หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow การเผชิญความขัดแย้งด้วยสันติ เรียบเรียงโดย ปฏิพัทธ์ ไผ่ตระกูลพงศ์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 44 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

การเผชิญความขัดแย้งด้วยสันติ เรียบเรียงโดย ปฏิพัทธ์ ไผ่ตระกูลพงศ์ พิมพ์
Friday, 30 March 2007


การเผชิญความขัดแย้งด้วยสันติ

เรียบเรียงโดย ปฏิพัทธ์  ไผ่ตระกูลพงศ์

ภาพจากเว็บ www.purplemoon.comในสภาวะที่บ้านเมืองอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างขั้วอำนาจต่างๆ ความรุนแรงได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่และนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ฆ่ารายวันในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การลอบเผาโรงเรียนทางภาคเหนือและภาคอีสาน เหตุการณ์วางระเบิดในกรุงเทพฯ จนถึงการยิงระเบิดใส่สำนักงานของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ซึ่งแต่ละเหตุการณ์เหล่านี้ล้วนมีเหตุปัจจัยต่างๆ กันไป แต่ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธได้คือ สังคมไทยเคยชินกับการแก้ปัญหาด้วยวิถีทางของการใช้กำลังและความรุนแรงมาอย่างยาวนาน แต่ละคนในสังคม ไม่มากก็น้อยเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงขึ้น เห็นได้จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม มักจะใช้กำลังตัดสินให้แพ้ชนะกันไปข้างหนึ่ง และหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป เห็นทีว่าเราคงจะหาความสงบสุขในสังคมมิได้

ขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้องถามตัวเองว่า เรารู้จักแก้ไขความขัดแย้งเป็นเพียงวิธีเดียวหรือ และจะหันมาใช้วิถีทางแห่งสันติให้เป็นจริงเป็นจังได้หรือยัง ซึ่งมีนักวิชาการและผู้รู้ในสังคมหลายท่านได้ให้แนวคิดในเรื่องนี้ไว้อย่างหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือ อาจารย์โคทม อารียา นักวิชาการซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) และทำงานด้านสันติวิธีมาโดยตลอด ได้เสนอแนวคิดด้านสันติวิธีไว้ในโอกาสการเสวนาในหัวข้อ การเผชิญความขัดแย้งด้วยสันติ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2549 ณ ที่ทำการสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อาคารพญาไทพลาซ่า กทม. ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

อาจารย์โคทมได้นำเสนอว่า แนวทางแห่งสันติวิธีคือ การจำกัดการใช้ความรุนแรงให้อยู่ในกรอบของกฎหมายและความยุติธรรม และต้องยอมรับในเบื้องต้นว่าการแก้ไขปัญหาไม่สามารถใช้วิธีการทางทหาร หรือใช้วิธีการควบคุมพฤติกรรมของคนได้ ถ้าหากยังเชื่อว่ามาตรการทางการทหาร และการจับกุมต่อสู้ทางอาวุธสามารถทำลายขบวนการก่อความไม่สงบได้ วิธีการใช้กำลังเพื่อเอาชนะเช่นนี้ ไม่ใช่ความคิดในแนวทางสันติวิธี ขณะเดียวกันสันติวิธีก็ไม่ใช่ว่ารอให้เขามาทำร้าย ไม่ใช่ว่าไม่ต่อสู้ ไม่ดำเนินการตามกฎหมาย แต่ต้องหาความพอเหมาะพอดีว่าอยู่ตรงไหน

ภาพจาก www.sewterific.comข้อสำคัญอีกประการของสันติวิธีคือ เป้าหมายกับวิธีการต้องไปด้วยกัน สอดคล้องกัน หากมีเป้าหมายที่ถูกต้อง ก็ต้องใช้วิธีการเท่าที่มีเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ถูกต้องนั้น แม้จะมีบางคนบอกว่าไม่จำเป็น เป้าหมายนั้นแหละจะให้ความชอบธรรมกับวิธีการ ถ้าเช่นนี้ก็ไม่ใช่สันติวิธี เพราะว่าอาจจะมีการยกอำนาจให้ตัวเองเป็นคนตัดสินว่า อะไรดี อะไรไม่ดี อะไรถูก อะไรผิด เมื่อตัดสินว่าอะไรถูกหรือผิดแล้ว ก็จะนำไปสู่การใช้วิธีการอะไรก็ได้ เพื่อนำไปสู่ความถูกต้อง แม้จะใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องก็ตาม

วิธีการทำงานด้านสันติวิธีต้องอาศัยการพูดคุยกัน และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองให้มากที่สุด เพราะปัญหาเกิดขึ้นจากการเมือง ต้องแก้ด้วยวิธีทางการเมือง ไม่ใช่วิธีของการทหาร ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแต่ปรากฏการณ์ทางภาคใต้ แต่รวมไปถึงทุกที่ ต้องให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในเรื่องของทิศทางการพัฒนา ในกระบวนการยุติธรรมต้องมีความเสมอภาคและความยืดหยุ่นควบคู่กันไป รวมถึงการเคารพในสิทธิเสรีภาพของทุกคน สื่อเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะส่งเสริมให้เกิดแนวทางสันติวิธี โดยที่สื่อต้องมีความเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และไม่นำเสนอข้อมูลที่จะส่งเสริมให้เกิดความรุนแรง

ในสถานการณ์ที่สังคมเกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายขึ้น จากการที่คนเรามักจะมีความลำเอียงอยู่แล้วโดยธรรมชาติ พอได้รับข้อมูลต่างๆ ก็เกิดความรู้สึกชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง พอเลือกข้างแล้ว ถ้าข้างตนผิดก็ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น แต่พอข้างตนถูกก็เชียร์กันไปใหญ่ ซึ่งอย่างนี้ไม่ได้ช่วยให้เกิดความปรองดองขึ้นมาได้ วิธีการที่จะส่งเสริมบรรยากาศสมานฉันท์ในสังคมได้อย่างหนึ่งคือ แต่ละฝ่ายต้องพยายามที่จะเอาส่วนดีของอีกฝ่ายมาพิจารณาบ้าง ซึ่งจะช่วยให้สังคมเกิดบรรยากาศของความเป็นกลางขึ้นได้

ในเรื่องความเป็นกลางก็ต้องพิจารณาถึงประโยชน์ ความจำเป็น และความเป็นไปได้ ซึ่งบางครั้งอาจถูกนำมาใช้โดยไม่ได้คำนึงถึงบรรทัดฐานของสังคม ยังอยู่เฉพาะแค่ความเป็นกลาง เพราะแต่ละคนก็ได้รับข้อมูลหรือผ่านกระบวนการจากกรอบของสังคมและศาสนาที่ต่างกัน บางครั้งแค่ระดับข้อมูล ความเป็นกลางก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้แล้ว สิ่งสำคัญที่สังคมโดยส่วนรวมจะทำได้คือ ลดความเป็นตัวตนของแต่ละคนลง และสิ่งที่ควรพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ อาจเป็นความจำเป็นของสังคมที่ต้องเกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายบ้างบางครั้ง เพื่อให้เกิดการปะทะสังสรรค์เชิงบวก ซึ่งที่สุดแล้วอาจนำไปสู่แนวทางแห่งสันติวิธีได้ 

ภาพจาก www.visionaustralia.org.auสำหรับเรื่องสันติวิธี คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงแต่โจทย์ใหญ่ นึกถึงความขัดแย้งทางการเมืองระดับสุดยอด แต่ในความเป็นจริง หากจะเริ่มจากกระบวนการสันติวิธีเล็กๆ ทำให้เป็นที่รู้จักและเข้มแข็งขึ้นมา แม้ว่าตอนเป็นโจทย์เล็กๆ อาจจะไม่เคยทำมาก่อน หรือนำไปใช้ได้ยากลำบากสักหน่อย แต่ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี กรอบสันติวิธีเล็กๆ คือการแก้ไขความขัดแย้งเล็กๆ น้อยๆ เช่น ผลประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติ การต่อสู้กับความอยุติธรรม การปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การต่อสู้โดยการรับฟังกัน เช่น กรณีที่ว่าฝ่ายรัฐรังแกประชาชนอาจเป็นเพียงเจ้าหน้าที่แค่บางคน เราก็อาจเข้าไปมีบทบาทในการรับฟังเขาบ้าง ฟังเพื่อเปลี่ยนใจเขา นี่เป็นกลวิธีต่อสู้โดยใช้สันติวิธี ไม่ใช่รุกไล่จนยอมจำนนกันไป ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะหาวิธีเอาชนะใจเขาได้ ทำให้เขายอมเปลี่ยนโดยในกรอบนี้จะดีกว่าที่จะใช้กำลังทำลายกัน

ที่สุดแล้ว หลักการสันติวิธีมีความจำเป็นมากสำหรับสังคมไทยโดยเฉพาะในภาคใต้ บางคนบอกว่าหากจะทำให้เป็นความคิดกระแสหลักต้องใช้เวลาสักห้าสิบปี เพราะสันติวิธีไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ไม่รู้ว่าจะทำให้เป็นกระแสต่อไปได้หรือไม่ หรืออาจจะทำเรื่องสิทธิมนุษยชนควบคู่ไปกับเรื่องสันติวิธี เพราะสิทธิมนุษยชน ความยุติธรรม เสมอภาค ก็สำคัญไม่น้อยต่อสันติวิธี หรืออาจจะเลือกทำเรื่องสิทธิมนุษยชนให้เป็นกระแสหลักก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง
  

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >