หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow บันทึก...โศกนาฏกรรมของคนชายขอบ
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 99 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

บันทึก...โศกนาฏกรรมของคนชายขอบ พิมพ์
Wednesday, 17 May 2006


บันทึก… โศกนาฏกรรมของคนชายขอบ

ย่างเข้าเดือนที่ 3 หลังเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ ร่องรอยภัยพิบัติดูเลือนลางลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งทำเงินของนักธุรกิจบริเวณชายฝั่ง
ท่ามกลางการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวของภาครัฐและธุรกิจการท่องเที่ยว คนชายขอบและคนยากไร้ของแผ่นดิน ยังคงถูก (ทำให้) ลืม ไม่ว่าจะเป็น ประมงพื้นบ้าน แรงงานพลัดถิ่น คนยากจนของประเทศ ต่างดิ้นรนไปตามวิถีทางของตนเอง
แผนฟื้นฟูอันดามันหลังคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม มีแนวโน้มที่จะกลับไปใช้แนวคิดในลักษณะเดิม คือเน้นการท่องเที่ยว มุ่งผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจยิ่งทียิ่งชัดเจนขึ้นทุกขณะ และจนถึงขณะนี้ ยิ่งเห็นชัดเจนว่าภาคธุรกิจกำลังเร่งให้ภาครัฐทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลลงมาพลิกฟื้นชายฝั่งอันดามันให้คืนสภาพกลับมาอย่างรวดเร็ว และไม่มีการคำนึงถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านดั้งเดิมที่เป็นเจ้าของพื้นที่มานานนับหลายชั่วอายุคน

บทที่ 1 ความเดือดร้อนของประมงพื้นบ้าน
Imageชีวิตประมงพื้นบ้านแห่งหนึ่ง มีกันอยู่ประมาณ 5-7 ครอบครัว ทั้งหมดเป็นชาวประมงเรือเล็ก อาศัยอยู่ริมทะเลมาประมาณ 40 กว่าปี แต่เมื่อคลื่นสึนามิเข้ามา ความรุนแรงของคลื่นได้ซัดบ้านเรือนของชาวบ้านพังหมด จึงทำให้ชาวบ้านต้องถอยร่นมาปลูกเพิงพักในที่สาธารณะ
แต่บริเวณที่ที่ชาวบ้านปลูกเพิงพัก เป็นที่ที่ติดอยู่กับที่ดินของนายทุน ซึ่งเขามาบอกชาวบ้านให้ออกไปจากบริเวณดังกล่าว แต่ชาวบ้านไม่รู้จะย้ายไปอยู่ที่ไหน
ชาวบ้านเล่าว่า “พวกเราเกิดตรงนี้ ทะเลและเรืออยู่ตรงนี้ หลายคนอาจจะมองว่าทะเลโหดร้าย แต่สำหรับพวกเรา ทะเลก็เหมือนบ้าน เรือคือชีวิต จะให้ไปอยู่ที่อื่นก็ไม่รู้จะทำอะไร เพราะที่ทำมาหากินนั้นอยู่ตรงนี้”
หลังจากชาวบ้านประสบกับคลื่นสึนามิมาอยู่ในที่ปัจจุบัน ก็มีการผลักดันชาวบ้านมาโดยตลอด บางครั้งผู้ใหญ่บ้านมาบอกให้ย้ายและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง บางครั้งพาตำรวจและทนายมา และที่สำคัญก็คือทางทนายหรือผู้ใหญ่บ้านได้ใช้วาจาข่มขู่ชาวบ้านให้ย้ายและรื้อถอนออกไปจากบริเวณปัจจุบัน
Imageเรื่องราวระหว่างนายทุนกับชาวบ้านที่ถูกกล่าวหาว่าบุกรุกที่ดินส่วนบุคคล เปรียบเสมือนเรื่องราวที่สังคมไทยคุ้นชินกันมานาน ...แต่ไม่สามารถแก้ไขสิ่งใดได้ นอกจากรับฟังแล้วผ่านเลยไป?
ถ้าหากถามว่าชาวบ้านกลัวหรือไม่ที่โดนข้อหาบุกรุกที่ดิน ชาวบ้านตอบอย่างตรงไปตรงมาว่า “กลัว” แต่ความกลัวถูกจับกับความสิ้นเนื้อประดาตัว ไม่มีที่จะนอน ไร้ที่อยู่อาศัย ทำให้ชาวบ้านจนตรอกและคงไม่เกินเลยจนเกินไปนัก หากจะกล่าวว่าชาวบ้านต้องเอาชีวิตที่มีอยู่เป็นเดิมพัน
ห่างจากบริเวณเพิงพักสังกะสีของชาวบ้าน มองออกไปไม่ไกลนัก จะเห็นรีสอร์ทร้างไร้ผู้คน เพราะโดนผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิเช่นเดียวกัน พื้นที่บริเวณนั้นเคยเป็นป่าชายเลนมาก่อน แต่จากอำนาจเงินและเทคโนโลยี ทำให้เกิดการทำลายป่าชายเลนแล้วสร้างเป็นรีสอร์ทหรูหราอย่างที่เห็น และแนวคิดที่รุกล้ำล่วงเกินธรรมชาติลักษณะนี้ มิใช่เกิดขึ้นเฉพาะที่รีสอร์ทแห่งนี้เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปทั่วทุกมิติของประเทศไทย
ชาวบ้านบอกเล่าเกี่ยวกับคลื่นยักษ์สึนามิถล่มว่า “ธรรมชาติดัดแปลงของเขาเอง และตกแต่งทุกอย่างโดยอัตโนมัติ เราอาศัยอยู่กับทะเล ต้องยอมรับเขา”
เมื่อเกิดคดีความขึ้น เพิงพักสังกะสีของชาวบ้านต้องหยุดสร้างไว้ชั่วคราว เพราะคดีความเกี่ยวกับที่ดินยังไม่กระจ่าง สิ่งที่ชาวบ้านต้องการคือการซ่อมเรือและอุปกรณ์การหากินทางทะเล วัตถุมากกว่านั้นเขาไม่ได้ต้องการ ความเดือดร้อนจากการที่บ้านเรือนพังหมด อุปกรณ์การทำมาหากินเสียหาย เรือพัง บ้านถูกซัดไปกับคลื่น เพียงเท่านี้ชีวิตชาวบ้านก็ทุกข์ทนพออยู่แล้ว
ชาวบ้านบอกเล่าถึงความรู้สึกว่า “กฎหมายกลายเป็นเครื่องมือของคนรวย ชาวบ้านตาสีตาสาอย่างเราจะเอาอะไรไปสู้กับคนมีเงิน และสิ่งที่ร้ายกว่าคลื่นยักษ์สึนามิ คงจะเป็นคนเราทำร้ายกันเองมากกว่า”
มองไปบริเวณเพิงพักสังกะสี พบว่าชาวบ้านไม่มี “กำแพง” แต่นายทุนพยายามสร้าง “รั้ว” ไว้ให้พวกเขา...

บทที่ 2 แรงงานพลัดถิ่นกับอคติสังคมไทย
บริเวณไซต์งานแห่งหนึ่ง...
Imageเพิงพักสังกะสีเป็นแนวยาวถูกสร้างเป็นเรือนพักอันเรียบง่าย แต่ละห้องดูคับแคบและเล็กจนน่าอึดอัด เมื่อเทียบกับหมู่บ้านอันหรูหราฝั่งตรงกันข้าม
เทพ ชาวพม่าที่เปลี่ยนชื่อเป็นไทย วัยกลางคน เข้ามาในประเทศไทยได้ประมาณ 10 ปี ตอนนี้มีบัตรแรงงานต่างด้าว และได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคนงานที่ไซต์งานแห่งนี้ ส่วนภรรยาของเขาเมื่อก่อนเป็นโรคหัวใจ เดินเพียงนิดหน่อยก็เหนื่อยและหอบ หมอในจังหวัดบอกว่ามีชีวิตอยู่ได้เพียง 6 เดือนเท่านั้น และต้องส่งกลับประเทศ แต่เธอยืนยันอย่างหนักแน่นว่า “ไม่อยากกลับ จะตายก็ตายที่นี่” สองสามี-ภรรยาจึงต้องดูแลประคับประคองกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากได้รับความช่วยเหลือและดูแลอย่างต่อเนื่อง อาการเหนื่อยง่ายของฝ่ายหญิงได้ทุเลาลง เวลาเดินไกลๆ ไม่เหนื่อยหอบเหมือนเมื่อก่อน ส่วนเทพได้แต่นั่งยิ้มน้อยยิ้มใหญ่อยู่ข้างๆ ภรรยา ซึ่งทุกวันนี้ เขาต้องมุ่งมั่นทำงานและดูแลรับผิดชอบภรรยาของเขาต่อไป
เทพบอกว่า “คนพม่าถือว่า ถ้าใครช่วยเหลือเรา เราจะจดจำไว้ตลอดชีวิต และต้องไหว้ทุกคืน”
ขณะที่คุยกับเทพ ชาวพม่าห้องข้างๆ ตะโกนเรียกกินข้าวด้วยกันเป็นระยะๆ ซึ่งการต้อนรับและอัธยาศัยไมตรีของชาวพม่าเป็นสิ่งที่ติดตราตรึงใจมาจนถึงขณะนี้
ในความเป็นจริง คนพม่าที่ดีก็มี ส่วนคนที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในบ้านเมืองของเราก็มาก ที่สำคัญคือคนในบ้านของเราเองควรคุยกันให้รู้เรื่อง เพราะพูดภาษาเดียวกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือหลายครั้งคนในบ้านเราเองกลับทำร้ายกันเองอย่างรุนแรง
Imageเพราะฉะนั้น คนเราจะเลวหรือดี คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ สีผิว หรือเผ่าพันธุ์ แต่จากการนำเสนอของสื่อมวลชนทำให้ภาพของแรงงานต่างด้าวกลายเป็นอาชญากรในสายตาของสังคมไทย
ในเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิถล่ม คนพม่าถูกกีดกันรังเกียจ ซ้ำร้ายหลายคนไม่ได้กินอะไรอยู่หลายวันถึงหลายอาทิตย์ และผู้รับผิดชอบช่วยเหลือในบางแห่งไม่ยอมบริจาคข้าวและอาหารให้กับคนพม่า โดยบอกอย่างชัดเจนว่า “ถ้าเป็นคนพม่าไม่ต้องให้”
ก่อนเดินออกมาจากไซต์แห่งนั้น คนไทยที่ขายของอยู่บริเวณด้านหน้าไซต์งาน ตะโกนถามว่า “มาคุยกับมันทำไม จะช่วยมันทำไม พวกพม่าเป็นอะไรถึงต้องช่วยมัน”
หันหลังกลับไปมองเพิงพักสังกะสีซอมซ่อของคนงานพม่าที่อยู่ด้านข้าง และเหลียวมองร้านค้าของคนไทยที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน
ใช่หรือเปล่า แม้พม่าและไทยจะอยู่ใกล้กัน... แต่ก็เหมือนอยู่ไกลกันคนละซีกโลก

บทสุดท้าย : เด็กพม่าและชีวิตแรงงานพลัดถิ่น
Imageทุกคนทราบดีว่า แรงงานพม่าถือเป็นแรงงานสำคัญในประเทศไทย และงานที่คนพม่าทำ จะหาคนไทยมาทำค่อนข้างยาก เช่น งานที่แพปลา การใช้แรงงาน งานก่อสร้าง ฯลฯ ที่สำคัญคือแรงงานต่างด้าวมีราคาถูก
ข้อมูลที่เชื่อถือได้ระบุว่า ในบริเวณจังหวัดที่เป็นรอยต่อของประเทศ ตอนกลางคืนจะมีการค้าขายแรงงานพม่า โดยมีนายหน้าเป็นคนจ่ายเงินให้ก่อน และรับคนพม่าไปสู่ร้านค้า ไปสู่ธุรกิจในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการค้าขายแรงงานพลัดถิ่นหรือการค้ามนุษย์ลักษณะนี้ ถือเป็นธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นกอบเป็นกำ
ชีวิตคนพลัดถิ่นจึงกลายเป็นสินค้า มีราคาซื้อขาย แต่สังคมไทยยังคงมองพวกเขาอย่างดูหมิ่นเหยียดหยามมาโดยตลอด
นอกจากนั้น ความรุนแรงและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอคติของคนไทย ก็คือ “เด็กพม่า” ที่อาศัยเรียนโดยแยกห้องในโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง โดยมีกรณีที่เกิดขึ้นจริงคือ เด็กไทยรังแกเด็กพม่า เช่น เด็กไทยเดินเข้าไปตบหัว วิ่งเข้าไปเตะ หรือเอาไม้ตีหัวเด็กพม่า พอเด็กพม่าโกรธ กำลังเดินไปบอกครูคนไทย เด็กไทยก็เอามีดปอกผลไม้มาแทงที่บริเวณต้นแขน เสื้อนักเรียนทะลุขาดเป็นรอยมีด ครูคนไทยก็เฉยๆ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่ได้มีการใส่ยาให้แต่อย่างใด
...เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นเพียงเรื่องธรรมดาที่เด็กๆ ต้องมีทะเลาะกันบ้างเท่านั้นเอง ส่วนเด็กพม่าก็ต้องนิ่งเงียบและเก็บกด เพราะบอกใครก็ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้ และได้แต่คิดว่า “เราอยู่ในแผ่นดินของเขา”
บางกรณีเมื่อมีการทะเลาะกันระหว่างเด็กๆ ครูพม่าเข้าไปห้ามปราม แต่เด็กไทยก็ใช้ไม้ที่ถืออยู่ ทำท่าจะตีครูพม่าด้วย และเด็กไทยไม่ได้รู้สึกเกรงกลัวหรือเกรงใจครูพม่าแต่อย่างใด
ความรู้สึกแบ่งแยก “เขา” กับ “เรา” เกิดขึ้นในจิตใจของเด็กๆ เพียงแตกต่างทางเชื้อชาติและภาษา ความรุนแรงก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย
สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนถึง “อคติของคนไทยต่อคนพม่า” ที่สำคัญคืออคติเชิงลบนี้ ได้ถูกปลูกฝังและบ่มเพาะลงในจิตใจของเด็กไทยแล้วอย่างแน่นอน
เมื่อเด็กๆ ถูกสั่งสอนและปลูกฝังอคติเชิงลบต่อเพื่อนมนุษย์ตั้งแต่เขายังเล็กๆ ...เมื่อเติบโตขึ้น อคติลักษณะนี้จะรุนแรงมากขึ้นเพียงใด?
หลังจากนั้น มีโอกาสไปเยี่ยมผู้ชายชาวพม่า วัยประมาณ 50 ปี อดีตชาวประมง ที่ป่วยเป็นมะเร็งไทรอยด์ระยะสุดท้าย เขาพูดและสื่อสารได้ลำบากเพราะพิษจากโรคร้ายบริเวณลำคอ แต่มีสติรับรู้ได้ และมีสายยางสอดไว้บริเวณจมูก เวลานอนต้องตะแคงด้านซ้ายข้างเดียว พลิกนอนท่าอื่นจะรู้สึกเจ็บปวดไปทั้งตัว
ข้างๆ ชายผู้นั้น มีผู้หญิงในวัยไล่เลี่ยกัน คอยดูแลคนรักของเธออยู่ไม่ห่าง บางครั้งทั้งวันทั้งคืนเธอไม่ได้หลับไม่ได้นอน ต้องคอยเฝ้าไข้และดูแลฝ่ายชายตลอดเวลา
ยามเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งสองไม่เคยคิดจะทอดทิ้งกัน เมื่อคนหนึ่งเจ็บปวด อีกฝ่ายหนึ่งก็เจ็บปวดรวดร้าวตามไปด้วย... ในยามยากลำบากเท่านั้นจึงพิสูจน์ความรักของคนสองคน
เดินทางครั้งนี้ ผ่านพบความรัก ความห่วงใย และเอื้ออาทรของคนพม่า 2 คู่ ...คู่หนึ่งฝ่ายชายดูแลฝ่ายหญิงที่เป็นโรคหัวใจ และประคับประคองทะนุถนอมกันและกันมาโดยตลอด อีกคู่หนึ่งฝ่ายหญิงดูแลฝ่ายชายซึ่งป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย โดยทั้งสองเป็นคู่รักชราที่อยู่ดูแลกันจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต
ซึ่งปฏิเสธมิได้ว่า ความรู้สึกงดงามและอบอุ่นเหล่านี้ คงเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกผู้นาม ไม่ว่าเชื้อชาติ ภาษาหรือเผ่าพันธุ์ใด คงต้องการและเสาะหา
...แต่แล้วข่าวร้ายก็เข้ามาโดยไม่ทันตั้งตัว...
หลังจากไปเยี่ยมไม่ทันข้ามวัน ชายอดีตชาวประมงผู้นั้นก็เสียชีวิตลงอย่างทุรนทุรายในห้องเช่าราคาถูก... มีเพียงสองมือจากคนรักของเขาเท่านั้นที่เอื้อมไปลูบไล้และพลิกตัวจนวินาทีสุดท้าย
เขาเจ็บป่วยและตายไปในแผ่นดินของผู้อื่น แผ่นดินที่น้อยคนนักจะใส่ใจอย่างจริงจังว่า คนพลัดถิ่นและผู้ลี้ภัยเป็นเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกับเราทุกคน แผ่นดินที่ใครหลายคนยกย่องว่าเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพและมีประชาธิปไตย
...แต่กับคนพลัดถิ่นและแรงงานอพยพ หรือคนยากจนคนยากไร้ของแผ่นดิน พวกเขาคือคนแปลกหน้าที่เมืองไทยไม่ต้องการ พวกเขาถูกกีดกัน รังเกียจ และถูกผลักไสไล่ส่ง
ไม่รู้ว่า เราจะสลาย “อคติของสังคมไทย” ได้มากน้อยเพียงใด?


วรพจน์ สิงหา
ฝ่ายเผยแพร่เพื่อการมีส่วนร่วม
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >