หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow กลไกสหประชาชาติ - การตรวจสอบและติดตามผลตามพันธกรณีในสนธิสัญญา (1) (ตอนที่ 6) โดย กล้วยกัทลี
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 56 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

กลไกสหประชาชาติ - การตรวจสอบและติดตามผลตามพันธกรณีในสนธิสัญญา (1) (ตอนที่ 6) โดย กล้วยกัทลี พิมพ์
Wednesday, 01 March 2017


{ต้องการกลับไปอ่านบทความ ตอนที่ 1  ตอนที่ 2  ตอนที่ 3  ตอนที่ 4 และ ตอนที่ 5 ก่อน}
ภาพจาก www.virginia.edu

  ตอนที่ 6

กลไกสหประชาชาติ – การตรวจสอบและติดตามผลตามพันธกรณีในสนธิสัญญา (1)


โดย กล้วยกัทลี
 

 

เราคงยังไม่ลืมว่า สนธิสัญญา (Treaty)  คือ คำเรียกรวมๆ กันของกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนชื่อที่ใช้เฉพาะอาจมีแตกต่างกันไป เช่น กติการะหว่างประเทศ  อนุสัญญาระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Convenant และ Convention เป็นต้น


 

หากดูตารางจากบทความตอนที่แล้ว จะพบว่า ระยะเวลานับจากการรับรองสนธิสัญญา ตลอดไปจนกระทั่งการที่สนธิสัญญามีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการนั้น มีระยะเวลาแตกต่างไปจากน้อยที่สุดคือ เก้าเดือน (CRC) ไปจนถึงมากที่สุดคือ 12 ปี 7 เดือน (ICRMW) นี่ยังไม่นับรวมเวลาร่างกติกา ซึ่งไม่ปรากฏในตาราง ซึ่งหากรวมไว้ด้วยแล้ว จะต้องใช้เวลามากกว่านี้สักเท่าใด

จะเห็นได้ว่า กระบวนการทั้งสิ้น นับตั้งแต่การยุติสงคราม การรวมตัวกันเพื่อก่อตั้งสหประชาชาติ การออกปฏิญญาสากล ตลอดจนสนธิสัญญาต่างๆ เพื่อเป็นมาตรฐานสากลในการรักษา ปกป้อง และปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นกระบวนการที่ยาวนาน ต้องอาศัยความมุ่งมั่น ความพยายาม และต้องใช้ความร่วมมือจากคนจำนวนมาก  หากความพยายามจนบรรลุผลเหล่านี้ไม่สามารถนำไปสู่บรรทัดฐานการปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิอันชอบธรรม ย่อมเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ดี การทำความเข้าใจในเนื้อหาของสนธิสัญญาแต่ละฉบับนับเป็นเรื่องยากสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่นักกฎหมาย ดังนั้น การที่จะบอกว่ารัฐบาล หน่วยงานรัฐ กฎหมายในประเทศ ระเบียบราชการ หรือกลุ่มที่มิใช่หน่วยงานรัฐ (เช่น กลุ่มธุรกิจ) ละเมิดสิทธิมนุษยชน และจะทำอย่างไรเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง จึงเป็นเรื่องยาก แต่ก็ไม่น่าจะเกินความสามารถหากได้พยายามศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้

ทางสหประชาชาติได้ตระหนักในเรื่องเหล่านี้ดี ตลอดเวลาที่ผ่านมา จึงได้พยายามสนับสนุนการจัดฝึกอบรมบุคลากรในทุกระดับ ตลอดจนบุคคลทั่วไป เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่ก็ไม่สามารถจัดให้ทั่วถึงได้ และมีงบประมาณจำกัด ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศ ที่จะตระหนัก และจัดการศึกษาให้กับบุคลากรและประชาชนของตนในเรื่องเหล่านี้

นอกจากนี้ สหประชาชาติยังมีกลไกการทำงานเพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆ ได้เรียนรู้จากกันและกัน ในเรื่องของการนำมาตรฐานและบรรทัดฐานไปใช้เพื่อให้แต่ละประเทศบรรลุถึงการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง  ตลอดจนเป็นกลไกเพื่อติดตามตรวจสอบการปฏิบัติสิทธิมนุษยชน และแก้ไขให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนหมดไป กลไกที่รู้จักกันดีมีด้วยกัน 2 กลไก ได้แก่ กลไกภายใต้ปฏิญญา (Charter-based mechanisms) และกลไกภายใต้สนธิสัญญา (Treaty-based mechanisms)

เป็นที่น่าเสียดายว่า ประเทศส่วนใหญ่เข้าใจผิด เนื่องจากไม่เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง ทำให้คิดว่ากลไกเหล่านี้ไปควบคุม หรือคุกคามการปกครองในประเทศของตน ทั้งนี้ เพราะกลไกเหล่านี้เรียกร้องให้แต่ละประเทศต้องจัดทำรายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิ์ที่เกิดขึ้น หรือสหประชาชาติอาจส่งตัวแทนพิเศษต่างๆ เข้าไปหาข้อเท็จจริงและจัดทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมของสหประชาชาติ ด้วยวิธีการเหล่านี้ การละเมิดสิทธิ์ในประเทศนั้นๆ จึงเป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางในบรรดาสมาชิกทั่วโลก  แทนที่จะมองว่าเป็นกระบวนการที่จะช่วยส่งเสริมและแก้ไขให้เกิดการปฏิบัติที่ถูกต้องยิ่งขึ้น กลับเห็นว่าเป็นการตำหนิและว่ากล่าวให้ต้องเสียหน้าในระดับโลก จึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการทำรายงาน

ส่วนประเทศที่มองเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ก็สามารถใช้กลไกและผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ ในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติในประเทศของตน เพื่อให้การปฏิบัติสิทธิมนุษยชนเป็นไปอย่างครอบคลุม ครบถ้วน และกว้างขวางในทุกระดับ

กลไกภายใต้ปฏิญญานั้นแต่เดิมประกอบด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The UNITED NATIONS Commission on Human Rights - UNCHR)  และคณะอนุกรรมการเพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน (The Sub-commission on Promotion and Protection on Human Rights) ซึ่งมีผู้แทนพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ หรือคณะทำงาน เป็นหลักสำคัญในการดำเนินการ

แต่เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2006 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติจัดตั้ง สภาสิทธิมนุษยชน (Human Rights Council) จึงทำให้กลไกเดิมภายใต้ปฏิญญา คือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ต้องยุติบทบาทไปด้วยการประชุมครั้งสุดท้าย ครั้งที่ 62 ในวันที่ 13 - 27 มีนาคม 2006 หลังจากที่ได้ปฏิบัติหน้าที่มาเป็นเวลา 60 ปี

ในระหว่างที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนกำลังเดินหน้ากำหนดแนวทางการทำงานที่ชัดเจน โดยได้เริ่มประชุมครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 19 - 30 มิถุนายน 2006 จึงยังไม่สามารถระบุให้ชัดเจนได้ว่าการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนจะออกมาในรูปแบบใด  อย่างไรก็ได้ ที่ประชุมได้มีมติให้ต่ออายุการทำงานของคณะอนุกรรมการเพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน ตลอดจนคณะทำงานต่างๆ ไปอีก 1 2 ปี เพื่อให้งานที่ได้เริ่มไว้ได้ต่อเนื่องต่อไป

ส่วนกลไกภายใต้สนธิสัญญานั้น ประกอบไปด้วยคณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งขึ้นตามข้อกำหนดในสนธิสัญญา เมื่อเป็นดังนี้ สนธิสัญญาหลักทั้ง 7 ฉบับที่ได้กล่าวไปในตอนที่แล้ว จึงมีคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตามวาระ ทำหน้าที่พิจารณารายงานการดำเนินการของแต่ละประเทศ คณะกรรมการภายใต้สนธิสัญญาและชื่อย่อของคณะกรรมการมีดังนี้

  • คณะกรรมการ (ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ) ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ – CERD:  Committee on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination

  • คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (ภายใต้กติการะหว่างประเทศ) ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง HRC: Committee on Civil and Political Rights

  • คณะกรรมการ (ภายใต้กติการะหว่างประเทศ) ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม CESCR: Committee on Economic Social and Cultural Rights

  • คณะกรรมการ (ภายใต้อนุสัญญา) ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ CEDAW: Committee on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women

  • คณะกรรมการ (ภายใต้อนุสัญญา) ว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน – CAT: Committee Against Torture

  • คณะกรรมการ (ภายใต้อนุสัญญา) ว่าด้วยสิทธิเด็ก – CRC: Committee on the Rights of the Child

  • คณะกรรมการ (ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ) ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงานอพยพและสมาชิกในครอบครัว – CMW: Committee on Migrnat Workers

ตอนต่อไปจะเล่าเรื่องการทำงานของคณะกรรมการอย่างคร่าวๆ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >