หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 87 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


กลไกสหประชาชาติ – การตรวจสอบและติดตามผลตามข้อผูกมัดในสนธิสัญญา (2) (ตอนที่ 7) โดย กล้วยกัทลี พิมพ์
Wednesday, 08 March 2017


{ต้องการกลับไปอ่านบทความ ตอนที่ 1  ตอนที่ 2  ตอนที่ 3  ตอนที่ 4  ตอนที่ 5 และ ตอนที่ 6 ก่อน}

ภาพจาก www.hcc-graphics.com
 ตอนที่ 7
กลไกสหประชาชาติ
การตรวจสอบและติดตามผลตามข้อผูกมัดในสนธิสัญญา (2) 

โดย กล้วยกัทลี


ตอนที่แล้วได้เสนอรายชื่อคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาหลักๆ 7 ฉบับ ชื่อที่ย่อสั้นลงมีดังนี้


คณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ– CERD

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง HRC

คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม CESCR

คณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี CEDAW

คณะกรรมการว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน – CAT

คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิเด็ก – CRC

คณะกรรมการว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงานอพยพ – CMW


กลไกคณะกรรมการภายใต้สนธิสัญญาทำงานอย่างไร?

คงจำกันได้ว่า เมื่อสนธิสัญญาต่างๆ ร่างเสร็จ สหประชาชาติจะนำเสนอให้สมาชิกลงนามรับรอง เมื่อสมาชิกลงนามรับรองครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาแต่ละฉบับแล้ว (เช่น ICESCR ระบุไว้ 35 รัฐ ส่วน ICRMW ระบุไว้ 20 รัฐ เป็นต้น) สนธิสัญญานั้นๆ ก็จะมีผลบังคับใช้ภายในสามเดือน

เมื่อมีผลบังคับใช้ ก็หมายความว่า ประเทศที่ลงนามรับรองสนธิสัญญานั้นๆ หรือรัฐภาคี และผู้ที่จะลงนามต่อๆ มา ยินยอมที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ระบุในสนธิสัญญา ตัวอย่างเช่น มาตรา 3 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง (ICCPR) ระบุว่า  บรรดารัฐภาคีแห่งกติกาฉบับนี้รับที่จะประกันสิทธิเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง ให้มีสิทธิทั้งปวงทางแพ่งและทางการเมืองดังที่ได้ระบุไว้ในกติกาฉบับนี้

เมื่อเป็นดังนี้ รัฐภาคีจะกระทำการใดๆ หรือไม่ระงับการกระทำใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงในกรณีของสิทธิทางแพ่งและทางการเมืองไม่ได้ ตัวอย่างง่ายๆ เช่น รัฐภาคีจะเลือกให้สิทธิชาย แต่ไม่ให้สิทธิหญิงในการไปออกเสียงเลือกตั้งไม่ได้ เป็นต้น

รัฐยังต้องพิจารณาดูว่า มีกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติใดๆ ในประเทศของตน ที่ขัดกับสนธิสัญญานี้หรือไม่อีกด้วย หากมีอยู่ รัฐภาคีจะต้องแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบนั้นๆ ให้เหมาะสม  การปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่า Respect หรือการเคารพในสิทธิอันพึงมีพึงได้ของประชาชน  นอกจากนี้ยังหมายถึงการที่รัฐต้องไม่ทำการใดๆ อันเป็นการแสดงออกถึงการไม่เคารพในสิทธิของประชาชน

ในกรณีของประเทศไทยที่น่าจะเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐได้แสดงพฤติกรรมดังกล่าว คือ กรณีการฆ่าตัดตอน   ยาเสพติด เจ้าหน้าที่รัฐได้กระทำการอันเป็นการขัดต่อการเคารพสิทธิในการมีชีวิตของประชาชน แต่รัฐมิได้กระทำการใดๆ เพื่อหยุดยั้งการกระทำอันขัดต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนนี้

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่อาจคล้ายคลึงกันในหลายๆ ประเทศทั่วโลก เช่น การลงโทษประหารชีวิต นี่ก็นับได้ว่าเป็นการขัดต่อหลักสิทธิการมีชีวิตเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ รัฐภาคียังต้องปฏิบัติหน้าที่อีกสองประการ คือ Protect และ Fulfil  หรือ ปกป้อง และ ทำให้บรรลุผล

การปกป้องนั้น โดยรวมๆ คือการที่รัฐต้องระแวดระวัง สอดส่องมิให้ใครละเมิดสิทธิของประชาชน โดยทั่วๆ ไปคนที่อาจละเมิดสิทธิก็คือ บรรดานักลงทุน  โดยมากการลงทุนย่อมหวังผลกำไรสูง สิ่งที่สามารถลดต้นทุนได้ก็คือ การลดค่าแรง ลดการบริการและดูแลแรงงานของตน หรือแม้แต่การหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุน

รัฐต้องเข้ามาดูแลในเรื่องนี้เพื่อมิให้ประชาชนและประเทศชาติต้องถูกนักลงทุนละเมิดสิทธิอันพึงมีพึงได้  บางคนอาจสงสัยว่าความไม่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องอะไรกับสิทธิของประชาชน เราต้องเข้าใจว่า สิทธิในการมีชีวิตของมนุษย์ มิได้หมายความแคบๆ แค่เพียงการมีลมหายใจอยู่เท่านั้น แต่ต้องสามารถผูกโยงไปถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ชีวิตดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีได้เช่นเดียวกัน เมื่อเป็นดังนี้ หากสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสีย อากาศเสีย ดินเสีย ป่าไม้หมดไป ฯลฯ ก็ย่อมกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ และเกี่ยวข้องกับสิทธิทั้งสิ้น

การทำให้บรรลุผล ก็หมายความว่า หากสิทธิใดๆ ที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญายังไม่ได้รับการนำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นจริงในสังคม รัฐก็ต้องพยายามที่จะริเริ่มให้เกิดขึ้น เช่น สิทธิการเป็นพลเมืองไทยหรือการได้รับการศึกษาของบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่พำนักในประเทศมาเป็นเวลานาน เป็นต้น

ดังนั้น หากประชาชนของประเทศนั้นๆ มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักสิทธิมนุษยชน ก็ย่อมเกิดเป็นพลัง พลังที่สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในระดับชุมชน เพื่อควบคุมดูแลให้รัฐแก้ไขกฎหมายและหยุดกระทำการอันเป็นการขัดต่อสิทธิของประชาชน 

ความคิดเห็น
ควรนะนำให้ดีกว่าน้
เขียนโดย เอฟ เปิด 2009-08-14 09:28:20
 
เขียนโดย เปิด 2008-06-11 21:10:50
8) ดี :roll

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >