หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 64 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


คำอธิบายอุปมาเรื่องคนงานในสวนองุ่น : บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์ พิมพ์
Monday, 12 February 2007


คำอธิบายอุปมาเรื่องคนงานในสวนองุ่น 


มธ 20:1-16

(1)“อาณาจักรสวรรค์เปรียบเหมือนพ่อบ้านผู้หนึ่งซึ่งออกไปตั้งแต่เช้าตรู่  เพื่อจ้างคนงานมาทำงานในสวนองุ่น  (2)ครั้นได้ตกลงค่าจ้างวันละหนึ่งเหรียญกับคนงานแล้ว ก็ส่งไปทำงานในสวนองุ่น  (3)ประมาณสามโมงเช้า พ่อบ้านออกมาก็เห็นคนอื่น ๆ ยืนอยู่ที่ลานสาธารณะโดยไม่ทำงาน  (4)จึงพูดกับคนเหล่านี้ว่า ‘จงไปทำงานในสวนองุ่นของฉันเถิด ฉันจะให้ค่าจ้างตามสมควร’  (5)คนเหล่านี้ก็ไป พ่อบ้านออกไปอีกประมาณเที่ยงวันและบ่ายสามโมง กระทำเช่นเดียวกัน  (6)ประมาณห้าโมงเย็น พ่อบ้านออกไปอีก พบคนอื่นๆ ยืนอยู่ จึงถามเขาว่า ‘ทำไมท่านยืนอยู่ที่นี่ทั้งวันโดยไม่ทำอะไร’ เขาตอบว่า ‘เพราะไม่มีใครมาจ้าง’ พ่อบ้านจึงพูดว่า ‘จงไปทำงานในสวนองุ่นของฉันเถิด’   (8) “ครั้นถึงเวลาค่ำ เจ้าของสวนบอกผู้จัดการว่า ‘ไปเรียกคนงานมา จ่ายค่าจ้างให้เขาโดยเริ่มตั้งแต่คนสุดท้ายจนถึงคนแรก’  (9)เมื่อพวกที่เริ่มงานเวลาห้าโมงเย็นมาถึง เขาได้รับคนละหนึ่งเหรียญ  (10)เมื่อคนงานพวกแรกมาถึง เขาคิดว่าตนจะได้รับมากกว่านั้น แต่ก็ได้รับคนละหนึ่งเหรียญเช่นกัน  (11)ขณะรับค่าจ้างเขาก็บ่นถึงเจ้าของสวนว่า  (12)‘พวกที่มาสุดท้ายนี้ทำงานเพียงชั่วโมงเดียว ท่านก็ให้ค่าจ้างแก่เขาเท่ากับเรา ซึ่งต้องตรากตรำอยู่กลางแดดตลอดวัน’  (13)เจ้าของสวนจึงพูดกับคนหนึ่งในพวกนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ฉันไม่ได้โกงท่านเลย ท่านไม่ได้ตกลงกับฉันคนละหนึ่งเหรียญหรือ  (14)จงเอาค่าจ้างของท่านไปเถิด ฉันอยากจะให้คนที่มาสุดท้ายนี้เท่ากับให้ท่าน  (15)ฉันไม่มีสิทธิ์ใช้เงินของฉันตามที่ฉันพอใจหรือ ท่านอิจฉาริษยาเพราะฉันใจดีหรือ’   (16)“ดังนี้แหละ คนกลุ่มสุดท้ายจะกลับกลายเป็นคนกลุ่มแรก และคนกลุ่มแรกจะกลับกลายเป็นคนกลุ่มสุดท้าย”

ยกเว้นวิธีการจ่ายค่าตอบแทนแล้ว นิทานเปรียบเทียบเรื่องนี้นำมาจากชีวิตจริงที่พบเห็นได้เป็นประจำในปาเลสไตน์

Imageองุ่นสุกพร้อมเก็บเกี่ยวประมาณปลายเดือนกันยายน ครั้นถึงเดือนตุลาคมฝนจะเริ่มเทลงมา  การเก็บเกี่ยวองุ่นจึงต้องเร่งทำแข่งกับเวลาชนิดประสาทแทบกิน หาไม่แล้วฝนจะทำลายองุ่นจนไม่มีอะไรเหลือให้เก็บอีก  ช่วงเวลาเช่นนี้ คนงานทุกคนล้วนเป็นที่ต้องการแม้จะมาทำงานเพียงชั่วโมงเดียวก็ตาม

ค่าจ้างหนึ่งเหรียญในสมัยนั้น เพียงพอสำหรับประทังชีวิตไปวันๆ หนึ่งสำหรับครอบครัวขนาดเล็กเท่านั้น  ไม่มีเหลือสำหรับเก็บสะสมไว้ใช้ยามเจ็บไข้ได้ป่วยหรือตกงานเลย

ลูกจ้างรายวันเช่นนี้ถือว่ามีสถานภาพเลวร้ายกว่าทาสหรือคนรับใช้เสียอีก เพราะทาสหรือคนรับใช้ยังสังกัดครอบครัว โชคชะตาของพวกเขาจึงขึ้นกับโชคชะตาของครอบครัวที่เขาอาศัยอยู่ ซึ่งในยามปกติแล้วคงยากที่พวกเขาจะอดตาย  ตรงกันข้ามกับพวกลูกจ้างรายวันซึ่งโชคชะตาอิงอยู่กับโอกาสได้งานทำ  หากวันใดไม่มีคนจ้างงาน วันนั้นย่อมเป็นวันแห่งความหายนะของพวกเขาโดยแท้ เพราะนั่นหมายถึงลูกและภรรยาที่บ้านจะไม่มีอะไรกิน  เรียกว่าชีวิตของพวกเขาแขวนอยู่บนเส้นด้ายที่แบ่งระหว่างชีวิตกับการอดตายจริงๆ

คนที่รองานจนถึงห้าโมงเย็นย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ได้อย่างดีว่า พวกเขาต้องการงานทำมากสักเพียงใด!


นิทานเปรียบเทียบเรื่องนี้บรรจุคำสอนอันเป็นหัวใจของศาสนาคริสต์  ขอเริ่มจากคำสอนที่มีความหมายเจาะจงเฉพาะบางกลุ่มในสมัยของพระเยซูเจ้าก่อน แล้วไล่เรียงไปสู่คำสอนที่เป็นสากลสำหรับเราทุกคน

1. พระเยซูเจ้าทรงเตือนบรรดาอัครสาวก  ดูเหมือนพระองค์ต้องการสอนพวกอัครสาวกว่า “พวกท่านได้รับอภิสิทธิ์ยิ่งใหญ่ที่ได้เข้าเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรก่อนผู้อื่น แต่พวกท่านจะอ้างสิทธิพิเศษเหนือผู้ที่เข้ามาเป็นสมาชิกในภายหลังไม่ได้  เพราะว่ามนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเข้ามาหาพระเจ้าเมื่อใด ล้วนมีค่าเท่าเทียมกันในสายพระเนตรของพระองค์”

มีสัตบุรุษบางคนที่เป็นลูกวัดเก่าแก่และเคยมีบทบาทสำคัญในวัดมาก่อน จนรู้สึกรับพระสงฆ์ที่มาใหม่ หรือลูกวัดสายเลือดพันธุ์ใหม่ที่คิดแตกต่างไปจากตนเองไม่ได้  สัตบุรุษเหล่านี้จำเป็นต้องระลึกอยู่เสมอว่า ตามความคิดของพระเยซูเจ้าแล้ว “อาวุโสไม่ได้หมายถึงการมีเกียรติหรือมีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่นเสมอไป”

2. พระเยซูเจ้าทรงเตือนชาวยิว  พวกเขาตระหนักดีว่าตนเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรร  พวกเขาจึงรังเกียจและดูแคลนคนต่างศาสนา บางคนถึงกับแช่งให้คนต่างศาสนาถูกทำลายให้สูญสิ้นไปจากโลกนี้  โชคร้ายที่ทัศนคติดูแคลนคนต่างศาสนารวมถึงพวกคริสตังค์ใหม่ได้สืบทอดต่อมาในพระศาสนจักรของเรา “คริสตังค์ยืนน่ะหรือจะรู้ดีกว่าคริสตังค์นอน ?”         

อย่าลืมว่าตามแผนการแห่งความรอดของพระเจ้า ไม่มีชนชาติใดอยู่เหนือชนชาติอื่น และไม่มีคริสตชนคนใดมีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นแม้ว่าเขาจะมีความเชื่อและรับศีลล้างบาปก่อนก็ตาม 

เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า คริสตังค์ใหม่หลายคนดีกว่าเราเยอะเลย !

3. พระเจ้าคือองค์ความบรรเทาใจ  ไม่ว่าเราจะเข้าเป็นคริสตชน จะกลับใจ หรือจะมีความศรัทธาต่อพระเจ้าอย่างลึกซึ้งตั้งแต่วัยเด็ก หรือเมื่อเป็นหนุ่มสาว หรือเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน หรือแม้ในบั้นปลายของชีวิตก็ตาม พระเยซูเจ้าทรงรักเราเท่าเทียมกันหมด !

บางคนอาจเสียชีวิตในวัยชราพร้อมกับทิ้งผลงานอันมีค่าไว้มากมาย  ในขณะที่บางคนอาจเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นเด็กหรือเป็นหนุ่มสาวโดยที่ยังไม่เคยประสบความสำเร็จหรือมีผลงานใด ๆ ฝากไว้ให้โลกรู้จักเลย  แต่นี่ไม่ใช่เรื่องสำคัญเพราะพระองค์ทรงต้อนรับทุกคนเหมือนกันหมด

Image4. พระเจ้าคือองค์ความเมตตา  ไม่มีอะไรเลวร้ายเท่าลูกจ้างรายวันไม่มีงานทำ  พวกเขารออยู่ที่ลานสาธารณะของหมู่บ้านเพราะไม่มีใครจ้างงานพวกเขา  แต่พระเจ้าทรงให้งานพวกเขา  ความเมตตาทำให้พระองค์ทนเห็นพวกเขาว่างงานไม่ได้

ความเมตตาของพระองค์เช่นนี้เองนำไปสู่หลักการอันยิ่งใหญ่ที่ว่า “มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะทำงานและได้รับค่าจ้างเพื่อยังชีพจากผลงานของเขา”

5. พระเจ้าทรงมีพระทัยกว้างขวาง  เราจะพบว่าในนิทานเปรียบเทียบไม่มีการระบุว่าคนงานแต่ละคนทำงานเหมือนกันหรือทำงานได้ปริมาณเท่ากัน  แต่ที่แน่ชัดคือพวกเขาได้รับค่าตอบแทนเดียวกัน 

สิ่งที่พระเจ้าประทานแก่เราจึงไม่ใช่ “ค่าจ้าง” ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับผลงาน แต่เป็น “ของประทาน” จากพระทัยดีและกว้างขวางของพระองค์เอง  

นี่เป็น “พระหรรษทาน” จริงๆ !

6. พระเจ้าพอพระทัย “จิตตารมณ์” ในการทำงานเหนือสิ่งอื่นใด จากนิทานเปรียบเทียบ เราสามารถแยกคนงานออกเป็นสองกลุ่มด้วยกัน

กลุ่มแรกมีการทำข้อตกลงระหว่างเจ้าของสวนกับคนงาน “ครั้นได้ตกลงค่าจ้างวันละหนึ่งเหรียญกับคนงานแล้ว ก็ส่งไปทำงานในสวนองุ่น” (ข้อ 2) และ “จงไปทำงานในสวนองุ่นของฉันเถิด ฉันจะให้ค่าจ้างตามสมควร” (ข้อ 4,5)

ความสนใจของคนงานกลุ่มแรกอยู่ที่การต่อรองให้ได้ค่าตอบแทนสูงสุด  

ส่วนกลุ่มที่สองไม่มีการทำข้อตกลงใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากคำเชื้อเชิญของเจ้าของสวนว่า “จงไปทำงานในสวนองุ่นของฉันเถิด” (ข้อ 7)

สิ่งเดียวที่คนงานกลุ่มนี้สนใจคือโอกาสที่จะทำงาน ส่วนค่าตอบแทนนั้นสุดแล้วแต่ความเมตตาของนายจ้าง

ชีวิตคริสตชนต้องเป็นเหมือนคนงานกลุ่มที่สอง  หากเราให้ความสนใจกับค่าตอบแทนหรือรางวัลเป็นอันดับแรก โลกจะหยิบยื่นรางวัลและค่าตอบแทนมากมายให้แก่เรา แต่เราจะเป็นคนอันดับสุดท้ายในโลกหน้า

ตรงกันข้ามกับผู้ที่ไม่สนใจรางวัลหรือค่าตอบแทน แต่ทำงานเพราะความสุขใจและความดีใจที่ได้รับใช้ผู้อื่น โลกอาจเห็นเขาเป็นผู้ต่ำต้อยอยู่อันดับท้ายๆ  แต่เขาจะกลับเป็นที่หนึ่งในสวรรค์

เรื่อง “รางวัล” นี้ดูเหมือนจะตรงกันข้ามกับคำสอนเรื่องการสวดภาวนาโดยสิ้นเชิง นั่นคือ

“ผู้ใดแสวงหารางวัล จะไม่ได้รับ  แต่ผู้ใดลืมเรื่องรางวัล จะได้รางวัล”

Image

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >