีทุกศาสนา ผู้วางระเบิดได้แสดงเจตนาที่ชัดเจนว่า เป็นหลุมพรางให้เกิดการขัดแย้งกันทางศาสนา อย่างไรก็ดี ปรากฏว่าในเวลานั้นประชาชนไม่ยอมเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ไม่มีใครยอมเป็นหุ้นส่วนในแผนการที่หวังผลทางการเมืองนี้ คือมุ่งสร้างภาพให้ผู้คนรู้สึกว่ามีการโจมตีกันจากกลุ่มชนที่นับถือศาสนาต่างกัน ผู้ก่อการพยายามสร้างความเกลียดชัง และหากเป็นไปได้ก่อความวุ่นวายให้มากยิ่งขึ้น เพื่อทำลายขบวนการประชาธิปไตยและการปฏิรูป ดังนั้น เราจึงไม่ควรเข้าไปติดกับดักของพวกเขา เราไม่ควรหวั่นไหวและใช้อารมณ์กับกลุ่มต่างเชื้อชาติหรือต่างศาสนา เพราะนั่นคือสิ่งที่ผู้ก่อการต้องการให้เกิดขึ้น การเสียชีวิตในเหตุการณ์วันคริสต์มาสของเยาวชนมุสลิมคนหนึ่ง ในขณะที่กำลังช่วยปกป้องสัตบุรุษของวัดแห่งหนึ่งในเกาะชวาตะวันออก เป็นเครื่องพิสูจน์ เป็นสิ่งที่ควรจดจำ และเป็นพลัง ที่จะช่วยกระตุ้นเราให้สร้างความปรองดองระหว่างศาสนาต่อไปอย่างไม่ลดละ เราทั้งหลายต่างก็มีคำสั่งสอนที่หนุนช่วยเราให้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความรัก และต่อต้านความรุนแรงในทุกรูปแบบมิใช่หรือ?(จัดระเบียบศีลธรรมของชาติ, สารอภิบาล 2001, สภาพระสังฆราชฯ, หน้า 12-13)

พฤศจิกายน 2001 : ในการประชุมประจำปีนี้ สภาพระสังฆราชอินโดนีเซียรับทราบถึงความรู้สึกและรับฟังเสียงของสัตบุรุษคาทอลิก ที่สอบถามถึงท่าทีของพระศาสนจักรต่อข้อถกเถียงเรื่องการออกกฎหมายอิสลามก่อนนำเสนอในที่ประชุมรัฐสภาประจำปี 2001 ปัญหานี้ยังไม่มีข้อสรุป และผลที่ตามมาก็คือ มันจะยังคงจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต สภาพระสังฆราชตระหนักดีว่า จะต้องมีการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอิสลาม หลังจากได้ศึกษาจากเอกสารแล้ว สภาพระสังฆราชได้เชิญพี่น้องมุสลิม มาช่วยอธิบายกฎหมายอิสลาม จากมุมมองของพวกเขา

หนทางสู่พระเป็นเจ้า : (53) ความเชื่อ กฎหมาย และศีลธรรม คือแก่นแท้ของกฎหมายอิสลาม สำหรับมุสลิมเพื่อใช้เป็น"หนทางสู่พระเป็นเจ้า" กฎหมายอิสลามวางแนวปฎิบัติตนและวิธีการดำเนินชีวิตของชาวมุสลิมอย่างละเอียด ในฐานะที่พวกเขาเป็นผู้รับใช้พระเป็นเจ้า พวกเราเข้าใจและชื่นชมความพยายามที่จะดำเนินชีวิตตาม "หนทางสู่พระเป็นเจ้า" ของพวกเขา เช่นเดียวกับคริสตชนที่พยายามดำเนินชีวิตในการติดตามองค์พระเยซู ที่พวกเราเชื่อว่าเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต นักบุญเปาโลก็ได้ให้กำลังคริสตชนด้วยข้อความที่ว่า "จงอย่าแสดงความรักที่เสแสร้ง แต่ให้เลือกความดี มิใช่ความเลวด้วยความจริงใจ" (รม. 12 : 9)

การบังคับใช้กฎหมายของศาสนาหนึ่งกับพลเมืองทั้งประเทศ : แม้จะยอมรับอย่างหนักแน่นว่า เราต้องปฏิบัติตนตามหนทางที่พระเป็นเจ้าทรงมอบให้แก่มวลมนุษย์ แต่ข้อผูกมัดนี้ย่อมมิได้เกิดจากการถูกบังคับจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง ศาสนาและศาสนาที่มีการนับถือกันอยู่ต้องได้รับการปกป้องในเรื่องของเสรีภาพเช่นเดียวกันกับการมีเสรีภาพของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ การยินยอมให้การนับถือศาสนาตกอยู่ใต้อำนาจของรัฐ ย่อมเป็นหนทางนำไปสู่การปกครองแบบทรราชย์ การใช้ความรุนแรง และความ อยุติธรรม โดยมีฝ่ายรัฐและหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ปฏิบัติ เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อฝ่ายศาสนายินยอมให้การกระทำนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในบริบทของอินโดนีเซีย เราต้องระลึกว่า รัฐมิได้เป็นรัฐที่นับถือศาสนาอิสลาม พลเมืองจำนวนมากในอินโดนีเซียนับถือศาสนาต่างๆ ได้แก่ อิสลาม คาทอลิก โปรเตสแตนท์ ฮินดู พุทธ ขงจื๊อ ผู้ที่เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว และผู้ที่เลือกไม่ถือศาสนาใดๆ ข้อโต้แย้งที่ว่า การบังคับใช้กฎหมายอิสลามเน้นเฉพาะกับผู้ที่เป็นมุสลิมนั้นถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะชาวมุสลิมใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่เป็นคนต่างศาสนาด้วย เมื่อเป็นดังนี้ การดำเนินชีวิตของชาวมุสลิมย่อมต้องติดต่อสื่อสารกับพลเมืองต่างศาสนาอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดี ในการพบปะและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ที่นับถือศาสนาต่างกันนั้น เราสามารถค้นพบคุณค่าที่ดีงามซึ่งสามารถใช้ร่วมกันเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันได้ เราต้องต่อฟันฝ่าโดยอาศัยเครือข่ายประชาธิปไตย เพื่อรักษาคุณค่าอันเป็นสากล ซึ่งมีรากฐานอยู่ในธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาต่างๆ เพื่อว่าคุณค่าเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในกฎหมายสำหรับประชาชนทุกคน

ดังนั้น เราจึงให้การสนับสนุนความพยายามใดๆ ที่น่ายกย่องตามแนวทางที่ได้กล่าวข้างต้น เราขอเสนอให้ คริสตชนศึกษาและทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อข้อโต้แย้งต่างๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมายอิสลาม เมื่อนั้น ด้วยความร่วมมือกับศาสนิกของศาสนาอื่นๆ เราจะค้นพบคุณค่าต่างๆ ที่สามารถช่วยกอบกู้ประเทศชาติของเราให้รอดพ้นจากความตาย และฟื้นคืนภาพลักษณ์ของพระเป็นเจ้าที่กระจัดกระจายไป (ร่วมส่วนในการฟื้นคืนศักดิ์ศรีของมนุษย์และจักรวาล, สารจากสภาพระสังฆราชฯ, พฤศจิกายน 2001, หน้า 24)

บทสรุป

ทุกศาสนารวมทั้งศาสนาอิสลาม ต่างตระหนักมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมว่า ในความเป็นจริงเราอาศัยอยู่ในโลกที่มีความแตกต่างหลากหลาย นี่คือความท้าทายใหม่สำหรับทุกคน คือการที่แต่ละคนจะเข้าใจว่าความแตกต่างมีความหมายว่าอย่างไร ในอดีต ความแตกต่างถูกเข้าใจเพียงว่า จะทำอย่างไรจึงสามารถกำจัดผู้ที่แตกต่างออกไป แต่ในปัจจุบัน ความแตกต่างสะท้อนออกมาในแนวความคิดเรื่องความหลากหลาย การมีอยู่ของความต่างถูกมองจากสายตาแห่งการร่วมไม้ร่วมมือกัน จากการสรรหาวิธีการเสริมสร้างกันและกันให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาศัยความเคารพในกันและกัน เพื่อบรรลุพันธกิจร่วมกัน สำหรับอินโดนีเซียนั้น ข้อสรุปหนึ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องความหลากหลายคือ ก่อนที่จะการร่วมมือกันจะเกิดขึ้นได้ จะต้องมีการยอมรับเรื่องความหลากหลายที่มีอยู่ร่วมกันเสียก่อน การร่วมมือกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน การร่วมมือกันจะช่วยให้พวกเขาสามารถปั้นแต่งโลกให้เป็นสถานที่ซึ่งมนุษย์ ผู้เป็นที่รักของพระเป็นเจ้า จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >