หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 41 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


เขตการค้าเสรีกับอำนาจอธิปไตยของไทย พิมพ์
Monday, 30 October 2006


ยุติธรรมนำสันติ

เขตการค้าเสรีกับอำนาจอธิปไตยของไทย 1

ศราวุฒิ  ประทุมราช


ImageFTA หรือ Free Trade Area เป็นคำที่เกิดขึ้นในรัฐบาลทักษิณ เมื่อสองปีก่อน แปลว่า ข้อตกลงเขตการค้าเสรี ในอดีตเวลาพูดถึง เขตการค้าเสรีจะหมายถึง การลดภาษีนำเข้าสินค้าที่ตกลงแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศผู้ทำความตกลงกัน เช่น ไทยกับเวียดนามและออสเตรเลีย ตกลงเขตการค้าเสรีว่าไทยและเวียดนามจะส่งข้าวไปขายออสเตรเลีย โดยให้ออสเตรเลียลดภาษีหรืองดเว้นภาษีนำเข้าข้าว ส่วนออสเตรเลียจะส่งออกนมและผลไม้มาขายไทยและเวียดนาม โดยให้ไทยและเวียดนามลดภาษีนำเข้าเช่นกัน เป็นต้น

แต่ในยุคปัจจุบันเขตการค้าเสรีมีความหมายกว้างขวางกว่าเดิม มิใช่การเปิดเสรีในการลดหรือยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันอีกต่อไป แต่ยุคนี้จะเป็นเรื่องของการเปิดเสรีธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจโรงแรม การก่อสร้าง ธนาคาร การประกันภัยหรือธุรกิจการเงิน  ธุรกิจค้าปลีก   โรงเรียนที่บริหารโดยคนต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ รวมถึงสำนักงานที่ปรึกษาทางกฎหมาย  การบัญชี สถาปนิก แพทย์ พยาบาล พ่อครัว แม่ครัว พนักงานทำความสะอาด หมอนวด - สปา คนงานก่อสร้าง คนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่างซ่อมรถยนต์ ฯลฯ ธุรกรรมเหล่านี้จะสามารถเข้ามาเปิดบริการในประเทศที่เป็นคู่สัญญากัน ซึ่งในข้อสัญญาจะมีข้อตกลงว่า ให้ประเทศคู่สัญญาต้องเปิดประเทศให้คู่ค้าเข้าร่วมประมูลโครงการของรัฐได้อย่างเท่าเทียมกับบริษัทในประเทศ หรือยอมให้นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิเท่าเทียมกับนักลงทุนของชาติตน (National Treatment) สิทธิของคนต่างชาติในการได้รับความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ร่วมกันในทางเศรษฐกิจ เช่นการป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การร่วมมือกันป้องกันการใช้วิธีการทำธุรกิจที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขัน การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในบางสาขา เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อเป็นการทำความรู้จักกับเขตการค้าเสรีและการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือ FTA ในเบื้องต้น จึงขอนำความคิดเห็นจากหนังสือ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา ผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย มาเผยแพร่ โดยเฉพาะประเด็นที่กระทบต่ออำนาจอธิปไตยของไทย

ในการทำข้อตกลงระหว่างประเทศนั้น ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงทางการค้าหรือข้อตกลงอื่นๆ ที่มีข้อผูกมัดระหว่างประเทศที่ร่วมลงนาม มีการดำเนินการ 2 แบบ คือ แบบพหุภาคีหรือ หลายๆ รัฐลงนาม และแบบทวิภาคี คือ เป็นการทำข้อตกลงผูกพัน 2 ประเทศเท่านั้น ซึ่งตัวอย่างที่ปรากฏในบทความนี้ เป็นผลกระทบที่มีต่อประเทศไทยจาก การทำข้อตกลงแบบทวิภาคี ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา โดยรัฐบาลทักษิณได้ทำความตกลงกับสหรัฐอเมริกา ในคราวการประชุมเอเปก ที่กรุงเทพ เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้โหมประชาสัมพันธ์ว่า การทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกานับว่าประเทศไทยได้รับประโยชน์มาก เพราะสินค้าไทยจะได้ไปเปิดตลาดในสหรัฐฯ ผู้บริโภคจะได้ซื้อสินค้าในราคาถูก แต่กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชนซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักวิชาการ นักกิจกรรมจากสถาบันการศึกษา องค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญและองค์กรพัฒนาเอกชน ได้ศึกษาแล้วพบว่า ภาคเกษตร ผู้บริโภค และประชาชนคนเล็กคนน้อยในประเทศไทยจะไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร การจัดตั้งเขตการค้าเสรีจะเป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดใหญ่บางกลุ่ม(ที่แวดล้อมรัฐบาล)เท่านั้น นอกจากนี้อาจทำให้ประเทศไทยกลายไปเป็นอาณานิคมทางเศรษฐกิจและการเมืองของสหรัฐอเมริกา หากว่าไม่มีการเปิดให้ภาคประชาชนและรัฐสภาเข้าไปมีส่วนร่วมและตรวจสอบ

ทำไมจึงกล่าวว่าข้อตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเมืองขึ้นหรือเป็นอาณานิคมของสหรัฐ ปัญหานี้ตรงกับประเด็นที่ว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของปวงชน กล่าวคือ ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 นั้นบัญญัติไว้ใน มาตรา 3 ว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้"

ภาพจาก www.rajavithi.go.thประเด็นแรก คือ อำนาจอธิปไตยนั้น เป็นของประชาชน คือประชาชนต้องมีส่วนร่วมกับรัฐในการใช้อำนาจนี้ แปลว่า รัฐจะไปทำสัญญาอะไรกับใครที่ผูกพันประเทศ ประชาชนต้องรับรู้และมีส่วนร่วม หลักการนี้เราเคยเสียเปรียบมาแล้วในการทำสัญญาบาวริ่ง ที่มีข้อตกลงว่า ให้คนในบังคับต่างชาติ หากทำผิดกฎหมายสยาม ให้นำตัวไปขึ้นศาลของประเทศนั้น หมายความว่า กฎหมายของไทยไม่สามารถเอาผิดแก่คนต่างชาติ(ชาติที่ลงนามในสัญญาบาวริ่ง) ที่ทำผิดกฎหมายไทย หรือสยาม ในสมัยนั้นได้ เราไม่สามารถใช้กฎหมายภายในของเราแก่คนทุกคนที่กระทำความผิด อันเป็นการขัดแย้งต่อหลักการที่ว่า บุคคลทุกคนเสมอกันในกฎหมายและย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน และยังขัดแย้งต่อ "อธิปไตย"ของชาติด้วย การที่ประเทศไทยหรือประเทศไหนในโลก ไม่สามารถใช้กฎหมายภายในประเทศแก่คนบางกลุ่ม โดยเฉพาะต่างชาติแล้ว ถือว่าประเทศนั้นไม่มีอธิปไตย (ยกเว้นกฎหมายภายในขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน)

เขตการค้าเสรีที่เราทำกับต่างประเทศก็เช่นกัน จะมีข้อกำหนดที่ทำให้เราไม่สามารถใช้กฎหมายภายในบังคับแก่ชาติคู่สัญญา เช่น สหรัฐอเมริกามีข้อสัญญากับประเทศคู่ค้าในเขตการค้าเสรีว่า

1.  ต้องให้สิทธิแก่นักลงทุนอเมริกันเข้ามาลงทุนในประเทศคู่สัญญากับอเมริกา ได้โดยไม่จำกัดสัดส่วนหุ้น อันหมายถึง ถ้าบรรษัทข้ามชาติอเมริกา เข้ามาตั้งบริษัทในประเทศไทย บริษัทนั้นสามารถมีคนอเมริกันถือหุ้น 100 % ได้
2. ประเทศคู่สัญญาต้องรับรองหลัก ให้นักลงทุนอเมริกันได้รับการปฏิบัติต่อประเทศคู่สัญญาดุจคนในประเทศเดียวกับประเทศที่อเมริกาไปลงทุน
3.ให้มีการนำเข้าทุน แรงงาน และเครื่องจักรโดยเสรี อนุญาตให้ส่งออกผลกำไรโดยไม่มีข้อจำกัด และต้องยกเลิกความซ้ำซ้อนในภาษีเงินได้จากการลงทุน
4.ยกเลิกอุปสรรคการลงทุน เช่น ระเบียบ ข้อบังคับการใช้วัตถุดิบ บุคลากรภายในประเทศ ข้อบังคับส่งออก ข้อบังคับถ่ายทอดเทคโนโลยี ข้อบังคับให้นำผลกำไรกลับมาลงทุนในประเทศ
5.ห้ามใช้สิทธิพิเศษเพื่อดึงดูดการลงทุน

ประเด็นที่สองที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน นั้น ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจนั้น หรือมีสิทธิมีส่วนในการได้รับข้อมูลข่าวสารจากรัฐหรือไม่ หมายความว่า เวลาที่รัฐไปจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับใครนั้น ข้อตกลงนั้นมีสาระสำคัญอย่างไร สาระสำคัญนั้นต้องผ่านความเห็นชอบจากประชาชนด้วย ในทางปฏิบัติแต่ไหนแต่ไรมา รัฐบาลไม่เคยถามประชาชนว่าต้องการอะไร และรัฐก็ไม่เคยบอกว่า รัฐได้ไปทำอะไรไว้กับใครมา แต่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดไว้ในมาตรา 224 ว่า " พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ

หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐหรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา"

จะเห็นว่ากรณีที่รัฐบาลได้ไปทำสัญญากับสหรัฐอเมริกานั้น รัฐบาลไม่ได้แจ้งหรือขอความเห็นชอบจากรัฐสภา กลายเป็นว่าพระมหากษัตริย์ ไม่ได้ใช้อำนาจบริหารผ่านทางรัฐบาลและรัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนประชาชน ไม่มีโอกาสรู้ว่ารัฐไปทำอะไรบ้าง

วิธีการที่รัฐบาลนี้ได้ใช้หลบหลีกการต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภามี 3 วิธี กล่าวคือ

1. การนำข้อกำหนดระหว่างประเทศที่ต้องตกลงกับคู่สัญญา มาบัญญัติไว้ในกฎหมายภายในเสียก่อน ก่อนที่ประเทศไทยจะเข้าไปผูกพัน
2. การพยายามตีความกฎหมายภายในว่าสอดคล้องเหมาะสมกับข้อตกลงระหว่างประเทศนั้นแล้ว จึงไม่เข้าข่ายที่จะต้องไปขอความเห็นชอบจากสภา
3. การตีความรัฐธรรมนูญ มาตรา 224 ที่ว่า "เขตอำนาจรัฐ" นั้นหมายถึงอาณาเขตทางภูมิศาสตร์ หรือเขตแดนที่รัฐใช้อำนาจ ไม่กระทบถึงเขตอำนาจนิติบัญญัติ ตุลาการ หรืออำนาจบริหาร ที่จะต้องถูกกระทบหรือต้องผูกพันตามข้อตกลงระหว่างประเทศ

Imageโดยนัยนี้รัฐบาลก็สามารถอ้างว่า ไม่จำเป็นที่รัฐบาลต้องรับฟังเสียงจากประชาชน ประชาชนก็ไม่มีโอกาสได้รับทราบว่ารัฐบาลได้ตกลงเงื่อนไขอะไรบ้างตามข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือข้อตกลงทางการค้าที่ทำกับต่างประเทศ

กล่าวโดยเฉพาะการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกานั้น ประเทศไทยจะต้องเสียอธิปไตย โดยที่ไม่สามารถดำเนินการให้ภาคธุรกรรมและภาคประชาชนไทยโดยรวม ได้รับประโยชน์ในกิจการดังต่อไปนี้

1. การค้าและบริการ (ธุรกิจโรงแรม การท่องเที่ยว สายการบิน ฯลฯ)
2. โทรคมนาคมและพาณิชย์อีเล็คโทรนิคส์ ซึ่งกระทบต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และธุรกิจโทรคมนาคมของไทย ตามรัฐธรรมนูญต้องให้องค์กรอิสระด้านกิจการวิทยุโทรทัศน์และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมเป็นผู้ดูแล ก็ถูกบริษัทอเมริกันเข้าครอบงำ ไม่สามารถบังคับตามกฎหมายได้
3. ตลาดสินค้าจีเอ็มโอ
5. ทรัพย์สินทางปัญญาในอินเตอร์เน็ทและสิ่งมีชีวิต

 

หวังว่าข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อย

 


เรียบเรียงจากบทความเรื่องอำนาจอธิปไตย โดย อ. เจริญ  คัมภีรภาพ จากหนังสือ"ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา"   สรชัย  จำเนียรดำรงการ บรรณาธิการ จัดพิมพ์โดยกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรี( FTA Watch )

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >