หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow รัฐไทยกับกลไกการติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิ์ของสหประชาชาติ (ตอนที่ 8) โดย กล้วยกัทลี
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 50 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

รัฐไทยกับกลไกการติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิ์ของสหประชาชาติ (ตอนที่ 8) โดย กล้วยกัทลี พิมพ์
Wednesday, 15 March 2017


{ต้องการกลับไปอ่านบทความ ตอนที่ 1  ตอนที่ 2  ตอนที่ 3  ตอนที่ 4  ตอนที่ 5 ตอนที่ 6 และ ตอนที่ 7 ก่อน}

Image
 ตอนที่ 8
รัฐไทยกับกลไกการติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิ์ของสหประชาชาติ

โดย กล้วยกัทลี


เมื่อรัฐภาคีได้ลงนามในสนธิสัญญาต่างๆ แล้ว รัฐภาคีนั้นก็มีหน้าที่ผูกพันในสนธิสัญญา คือ นอกจากหน้าที่ในการเคารพ ปกป้อง และทำให้บรรลุผลแล้ว รัฐยังต้องจัดทำรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ที่ระบุไว้ในแต่ละสนธิสัญญา เสนอต่อคณะกรรมการฯ ตามระยะเวลาที่กำหนด 


โดยหลักการแล้วการทำรายงานชิ้นแรกจะเริ่มขึ้นภายหลังการเข้าเป็นภาคีได้หนึ่งหรือสองปี ส่วนรายงานชิ้นต่อๆ ไปก็อยู่ในระยะสี่ถึงห้าปี (ยกเว้น ICERD ต้องส่งทุกสองปี) หรือแล้วแต่คณะกรรมการจะร้องขอ  ส่วนแบบแผนการทำรายงานนั้น ทางสหประชาชาติได้ให้แนวทางไว้อย่างชัดเจน  ส่วนหน้าที่การทำรายงานนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่ารัฐจะมอบหมายให้ใครและหน่วยงานใดทำ 

การเข้าเป็นภาคีของรัฐไทยในสนธิสัญญาต่างๆ พอประมวลได้ดังนี้ 

สนธิสัญญา

ไทยเป็นภาคี

บังคับใช้ในไทย

กำหนดส่งรายงาน
ปีที่ไทยส่งรายงาน
ปีที่เข้าพบกรรมการสิทธิของ UN*

1.  ICERD

28-01-2003

27-02-2003

ชิ้นแรก 2004

ยังไม่ได้ส่งชิ้นแรก

-

2.  ICCPR

29-10-1996

30-01-1997

ชิ้นแรก 1998ชิ้นที่สอง 2003

ส่งชิ้นแรก 2004ยังไม่ได้ส่งชิ้นที่สอง

ก.ค. 2005-

3.  ICESCR

05-09-1999

05-12-1999

ชิ้นแรก 2002

ยังไม่ได้ส่งรายงาน

-

4.  CEDAW

09-08-1985

08-09-1985

ชิ้นแรก 1986ชิ้นสี่ 2002ชิ้นหก 2006

ส่งชิ้นแรก 1987ส่งชิ้นสี่ผนวกห้า 2003ยังไม่ได้ส่งชิ้นหก

ม.ค. 1990ม.ค.- ก.พ. 2006-

5.  CRC

 27-03-1992

26-04-1992

ชิ้นแรก 1994ชิ้นสอง 1999ชิ้นสาม-สี่ 2009

ส่งชิ้นแรก 1996ส่งชิ้นที่สอง 2004-

ม.ค.- ก.พ.1998ม.ค. 2006-

 (อ่านพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลต่อไปนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ http://www.nhrc.or.th/menu_content.php?doc_id=29)องค์การสหประชาชาติhttp://www.unhchr.ch/TBS/doc.nsf/NewhvVAllSPRByCountry?OpenView&Start=170&Count=15&Expand=171#171

จากตารางจะเห็นได้ว่า เกิดความล่าช้าในการส่งรายงานของทุกสนธิสัญญา ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ แต่ประการหนึ่งคงจะหนีไม่พ้นเรื่องความไม่พร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำรายงาน เมื่อไม่พร้อม ก็ไม่สามารถจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ  นอกจากนั้น อาจเป็นได้ที่ไม่มีความเข้าใจชัดเจนในข้อผูกพันที่มีต่อสนธิสัญญา คืออาจไม่ทราบว่าต้องทำรายงาน ดังนั้น จึงไม่พร้อมที่จะตั้งหน่วยงานขึ้นมารองรับ  หรืออาจขาดผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำรายงานดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนักกฎหมาย หรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องสิทธิด้านต่างๆ เป็นต้น 

นอกจากนี้ การทำรายงานเป็นภาษาอังกฤษ ก็นับเป็นภาระที่ยากลำบากพอสมควรสำหรับประเทศไทย 

อย่างไรก็ดี การที่เราได้ยินผู้นำของรัฐไทยกล่าวว่า “UN ไม่ใช่พ่อ” จึงสะท้อนความไม่เข้าใจของผู้นำต่อภาระผูกพันที่รัฐไทยต้องมีต่อสนธิสัญญาที่ได้เข้าเป็นภาคีไว้  ภาระผูกพันที่สหประชาชาติมีหน้าที่ติดตาม สนับสนุน ช่วยเหลือ เพื่อให้รัฐภาคีสามารถปฏิบัติตามสนธิสัญญาได้อย่างเหมาะสม 

นอกจากจะส่งรายงานแล้ว คณะกรรมการในสนธิสัญญานั้นๆ ยังได้เชื้อเชิญให้รัฐบาลส่งตัวแทนเข้าชี้แจ้งต่อคณะกรรมการฯตามวันและเวลาที่กำหนด เพื่อให้เกิดการพบปะ ซักถาม ทำความเข้าใจในเรื่องที่คณะกรรมการฯ ต้องการ ตัวอย่างเช่น หลังจากคณะกรรมการว่าด้วยเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้รับรายงานชิ้นแรกที่เกี่ยวข้องกับสนธิสัญญา ICESCR จากไทยเมื่อปี 2004 (แม้ว่าจะล่าช้าไปถึงหกปี) ก็ได้กำหนดให้ไทยส่งตัวแทนเข้าพบคณะกรรมการฯในเดือนกรกฎาคม 2005 เป็นต้น  

เมื่อได้พบปะกันแล้ว คณะกรรมการจะผลิตเอกสารที่เรียกว่า ข้อสังเกต หรือ General Observation เพื่อเสนอต่อรัฐบาล ในข้อสังเกตนี้อาจมีการระบุให้รัฐตอบคำถามต่างๆ ที่ยังไม่กระจ่าง  แก้ไขการปฏิบัติงานด้านสิทธิ์ให้ถูกต้องตามพันธกรณี หรือทำรายงานที่มีข้อมูลเป็นปัจจุบันเพื่อส่งให้คณะกรรมการติดตามผลในระยะเวลาที่กำหนด 

ประชาชนของประเทศนั้นๆ สามารถใช้สิทธิ์ของตนในการติดตามการทำงานของรัฐบาล เพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตที่คณะกรรมการนำเสนอ  การติดตามการดำเนินงานของรัฐโดยประชาชนนี้เองจะช่วยให้งานด้านสิทธิ์ของรัฐเป็นไปตามพันธกรณียิ่งขึ้น และยังช่วยให้ประเทศมีพัฒนาการด้านสิทธิ์ที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นได้ 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >