หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 128 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ตอนที่ 5) โดย กล้วยกัทลี พิมพ์
Wednesday, 22 February 2017

{ต้องการกลับไปอ่านบทความ ตอนที่ 1  ตอนที่ 2  ตอนที่ 3  และ ตอนที่ 4 ก่อน}

ตอนที่ 5

สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

โดย กล้วยกัทลี 
Image

สนธิสัญญา (Treaty) เป็นคำกว้างๆ ใช้สำหรับความหมายโดยทั่วไปเกี่ยวกับสัญญาที่ทำระหว่างบุคคลในระหว่างประเทศ (รัฐ รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ) โดยก่อให้เกิดสิทธิและพันธกรณีระหว่างกันภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศ ในความเข้าใจของบุคคลทั่วไป คำนี้อาจหมายถึง “ความตกลงระหว่างประเทศ”




สนธิสัญญาอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความนิยมเรียกในช่วงนั้น หรือการแบ่งกลุ่มสนธิสัญญาตามความสำคัญ หรือตามขั้นตอนการทำสนธิสัญญา ดังตัวอย่าง

ความตกลง (Agreement), ข้อตกลง (Arrangement), บันทึกความเข้าใจ (MOU – Memorandum of Understanding), บันทึกความตกลง (Memorandum of Agreement), พิธีสาร (Protocol), อนุสัญญา (Convention), กติกา (Covenant) ฯลฯ

ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม หากเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายก็ถือเป็นสนธิสัญญาทั้งสิ้น แต่มีข้อแตกต่างเล็กน้อยคือ บางชนิดอาจไม่ต้องนำเสนอและผ่านกระบวนการให้ความเห็นชอบของรัฐสภา เป็นต้น

หลักสิทธิมนุษยชนที่กล่าวไว้ในปฏิญญาสากล ได้ถูกนำมาย่อยให้เกิดความกระจ่าง และนำเสนอเป็นรูปแบบของสนธิสัญญา หรือ กฎหมายระหว่างประเทศที่จะผูกพันกับรัฐที่เข้าร่วมเป็นภาคีของกฎหมายนั้นๆ 

ตารางต่อไปนี้แสดงรายชื่อกติกาสากลและอนุสัญญาหลักๆ 7 ฉบับ ตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ได้รับการรับรอง ที่บังคับใช้อย่างเป็นทางการ และต้องใช้เวลากี่ปีก่อนที่อนุสัญญาจะมีผลบังคับใช้ 


 

รายชื่อสนธิสัญญา 

  ปีที่รับรอง

ปีที่บังคับใช้ 

 ใช้เวลา

  • อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ - ICERD

 21 ธ.ค. 1965

 4 ม.ค. 1969

 3 ปี

  • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง - ICCPR

 16 ธ.ค. 1966

 23 มี.ค. 1976

 9 ปี 3 เดือน

  • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม - ICESCR

 16 ธ.ค. 1966

 3 ม.ค. 1976

 9 ปี

  • อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ - CEDAW

 18 ธ.ค. 1979

 3 ก.ย. 1981

 1 ปี 9 เดือน

  • อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี - CAT

 10 ธ.ค. 1984

 26 มิ.ย. 1987

 2 ปีครึ่ง

  • อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก - CRC

 20 ธ.ค. 1989

 2 ก.ย. 1990

 9 เดือน

  • อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงานอพยพและสมาชิกในครอบครัว - ICRMW

 18 ธ.ค. 1990

 1 ก.ค. 2003

 12 ปี 7 เดือน


(หมายเหตุ  บทความนี้จะไม่กล่าวถึง พิธีสารเลือกรับ หรือ Optional Protocol ซึ่งมีอยู่ใน ICCPR, CEDAW, CAT และ CRC)

ปฏิญญาสากลฯ (UDHR) ซึ่งเป็นหลักการกว้างๆ ของสิทธิมนุษยชนได้ประกาศใช้ในปี 1948 (สามปีหลังจากก่อตั้งสหประชาชาติ) จากนั้นอีกเกือบ 20 ปี จึงสามารถย่อยหลักการให้เป็นสนธิสัญญาหรือกฎหมายระหว่างประเทศได้ นั่นคือสนธิสัญญา ICERD, ICCPR และ ICESCR (ในปี 1965, 1966 และ 1966 ตามลำดับ)   จากนั้นยังต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าที่รัฐต่างๆ จะเข้าร่วมเป็นภาคีตามจำนวนที่กำหนด เพื่อให้สนธิสัญญานั้นๆ มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ

ยกตัวอย่างเช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมหรือ ICESCR นั้นระบุไว้ในมาตรา 27(1) สรุปได้ว่า กติกานี้จะมีผลบังคับใช้ภายในสามเดือน หลังจากวันที่รัฐลำดับที่ 35 เข้าเป็นภาคี

ในทางปฏิบัติ เมื่อประเทศจาไมก้า ลงนามเข้าเป็นรัฐภาคีลำดับที่ 35 ในวันที่ 3 ตุลาคม 1975 สามเดือนต่อจากนั้น คือในวันที่ 3 มกราคม 1976 กติกาก็บังคับใช้ได้  ดังนั้น ประเทศที่เข้าเป็นภาคีทั้ง 35 ประเทศ ต้องปฏิบัติตามกติกา นอกจากนี้ สหประชาชาติ สามารถใช้กลไกคณะกรรมการภายใต้สนธิสัญญาเหล่านั้นเพื่อตรวจสอบการละเมิดสิทธิ์ของประเทศที่เป็นภาคีได้

ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีนั้น สหประชาชาติไม่สามารถใช้กลไกดังกล่าวตรวจสอบได้จนกว่าจะเข้าเป็นภาคี แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศเหล่านั้นก็เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ดังนั้น จึงมีกลไกอื่นๆ (เช่น กลไกภายใต้ปฏิญญาสากลฯ) ที่สามารถใช้เพื่อขอความร่วมมือหากมีการละเมิดสิทธิ์

อย่างไรก็ดี มาตรา 27(2) ระบุว่า รัฐที่เข้าเป็นภาคีภายหลังวันบังคับใช้ ก็กำหนดให้กติกามีผลบังคับใช้ในประเทศนั้นหลังจากสามเดือนนับตั้งแต่ประเทศนั้นเข้าเป็นภาคี  ตัวอย่างเช่น หลังจากที่กติกามีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 มกราคม 1976 ประเทศไทยยังไม่เข้าเป็นภาคี ดังนั้นจึงยังไม่สามารถบังคับใช้กติกานี้ในประเทศไทยได้  แต่เมื่อวันที่ 5 กันยายน 1999 ไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคี ดังนั้น หลังจากนั้นสามเดือน คือ ในวันที่ 5 ธันวาคม 1999 กติกาก็มีผลบังคับใช้ในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

นี่เป็นตัวอย่างของกติกา ICESCR เท่านั้น กติกาอื่นๆ ก็มีหลักการไม่ต่างกัน เพียงแต่มีข้อปลีกย่อยต่างออกไป เช่น การบังคับใช้ของ ICRMW จะเกิดขึ้นเมื่อมีรัฐภาคีเพียง 20 รัฐเท่านั้น เป็นต้น

กติการะหว่างประเทศสองฉบับซึ่งถือว่าเป็นหลักใหญ่ของสิทธิมนุษยชน ก็คือ ICCPR และ ICESCR ซึ่งครอบคลุมชีวิตมนุษย์ในทุกด้าน คือ ด้านสิทธิพลเมืองและการเมือง กับ สิทธิเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

ส่วนกติกาอื่นๆ นับเป็นความพยายามที่จะแจงรายละเอียดของสิทธิทุกๆ ด้าน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น ผู้หญิง เด็ก และแรงงานอพยพ  หรือนำไปใช้ขยายความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติด้านสิทธิ์ เช่น เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติ และการทรมาน เป็นต้น

สนธิสัญญาทั้ง 7 ฉบับนี่เป็นเพียงตัวอย่างกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลหลักๆ ยังมีกฎหมายอื่นๆ อีกหลายฉบับซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะกลุ่มและอาจไม่เป็นที่รับรู้ของสังคมวงกว้าง เช่น ผู้ไร้รัฐ ผู้อพยพ ผู้ต้องขังในภาวะสงคราม (ต่อต้าน) การเกณฑ์ทหารรับจ้าง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีเอกสารที่ไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นเสมือนข้อตกลง หรือมาตรฐานทางจริยธรรม ที่อยู่ในรูปของแถลงการณ์ คำประกาศ หลักการ แนวทางปฏิบัติ เช่น คำประกาศเรื่องเชื้อชาติและอคติเรื่องเชื้อชาติ  แถลงการณ์เรื่องสิทธิของผู้พิการ มาตรฐานขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง เป็นต้น  เอกสารเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นแนวทางเพื่อการนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อให้สิทธิมนุษยชนครอบคลุมทุกแง่มุม และทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง

รายละเอียดของแต่ละสนธิสัญญานั้นจะไม่ขอนำเสนอในที่นี้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและเนื้อที่มาก แต่หากมีโอกาส จะยกกรณีศึกษาเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจต่อไป  แต่หากสนใจก็สามารถหาอ่านสนธิสัญญาที่แปลเป็นไทยได้ดังนี้

UDHR – สำนักข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ http://www.unhchr.ch/udhr/lang/thj.htm ICCPR–ศูนย์สิทธิมนุษยชนและสันติวิธี วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  http://www.msu.ac.th/politics/CHRN/bot/b_14.htm ICESCR - http://www.msu.ac.th/politics/CHRN/bot/b_3.htm CEDAW – สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว http://www.women-family.go.th/thai/download/law2.pdf 



ในบทต่อไปจะนำเสนอเรื่อง กลไกการทำงานของสหประชาชาติที่เกี่ยวเนื่องกับสนธิสัญญาเหล่านี้


.......................................................................

ตอนต่อไป

กลไกสหประชาชาติ(1)


ความคิดเห็น
รัฐภาคี
เขียนโดย ผ่อนผัน เปิด 2008-09-23 11:04:06
อยากถามว่าคำว่า รัฐภาคี ในภาษาอังกฤษใช้คำใหน และ ใช้อย่างไร ขอบคุณค่ะ

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >