หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow งานสัปดาห์เพื่อการเรียนรู้สิทธิมนุษยชน โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 86 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

งานสัปดาห์เพื่อการเรียนรู้สิทธิมนุษยชน โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี พิมพ์
Friday, 08 December 2006


Imageคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) ร่วมกับคณะอนุกรรมการโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษาภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  และโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี จัดสัปดาห์เพื่อการเรียนรู้สิทธิมนุษยชน เนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนสากลขององค์การสหประชาชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่นักเรียนในเขตการศึกษาพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549 

ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่นักเรียน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนและและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อีกทั้งด้วยมุ่งหวังให้เกิดการกระจายช่องทางและเข้าถึงการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนให้เพิ่มพูนมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนสามารถนำแนวคิดและสาระสำคัญของสิทธิมนุษยชนและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อันจะส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนซึ่งทุกคนในสังคมปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง

Image Image 

  • อาจารย์สมชัย  เชาว์พานิช ผู้อำนวยการ ร.ร.สุรศักดิ์มนตรี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน (ภาพซ้าย)
  • นักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ (ภาพขวา)


โรงเรียนสุรศักด์มนตรีเป็นโรงเรียนตัวอย่างโรงเรียนหนึ่งที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดสัปดาห์การเรียนรู้สิทธิมนุษยชนในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม เพื่อให้สอดคล้องกับวันสิทธิมนุษยชนสากลขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี

Image 

  • ผศ.ดร.สุทิน  นพเกตุ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนศึกษา ตอบข้อซักถามเรื่องสิทธิฯ แก่นักเรียน


สำหรับงานสัปดาห์เพื่อการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนในปีนี้ มีหลากหลายกิจกรรมที่เป็นการให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน ทั้งสาระและความบันเทิง อาทิ การอภิปรายในหัวข้อ “สิทธิมนุษยชน คุณธรรมสากล กับการพัฒนาเด็กและเยาวชน" โดย วิทยากร ผศ.ดร.สุทิน นพเกตุ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ รศ.ดร. วไล ณ ป้อมเพชร อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนศึกษา  ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามถึงปัญหาและข้อข้องใจในเรื่องสิทธิฯ ที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ

 Image Image

  • คุณอัจฉรา  สมแสงสรวง เลขาธิการ ยส. (ซ้าย) อ่านเรื่องราวประสบการณ์การทำความดีของนักเรียน ที่คุณเสาวภาคย์  สุรจิตติพงศ์ เจ้าหน้าที่ ยส. (ขวา) เลือกมาเป็นตัวอย่าง (ภาพซ้าย)
  • ตัวอย่างที่นักเรียนเขียนเล่าประสบการณ์การทำความดี (ภาพขวา)


กิจกรรม ชั่วโมงแห่งความจริง  โดย คุณอัจฉรา  สมแสงสรวง เลขาธิการ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) ชักชวนให้นักเรียนเขียนเรื่องราวที่ประทับใจ หรือประสบการณ์การทำความดี ข้อสงสัยหรือข้อข้องใจ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักเรียนที่ต่างก็เขียนเล่าเรื่องราวของตนให้เพื่อนๆ ได้รับรู้ อย่างเช่น เรื่องราวของนักเรียนหญิงที่ลงชื่อว่า นพรัตน์

ประสบการณ์การทำความดีของฉันครั้งล่าสุดคือ เมื่อวานนี้ ฉันเดินไปตามฟุตบาททางเดินเท้าหน้าห้างโรบินสัน ในมือฉันถือแก้วน้ำชาไข่มุกอยู่ จู่ๆ มีลุงคนหนึ่งหยุดตรงหน้าฉัน เขาพูดกับฉันว่า “หนูๆ ลุงขอชิมน้ำนี้หน่อยได้ไหม ลุงไม่เคยกินเลย ลุงเดินมาเหนื่อย หิวน้ำมาก” ฉันอึ้งอยู่ขณะหนึ่งด้วยความงงและตกใจ คิดอยู่ในใจว่าจะให้เขาดีหรือเปล่า เขาจะหลอกเรา คิดไม่ดีกับเราหรือเปล่า แต่ฉันก็ตัดสินใจยื่นชาไข่มุกให้เขาไปด้วยความสงสารเขา คิดซะว่าช่วยเหลือเขา ถ้าเขาเป็นอย่างที่บอกฉันจริงๆ น้ำเพียงแก้วเดียวจากฉันก็คงช่วยเขาได้ไม่มากก็น้อย ฉันบอกเขาว่า “ไม่เป็นไรค่ะ หนูให้ทั้งแก้วเลย” เขารับแล้วบอกว่า “ขอบคุณมาก ขอให้ได้บุญ ได้กุศลนะ” แล้วเขาก็เดินยิ้มๆ ไป จากนั้นฉันไปกดน้ำจากตู้น้ำ หยอดเหรียญสิบแล้วกดน้ำ แต่มันไม่ออกมา ก็เลยบิดเหรียญคืน แล้วหยอดใหม่ ทำอย่างนี้หลายครั้ง จนกระทั่งมีเหรียญสิบหล่นออกมาสองเหรียญ ฉันก็เล่าให้พี่ๆ ฟัง เขาบอกว่า “โห...ไม่ต้องรอชาติหน้าเลยนะ เห็นทันตาเลย” ฉันคิดดูแล้วก็ว่าอย่างนั้นเหมือนกัน ฉันสุขใจ อิ่มใจที่ได้แบ่งปันในสิ่งที่แบ่งปันให้กับคนอื่นๆ    …นพรัตน์ 

สำหรับกิจกรรมที่เป็นไฮไลท์ของงานก็คือ กิจกรรมส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยทีมงานของ ยส. ซึ่งได้เตรียมเกมที่ให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนมาให้นักเรียนได้ร่วมเล่นกันอย่างสนุกสนาน เช่น เกมกล้วยของฉันไปไหน โดยเจ้าหน้าที่ของ ยส. จะแจกกล้วยไข่ ให้นักเรียนที่ร่วมเล่นเกมได้พินิจพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและจำกล้วยใบที่ตนได้รับแจกให้ได้ จากนั้นจึงคืนกล้วยลงในภาชนะ แล้วจึงทำการคละเคล้ากล้วยในภาชนะเพื่อไม่ให้นักเรียนจำได้ ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่ ยส. ให้นักเรียนเลือกกล้วยที่เป็นของตนกลับมาไว้ในมือ เพื่อทดสอบว่านักเรียนจะสามารถจำกล้วยของตนได้หรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่ต่างก็จำกล้วยที่มีตำหนิของตนได้ โดยสามารถบอกได้ว่าแต่ละคนจำกล้วยของตัวเองได้จากร่องรอยแบบไหน เกมยังไม่จบ จากนั้นเจ้าหน้าที่ ยส. ให้นักเรียนปอกเปลือกกล้วย แล้วจดจำกล้วยที่ปอกแล้วให้ได้ และส่งกล้วยคืนลงในภาชนะอีกครั้ง แต่เมื่อให้นักเรียนเลือกกล้วยที่เป็นของตน คราวนี้นักเรียนต่างพากันบ่นว่าจำไม่ได้เพราะมันเหมือนกันไปหมด แต่ก็พยายามเลือกกล้วยใบที่คิดว่าเป็นของตนอย่างไม่ค่อยมั่นใจเท่าครั้งแรก 

ImageImage

  • คุณปริญดา  วาปีกัง เจ้าหน้าที่ ยส.และคุณธนาสิทธิ์  สุวรรณประทีป ทีมงานของ ยส. แจกกล้วยให้น้องๆ เล่นเกม “กล้วยของฉันอยู่ไหน” (ภาพซ้าย)
  • พิจารณากล้วยอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อหาตำหนิแล้วจดจำกล้วยของแต่ละคน (ภาพขวา)

ImageImage

  • ปอกกล้วยกันอย่างตั้งใจ (ภาพซ้าย)
  • กล้วยที่ปอกแล้วอย่างนี้จะจำได้ไหม? (ภาพขวา)


สุดท้ายเจ้าหน้าที่ ยส. จึงอธิบายสาระของเกมกล้วยของฉันหายไปไหน ให้นักเรียนได้รู้ว่า ทุกคนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านพรสวรรค์ ความคิด ทักษะ อากัปกิริยา รสนิยม และความสนใจ แต่ทุกคนมีศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นความเป็นมนุษย์ควรได้รับการเคารพและการยอมรับ เราจึงไม่ควรตัดสินบุคคลใดบุคคลหนึ่งจากความแตกต่างภายนอก รวมทั้งต้องเคารพและยอมรับในความสามารถ ในขีดจำกัดที่แต่ละคนมีด้วย

ImageImage

  • “เกมสีแห่งสามัคคี” คุณปริณฑร  วาปีกัง , เจ้าหน้าที่ ยส. อธิบายกฎกติกาในการเล่น

Image

  • คุณณัฐกา  สงวนวงษ์  ทีมงานของ ยส. ช่วยติดสีต่างๆ ให้แก่น้องๆ ที่ปิดตารออยู่

ImageImage

  • น้องๆ ต้องใช้ภาษากาย หรือภาษาใบ้ หากลุ่มเพื่อนที่สีเดียวกันให้เจอ (ภาพซ้าย)
  • ความสับสนอลหม่านระหว่างหาพวกสีเดียวกัน (ภาพขวา)


นอกจากนี้ยังมีเกมจินตนาการของฉัน และเกมสีแห่งสามัคคี ซึ่งล้วนเป็นเกมให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน ที่ให้ทั้งสาระและความบันเทิง สามารถทำให้นักเรียนได้แง่คิดเรื่องสิทธิมนุษยชนและการเคารพคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างที่เรียกได้ว่าเป็นประสบการณ์ตรงของนักเรียนซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างดีทีเดียว

ImageImage

  • คุณสุภาพร  นะมามะกะ และคุณปฏิพัทธ์  ไผ่ตระกูลพงศ์  เจ้าหน้าที่ ยส. นำสิ่งของเช่น แผ่นซีดี, ปฏิทินตั้งโต๊ะ, ขวดน้ำ ที่จะให้น้องๆ จินตนาการว่าสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง

ImageImage

  • น้องๆ ต่างใช้จินตนาการของตนกันใหญ่ 

สำหรับกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนอื่นๆ ยังมี นิทรรศการ จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภาพยนตร์ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และการแข่งขันตอบปัญหาความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน โดยงานนี้มีนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ มาร่วมกิจกรรม ได้แก่  ร.ร.สุรศักดิ์มนตรี, ร.ร.สตรีวิทยา, ร.ร.สิริรัตนาธร, ร.ร.เจ้าพระยาวิทยาคม, ร.ร.มักกะสันพิทยา, ร.ร.เบญจมราชาลัย, ร.ร.พญาไท, ร.ร.ทุ่งมหาเมฆ, ร.ร.ราชวินิต, ร.ร.วัดโบสถ์  

--------------------------------------------------------------------

เสียงจากนักเรียนกับความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน
และสิ่งที่ได้จากการเล่นเกมส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
 

Image ด.ช.ณภัทร  ศิริพงศ์เสถียร ชั้น ป.3/5 ร.ร.พญาไท  
“ได้เล่นเกมเสริมสร้างจินตนาการและเกมจับหมู่สีครับ พี่เขาจะเอาสิ่งของที่ชำรุดแล้วมาให้ดูว่า อันนี้สามารถเอาไปทำอะไรได้อีกนอกจากการเอาไปทิ้ง เกมนี้ทำให้ได้แง่คิด ได้รู้ว่า ไม่ใช่มีอย่างเดียวคือทิ้งไป แต่มีอีกหลายอย่างที่เราสามารถเอาไปทำได้  เกมสามัคคี สอนให้เรารู้จักสังเกตและสามารถคิดสัญลักษณ์ใหม่ๆ ที่เราไม่สามารถพูดได้ เช่น เราเป็นคนใบ้ก็ใช้ภาษามือ เวลาเราไม่มีความสามัคคีจะทำอะไรเราก็ทำไม่ได้ แต่ถ้าเราสามัคคีเราก็สามารถทำได้ แต่ตอนแรกไม่มีความสามัคคี เขาผลักผมกระเด็น ปื้ด ไปเลย  สุดท้ายเขาก็ลากตัวผมกลับไปอีกครั้ง” 

----------------------------------------------------------

   ด.ช.ศุภดิตถ์ (ซ้าย) และด.ช.ณัฐพงศ์ (ขวา)
Image
 ด.ช.ณัฐพงศ์  ฉิมสุข ชั้น ม.2 ร.ร.สุรศักดิ์มนตรี
“เกมกล้วยของฉันไปไหน สอนเรื่องการสังเกต ไม่ควรมองข้ามคนอื่น การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ดูถูกกันและกัน ไม่เอาปมด้อยเขามาล้อเล่น” 

ด.ช.ศุภดิตถ์   จิตมหนิรันดร์ ชั้น ม.2 ร.ร.สุรศักดิ์มนตรี  
“เกมกล้วยของฉันสอนเรื่องการดำรงชีวิต การอยู่ร่วมกันในสังคม ความรวย ความมีฐานะของมนุษย์เป็นแค่เปลือกนอก แต่ข้างในสำคัญกว่า เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะรวยหรือจนก็มีสิทธิเท่าเทียมกัน ชอบเกมจินตนาการของฉัน ให้แง่คิดว่า ไม่ควรดูถูกจินตนาการของผู้อื่น ต่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีแต่คนอื่นก็อาจคิดได้ดีกว่าเขา  เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้นและจะนำไปปฏิบัติกับคนอื่นได้ดีขึ้น””   

----------------------------------------------------------

Imageน.ส.ไพลิน  แซ่ตั้ง นักเรียนชั้น ม.4/10 ร.ร.สุรศักดิ์มนตรี
“สิทธิมนุษยชนหมายถึง สิทธิเสรีภาพของมนุษย์ในการดำรงชีวิต และคนที่ไม่ละเมิดกฎหมาย ความเท่าเทียมกัน เกมจินตนาการของฉัน ให้แง่คิดว่า ต่างคนต่างความคิด ต่างจินตนาการ ความคิดของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ไม่ควรละเมิดสิทธิของกัน ที่โรงเรียนมีการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว  การเล่นเกมช่วยให้เข้าใจเรื่องสิทธิได้ดีขึ้น”   

----------------------------------------------------------

Imageนายสุกฤต  อ่อนละออง นักเรียนชั้น ม.4/10 ร.ร.สุรศักดิ์มนตรี  
“สิทธิมนุษยชนหมายถึง ความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาค ไม่มีใครเด่นกว่าใคร ใครด้อยกว่าใคร เราต่างก็มีสิทธิและไม่ควรจะไปย่ำยีสิทธิของผู้อื่น เกมจินตนาการของฉัน ให้ความรู้ว่า จินตนาการเป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด ไม่มีใครจะมาเอาสิทธิของเราไปได้ การเล่นเกมทำให้เข้าใจง่ายกว่าการบรรยาย”         

----------------------------------------------------------

Imageนายเอกชัย  อยู่ศิริ  ชั้น ม.5 ร.ร.สิริรัตนาธร  
“สิทธิมนุษยชนหมายถึง ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เกมสีแห่งสามัคคีสอนเรื่องการเลือกปฏิบัติ เราไม่ควรแบ่งแยกคน การเล่นเกมเรื่องสิทธิทำให้เข้าใจได้ดีขึ้นเพราะเราได้เข้าไปร่วมในกิจกรรมนั้นด้วย ทำให้เราได้รู้จักในเรื่องจริงๆ เราได้ปฏิบัติจริง เรียนรู้จริง ไม่ใช่แค่ฟังบรรยายอย่างเดียว แต่เมื่อได้ลองปฏิบัติทำให้เราเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น  ถ้าเราใช้สิทธิของเราอย่างถูกต้องโดยไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็ทำได้ เพราะสิทธิของเราก็มีหลายอย่าง เช่น อายุครบ 18 ปี ก็มีสิทธิเลือกตั้งได้ ก็เป็นสิทธิของเราที่จะกระทำได้”

 ----------------------------------------------------------

Imageน.ส.จุฑารัตน์  ลิวนานนท์ชัย ชั้น ม.5 ร.ร.สิริรัตนาธร  
“สิทธิมนุษยชนหมายถึงสิทธิของแต่ละบุคคล ว่ามีอยู่ทุกเพศทุกวัยโดยไม่แบ่งแยกกัน เกมสีแห่งสามัคคีสอนว่า เราไม่ควรแบ่งแยกคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสีผิว เราสามารถเข้ากับเขาได้ ก่อนได้เล่นเกมนี้ บางทีก็รู้สึกกับคนบางพวกว่าไม่เหมือนกับเรา ไม่ใช่พวกเรา แต่พอได้เล่นเกมนี้ก็ได้รู้ว่า บางทีเขาก็คล้ายๆ กับเรา เขาก็เข้ากับเราได้  ไม่แบ่งแยกเขา ทำกับเขาตามปกติ ไม่คิดว่าเขาเป็นตัวประหลาด” 

----------------------------------------------------------

Imageด.ช.ธนวัตน์  หัชชะวณิช ชั้น ม.2 ร.ร.สุรศักดิ์มนตรี
“เกมสีแห่งสามัคคีให้แง่คิดว่า ถ้าไม่มีเพื่อนก็อยู่ร่วมในสังคมไม่ได้ การมีสีแตกต่างจากคนอื่นก็รู้สึกเหมือนถูกกีดกัน ทำให้เราเข้าใจคนที่แตกต่างจากเรามากขึ้น”            

ธัญลักษณ์  นวลักษณกวี 
ฝ่ายเผยแพร่เพื่อการมีส่วนร่วม ยส. : รายงาน/ถ่ายภาพ 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >