หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนสนทนา arrow ผู้บริโภคที่รัก : ศราวุฒิ ประทุมราช
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 81 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ผู้บริโภคที่รัก : ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Thursday, 20 July 2006


ผู้บริโภคที่รัก

ศราวุฒิ ประทุมราช

Imageเป็นเวลานานซักเท่าใดแล้วที่ท่านทั้งหลายทนทรมานกับ โฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์ ที่พร่ำชวนเชื่อให้ท่านซื้อนั่น ซื้อนี่ ด้วยการอธิบายว่า โทรยิ่งนาน ยิ่งถูก บ้าง เด็กทำหมึกเปรอะเปื้อนเสื้อผ้า แล้วซักด้วยผงวิเศษ ทำให้หมึกหายไป โดยที่เด็ก โกหกแม่ว่า เห็นไหมเสื้อไม่ได้เลอะอะไรเพื่อจะได้บอกผู้บริโภคว่า เห็นไหมสินค้าของฉันดีแค่ไหน แค่ถามไม่กี่คำ ก็ซักออกหมดแล้ว หรือ ถ้าจะให้เยาวชนซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยเช่น โทรศัพท์มือถือ ก็เอาวัยรุ่นมาเป็นพรีเซนเตอร์ ว่า เธอวาง(หูโทรศัพท์)ก่อนฉันซิ แล้วทำให้เหมือนกับอาลัยอาวรณ์ ต่างคนต่างไม่ยอมวางโทรศัพท์ก่อน เพื่อให้รู้ว่า ยิ่งโทรนานยิ่งเสียเงินน้อย ฯลฯ นี่คือการโฆษณายุคนี้ ที่ไม่มีอะไรจะนำเสนอ โดยเฉพาะการหากินกับเยาวชน ซึ่งเป็นวัยที่ไม่มีเงินซื้อสินค้าด้วยตนเอง นอกจากการขอพ่อแม่แล้ว เรายังเห็นตามข่าวไม่เว้นแต่ละวันว่า วัยรุ่น ชิงทรัพย์จำพวกโทรศัพท์มือถือ เพื่อหาเงินไปเที่ยวผับหรือเอาไปใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยที่ไม่มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็ยังมีวัยรุ่นอีกจำนวนไม่น้อย ต้องออกทำงานหาเงินเลี้ยงครอบครัวหรือส่งตัวเองเรียนหนังสือ


การโฆษณาสินค้า แม้จะเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเป็นเสรีภาพในการประกอบอาชีพอย่างหนึ่ง แต่อย่าลืมว่าทุกอาชีพก็ต้องมีคุณธรรมหรือมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ คงไม่ต้องบอกว่าจรรยาบรรณนี้มีอะไรบ้าง เพราะนักการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ก็เรียนก็สอนอยู่ในทุกสถาบันการศึกษา แต่ทำไม การโฆษณาในปัจจุบันถึงได้มีแต่การหากินกับ “ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์”: ซึ่งมันควรมีขอบเขต โดยเฉพาะ การโฆษณาที่เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ ที่มีเพียง ๒-๓ ยี่ห้อ ที่แข่งขันกัน อย่างเอาเป็นเอาตาย ผู้ที่ได้รับประโยชน์ เท่าที่มองเห็น คือบริษัทรับทำโฆษณา หรือ เอเยนซี่ต่างๆ และเจ้าของสินค้า ถามว่า ผู้บริโภคได้รับอะไรบ้าง บางท่านอาจตอบว่า ก็ได้ดูโฆษณา ที่มีการแสดงความเป็นห่วงเป็นใย บุคคลในครอบครัว หรือ มีการผ่อนคลายที่บางครั้ง โฆษณาก็เป็นเรื่องที่ตลกขบขัน อย่ามาซีเรียสไปหน่อยเลย ซึ่งผมมักได้ยินคำตอบเช่นนี้

ผมคงไม่เถียงหรอกครับว่า โฆษณาบางชิ้นก็ทำออกมาเพื่อการรักษาภาพลักษณ์ ของสินค้า จึงต้องมีการดึงดูดให้สังคมเห็นว่ายังมีคนดี อยู่บ้างในสังคมเช่นการโฆษณาเหล้าบรั่นดีไทยยี่ห้อหนึ่ง หรือเครื่องดื่มชูกำลังบางยี่ห้อที่คนขโมยของในร้านแล้วเอาไปคืน เพราะเห็นโฆษณาว่าลูกผู้ชายต้องกล้าทำ อะไรทำนองนี้  แต่จะให้ทำอย่างไรกับโฆษณาสินค้าบางชนิดที่ ไม่รับผิดชอบเล่า สิ่งไหนที่ว่าดีเราก็ไม่ได้ตำหนิ แต่เรากำลังพูดถึงคุณธรรม จริยธรรมของการโฆษณาสินค้าบางชนิด ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า การสื่อสารออกมาหรือการตัดสินใจให้มีการโฆษณาปรากฏสู่สาธารณะนั้น เป็นความรับผิดชอบของเจ้าของสินค้า หรือเป็นความรับผิดชอบของนักการโฆษณา

จะให้ทำอย่างไรถ้าในโฆษณาผงซักฟอก ลูกชายได้โกหกคุณแม่ไปแล้วหน้าตาเฉย ว่า เสื้อไม่ได้เลอะหมึก  จะให้ทำอย่างไรกับโฆษณาที่ทุกคนในบ้านต้องหลอกเพื่อนๆว่า วันนี้ออกไปนอกบ้านไม่ได้ เพราะมีนัดต้องไปทานข้าวกับที่บ้าน สื่อได้ทำให้เห็นว่า ลูกอ้างกับเพื่อนว่าต้องดูแลน้องแทนแม่ แต่ความจริงคือต้องการเล่นกับหมา ทำไมโฆษณาไม่สื่อสารออกมาตามตรง ให้เห็นว่าการที่พ่อ แม่ ลูก ได้อยู่ทานข้าวกันในบ้านที่อบอุ่น นั้นสามารถทำได้ ไม่ต้องโกหกเพื่อนๆว่าออกไปเที่ยวด้วยไม่ได้ หรือบางครั้งโฆษณาก็ทำให้เห็นว่าการขับรถชนท้ายเขาแล้วไม่ต้องรับผิด กรณีที่มีดาราชื่อติ๊ก ขับรถไปชนท้านรถบรรทุกผักของชาวเขา  เมื่อชาวเขาลงมาเจอหน้าพร้อมกับมีรอยหัวโนกันทั้งครอบครัว ก็ต่อว่า พระเอกว่าขับรถภาษาอะไรกัน แต่พระเอกตอบไปด้วยใบหน้าระรื่นเพราะมีกลิ่นปากหอมสดชื่นด้วยรับประทานลูกอมยี่ห้อนี้ ทำให้ชาวเขาต้องมาทะเลาะกันเองว่าทำรถพี่ติ๊กเขาพังเลย  ซึ่งสำหรับผมดูโฆษณาชิ้นนี้แล้ว กลับเห็นว่า นักการโฆษณาต้องการเหยียดเชื้อชาติด้วยซ้ำ เป็นการนำเอากลุ่มชาติพันธุ์มาทำเป็นเรื่องตลก โดยไม่จำเป็นซึ่งมีโฆษณาหลายชิ้นที่เคยสื่อออกมาทำนองนี้           

ทางออกของกรณีเหล่านี้ ก็คือ ขั้นแรกคงต้องสื่อสารไปยังเจ้าของสินค้าว่า เราไม่ชอบการโฆษณาแบบนี้ท่านจะแก้ไขอย่างไร หากยังไม่เปลี่ยนแปลงหรือถอนโฆษณา หรือไม่แสดงท่าทีว่าจะรับผิดชอบอะไร เราคงต้องแสดงพลังงดซื้อสินค้าชนิดนั้น โดยมีการนัดหมายกันให้มีการบอกต่อๆกันไป หรือมีการประกาศลงหนังสือพิมพ์ว่า ผู้บริโภคไม่พอใจการไม่พูดความจริงต่อกัน หรือแจ้งไปยังคณะกรรมการสมาคมนักโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่า เราขอแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการโฆษณาชิ้นนั้น

ผมว่าการแสดงพลังหรือการบอกให้สังคมรับรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้รับข่าวสาร จะเป็นการแสดงให้เห็นว่า มีคนคอยดูผลงานของท่านอยู่ ถ้าทำงานไม่ดีก็อาจมีผลต่อสินค้าที่ต้องการโฆษณานั้น แต่ถ้าทำดี ผู้บริโภคเขาก็ชอบและอยากซื้อสินค้านั้นด้วย ผมเองอยากให้ท่านทั้งหลายมีส่วนร่วมกับการเป็นเจ้าของประเทศนี้ อย่าให้อะไรที่ไม่ดีแล้วบ่นๆกันฟังภายในครอบครัว ต้องรวมพลังกันสื่อสารสู่สังคมครับ ท่านเห็นอย่างไรต่อโฆษณาชิ้นอื่นๆบ้าง

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >