หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 158 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ความยุติธรรมในพระคัมภีร์ : บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์ พิมพ์
Wednesday, 04 January 2017

ความยุติธรรม

โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์


Imageพระธรรมเก่าพูดถึง “ความยุติธรรม” หลายประเด็นซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ (ดู Image“ความยุติธรรมในพระคัมภีร์”)

1. ทัศนคติของพระเจ้าที่มีต่อความยุติธรรม เช่น ทรงปรารถนา ทรงให้คุณค่า และทรงชื่นชมยินดีในความยุติธรรม รวมถึงทรงประทานปรีชาญาณเพื่อให้เรามีความยุติธรรมด้วย         

2. คำทำนายถึงผู้ที่จะเป็นแบบอย่างแห่งความยุติธรรมอย่างครบสมบูรณ์ นั่นคือ พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า

3. การเน้นย้ำให้ผู้ปกครองมีความยุติธรรม

4. ตัวอย่างกรณีที่ต้องมีความยุติธรรม เช่น ในการพิพากษา การซื้อขาย ต่อคนยากจน เด็กกำพร้า หญิงม่าย และทาสรับใช้         

5.  รางวัลของผู้มีความยุติธรรม คือ ความอยู่เย็นเป็นสุข แผ่นดินแห่งพระสัญญา อาหาร น้ำ และความมั่นคงในชีวิต         

6. สิ่งที่คนดีควรปฏิบัติเกี่ยวกับความยุติธรรม เช่น รับฟัง ศึกษา ใคร่ครวญ ชื่นชอบ สอน และวอนขอความยุติธรรมเป็นนิจ         

7. ปฏิกิริยาของคนชั่วที่มีต่อความยุติธรรม เช่น หันหลังให้ความยุติธรรม เยาะเย้ย รังเกียจ และรังแกคนที่มีความยุติธรรม         

8. ตัวอย่างของผู้รักษาความยุติธรรม เช่น โมเสส ซามูแอล ดาวิด โซโลมอน โยเซฟชาวอาริมาเธีย และเปาโล เป็นต้น

ส่วนพระธรรมใหม่ นอกจากเน้นว่าพระเจ้าทรงยุติธรรมแล้ว เราแทบไม่พบคำอธิบายเกี่ยวกับความยุติธรรมเลย

มิหนำซ้ำในนิทานเปรียบเทียบเรื่อง “คนงานในสวนองุ่น” (มธ 20:1-16) ความรู้สึกแรกของผู้อ่านเกือบทุกคนคือ “ยุติ-ธรรม” จริง ๆ (ความเป็นธรรมได้ยุติลงแล้ว)

แต่ก่อนที่เราจะตัดสินว่าเจ้าของสวนหรือพระเจ้าไม่ยุติธรรม เราจำเป็นต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่าง “ความยุติธรรม ความเสมอภาค และความรัก” ออกจากกันให้ได้เมื่อแยกแยะความแตกต่างออกจากกันได้แล้ว เราจึงจะสามารถมองเห็น “ความรัก” และ “ความยุติธรรม” อันยิ่งใหญ่ที่พระเจ้าทรงมีต่อเรามนุษย์ (ดู Image“คำอธิบายอุปมาเรื่องคนงานในสวนองุ่น”


คำสอนของพระศาสนจักร

ความยุติธรรมคือหนึ่งใน “คุณธรรม” ที่สำคัญที่สุด 4 ประการ ซึ่งประกอบด้วยความยุติธรรม (Justice), ความรอบคอบ (Prudence : ทำทุกสิ่งตามเหตุผลอันถูกต้อง), ความอดกลั้น (Fortitude : ควบคุมอารมณ์โกรธ), และความรู้จักประมาณ (Temperance : ใช้เหตุผลควบคุมความพอเพียงเรื่องกินและดื่ม)         

ในบรรดาคุณธรรมหลักทั้ง 4 ประการ มีเพียงความยุติธรรมเท่านั้นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความสัมพันธ์กับ “ผู้อื่น”         

“ความยุติธรรม” คือคุณภาพทางด้านศีลธรรม หรือลักษณะนิสัยที่ทำให้น้ำใจของเราบรรลุความสมบูรณ์ครบครัน และโน้มนำเราให้ “คืนสิ่งที่เป็นของผู้อื่นแก่ผู้อื่น”           

“ความรัก” คือคุณภาพทางด้านศีลธรรม หรือลักษณะนิสัยที่ทำให้น้ำใจของเราบรรลุความสมบูรณ์ครบครัน และโน้มนำเราให้ “ให้สิ่งที่เป็นของเราแก่ผู้อื่น”           

ส่วน “ความเสมอภาค” (Equity) หมายถึงการทำสิ่งที่ยุติธรรม โปร่งใส (Fair) และถูกต้องในทุกกรณี  ในขณะที่ความยุติธรรมเน้นการคืนสิ่งของให้ผู้อื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งบางครั้งอาจไม่ถูกต้องในสายตาของเรา         

คนงานกลุ่มแรกๆ ที่เริ่มงานตั้งแต่เช้าในนิทานเปรียบเทียบเรื่อง “คนงานในสวนองุ่น” ได้ตกลงค่าจ้างวันละหนึ่งเหรียญกับเจ้าของสวน และเจ้าของสวนได้จ่าย (คืน) ค่าจ้างส่วนที่เป็นของพวกเขาแล้วตามความยุติธรรม

แต่เหนือฟ้ายังมีฟ้าฉันใด เหนือความยุติธรรมก็ยังมีความรักฉันนั้น และความรักนี้เป็นของประทานจากพระเจ้าล้วน ๆ โดยที่เราไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้น

สิ่งที่คนงานกลุ่มสุดท้ายได้รับจึงไม่ใช่ค่าจ้าง แต่เป็น “ของประทาน” จากพระเจ้า

เราจึงได้บทเรียนจากเจ้าของสวนว่า “คนที่มีความยุติธรรมอาจขาดความรักในหัวใจได้ แต่คนที่มีความรักอยู่ในหัวใจจะขาดความยุติธรรมไม่ได้เลย” ! 


พื้นฐานสำคัญที่สุดของความยุติธรรมคือ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”

พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามพระฉายาของพระองค์ (ปฐก 1:26) คือให้มีสติปัญญาและน้ำใจ  ดังนั้นมนุษย์ผู้มีสติปัญญาและน้ำใจจึงมีความปรารถนาที่จะ “รู้จัก รัก และนมัสการ” พระผู้สร้างของตน  ความปรารถนานี้เป็นเป้าหมายที่มนุษย์ทุกคนมี “หน้าที่” ต้องบรรลุให้ได้

เพื่อเป็นหลักประกันว่ามนุษย์จะมีเสรีภาพเพียงพอสำหรับปฏิบัติหน้าที่ของตนจนบรรลุเป้าหมายได้  พระเจ้าจึงประทาน “สิทธิ” (ที่จะรู้จัก รัก และนมัสการพระผู้สร้างของตน) ให้แก่มนุษย์ทุกคน

“สิทธิ” จึงเป็นสิ่งแรกที่ทุกคนมีและเป็นเจ้าของในฐานะที่เป็นมนุษย์และมีศักดิ์ศรี

เพราะฉะนั้น หากจะพูดให้แคบเข้ามา ความยุติธรรมจึงหมายถึงการคืนสิทธิของผู้หนึ่งผู้ใดให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ

การเรียกร้อง “ความยุติธรรม” จึงเป็นเรื่องเดียวกันกับ “การเรียกร้องสิทธิ” !

“สิทธิ” หมายถึง “ความสามารถตามกฎหมายที่จะกระทำ, เป็นเจ้าของ, หรือบังคับเอาสิทธิที่เป็นของตนคืนมา” 

สิทธิอันเกิดจาก “ธรรมชาติมนุษย์” ตามที่พระเจ้าทรงประทานให้ เราเรียกว่า “สิทธิตามกฎธรรมชาติ” (Natural Law) ซึ่งอยู่เหนือสิทธิประเภทอื่น และจะล่วงละเมิดมิได้

แต่เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามลำพัง จำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะหรือเป็นสังคม ซึ่งเรียกร้องให้มีการตรากฎหมายบังคับใช้เพื่อให้การดำรงชีวิตร่วมกันเป็นไปด้วยความสงบสุขเรียบร้อย 

ดังนั้น นอกจากจะมีสิทธิอันเกิดจากกฎธรรมชาติแล้ว ยังมีสิทธิอันเกิดจากกฎหมายพระศาสนจักร และกฎหมายบ้านเมือง (Positive Law) อีกด้วย

เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิทธิอันเกิดจากกฎธรรมชาติและกฎหมายบ้านเมือง จะขอยกตัวอย่างเรื่องคนจนและคนว่างงาน

สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือ หรือสิทธิที่จะได้รับการจ้างงานไม่ใช่แก่นแท้ของความเป็นมนุษย์  ตามกฎธรรมชาติคนจนหรือคนว่างงานจึงไม่อาจอ้างความยุติธรรมเพื่อเรียกร้องสิทธิเหล่านี้ได้ แต่พวกเขาสามารถเรียกร้องสิทธินี้ตาม “ความรัก” ในฐานะที่เป็นมนุษย์ร่วมโลกเดียวกันได้ (นั่นคือ ไม่ใช่เรื่องของความยุติธรรม แต่เป็นเรื่องของความรัก) 

แต่ถ้ากฎหมายบ้านเมืองกำหนดให้เป็นหน้าที่ของพลเมืองทุกคนที่จะต้องช่วยเหลือคนยากจน และจ้างงานผู้ว่างงาน สิทธิดังกล่าวจะกลายเป็นสิทธิตามความยุติธรรมทันที !

อย่างไรก็ตาม สิทธิที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมมากที่สุดคือสิทธิใน “ความเป็นเจ้าของ” ซึ่งหมายถึง “ความสามารถที่จะใช้สิ่งที่เป็นของเราเพื่อประโยชน์ของเราเอง” ความเป็นเจ้าของนี้ครอบคลุมถึงผลผลิตหรือผลประโยชน์อื่นใดอันพึงเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

“ความเป็นเจ้าของ” ถือว่าเป็นเนื้อหาสำคัญที่สุดของความยุติธรรม ซึ่งต้องได้รับการเคารพและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดก่อนคุณธรรมอื่นๆ ไม่เว้นแม้แต่ความรัก  ความกตัญญู  ความรักชาติบ้านเกิดเมืองนอน ฯลฯ

ความเป็นเจ้าของหรือกรรมสิทธิ์ในสิ่งของอาจเป็นแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดหรือแบบเทียบเท่าเจ้าของก็ได้ เช่นเจ้าของ “บ้านเช่า” มีกรรมสิทธิ์แบบเทียบเท่าเจ้าของเท่านั้นเพราะไม่สามารถเข้าไปอาศัยในบ้านที่ให้เช่าไปแล้ว  ฝ่ายผู้เช่าบ้านก็มีกรรมสิทธิ์เทียบเท่าเจ้าของเหมือนกันเพราะเข้าไปอยู่อาศัยได้ แต่จะขายหรือดัดแปลงต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของไม่ได้

กรรมสิทธิ์สามารถโอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามที่ระบุไว้ในสัญญา 

ความยุติธรรมนอกจากเป็นเรื่องของสิทธิระหว่างบุคคลด้วยกันเองแล้ว  ยังเป็นเรื่องของสิทธิระหว่างบุคคลกับสังคมและสังคมกับบุคคลแต่ละคนอีกด้วย

ตามความยุติธรรม บุคคลแต่ละคนสามารถเรียกร้องสิทธิบางประการจากรัฐได้ เช่น สิทธิที่จะได้รับความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  สิทธิที่จะได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต  มีสาธารณูปโภคต่าง ๆ ฯลฯ

ในเวลาเดียวกัน รัฐก็สามารถเรียกร้องสิทธิบางอย่างจากพลเมืองเพื่อความดีของส่วนรวมได้ เช่น การเก็บภาษี  การเกณฑ์ทหาร ฯลฯ

เพื่อความดีของส่วนรวม พระเจ้าจึงทรงประทานอำนาจแก่ผู้ปกครองรัฐ ดังที่นักบุญเปาโลกล่าวไว้ว่า “ทุกคนจงนอบน้อมต่อผู้มีอำนาจปกครอง เพราะไม่มีอำนาจใดที่ไม่มาจากพระเจ้า และอำนาจทั้งหลายที่มีอยู่ก็ได้รับจากพระเจ้าทั้งสิ้น” (รม 13:1)

ด้วยเหตุนี้ นักบุญเปาโลจึงสรุปแนวทางปฏิบัติสำหรับคริสตชนไว้ว่า “ดังนั้น ผู้ที่ต่อต้านอำนาจก็ต่อต้านพระบัญชาของพระเจ้า และผู้ที่ต่อต้านก็จะถูกตัดสินลงโทษ  ผู้กระทำความดีไม่ต้องเกรงกลัวผู้มีอำนาจปกครอง แต่ผู้กระทำความชั่วต้องเกรงกลัว  ท่านไม่ประสงค์จะกลัวผู้มีอำนาจปกครองหรือ จงทำดีเถิด และท่านจะได้รับคำชมจากผู้มีอำนาจปกครอง เพราะผู้มีอำนาจปกครองเป็นผู้รับใช้พระเจ้าเพื่อความดีของท่าน  ถ้าท่านทำผิด จงเกรงกลัวเถิด เพราะผู้มีอำนาจปกครอง จะไม่เพียงถือดาบไว้เท่านั้น แต่มีดาบไว้เพื่อลงโทษผู้กระทำชั่วเพราะเขาคือผู้รับใช้พระเจ้า  ดังนั้น ท่านจำเป็นต้องนอบน้อมไม่เพียงเพราะกลัวการลงโทษ แต่นอบน้อมเพราะมโนธรรมด้วย  ดังนั้น ท่านจงเสียภาษี เพราะผู้ทำหน้าที่นี้เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า จงให้ทุกคนตามสิทธิของเขา จงเสียภาษีแก่ผู้มีสิทธิรับภาษี  จงเสียค่าธรรมเนียมแก่ผู้มีสิทธิเก็บค่าธรรมเนียม  จงเกรงกลัวผู้ที่ควรเกรงกลัว จงให้เกียรติแก่ผู้สมควรจะได้รับเกียรติ” (รม 13:2-7)

และเช่นเดียวกัน นักบุญเปโตรสอนว่า “เพราะความรักต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า จงอ่อนน้อมเชื่อฟังมนุษย์ทุกคนที่มีอำนาจปกครอง ทั้งพระจักรพรรดิซึ่งมีอำนาจสูงสุด และผู้ว่าราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ลงโทษผู้กระทำความชั่วและยกย่องผู้กระทำความดี” (1 ปต 2:13-14)

อย่างไรก็ตาม อำนาจของผู้ปกครองถูกจำกัดไว้เพียงเพื่อความดีของส่วนรวมเท่านั้น  ผู้ปกครองจะใช้อำนาจของตนเพื่อล่วงละเมิดสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์หาได้ไม่

ตัวอย่างของสิทธิตามธรรมชาติในฐานะที่เป็นมนุษย์อันจะล่วงละเมิดมิได้คือ สิทธิในชีวิต ในอวัยวะส่วนต่าง ๆ  ในเสรีภาพที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้ ตลอดจนสิทธิในการแต่งงานหรือถือโสด เป็นต้น

สิ่งอื่น ๆ ที่ต่ำกว่ามนุษย์ ล้วนถูกสร้างมาเพื่อประโยชน์ของมนุษย์  มนุษย์จึงสามารถถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของได้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ พืช ที่ดิน หรือวัตถุสิ่งของใด ๆ  โดยรัฐสามารถออกกฎหมายควบคุมการถือกรรมสิทธิ์สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ขอย้ำอีกครั้งว่าต้องเป็นไป “เพื่อความดีของส่วนรวม” เท่านั้น 

สิทธิของมนุษย์เริ่มต้นตั้งแต่ก่อนเกิด  เพราะฉะนั้น ทารกในครรภ์มารดาจึงมีสิทธิที่จะมีชีวิต หรือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเช่นเดียวกับมนุษย์ทุกคน

มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง โสดหรือแต่งงาน ล้วนมีสิทธิเท่าเทียมกันตามกฎธรรมชาติ  แต่กฎหมายบ้านเมืองมักเปลี่ยนแปลงสิทธิเหล่านี้ให้ผิดเพี้ยนไป ตัวอย่างเช่น สมัยก่อน หญิงที่แต่งงานแล้วต้องขึ้นกับสามีในทุกเรื่อง  แต่ปัจจุบัน สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสแล้วจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ร่วมกันหามาคนละครึ่ง เป็นต้น

สุดท้าย หากมีคนถามว่ากฎหมายบ้านเมืองมีความยุติธรรมมากน้อยเพียงใด ?

คำตอบย่อมขึ้นกับการใช้อำนาจของผู้ปกครองรัฐว่าสอดคล้องกับกฎธรรมชาติ และเป็นไปเพื่อความดีของส่วนรวมหรือไม่

หรือว่าเป็นไปเพื่อพวกพ้องและบริวาร !?!

Image

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >