หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 42 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ยส. กับความเป็นมา พิมพ์
Tuesday, 16 May 2006

ไก่บอกทิศทางลม


Imageปี 2547... ย่างปีที่ 27 ของ ยส. ในฐานะ “ผู้บอกสัญญาณแห่งกาลเวลา” หรือ “ไก่บอกทิศทางลม” ในพระศาสนจักรไทย บอกสภาพกาลของสังคมและบอกทิศทางว่าเราควรร่วมกันก้าวไปทางไหน... 

ยส.หรือ คณะกรรมการยุติธรรมและสันติแห่งประเทศไทย ที่เพิ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ เป็นองค์กรฝ่ายสังคม ภายใต้สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย

หลังการสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 สมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ได้ตั้งคณะกรรมการยุติธรรมขึ้นที่สำนักวาติกัน เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2510 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคนในทุกๆ ด้าน ส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม และจรรโลงไว้ซึ่งสันติสุขในโลกมนุษย์นอกจากนี้ ได้สนับสนุนให้แต่ละประเทศจัดตั้งคณะกรรมการยุติธรรมและสันติขึ้นในระดับประเทศด้วย 


สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย จึงมีมติให้ตั้งคณะกรรมการยุติธรรมและสันติแห่งประเทศไทยโดยมีพระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ เป็นมุขนายกคนแรกและยังเป็นอยู่ถึงปัจจุบัน และได้สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิด้านสร้างสรรค์ความเป็นธรรม เข้ามาเป็นคณะกรรมการอำนวยการ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2520 โดยในช่วงแรกอยู่ในความรับผิดชอบของสภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา กระทั่งปี 2523 จึงได้จัดตั้งสำนักงานปฏิบัติงานขึ้นเป็นของตัวเอง

พันธกิจของ ยส. คือ ต้องช่วยบอกทิศทางของสังคม ปลุกจิตสำนึกในการริเริ่มที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ประสานให้เกิดพลังของประชาชน ติดตามงานต่างๆ ด้วยพลังของศาสนา ด้วยวัฒนธรรมสันติวิธี พระคุณเเจ้าบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ กล่าวไว้ว่า

ยส. ไม่เน้นการให้การช่วยเหลือกกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกรณี แต่มุ่งเคลื่อนไหวผลักดันในระดับนโยบาย และการแก้ไขปัญหาในระดับโครงสร้าง ด้วยยุทธวิธีตั้งแต่จัดสัมมนาระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้สร้างความเข้าใจ จนถึงการออกไปเดินขบวนเรียกร้องบนท้องถนน และการลงนามร่วมกับประชาคมโลกในประเด็นที่เป็นสากลในระดับนานาชาติ ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ความรุนแรง ความอยุติธรรม

ความเชื่อพื้นฐานของ ยส. คือ ศาสนธรรมต้องกลับมานำสังคม ศาสนิกจะต้องรู้ธรรมและนำมาใช้ในชีวิต ศาสนธรรมจะต้องเข้าไปมีส่วนอยู่ในทุกมิติของสังคม
ยส. จึงมีการร่วมประสานงานกับองค์กรด้านสังคมของศาสนาต่างๆ เพื่อนำศาสนธรรมกลับมาสู่สังคม ใช้หลักธรรมของศาสนามองปัญหาที่เกิดขึ้น และเสนอทางออกโดยใช้ธรรมนำทาง เช่น กรณีความรุนแรงในโคโซโว ติมอร์ตะวันออก และโมลุกะ ประเทศอินโดนีเซีย กรณีกะเหรี่ยงยึดโรงพยาบาลราชบุรี กรณีสมัชชาคนจน จนถึงเหตุการณ์ 11กันยายน 2544 หรือที่ทำในรูปโครงการต่อเนื่อง เช่น โครงการอบรมสันติวิธี การแก้ไขกฎหมายผ่อนปรนการทำแท้ง
เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ ยส. ติดตามมาโดยตลอด เพราะการทำลายชีวิตเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่ง และเป็นการละเมิดชีวิตอื่น ซึ่งมนุษย์ไม่มีสิทธิกระทำ

ในงานด้านสิทธิมนุษยชน ยส. มักเข้าไปมีส่วนในการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ ตั้งแต่การร่วมผลักดันให้เกิดองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ จนกระทั้งได้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดปัจจุบันขึ้น
นอกจากการผลักดันแก้ไขปัญหา ยังมีการทำงานเชิงรุก คือการสร้างความรู้ความเข้าใจและความสำนึกในการเคารพสิทธิมนุษยชนในกับคณะครูอาจารย์ และนักเรียน ในโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา

หลังสงครามในประเทศเพื่อนบ้านสงบและจบสิ้นไปแล้ว เมืองไทยยังมีความรุนแรงที่แอบแฝงอันหนักหน่วงอย่างหนึ่ง คือปัญหากับระเบิด ซึ่งตกค้างอยู่ตามแนวชายแดน และผู้ประสบเคราะห์กรรมเป็นชาวบ้าน ที่ไม่มีส่วนรู้เห็นกับสงคราม
6 ปีก่อน ยส. จึงร่วมกับองค์กรที่ทำงานด้านการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย จัดตั้งเป็นคณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด (Thailand Campaign to Ban Landminds-TCBL) เคลื่อนไหวสนับสนุนให้รัฐบาลไทยลงนามในอนุสัญญาออตตาวา
อนุสัญญาฉบับนี้บังคับให้ทุกประเทศที่ลงนาม ต้องทำลายกับระเบิดในคลังให้หมดภายใน 4 ปี ต้องเก็บกู้กับระเบิดที่ค้างภายใน 10 ปี ห้ามผลิตและขนส่งกับระเบิด และต้องช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากกับระเบิดให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข
ผลการผลักดันของ TCBL และองค์กรพัฒนาเอกชนนานาประเทศ ที่สุดรัฐบาลไทยได้ลงนามในอนุสัญญาออตตาวาแล้ว เมื่อปี 2541 อันมีพันธกรณีให้ต้องทำลายกับระเบิดในคลังให้หมด ภายในเดือนเมษายน 2546 และเก็บกู้กับระเบิดให้หมดในปี 2552

ในงานวิชาการ ยส. ได้ทำการศึกษาวิจัยในหลายกรณีปัญหา เช่น งานศึกษาวิจัยผลกระทบของการท่องเที่ยว งานศึกษาวิจัยผลกระทบของแรงงานอพยพและแรงงานในไร่อ้อย ศึกษาวิจัยปรัชญาชีวิตและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ และผลกระทบของทัวร์ป่าต่อวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ กระทั้งนำไปสู่การก่อตั้งคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ และงานการศึกษาวิจัย เรื่องแรงงานนอกระบบ นำไปสู่การก่อตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน

นอกจากนี้การสื่อข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น ด้านสิทธิมนุษยชน สังคมและการเมือง ศาสนา ฯลฯ ไปยังคริสตชนและสาธารณชน ยส. มีสื่อสิ่งพิมพ์ คือ วารสาร “ผู้ไถ่” ราย 4 เดือน ผู้ไถ่ฉบับรายงานสถานการณ์ ราย 2 เดือน คอลัมน์สิทธิมนุษยชนสนทนาในอุดมศานต์ และจดหมายข่าวภาษาอังกฤษ JP Newsletter